คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ซื้อขายหุ้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์หุ้นตกแก่ผู้ซื้อทันทีเมื่อซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ การจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นเพียงการใช้ยันบุคคลภายนอก
ตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 มาตรา 20 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะขายหุ้นพิพาทได้บัญญัติให้การซื้อขายหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์กระทำได้เฉพาะหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์รับอนุญาตและโดยสมาชิกเท่านั้น สมาชิกจะทำการเป็นนายหน้าของบุคคลใด ๆ หรือเป็นตัวแทนบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งมิได้เป็นสมาชิกก็ได้ ฉะนั้น การซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ จึงมิใช่เป็นเรื่องการซื้อขายหุ้นตามปกติ แต่เป็นการซื้อขายหุ้นในกรณีพิเศษ และผู้ดำเนินการซื้อขายหุ้นแทนลูกค้ากับลูกค้ามีเจตนาผูกพันขอให้เป็นหุ้นประเภทจำนวนและราคาตามที่ตกลงสั่งซื้อหรือตกลงขายไว้ต่อกันเป็นปัจจัยสำคัญจึงเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งสามารถแยกจากการจดทะเบียนโอนหุ้นได้โดยเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในหุ้นตกแก่ผู้ซื้อทันทีที่มีการซื้อขายกันโดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนทั้งไม่ต้องจดแจ้งการโอนลงทะเบียนผู้ถือหุ้น ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 แต่อย่างใด การจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นเพียงเพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นใช้ยันต่อบริษัทที่ออกหุ้นหรือต่อบุคคลภายนอกหาได้เกี่ยวข้องถึงความสมบูรณ์ของการซื้อขายหุ้นไม่ เมื่อหุ้นพิพาทมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นและสลักหลังลอยให้แก่ ส. และ ส. มอบหุ้นพิพาทให้แก่ผู้ร้องเป็นตัวแทนนำไปขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ร้องเสนอขายให้บริษัท อ. แล้วบริษัท อ. ขายหุ้นพิพาทให้แก่ผู้ซื้อในวันนั้นเอง กรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทย่อมตกเป็นของผู้ซื้อทันที การที่โจทก์นำยึดหุ้นพิพาท จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจเพราะจำเลยที่ 2 มิได้เป็นเจ้าของหุ้นพิพาทแล้ว ผู้ร้องซึ่งรับหุ้นพิพาทคืนมาไว้ในครอบครองจึงเป็นเจ้าของผู้ถือหุ้นมีสิทธิร้องขอให้ปล่อยหุ้นดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องลงทะเบียนการโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10135/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การซื้อขายหุ้น, การรับเช็คของขวัญ, และการหาผลประโยชน์จากตั๋วสัญญาใช้เงิน การประเมินและพิสูจน์แหล่งที่มาของเงิน
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการประเมินภาษีอากรไม่ชอบด้วยมาตรา49แห่งประมวลรัษฎากรเพราะมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีนั้นแม้จะมิใช่ปัญหาที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลางแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ คดีนี้เจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้วิธีพิเศษกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นเองโดยถือเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของผู้มีเงินได้เป็นหลักในการพิจารณาซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา49แต่เป็นกรณีออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและแจ้งประเมินตามวิธีปกติตามมาตรา19,20,23,24แห่งประมวลรัษฎากรจึงไม่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์มอบเงินจำนวน15,000,000บาทให้ด. ไปหาผลประโยชน์ร่วมกับบุคคลอื่นแล้วด. ได้นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นดังกล่าวไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนต่างๆต่อมาด. จึงได้นำเงินมาคืนให้โจทก์จำนวน16,301,946.48บาทซึ่งแม้โจทก์จะได้เงินเพิ่มขึ้นจากเดิมจำนวน1,301,946.48บาทน่าเชื่อว่าเป็นเงินดอกเบี้ยจากตั๋วเงินที่ด. นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินและโจทก์ก็อ้างว่าด. ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้วซึ่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา50ก็ได้บัญญัติให้บริษัทผู้จ่ายดอกเบี้ยตั๋วเงินหักภาษีณที่จ่ายไว้เมื่อด. ในฐานะผู้จัดการของคณะบุคคลที่มอบหมายให้นำเงินไปหาผลประโยชน์ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้วโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้อีกตามประมวลรัษฎากรมาตรา6,42(14)และ56วรรคสุดท้าย เช็คของขวัญที่โจทก์ได้รับในปี2533จำนวน46ฉบับรวมเป็นเงิน83,102,500บาทนั้นโจทก์นำสืบว่าบริษัทส. จำกัดมอบให้โจทก์เป็นค่าซื้อที่ดินโดยบริษัทส. รับเช็คของขวัญดังกล่าวมาจากลูกค้าของบริษัทอีกต่อหนึ่งเช่นนี้แม้บริษัทส. จะได้ซื้อที่ดินจากโจทก์เป็นเงินถึง85,000,000บาทเศษดังที่โจทก์นำสืบจริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่บริษัทส. จะต้องชำระค่าที่ดินให้โจทก์โดยใช้เช็คแบ่งย่อยออกเป็นหลายฉบับโดยเฉพาะเป็นเช็คของขวัญที่มิใช่เช็คของบริษัทเองหรือแคชเชียร์เช็คซึ่งน่าจะใช้เป็นหลักฐานในการชำระเงินได้ดีกว่าดังนี้เมื่อพยานหลักฐานโจทก์พิรุธไร้น้ำหนักไม่น่าเชื่อการที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือว่าเงินตามเช็คดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา40(8)ของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8182/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นและสัญญาต่างตอบแทน: ความชัดเจนในการฟ้องร้องและการปฏิบัติหนี้
โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องว่า น. บิดาของโจทก์ทั้งสามเข้าหุ้นกับจำเลยทั้งสามทำกิจการปั้นจั่นรับจ้างทั่วไป ต่อมา น. และจำเลยทั้งสามตกลงกันว่า น. ขอคืนหุ้นปั้นจั่นและหุ้นในห้างหุ้นส่วนดังกล่าวทั้งหมดให้แก่จำเลยทั้งสามและจำเลยทั้งสามจะคืนเงินค่าหุ้นจำนวน 600,000 บาท โดยแบ่งชำระเป็น3 งวดให้แก่ให้ น. ดังนี้ ข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้แบ่งแยกราคาตามประเภทของหุ้น คงเรียกร้องรวมกันมาว่าจำเลยทั้งสามไม่ชำระราคาค่าหุ้นตามที่ตกลงกันไว้เท่านั้น คดีจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องแยกราคาตามประเภทของหุ้น จึงถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เพียงพอที่จะให้จำเลยทั้งสามเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บันทึกข้อตกลงซื้อขายหุ้น มีข้อสัญญาว่า น. บิดาของโจทก์ทั้งสามขอคืนหุ้นปั้นจั่นกับหุ้นในห้างหุ้นส่วนให้แก่จำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามจะชำระเงินคืนให้ น. จำนวน 600,000 บาท โดยแบ่งชำระเป็น 3 งวด และ น. จะเซ็นชื่อให้จำเลยทั้งสามในใบโอนหุ้นของห้างหุ้นส่วน ดังนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ต่างฝ่ายต่างจะต้องปฏิบัติการชำระหนี้แก่กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่ต้องทำตามแบบการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ และไม่จำเป็นต้องทำสัญญาเป็นหนังสือ
การซื้อขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์มิใช่การซื้อขายหุ้นตามปกติธรรมดาไม่จำต้องปฏิบัติตามแบบของการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129และการตั้งตัวแทนเพื่อซื้อและขายหุ้นดังกล่าวก็ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งมีมูลหนี้จากที่จำเลยที่1กู้ยืมเงินจากโจทก์หาใช่ฟ้องให้จำเลยที่1ชำระหนี้กู้ยืมเงินโดยตรงไม่จึงไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญมาเป็นพยานต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7501/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้น, หนังสือรับสภาพหนี้, และการตั้งตัวแทนตามกฎหมายหลักทรัพย์
ตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 44 วรรคแรก การตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน หมายความถึงเฉพาะการตั้งตัวแทนหรือนายหน้าเพื่อให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เท่านั้นที่จะต้องขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน ส่วนการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแม้จะถือว่าเป็นการตั้งตัวแทนก็ไม่ต้องขอนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเพราะการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเป็นอำนาจทั่วไปที่บุคคลมีอยู่ตามกฎหมาย
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่ใช่เรื่องซื้อขายหุ้นตามปกติแต่เป็นการซื้อขายหุ้นในกรณีพิเศษจึงไม่จำต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129แต่อย่างใด และตาม พ.ร.บ. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517มาตรา 20 บัญญัติว่า การซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ให้กระทำได้เฉพาะหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์อนุญาตและโดยสมาชิกเท่านั้น แสดงว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์กระทำได้เฉพาะสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์เท่านั้นซึ่งจำเลยก็ทราบดี แต่ก็ยังยินยอมแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนซื้อหรือขายหลักทรัพย์เมื่อจำเลยสมัครใจเข้าซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ก็ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด จะอ้างว่าถูกเอาเปรียบไม่ได้
ตามบันทึกข้อตกลงมีการคิดคำนวณหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์และมีการนำเงินที่จำเลยวางไว้เป็นประกันพร้อมดอกเบี้ยกับมูลค่าหุ้นที่จำเลยมีอยู่มาตีราคานำมาหักชำระหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์และมีการตกลงผ่อนชำระกันไว้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาให้เอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้มีผลผูกพันใช้บังคับได้ตามกฎหมาย จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า เอกสารท้ายฟ้องไม่ใช่หนังสือรับสภาพหนี้ตามกฎหมาย จำเลยไม่เป็นหนี้โจทก์จำเลยไม่ต้องรับผิดแสดงว่าจำเลยปฏิเสธไม่ชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ทั้งหมด ถือได้ว่าจำเลยไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตามหนังสือรับสภาพหนี้ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดได้ และเมื่อจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดในการชำระหนี้ โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยตามหนังสือรับสภาพหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7501/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจซื้อขายหุ้นและการบังคับชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟ้องซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 44 วรรคแรก การตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน หมายความถึงเฉพาะการตั้งตัวแทนหรือนายหน้าเพื่อให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เท่านั้นที่จะต้องขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน ส่วนการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแม้จะถือว่าเป็นการตั้งตัวแทนก็ไม่ต้องขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเพราะการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเป็นอำนาจทั่วไปที่บุคคลมีอยู่ตามกฎหมาย การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่ใช่เรื่องซื้อขายหุ้นตามปกติแต่เป็นการซื้อขายหุ้นในกรณีพิเศษจึงไม่จำต้องปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 แต่อย่างใดและตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517มาตรา 20 บัญญัติว่า การซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ให้กระทำได้เฉพาะหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์อนุญาตและโดยสมาชิกเท่านั้น แสดงว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์กระทำได้เฉพาะสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์เท่านั้นซึ่งจำเลยก็ทราบดีแต่ก็ยังยินยอมแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนซื้อหรือขายหลักทรัพย์เมื่อจำเลยสมัครใจเข้าซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ก็ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด จะอ้างว่าถูกเอาเปรียบไม่ได้ ตามบันทึกข้อตกลงมีการคิดคำนวณหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์และมีการนำเงินที่จำเลยวางไว้เป็นประกันพร้อมดอกเบี้ยกับมูลค่าหุ้นที่จำเลยมีอยู่มาตีราคานำมาหักชำระหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์และมีการตกลงผ่อนชำระกันไว้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาให้เอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้รับสภาพหนี้มีผลผูกพันใช้บังคับได้ตามกฎหมาย จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า เอกสารท้ายฟ้องไม่ใช่หนังสือรับสภาพหนี้ตามกฎหมาย จำเลยไม่เป็นหนี้โจทก์จำเลยไม่ต้องรับผิดแสดงว่าจำเลยปฏิเสธไม่ชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ทั้งหมดถือได้ว่าจำเลยไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตามหนังสือรับสภาพหนี้ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดได้ และเมื่อจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดในการชำระหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยตามหนังสือรับสภาพหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้สัญญากู้เงินซื้อขายหุ้น - คดีไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
โจทก์ฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้จากสัญญากู้เงินเพื่อซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 164 โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยโดยอาศัยมูลหนี้จากเงินค่าที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายซื้อหุ้นคืนซึ่งมีอายุความ 2 ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทการซื้อขายหุ้นและการทดรองเงิน กรณีตัวแทนเรียกเงินคืน อายุความ 10 ปี
การที่ผู้ร้องสั่งซื้อหุ้นกับจำเลยโดยผู้ร้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินนำไปวางเป็นหลักประกัน ผู้ร้องมีสิทธิสั่งซื้อหุ้นได้เป็นเงินไม่เกิน 3 เท่า ของจำนวนเงินที่วางประกัน เมื่อซื้อหุ้นได้แล้วจำเลยจะออกเงินทดรองค่าซื้อหุ้นให้ผู้ร้องก่อน โดยทำเป็นหนังสือว่าผู้ร้องได้กู้เงินของจำเลยไป ต่อมาถ้ามีการขายหุ้นดังกล่าวก็จะหักทอนบัญชีกัน ถ้าได้กำไรก็จะนำเข้าบัญชีให้ผู้ร้องแต่ถ้าขาดทุนจะเรียกให้ผู้ร้องชำระการเรียกเงินดังกล่าวเป็นเรื่องตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 ไม่ใช่กรณีที่จำเลยเป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปจากผู้ร้องตามมาตรา 165(7).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นตามคำสั่ง แม้ไม่มีสัญญาซื้อขายหุ้นฉบับตลาดหลักทรัพย์ ก็มีผลผูกพันตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
โจทก์ได้จัดการซื้อหุ้นตามฟ้องตามคำสั่งซื้อของจำเลยและโจทก์ออกเงินค่าหุ้นแทนจำเลยไป แม้จะไม่มีสัญญาซื้อขายหุ้นฉบับตลาดหลักทรัพย์มาเป็นพยาน จำเลยก็มีหน้าที่ตามคำขอเปิดบัญชีเดินสะพัดซื้อขายหลักทรัพย์ที่จะต้องชำระเงินคืนให้โจทก์ตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นตามคำสั่ง: หน้าที่ชำระหนี้แม้ไม่มีสัญญาซื้อขายหุ้นฉบับตลาดหลักทรัพย์
โจทก์ได้จัดการซื้อหุ้นตามฟ้องตามคำสั่งซื้อของจำเลย และโจทก์ออกเงินค่าหุ้นแทนจำเลยไป แม้จะไม่มีสัญญาซื้อขายหุ้นฉบับตลาดหลักทรัพย์มาเป็นพยาน จำเลยก็มีหน้าที่ตามคำขอเปิดบัญชีเดินสะพัดเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ที่จะต้องชำระเงินคืนให้โจทก์ตามฟ้อง
of 8