พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขัดทรัพย์ซ้ำ: ศาลยกคำร้องเนื่องจากเคยมีคำสั่งถึงที่สุดแล้วในประเด็นเดียวกัน
ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ยกคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้อง ในคราวก่อนเพราะผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบ เท่ากับว่าผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนข้ออ้างในประเด็น แห่งคดีที่ผู้ร้องนำมาฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาด ประเด็นแห่งคดีของผู้ร้องนั้นแล้ว ผู้ร้องจะร้องขัดทรัพย์ ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน อีกไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 148(1) เพราะมาตรา 288 ให้ศาลพิจารณาชี้ขาดคดีคำร้องขัดทรัพย์ นั้นเหมือนคดีธรรมดา คำร้องของ ผู้ร้องจึงเป็นคำร้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยในคดียาเสพติด: เหตุผลทางกฎหมายและข้อจำกัดในการเพิ่มโทษซ้ำ
จำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดตามฟ้อง ข้อที่จำเลยฎีกาว่า ด. เพื่อนจำเลยเป็นคนยัดเฮโรอีนของกลางใส่กระเป๋าจำเลย จากนั้นจำเลยเดินมาก็ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมพร้อมของกลาง จำเลยกระทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คดีก่อนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกแต่ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี คดีถึงที่สุดดังนี้ จำเลยย่อมยังไม่ได้รับโทษจำคุก จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเอาเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษจำเลยได้
การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทเพิ่มโทษจำเลยมาโดยไม่ชอบ แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 เป็นให้ยกคำขอให้เพิ่มโทษจำเลย
คดีก่อนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกแต่ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี คดีถึงที่สุดดังนี้ จำเลยย่อมยังไม่ได้รับโทษจำคุก จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเอาเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษจำเลยได้
การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทเพิ่มโทษจำเลยมาโดยไม่ชอบ แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 เป็นให้ยกคำขอให้เพิ่มโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7064/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อหาจราจร เนื่องจากศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้องแล้ว การฎีกาซ้ำจึงขัดต่อกฎหมาย
โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง,157 ทวิ วรรคหนึ่งและให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลย ซึ่งความผิดข้อหาดังกล่าว ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดข้อหาดังกล่าวอีกไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขอจัดการมรดกซ้ำ และการจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคน
ปัญหาว่าผู้คัดค้านมีอำนาจที่จะยื่นคำร้องของผู้คัดค้านต่อศาลได้หรือไม่เป็นอำนาจฟ้องแม้ผู้ร้องจะไม่ได้ยกขึ้นคัดค้านไว้ในคำร้องคัดค้านของตนแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนผู้ร้องจึงยกขึ้นฎีกาได้ ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนอกเหนือจากพินัยกรรมตามคำสั่งศาลส่วนผู้ร้องที่1กับพวกเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมและต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องผู้ร้องที่2และที่3ว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านซึ่งเป็นภริยาผู้ตายครึ่งหนึ่งรวมอยู่ด้วยและศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ร้องที่2และที่3แบ่งเงินฝากธนาคารตามพินัยกรรมให้แก่ผู้คัดค้านครึ่งหนึ่งเช่นนี้แสดงว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ครึ่งหนึ่งด้วยจึงมีสิทธิที่จะมาร้องขอจัดการมรดกในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมดังกล่าวอันเป็นทรัพย์มรดกคนละส่วนกันกับทรัพย์มรดกของผู้ตายนอกเหนือจากพินัยกรรมอีกได้ไม่เป็นการยื่นคำร้องขอจัดการมรดกซ้ำแต่อย่างใด คดีก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าพินัยกรรมของผู้ตายระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับเงินของผู้ตายที่ฝากธนาคารผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกลักษณะเฉพาะจึงมีสิทธิดีกว่าผู้คัดค้านในคดีนี้พิพากษากลับให้ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิจัดการแก่เงินฝากทั้งหมดของผู้ตายที่มีอยู่ในธนาคารห้ามผู้คัดค้านขัดขวางการจัดการมรดกในส่วนนี้ศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาของจำเลยคดีถึงที่สุดแล้วซึ่งจะเห็นได้ว่าในคดีดังกล่าวไม่มีปัญหาวินิจฉัยเรื่องเงินฝากธนาคารซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่งว่าเป็นของผู้คัดค้านในคดีนี้ด้วยหรือไม่แต่ในคดีนี้ข้อเท็จจริงยุติโดยได้มีคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดว่าผู้คัดค้านคดีนี้มีสิทธิในเงินฝากธนาคารซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่งการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาในคดีนี้ว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ด้วยครึ่งหนึ่งและพิพากษาให้ผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ด้วยครึ่งหนึ่งและพิพากษาให้ผู้คัดค้านเข้าจัดการมรดกร่วมจึงไม่เป็นการขัดกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีก่อน ที่ผู้ร้องฎีกาว่าหากให้ผู้คัดค้านมาจัดการมรดกผู้ตายร่วมกับผู้ร้องในคดีนี้แล้วจะทำให้การจัดการมรดกเป็นไปด้วยความยากลำบากและเสียเวลามากเพราะผู้คัดค้านจะคอยคัดค้านอยู่เสมอทั้งผู้คัดค้านและผู้ร้องอยู่คนละประเทศการจัดการมรดกของผู้ตายแต่ละครั้งจะต้องเดินทางไปพบกันเพื่อร่วมรับมรดกซึ่งเป็นการยุ่งยากที่จะหาเวลาว่างให้ตรงกันทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางจำนวนมากไม่สมควรที่จะให้ผู้คัดค้านจัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องเป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้านของผู้ร้องจึงเป็นฎีกานอกประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2729/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีต้องครบถ้วนในคราวเดียว หากประเมินซ้ำต้องไต่สวนใหม่ตามกฎหมาย
การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20 จะต้องมีการออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตามมาตรา 19 ก่อน และการประเมินเจ้าพนักงานประเมินจะต้องอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวน ดังนั้น เมื่อพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนตามอำนาจในมาตรา19 มีอยู่เท่าใด เจ้าพนักงานประเมินจะต้องตรวจสอบให้ครบถ้วนในคราวเดียวกัน แล้วจึงจะมีการแจ้งการประเมินไป มิใช่ว่าจะให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบหลักฐานเป็นส่วน ๆ แล้วทยอยแจ้งการประเมินไปในแต่ละคราวเท่าที่เห็นสมควร หากให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจที่จะแจ้งการประเมินหลายครั้งได้ เจ้าพนักงานประเมินก็สามารถทำการประเมินได้อีกโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ความรับผิดของผู้เสียภาษีก็ไม่มีกำหนดเวลาที่จะสิ้นสุดลงได้ ทั้งการแจ้งการประเมินครั้งแรกยังเป็นการแสดงว่าพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนตามมาตรา 19 ได้มีการพิจารณาเสร็จสิ้นไปแล้ว ถ้าจะมีการประเมินอีกครั้งก็ต้องมีการออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้วตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 19 ก่อน ไม่อาจที่จะอาศัยหมายเรียกมาไต่สวนครั้งเดียวนั้นเพื่อทำการแจ้งการประเมินอีกต่อไปได้ ดังนั้น การที่จำเลยประเมินครั้งหลังโดยไม่มีการออกหมายเรียกมาไต่สวนตามกำหนดเวลาที่มาตรา 19 กำหนดไว้จึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 20 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5808/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำในคดีการพนัน โดยการชำระค่าปรับถือเป็นการพ้นโทษแล้ว
โทษปรับเป็นโทษอย่างหนึ่งในจำพวกโทษทั้ง 5 ชนิดที่ลงแก่ผู้กระทำผิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 18(4) เมื่อศาลลงโทษปรับจำเลยและมีการชำระค่าปรับครบถ้วนแล้วในวันเวลาใดย่อมถือได้ว่าจำเลยได้พ้นโทษ นับแต่วันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้วฉะนั้น หากจำเลยพ้นโทษปรับแล้วยังไม่ครบกำหนด 3 ปี มากระทำผิดต่อ พ.ร.บ. การพนัน พ.ศ. 2478 อีก จึงเข้าหลักเกณฑ์ต้องเพิ่มโทษตามวิธีการที่ พ.ร.บ. การพนันฯ มาตรา 14 ทวิ ที่แก้ไขแล้วบัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายจากเช็คชำระหนี้รายเดียวกัน: ไม่มีอำนาจฟ้องซ้ำ
จำเลยที่ 1 เคยออกเช็คให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าซื้อบ้าน แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ศาลมีคำสั่งให้ออกหมายจับและจำหน่ายคดี ต่อมาจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ออกเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าซื้อบ้านแทนเช็คฉบับเดิม แต่เช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ความเสียหายของโจทก์อันสืบเนื่องมาจากมูลหนี้ค่าซื้อบ้านรายเดียวกันย่อมเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ออกเช็คฉบับเดิมต่อศาลและคดีอยู่ระหว่างพิจารณา ถือได้ว่าความเสียหายของโจทก์ในมูลหนี้รายนี้ไม่อาจเกิดขึ้นอีกได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามเช็คพิพาทอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีซ้ำ: ประเด็นต่างกัน ไม่ขัดมาตรา 144 ป.วิ.พ.
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.มาตรา 144 จะต้องเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีครั้งแรกมีประเด็นว่า จำเลยผิดนัดเพราะมิได้ชำระเงินงวดเดือนธันวาคม 2525 หรือไม่ โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีในครั้งหลังมีประเด็นว่า จำเลยผิดนัดเพราะชำระเงินไม่ตรงกับวันที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ จึงเป็นคนละประเด็นกัน กรณีจึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีซ้ำ: ศาลวินิจฉัยว่าประเด็นต่างกัน ไม่ขัดมาตรา 144 ป.วิ.พ.
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติของป.วิ.พ.มาตรา144จะต้องเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดแล้วโจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีครั้งแรกมีประเด็นว่าจำเลยผิดนัดเพราะมิได้ชำระเงินงวดเดือนธันวาคม2525หรือไม่โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีในครั้งหลังมีประเด็นว่าจำเลยผิดนัดเพราะชำระเงินไม่ตรงกับวันที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่จึงเป็นคนละประเด็นกันกรณีจึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา144.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำที่มีอายุไม่เกิน 17 ปี ต้องนำหลักเกณฑ์จากประมวลกฎหมายอาญามาใช้
จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกในคดีก่อนฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองมีกำหนด 6 เดือน ในขณะที่จำเลยมีอายุไม่เกิน 17 ปี แล้วมากระทำผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในคดีนี้อีก จะเพิ่มโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา97 ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 ได้บัญญัติให้นำบทบัญญัติในภาค 1 ไปใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้นๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 94 มาใช้บังคับแก่คดีนี้ด้วย