พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2293/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีข้อผูกพันก่อนซื้อฝาก และสิทธิอุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยาน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินร่วมกับเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง โจทก์ได้ครอบครองที่ดินนั้นเป็นส่วนสัดอยู่ก่อนจำเลยได้รับซื้อฝากที่ดินสืบต่อมาจากเจ้าของรวมคนนั้นแล้ว และจำเลยได้รู้เห็นยินยอมในการที่โจทก์กับเจ้าของรวมคนดังกล่าวขอรังวัดแบ่งแยกโฉนดไปตามส่วนของที่ดิน ที่โจทก์ครอบครอง ขอบังคับจำเลยให้แบ่งแยกโฉนดตามที่เจ้าพนักงานรังวัดไว้นั้น ดังนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามข้อผูกพันที่จำเลยได้รู้และมีอยู่ก่อนจำเลยได้รับซื้อฝากที่ดิน ไม่ใช่เรื่องฟ้องขอให้บังคับตามสัญญา หรือตามเรื่องประนีประนอมยอมความ กรณีเช่นนี้ แม้มิได้มีหนังสือระหว่างโจทก์จำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลย
การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า ตามคำฟ้อง คำให้การ คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมายนั้น เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ โจทก์ก็มีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งได้
การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า ตามคำฟ้อง คำให้การ คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมายนั้น เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ โจทก์ก็มีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2293/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีเจ้าของร่วมแบ่งแยกที่ดินก่อนจำเลยซื้อฝาก และจำเลยรู้เห็นยินยอมการแบ่งแยก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินร่วมกับเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่ง โจทก์ได้ครอบครองที่ดินนั้นเป็นส่วนสัดอยู่ก่อนจำเลยรับซื้อฝากที่ดินจากเจ้าของรวมคนนั้น เมื่อโจทก์กับเจ้าของรวมได้รังวัดเพื่อแบ่งแยกโฉนดไปตามส่วนที่โจทก์ครอบครอง จำเลยก็รู้เห็นยินยอมด้วย ต่อมาจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่รับซื้อฝาก ขอให้บังคับจำเลยแบ่งแยกโฉนดตามที่เจ้าพนักงานรังวัดแบ่งแยกไว้ ดังนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามข้อผูกพันที่จำเลยได้รู้และมีอยู่ก่อนจำเลยรับซื้อฝากที่ดิน หาใช่เรื่องฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาหรือตามเรื่องประนีประนอมยอมความไม่ กรณีเช่นนี้แม้มิได้มีหนังสือระหว่างโจทก์จำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องได้
การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย แล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมาย เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 227 แม้คู่ความจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยานไว้ ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้
การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย แล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมาย เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 227 แม้คู่ความจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยานไว้ ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โจทก์รู้เห็นเป็นใจฉ้อโกงจำเลย ย่อมไม่อาจฟ้องขอเพิกถอนการซื้อฝากที่สุจริตได้
โจทก์รู้เห็นเป็นใจให้ ด. นำโฉนดของโจทก์ไปหลอกขายฝากจำเลย โดยอ้างว่าเป็นโฉนดของ ด. เอง ดังนี้ โจทก์จะอ้างเอาความไม่สุจริตของโจทก์มาฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายฝากซึ่งจำเลยรับซื้อฝากไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าของใหม่หลังการซื้อฝาก และหน้าที่การชำระค่าเช่าของผู้เช่าต่อเจ้าของใหม่
โจทก์รับซื้อฝากโรงเรือนพิพาทจากเจ้าของโรงเรือน แล้วผู้ขายฝากไม่ซื้อคืนภายในกำหนด กรรมสิทธิ์ในโรงเรือนนั้นจึงตกไปเป็นของโจทก์โดยเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491 และจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าโรงเรือนพิพาทนั้นก็ทราบแล้ว แต่จำเลยก็ไม่เคยเอาค่าเช่าไปชำระให้แก่โจทก์ โจทก์ทวงถามก็ไม่ชำระ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยขอให้ศาลเรียกสำนวนคดีดำคดีแดงในศาลนั้นมาประกอบการพิจารณาศาลอนุญาตแล้ว ส่วนการที่ศาลจะรับฟังหรือไม่ ศาลมีอำนาจที่จะกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86,87
เมื่อเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็จะยกขึ้นอ้างอิงในฎีกาไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างแล้ว จำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าเกินกว่าสองคราวติด ๆ กัน จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 มาตรา 17(1)
จำเลยขอให้ศาลเรียกสำนวนคดีดำคดีแดงในศาลนั้นมาประกอบการพิจารณาศาลอนุญาตแล้ว ส่วนการที่ศาลจะรับฟังหรือไม่ ศาลมีอำนาจที่จะกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86,87
เมื่อเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็จะยกขึ้นอ้างอิงในฎีกาไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างแล้ว จำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าเกินกว่าสองคราวติด ๆ กัน จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 มาตรา 17(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการซื้อฝากแทนและผลกระทบต่อการครอบครองและการซื้อขาย
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์รับซื้อฝากที่ดินไว้จากผู้มีชื่อ เจ้าของเดิมไม่ไถ่คืน ที่ดินและโรงเรือนพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ แต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าหลวงศรีสุพรรณดิษฐ์รับซื้อฝากที่ดินแทนโจทก์ ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น และคำฟ้องโจทก์ไม่ได้แตกต่างกับข้อเท็จจริงในทางพิจารณา เพราะเป็นการสืบถึงรายละเอียดของวิธีรับซื้อฝากและความเป็นมาแห่งการเป็นเจ้าของที่ดินของโจทก์
แม้การรับซื้อฝากแทนโจทก์จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่ผู้รับซื้อฝากได้ครอบครองแทนโจทก์ ที่พิพาทก็ตกเป็นของโจทก์ได้โดยทางครอบครอง
ที่วิวาทจะเป็นของโจทก์หรือเป็นของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นเรื่องระหว่างรัฐกับโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นเอกชนไม่มีสิทธิที่จะยกบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์
ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาไม่มีข้อความตอนใดเคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ ตามคำให้การของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ตรงไหน ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
วัดเป็นนิติบุคคลที่ทำการรับซื้อฝากที่ดินและเรือนได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา วัตถุประสงค์ของวัดไม่จำต้องกล่าวในฟ้อง เพราะไม่ได้มีกฎหมายบัญญัติให้วัดแจ้งวัตถุประสงค์ไว้แต่อย่างใด
เมื่อจำเลยมิได้ยกประเด็นที่ฎีกาขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ จะยกขึ้นมากล่าวในชั้นฎีกาไม่ได้.
แม้การรับซื้อฝากแทนโจทก์จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่ผู้รับซื้อฝากได้ครอบครองแทนโจทก์ ที่พิพาทก็ตกเป็นของโจทก์ได้โดยทางครอบครอง
ที่วิวาทจะเป็นของโจทก์หรือเป็นของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นเรื่องระหว่างรัฐกับโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นเอกชนไม่มีสิทธิที่จะยกบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์
ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาไม่มีข้อความตอนใดเคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ ตามคำให้การของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ตรงไหน ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
วัดเป็นนิติบุคคลที่ทำการรับซื้อฝากที่ดินและเรือนได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา วัตถุประสงค์ของวัดไม่จำต้องกล่าวในฟ้อง เพราะไม่ได้มีกฎหมายบัญญัติให้วัดแจ้งวัตถุประสงค์ไว้แต่อย่างใด
เมื่อจำเลยมิได้ยกประเด็นที่ฎีกาขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ จะยกขึ้นมากล่าวในชั้นฎีกาไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อฝากที่ดิน การครอบครองปรปักษ์ และสิทธิเหนือที่ดิน: ข้อพิพาทระหว่างวัดกับเอกชน
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์รับซื้อฝากที่ดินไว้จากผู้มีชื่อเจ้าของเดิมไม่ไถ่คืนที่ดินและโรงเรือนพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าหลวงศรีสุพรรณดิษฐ์รับซื้อฝากที่ดินแทนโจทก์ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น และคำฟ้องโจทก์ไม่ได้แตกต่างกับข้อเท็จจริงในทางพิจารณา เพราะเป็นการสืบถึงรายละเอียดของวิธีรับซื้อฝากและความเป็นมาแห่งการเป็นเจ้าของที่ดินของโจทก์
แม้การรับซื้อฝากแทนโจทก์จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่ผู้รับซื้อฝากได้ครอบครองแทนโจทก์ ที่พิพาทก็ตกเป็นของโจทก์ได้โดยทางครอบครอง
ที่วิวาทจะเป็นของโจทก์หรือเป็นของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นเรื่องระหว่างรัฐกับโจทก์จำเลยซึ่งเป็นเอกชนไม่มีสิทธิที่จะยกบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์
ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาไม่มีข้อความตอนใดเคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ตรงไหน ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
วัดเป็นนิติบุคคลที่ทำการรับซื้อฝากที่ดินและเรือนได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาวัตถุประสงค์ของวัดไม่จำต้องกล่าวในฟ้องเพราะไม่ได้มีกฎหมายบัญญัติให้วัดแจ้งวัตถุประสงค์ไว้แต่อย่างใด
เมื่อจำเลยมิได้ยกประเด็นที่ฎีกาขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จะยกขึ้นมากล่าวในชั้นฎีกาไม่ได้
แม้การรับซื้อฝากแทนโจทก์จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่ผู้รับซื้อฝากได้ครอบครองแทนโจทก์ ที่พิพาทก็ตกเป็นของโจทก์ได้โดยทางครอบครอง
ที่วิวาทจะเป็นของโจทก์หรือเป็นของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นเรื่องระหว่างรัฐกับโจทก์จำเลยซึ่งเป็นเอกชนไม่มีสิทธิที่จะยกบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์
ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาไม่มีข้อความตอนใดเคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ตรงไหน ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
วัดเป็นนิติบุคคลที่ทำการรับซื้อฝากที่ดินและเรือนได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาวัตถุประสงค์ของวัดไม่จำต้องกล่าวในฟ้องเพราะไม่ได้มีกฎหมายบัญญัติให้วัดแจ้งวัตถุประสงค์ไว้แต่อย่างใด
เมื่อจำเลยมิได้ยกประเด็นที่ฎีกาขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จะยกขึ้นมากล่าวในชั้นฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ทรัพย์คืนจากผู้รับซื้อฝาก: ประเด็นอายุความและสิทธิของผู้รับมรดก
ข้อที่จำเลยฎีกาว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย จำเลยซื้อจากนายกองบิดาโจทก์ส่วนที่ซึ่งนายกองบิดาโจทก์ขายฝากจำเลยเป็นที่คนละแปลงนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับการไถ่โอนที่ดินคืนให้แก่โจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทไม่ใช่ที่ที่ขายฝาก จึงเป็นคดีที่มีคำขออันคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อราคาที่พิพาทไม่เกินห้าพันบาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่นายกองขายฝากอยู่ตรงไหน พร้อมทั้งได้แสดงแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง และมีสำเนาทะเบียนบุริมสิทธิฯลฯ แนบมาท้ายฟ้องด้วย เห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
อายุความตามมาตรา 1754 เป็นอายุความห้ามฟ้องคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก ส่วนคดีที่เจ้ามรดกเป็นเจ้าหนี้มิได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษในมาตรา 1754 แต่อย่างใด เมื่อเป็นคดีที่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของนายกองผู้ขายเดิมฟ้องขอไถ่ทรัพย์คืนจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับซื้อฝากตามมาตรา 497(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยหลังจากนายกองผู้ขายเดิมตายเกิน 1 ปีคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะคดีนี้ไม่เป็นคดีมรดกหรือเป็นคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก จะนำมาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
ข้อที่ว่าสิทธิในการไถ่ทรัพย์ตามมาตรา 497 พึงใช้ได้แก่บุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะให้เป็นผู้ไถ่ถอนได้ เมื่อนายกองผู้ขายเดิมไม่ได้ทำสัญญายอมให้โจทก์เป็นคนไถ่ถอน โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะไถ่ทรัพย์นั้น เป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่าในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามมาตรา 249 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับการไถ่โอนที่ดินคืนให้แก่โจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทไม่ใช่ที่ที่ขายฝาก จึงเป็นคดีที่มีคำขออันคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อราคาที่พิพาทไม่เกินห้าพันบาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่นายกองขายฝากอยู่ตรงไหน พร้อมทั้งได้แสดงแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง และมีสำเนาทะเบียนบุริมสิทธิฯลฯ แนบมาท้ายฟ้องด้วย เห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
อายุความตามมาตรา 1754 เป็นอายุความห้ามฟ้องคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก ส่วนคดีที่เจ้ามรดกเป็นเจ้าหนี้มิได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษในมาตรา 1754 แต่อย่างใด เมื่อเป็นคดีที่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของนายกองผู้ขายเดิมฟ้องขอไถ่ทรัพย์คืนจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับซื้อฝากตามมาตรา 497(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยหลังจากนายกองผู้ขายเดิมตายเกิน 1 ปีคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะคดีนี้ไม่เป็นคดีมรดกหรือเป็นคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก จะนำมาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
ข้อที่ว่าสิทธิในการไถ่ทรัพย์ตามมาตรา 497 พึงใช้ได้แก่บุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะให้เป็นผู้ไถ่ถอนได้ เมื่อนายกองผู้ขายเดิมไม่ได้ทำสัญญายอมให้โจทก์เป็นคนไถ่ถอน โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะไถ่ทรัพย์นั้น เป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่าในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามมาตรา 249 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าเมื่อมีการซื้อฝากและตัวแทนเชิด ศาลพิจารณาถึงผลผูกพันของสัญญาเช่าต่อผู้รับซื้อฝาก
จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์ โจทก์มีหนังสือยอมตกลงเลิกสัญญาเช่ากับจำเลย ถือว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับแล้ว
จำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 เป็นแม่ลูกกันและอยู่บ้านเดียวกัน จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาให้เช่าตึกแถวซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และจำเลยที่ 1 ได้ยอมตนผูกพันและปฏิบัติตนตามสัญญาเช่าที่จำเลยที่ 2 ทำกับผู้เช่า ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนไปทำสัญญาเช่ากับผู้เช่า สัญญาเช่านั้นจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย
โจทก์รับซื้อฝากตึกพิพาทจากจำเลย ทั้ง ๆ ที่รู้ดีแล้วว่าตึกพิพาทนั้นจำเลยได้ให้คนเช่าอยู่ โจทก์จึงต้องรับโอนตึกพิพาทนั้นไปทั้งสิทธิและหน้าที่ สัญญาเช่าจึงมีผลผูกพันโจทก์ด้วย เมื่อยังไม่ครบกำหนดตามสัญญาเช่าโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้เช่า
เมื่อจำเลยต่อสู้ว่า จำเลยทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 2 และมีผลผูกพันโจทก์ สัญญาเช่านั้นมีผลผูกพันโจทก์หรือไม่ ศาลจะต้องวินิจฉัยถึงมูลฐานซึ่งเป็นต้นเหตุให้จำเลยที่ 2 ไปทำสัญญาเช่า การที่ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2 ให้ไปทำสัญญาเช่าจึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น
โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกไปจากทรัพย์พิพาท ปรากฏว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยระงับแล้ว และจำเลยมิได้เกี่ยวข้องกับทรัพย์พิพาท ก็ไม่จำต้องพิพากษาบังคับ.
จำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 เป็นแม่ลูกกันและอยู่บ้านเดียวกัน จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาให้เช่าตึกแถวซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และจำเลยที่ 1 ได้ยอมตนผูกพันและปฏิบัติตนตามสัญญาเช่าที่จำเลยที่ 2 ทำกับผู้เช่า ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนไปทำสัญญาเช่ากับผู้เช่า สัญญาเช่านั้นจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย
โจทก์รับซื้อฝากตึกพิพาทจากจำเลย ทั้ง ๆ ที่รู้ดีแล้วว่าตึกพิพาทนั้นจำเลยได้ให้คนเช่าอยู่ โจทก์จึงต้องรับโอนตึกพิพาทนั้นไปทั้งสิทธิและหน้าที่ สัญญาเช่าจึงมีผลผูกพันโจทก์ด้วย เมื่อยังไม่ครบกำหนดตามสัญญาเช่าโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้เช่า
เมื่อจำเลยต่อสู้ว่า จำเลยทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 2 และมีผลผูกพันโจทก์ สัญญาเช่านั้นมีผลผูกพันโจทก์หรือไม่ ศาลจะต้องวินิจฉัยถึงมูลฐานซึ่งเป็นต้นเหตุให้จำเลยที่ 2 ไปทำสัญญาเช่า การที่ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2 ให้ไปทำสัญญาเช่าจึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น
โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกไปจากทรัพย์พิพาท ปรากฏว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยระงับแล้ว และจำเลยมิได้เกี่ยวข้องกับทรัพย์พิพาท ก็ไม่จำต้องพิพากษาบังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อฝากและสิทธิของตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อ ผู้รับซื้อฝากแทนมีอำนาจฟ้องได้
โจทก์เป็นกรรมการอำนวยการบริษัท ท.และบริษัททปค.โจทก์ให้ ส.ลงชื่อเป็นผู้ซื้อฝากทรัพย์รายพิพาทจากจำเลย แต่ความจริงปรากฏว่าบริษัท ทปค.เป็นผู้ซื้อฝากที่แท้จริง จำเลยมิได้ไถ่ทรัพย์คืนจนพ้นกำหนด ส.ถึงแก่กรรม ทายาทของส. โอนทรัพย์รายพิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อ คือ บริษัท ทปค. ยังมิได้แสดงตนเข้ารับเอาสัญญาที่โจทก์ได้ทรัพย์รายพิพาท โจทก์ก็คงมีสิทธิตามสัญญานั้นอยู่ มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและให้จำเลยส่งทรัพย์รายพิพาทให้ เมื่อโจทก์ฟ้องแล้วบริษัททปค. ร้องสอดขอเข้ามาในคดีเข้าแทนที่โจทก์รับเอาสัญญาจากโจทก์ โจทก์ก็ยินยอม ดังนี้ บริษัท ทปค.ก็ได้อำนาจจากโจทก์โดยตัวแทนยอมคืนทรัพย์สินให้ตัวการ จำเลยจะคัดค้านว่าโจทก์กับบริษัท ทปค.ไม่มีอำนาจฟ้องย่อมฟังไม่ได้
และเมื่อพ้นกำหนดการไถ่แล้ว ทรัพย์รายพิพาทไม่ใช่เป็นของจำเลยแล้วจำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่และใช้ทรัพย์นี้ได้ต่อไป ดังนั้น โจทก์จะเป็นผู้รับซื้อฝากเองหรือผู้ใดจะอ้างว่าเป็นตัวการเข้ารับเอาสัญญาที่โจทก์รับซื้อฝากแทน ผลก็เท่ากัน ไม่ทำให้เสื่อมสิทธิของจำเลยในการขายฝากนี้แต่อย่างใด เพราะเมื่อจำเลยไม่มีสิทธิในทรัพย์รายพิพาทแล้วทรัพย์นั้นจะเป็นของบริษัท ทปค.ผู้ร้องสอดดังที่ผู้ร้องสอดกล่าวอ้าง หรือว่าเป็นของบริษัท ท.โดยส.รับซื้อแทนดังที่จำเลยอ้าง ก็เป็นเรื่องของโจทก์ที่จะยอมรับตามความเป็นจริง จำเลยไม่อาจอ้างเรื่องสิทธิฟ้องร้องขึ้นต่อสู้ว่าทรัพย์นั้นเป็นของบริษัทท.
และเมื่อพ้นกำหนดการไถ่แล้ว ทรัพย์รายพิพาทไม่ใช่เป็นของจำเลยแล้วจำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่และใช้ทรัพย์นี้ได้ต่อไป ดังนั้น โจทก์จะเป็นผู้รับซื้อฝากเองหรือผู้ใดจะอ้างว่าเป็นตัวการเข้ารับเอาสัญญาที่โจทก์รับซื้อฝากแทน ผลก็เท่ากัน ไม่ทำให้เสื่อมสิทธิของจำเลยในการขายฝากนี้แต่อย่างใด เพราะเมื่อจำเลยไม่มีสิทธิในทรัพย์รายพิพาทแล้วทรัพย์นั้นจะเป็นของบริษัท ทปค.ผู้ร้องสอดดังที่ผู้ร้องสอดกล่าวอ้าง หรือว่าเป็นของบริษัท ท.โดยส.รับซื้อแทนดังที่จำเลยอ้าง ก็เป็นเรื่องของโจทก์ที่จะยอมรับตามความเป็นจริง จำเลยไม่อาจอ้างเรื่องสิทธิฟ้องร้องขึ้นต่อสู้ว่าทรัพย์นั้นเป็นของบริษัทท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินไม่ครบและหักค่านายหน้าไม่ใช่ยักยอก เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง
โจทก์เป็นนายหน้าขายฝากให้แก่จำเลย ผู้ขายฝากตกลงให้ค่านายหน้าแก่โจทก์ โจทก์ตกลงมอบให้จำเลยรับแทน
เมื่อวันทำสัญญาขายฝากจำเลยจ่ายเงินให้ผู้ขายฝากไม่ครบโดยหักค่านายหน้าไว้ กรณีดังกล่าวนี้ ระหว่างจำเลยกับผู้ขายฝากก็เป็นเรื่องจำเลยยังชำระหนี้ไม่ครบ ระหว่างจำเลยกับโจทก์ก็เป็นเรื่องหักเงินค่านายหน้าจากผู้ขายฝากไว้แล้วไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งทั้งสิ้น ไม่มีกรรมอันใดที่ประกอบให้เป็นองค์ความผิดในทางอาญาฐานยักยอกได้เลย.
เมื่อวันทำสัญญาขายฝากจำเลยจ่ายเงินให้ผู้ขายฝากไม่ครบโดยหักค่านายหน้าไว้ กรณีดังกล่าวนี้ ระหว่างจำเลยกับผู้ขายฝากก็เป็นเรื่องจำเลยยังชำระหนี้ไม่ครบ ระหว่างจำเลยกับโจทก์ก็เป็นเรื่องหักเงินค่านายหน้าจากผู้ขายฝากไว้แล้วไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งทั้งสิ้น ไม่มีกรรมอันใดที่ประกอบให้เป็นองค์ความผิดในทางอาญาฐานยักยอกได้เลย.