พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์, การโอนทะเบียน, ความเสียหายจากการไม่ได้ใช้รถ, การครอบครองปรปักษ์, และการใช้รถผิดประเภท
ปัญหาว่าคำให้การจำเลยก่อให้เกิดประเด็นพิพาทหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ โจทก์จะนำรถยนต์พิพาทซึ่งจดทะเบียนประกอบการขนส่งประเภทส่วนบุคคลไปรับจ้างบรรทุกพืชไร่ไม่ได้เพราะเป็นการใช้รถไม่ตรงตามประเภทที่ได้จดทะเบียนไว้ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ.2522มาตรา21จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายขาดรายได้เพราะเหตุดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอนสิทธิจากการซื้อขายรถยนต์ที่ถูกโจรกรรม แม้ผู้ขายไม่ทราบเหตุ ผู้ขายก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยผู้ขายต้องรับผิดในการ รอนสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา475แม้จะไม่ทราบถึงเหตุแห่งการรอนสิทธิก็ตามและเมื่อโจทก์จำต้องยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์พิพาทซึ่งซื้อมาจากจำเลยไปเพราะเป็นรถยนต์ที่ถูกโจรกรรมมาความรับผิดของจำเลยดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับ อายุความฟ้องร้องตามมาตรา481แต่มีอายุความ10ปีตามมาตรา193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1618/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับให้จำเลยดำเนินการตามสัญญาซื้อขายรถยนต์และการใช้คำพิพากษาแทนเจตนา
โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาซื้อขายรถยนต์โดยขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยออกจากทะเบียนรถยนต์แล้วใส่ชื่อโจทก์แทนหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนทำการแสดงเจตนาของจำเลยแม้โจทก์ไม่ได้มีคำขอให้บังคับจำเลยไปการยื่นคำร้องขอใดๆเพื่อขอถอนชื่อจำเลยออกจากทะเบียนรถยนต์แล้วใส่ชื่อโจทก์ลงไปแทนก็ตามแต่ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็เพื่อต้องการให้ศาลบังคับให้จำเลยถอนชื่อออกจากทะเบียนรถยนต์ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าจำเลยจะต้องไปดำเนินการเพื่อให้ถอนชื่อของจำเลยออกจากทะเบียนรถยนต์เสียก่อนมิฉะนั้นโจทก์ก็ไม่อาจให้นายทะเบียนดำเนินการใส่ชื่อโจทก์ลงไปแทนได้การที่ศาลบังคับให้จำเลยไปดำเนินการถอนชื่อออกจากทะเบียนรถยนต์แล้วให้ใส่ชื่อโจทก์แทนจึงเป็นการถูกต้องเพราะถ้าหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็จะได้ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยเป็นกรณีที่ให้คำพิพากษาและคำขอบังคับสามารถมีผลบังคับใช้ได้จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์, หน้าที่ในการจดทะเบียน, สภาพแห่งหนี้, การบังคับคดี, และข้อยกเว้นในการบังคับคดี
โจทก์รับมอบรถยนต์คันที่สองไว้จากจำเลยโดยไม่ได้สงวนสิทธิจะเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยอีกตามสัญญาแม้จำเลยจะส่งมอบรถยนต์ล่าช้าโจทก์ก็เรียกเบี้ยปรับเพราะเหตุนี้อีกไม่ได้เมื่อยังไม่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนสภาพรถยนต์ให้เป็นรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลและการจดทะเบียนต้องรอกำหนดที่กรมการขนส่งทางบกนัดให้นำรถยนต์ไปตรวจสภาพความเสียหายจากการที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถยนต์จึงไม่ได้อยู่ที่การส่งมอบรถยนต์ล่าช้า โจทก์ซื้อรถยนต์ทั้งสองคันเพื่อนำไปใช้ในกิจการของวิทยาลัย ก.จึงได้มีข้อตกลงในสัญญาให้จำเลยมีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนสภาพรถยนต์ให้เป็นรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลและจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยจึงมีหน้าที่กระทำการที่จำเป็นทุกอย่างเพื่อให้ได้มีการจดทะเบียนตามสัญญาโจทก์ย่อมขอบังคับให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวได้แต่เมื่อโจทก์ต้องจัดส่งเอกสารที่จำเป็นในการจดทะเบียนให้จำเลยครบถ้วนด้วยศาลย่อมพิพากษาโดยมีเงื่อนไขให้โจทก์ส่งเอกสารให้จำเลยครบถ้วนสมบูรณ์ได้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยส่งมอบรถยนต์คันที่สองโดยรถยนต์ชำรุดบกพร่องช้ากว่ากำหนดในสัญญาไม่จดทะเบียนเปลี่ยนสภาพรถยนต์ให้เป็นรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลและไม่จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นของโจทก์โจทก์ไม่ได้ฟ้องว่าจำเลยไม่ส่งมอบรถยนต์คันที่สองณภูมิลำเนาของโจทก์เรื่องสถานที่ส่งมอบรถยนต์คันที่สองจึงไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยไม่มีชื่อเป็นเจ้าของรถยนต์คันที่สองหากเจ้าของแท้จริงของรถยนต์คันที่สองไม่ยินยอมจดทะเบียนเปลี่ยนสภาพรถยนต์ให้เป็นรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลและจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้วการจะบังคับให้จำเลยโอนรถยนต์คันที่สองย่อมทำไม่ได้สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้จำเลยโอนรถยนต์คันที่สองให้โจทก์การบังคับคดีทำได้เพียงให้โจทก์คืนรถยนต์คันที่สองให้จำเลยและให้จำเลยคืนราคารถยนต์ให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายรถยนต์ กรณีจำเลยผิดนัดชำระค่างวด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างหลายครั้ง แต่จำเลยไม่ยอมชำระให้ โจทก์จึงยึดรถคืนจากจำเลย การผิดนัดไม่ชำระค่างวดทำให้โจทก์เสียหาย ไม่สามารถนำรถยนต์มาใช้สอยในกิจการของโจทก์ ไม่สามารถนำไปขายหรือจำหน่ายให้แก่ผู้มีชื่ออื่นต่อไปได้ รถของโจทก์หากนำไปให้ผู้มีชื่อเช่าจะได้ค่าเช่าไม่ต่ำกว่าเดือนละ 6,000 บาท โจทก์ถือเอาระยะเวลา ที่จำเลยผิดนัดจนถึงวันยึดรถคืน โจทก์เสียหายเป็นรายเดือนเดือนละ 5,745 บาท เท่ากับอัตราค่างวด และโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันยึดรถคืนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 18,992 บาทขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน เช่นนี้ เงินตามคำฟ้องของโจทก์ที่เรียกร้องจากจำเลยมิใช่เงินค่ารถแต่เป็นค่าเสียหายที่โจทก์ได้ขาดประโยชน์ไปเพราะจำเลยประพฤติผิดสัญญาเมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายในเรื่องอายุความกำหนดไว้เป็นพิเศษ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาสัญญาซื้อขายรถยนต์โดยปริยาย ค่าเสียหายจากการยึดคืนและค่าขาดประโยชน์
จำเลยทำสัญญาซื้อรถยนต์จากโจทก์โดยมีเงื่อนไข เมื่อจำเลยผิดนัดชำระเงินโจทก์ได้ใช้สิทธิตามสัญญาเข้ายึดรถคืนมาโดยมิได้มีกบอกเลิกสัญญาก่อน หลังจากนั้นโจทก์ขายรถดังกล่าวไป ซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้ง ถือว่าคู่สัญญาได้ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว ทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคแรกโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนราคารถยนต์ที่รับไปแล้วแก่จำเลย และจำเลยต้องชดใช้เงินค่าใช้ทรัพย์นั้นแก่โจทก์ด้วยโดยถือเป็นค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถตามฟ้อง แต่ถือได้ว่าราคารถยนต์ที่โจทก์ได้รับไปแล้วเป็นค่าใช้ทรัพย์ส่วนหนึ่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์โดยสุจริตและการครอบครองโดยชอบธรรม การที่สถานที่ประกอบธุรกิจไม่ใช่ตลาดทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
การที่โจทก์เป็นนิติบุคคลได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์ ไม่ได้ทำให้ที่ทำการของโจทก์มีสภาพเป็นท้องตลาดสำหรับขายรถยนต์ไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์โดยสุจริตในฐานะพ่อค้า vs. การยึดทรัพย์เพื่อดำเนินคดีอาญา: สิทธิและขอบเขตการคุ้มครอง
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์ โจทก์รับซื้อรถยนต์พิพาทไว้จาก ส. ซึ่งนำมาขายให้แก่โจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ไม่ได้ความว่าที่ทำการของโจทก์เป็นท้องตลาด การที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์นั้นไม่ได้ทำให้ที่ทำการของโจทก์มีสภาพเป็นท้องตลาดสำหรับขายรถยนต์ไปด้วย โจทก์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญาสืบสวนสอบสวนได้ความว่ารถยนต์พิพาทเป็นรถยนต์ของบริษัท ค. ซึ่งถูกคนร้ายปล้นไป จำเลยทั้งหกย่อมมีอำนาจยึดรถยนต์พิพาทไว้เพื่อประกอบคดีฐานปล้นทรัพย์และคืนให้แก่เจ้าของที่แท้จริงได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์โดยสุจริตและสภาพที่ไม่เป็นตลาด การยึดรถเพื่อตรวจสอบกรรมสิทธิ์
การที่โจทก์เป็นนิติบุคคลได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์ ไม่ได้ทำให้ที่ทำการของโจกท์มีสภาพเป็นท้องตลาดสำหรับขายรถยนต์ไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3268/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการสืบพยานในคดีซื้อขายรถยนต์: ประเด็นสุจริต, เพิกถอนสัญญา, ความเสียหาย
เมื่อจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็มีหน้าที่นำสืบให้เต็มตามฟ้อง และคดียังมีประเด็นตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2และคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์ว่า โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตหรือไม่ จำเลยที่ 2 มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ และจำเลยที่ 2 ได้รับความเสียหายเพียงใดหรือไม่อยู่อีกด้วยการที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้คู่ความสืบเฉพาะประเด็นว่าโจทก์ชำระเงินให้จำเลยที่ 1ครบถ้วนหรือไม่ จึงไม่ถูกต้อง ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี