พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7108/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลการเลิกจ้างต่างจากการลงโทษทางวินัยเดิม ไม่ถือเป็นการซ้ำซ้อน
การที่จำเลยสั่งตัดเงินเดือนโจทก์เกิดจากสาเหตุโจทก์ประมาทเลินเล่อและบกพร่องต่อหน้าที่ในการปฏิบัติงานที่สาขาระนอง ส่วนการเลิกจ้างโจทก์นั้นเกิดจากสาเหตุการบกพร่องต่อหน้าที่ในการปฏิบัติงานของโจทก์ที่สาขาชุมพรดังนั้น การเลิกจ้างโจทก์จึงไม่ใช่มาจากสาเหตุที่โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ ณ สาขาระนอง การที่จำเลยสั่งเลิกจ้างโจทก์จึงไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับการลงโทษตัดเงินเดือนโจทก์ที่เกิด ณ สาขาระนองแต่อย่างใด การเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีสาเหตุอันสมควร มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าภาษีซ้ำซ้อนเมื่อคดีภาษีอยู่ระหว่างพิจารณา และผลของการแจ้งการประเมินภาษีต่ออายุความ
ก่อนฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระในคดีนี้ และคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลเท่ากับเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลตามความในมาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้ โจทก์จะมีสิทธิได้รับชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่ จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อน ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ภาษีอากรที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยเป็นคดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว นอกจากนี้การที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระเงินค่าภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ก็ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ และไม่เป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ การที่โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้จำเลยที่ 1 ทราบ เท่ากับเป็นการสั่งให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าภาษีอากรประเมินตามที่ ป.รัษฎากรบัญญัติให้อำนาจไว้ ซึ่งถ้าหากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าภาษีอากรภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็อาจถูกยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดโดยไม่จำต้องมีการฟ้องคดีอีก การที่โจทก์แจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบจึงมีผลบังคับตามกฎหมายที่ถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการที่เจ้าหนี้ฟ้องคดีเพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 173 เดิม ซึ่งมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3049/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายและจ้างทำของ: การประเมินภาษีซ้ำซ้อน และกรอบเวลาการประเมินที่ถูกต้อง
กรณีใดจะถือว่ารายรับใดเป็นรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า4การรับจ้างทำของจะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆไปเมื่อตามข้อสัญญาพิพาทโจทก์และลูกค้ามุ่งประสงค์ถึงการซื้อขายลิฟท์เครื่องปรับอากาศบันไดเลื่อนและการรับจ้างติดตั้งด้วยโดยข้อสัญญาได้ระบุราคาค่าลิฟท์เครื่องปรับอากาศหรือบันไดเลื่อนรวมภาษีขาเข้าภาษีการค้าและการขนส่งถึงสถานที่ติดตั้งเป็นจำนวนเงินแยกต่างหากจากราคาค่าแรงงานติดตั้งพร้อมทั้งวัสดุอุปกรณ์โดยที่สินค้าลิฟท์เครื่องปรับอากาศที่ทำสัญญาซื้อขายกันนั้นผู้ซื้อสามารถจ้างผู้อื่นให้ทำการติดตั้งได้แต่เพื่อความสะดวกผู้ซื้อก็จะว่าจ้างให้โจทก์ทำการติดตั้งไปในคราวเดียวกันซึ่งตามสัญญาซื้อขายนอกจากจะตกลงในเรื่องราคาสินค้าไว้แล้วก็จะทำการตกลงในเรื่องค่าแรงงานในการติดตั้งพร้อมทั้งวัสดุอุปกรณ์ไว้ด้วยในสัญญาฉบับเดียวกันแต่จะแยกราคาสินค้าและค่าแรงงานพร้อมทั้งวัสดุอุปกรณ์ออกต่างหากจากกันอย่างชัดเจนสัญญาเช่นนี้ย่อมทำได้เพราะไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนนอกจากนี้สัญญาดังกล่าวโจทก์ไม่ได้ทำการผลิตหรือทำวัตถุสิ่งใดขึ้นมาแต่วัตถุสิ่งของคือลิฟท์เครื่องปรับอากาศหรือบันไดเลื่อนนั้นมีอยู่สำเร็จรูปอยู่แล้วเพียงแต่โจทก์นำมาติดตั้งเท่านั้นทั้งข้อตกลงในสัญญายังได้ระบุเป็นเงื่อนไขว่าหากผู้ซื้อชำระราคาไม่ครบถ้วนสินค้าลิฟท์เครื่องปรับอากาศหรือบันไดเลื่อนยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์จนกว่าผู้ซื้อจะชำระราคาค่าสินค้าครบถ้วนแล้วซึ่งแสดงว่าคู่สัญญามุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ของสินค้าเพื่อตอบแทนการชำระราคาอันเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาซื้อขายสัญญาพิพาทจึงมิใช่เป็นสัญญาจ้างทำของเพียงประการเดียวแต่เป็นสัญญาซื้อขายส่วนหนึ่งและเป็นสัญญาจ้างทำของส่วนหนึ่งรวมอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันการที่สินค้าลิฟท์เครื่องปรับอากาศและบันไดเลื่อนโจทก์ได้เสียอากรขาเข้าและภาษีการค้าเมื่อขณะนำมาครบถ้วนแล้วต่อมาโจทก์นำสินค้าดังกล่าวไปขายย่อมไม่ต้องเสียภาษีการค้าอีกการที่จำเลยประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าจากการขายสินค้าดังกล่าวจากโจทก์อีกจึงเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อนไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ สัญญาซื้อขายลิฟท์เครื่องปรับอากาศและบันไดเลื่อนพิพาทเป็นสัญญาจ้างทำของเฉพาะค่าแรงติดตั้งพร้อมทั้งวัสดุอุปกรณ์หาใช่สัญญาจ้างทำของทั้งฉบับเมื่อสัญญาจ้างทำของเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรตามลักษณะแห่งตราสาร4แห่งบัญชีอากรแสตมป์โจทก์จึงมีหน้าที่ปิดอากรแสตมป์เฉพาะสำหรับค่าจ้างทำของเท่านั้นส่วนค่าลิฟท์เครื่องปรับอากาศและบันไดเลื่อนเป็นสัญญาซื้อขายจึงมิใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ ในปี2528โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับสำหรับเดือนกุมภาพันธ์กรกฎาคมสิงหาคมกันยายนและธันวาคมขาดไปเกินกว่าร้อยละ25ของรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าเป็นเงิน140,539,353.23บาทและในปี2529โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับสำหรับเดือนภาษีมกราคมกุมภาพันธ์มีนาคมมิถุนายนกรกฎาคมตุลาคมพฤศจิกายนและธันวาคมขาดไปเกินกว่าร้อยละ25ของรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าเป็นเงิน105,746,724.30บาทรายรับที่ขาดไปดังกล่าวข้างต้นเป็นรายรับเกี่ยวกับค่าลิฟท์ค่าเครื่องปรับอากาศและบันไดเลื่อนดังนี้เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องนำรายรับดังกล่าวมาเสียภาษีการค้าโจทก์จึงไม่ต้องนำรายรับเกี่ยวกับค่าลิฟท์ค่าเครื่องปรับอากาศและบันไดเลื่อนมารวมคำนวณในการยื่นแบบแสดงรายการการค้าอีกดังนั้นจึงฟังได้ว่าในปี2528และปี2529สำหรับเดือนภาษีดังกล่าวโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละ25ของยอดรายรับที่แสดงใบแบบแสดงรายการการค้าเจ้าพนักงานประเมินจึงต้องทำการประเมินภายในกำหนดเวลา5ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา88ทวิ(1)ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินและแจ้งการประเมินภาษีการค้าสำหรับปี2528และปี2529เมื่อวันที่30มิถุนายน2537โจทก์ได้รับแจ้งเมื่อวันที่11กรกฎาคม2537จึงเกินกำหนดเวลา5ปีการประเมินภาษีการค้าดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการประมาท: การหักเงินชดใช้แล้วออกจากค่าเสียหายที่เรียกร้องเพื่อป้องกันการซ้ำซ้อน
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์โดยประมาทและจำเลยที่ 2 นายจ้างของจำเลยที่ 1 ร่วมกันชำระค่าเสียหายพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ได้ประนีประนอม-ยอมความกับโจทก์ทั้งสองโดยจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ทั้งสองเป็นเงิน300,000 บาท แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง ในวันนัดสืบพยานโจทก์โจทก์ทั้งสองแถลงว่า ได้รับเงินเพื่อบรรเทาความเสียหายจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน300,000 บาท แต่ไม่ใช่เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนี้จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงไม่จำต้องนำพยานเข้าสืบว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงิน 300,000 บาทให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้วอีก เมื่อคดีมีประเด็นเพียงว่าได้มีการทำสัญญาประนีประนอม-ยอมความกันแล้วหรือไม่ และศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่ได้เป็นการทำสัญญาประนีประนอม-ยอมความกัน แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1และที่ 2 แต่ต้องหักเงิน 300,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้วออกจากค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ทั้งสองฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ชดใช้แก่โจทก์ทั้งสองมีผลมาจากการที่จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความประมาทอันเป็นความผิดอาญา ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้แก่โจทก์ทั้งสองเพื่อบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ทั้งสอง แม้จะไม่ครบถ้วนตามจำนวนเงินค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ก็ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้รับเงินชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ส่วนหนึ่งแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าเสียหายส่วนที่ตนได้รับชดใช้แล้วได้อีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน การที่ศาลอุทธรณ์ให้นำเงินดังกล่าวมาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องชำระให้แก่โจทก์ทั้งสองชอบแล้ว
ค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ทั้งสองฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ชดใช้แก่โจทก์ทั้งสองมีผลมาจากการที่จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความประมาทอันเป็นความผิดอาญา ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้แก่โจทก์ทั้งสองเพื่อบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ทั้งสอง แม้จะไม่ครบถ้วนตามจำนวนเงินค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ก็ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้รับเงินชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ส่วนหนึ่งแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าเสียหายส่วนที่ตนได้รับชดใช้แล้วได้อีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน การที่ศาลอุทธรณ์ให้นำเงินดังกล่าวมาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องชำระให้แก่โจทก์ทั้งสองชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษซ้ำซ้อนในคดีอาญาที่เกี่ยวพันกัน และอำนาจแก้ไขคำสั่งบังคับคดี
คดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 5750/2529 ของศาลชั้นต้นมีลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกับที่จำเลยถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีดังกล่าว คดีทั้งสองสำนวนมีความเกี่ยวพันโดยอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ เมื่อโจทก์แยกฟ้องคดีนี้กับคดีที่ขอให้นับโทษต่อโดยศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกัน หากศาลลงโทษจำคุกจำเลยทุกกรรมเต็มตามที่กำหนดไว้ใน ป.อ.มาตรา 91 (2) ในสำนวนใดสำนวนหนึ่งแล้ว ก็ไม่อาจนับโทษต่อในอีกสำนวนหนึ่งได้เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกว่าที่ ป.อ.มาตรา 91 (2) กำหนดไว้
ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดแก่จำเลยแล้ว หากปรากฏว่าการนับโทษขัดต่อกฎหมาย ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งแก้ไขได้ เพราะไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา แต่เป็นเรื่องการบังคับคดีซึ่งศาลชั้นต้นต้องออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดแก่จำเลยแล้ว หากปรากฏว่าการนับโทษขัดต่อกฎหมาย ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งแก้ไขได้ เพราะไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา แต่เป็นเรื่องการบังคับคดีซึ่งศาลชั้นต้นต้องออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อ การคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อน และการลดเบี้ยปรับตามกฎหมาย
สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศข้อ7ก.ข้อ8และข้อ9ความว่าในกรณีที่จำเลยที่1ผิดสัญญาไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการหลังจากการศึกษาของจำเลยที่1ยุติลงและเป็นเหตุให้จำเลยที่1ถูกลงโทษทางวินัยให้ไล่ออกจากราชการจำเลยที่1จะต้องชดใช้เงินทุกเงินเดือนและเงินอื่นใดที่จำเลยที่1ได้รับไปในระหว่างศึกษาต่อคืนแก่โจทก์ทั้งหมดพร้อมทั้งเบี้ยปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของเงินที่จำเลยที่1ต้องชดใช้คืนแก่โจทก์นอกจากนี้จำเลยที่1ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากเงินที่ยังมิได้ชำระคืนในอัตราร้อยละ12ต่อปีอีกด้วยข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกำหนดเบี้ยปรับเมื่อจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา380อีกส่วนหนึ่งด้วยเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษาให้จำเลยที่1ชำระเบี้ยปรับเป็นจำนวนเงินหนึ่งเท่าของเงินที่จำเลยที่1ต้องชดใช้คืนให้แก่โจทก์ครบจำนวนแล้วหากนำเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นเบี้ยปรับอัตราร้อยละ12ต่อปีรวมเข้าเป็นเบี้ยปรับอีกจำนวนหนึ่งย่อมทำให้เบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับมีจำนวนสูงเกินไปศาลชอบที่จะลดเบี้ยปรับให้เหลือเพียงจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383วรรคหนึ่งดังนั้นโจทก์ย่อมไม่สมควรได้รับดอกเบี้ยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทิ้งฟ้องฎีกาจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และสิทธิเรียกร้องค่าขาดแรงงานครัวเรือนที่ซ้ำซ้อนกับคดีอื่น
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ที่2และให้โจทก์ที่2นำส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยภายใน5วันไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน15วันนับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้องฎีกา ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ที่2ให้นำฎีกามายื่นลงชื่อทราบคำสั่งแล้วถือว่าโจทก์ที่2ได้ทราบคำสั่งแล้วต่อมาพนักงานเดินหมายนำหมายส่งสำเนาฎีกาไปส่งให้แก่จำเลยที่1แต่ส่งไม่ได้โจทก์ที่2ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน15วันจึงเป็นการ ทิ้งฟ้องฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2) ค่าขาดแรงงานในครอบครัวที่ภริยาโจทก์ที่1ถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำละเมิดของจำเลยทั้งสามเมื่อโจทก์ที่2ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ที่1กับผู้ตายอาศัยอยู่บ้านเดียวกับโจทก์ที่1การที่โจทก์ที่1จ้างบุคคลอื่นมาทำงานแทนผู้ตายโจทก์ที่2ย่อมได้รับประโยชน์จากการทำงานของบุคคลอื่นนี้ด้วยทั้งโจทก์ที่2ก็มิได้จ้างบุคคลอื่นมาช่วยทำงานอีกเมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์ที่1แล้วความเสียหายของโจทก์ที่2ในส่วนนี้ย่อมหมดไปโจทก์ที่2ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากความตายและการขาดแรงงานครัวเรือน: สิทธิเรียกร้องซ้ำซ้อน
โจทก์ที่2ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ที่1กับผู้ตายอาศัยอยู่บ้านเดียวกับโจทก์ที่1การที่โจทก์ที่1จ้างม.มาทำงานบ้านทุกอย่างที่ผู้ตายเคยทำอยู่แทนผู้ตายโจทก์ที่2ย่อมได้รับประโยชน์จากการทำงานของม. ด้วยทั้งโจทก์ที่2ก็มิได้จ้างบุคคลอื่นมาช่วยทำงานอีกเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดแรงงานในครอบครัวของผู้ตายซึ่งเป็นภริยาโจทก์ที่1ซึ่งถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำละเมิดของจำเลยแก่โจทก์ที่1แล้วความเสียหายของโจทก์ที่2ในส่วนนี้ย่อมหมดไปโจทก์ที่2ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาซ้ำซ้อนและขอบเขตการลงโทษจำคุกกระทง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147,157, 265 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 147 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำเลยกระทำความผิด 23 กระทง เรียงกระทงลงโทษจำคุกกระทงละ 5 ปี รวมจำคุก 115 ปี และมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265,268 แต่ลงโทษตามมาตรา 268 วรรคสอง ประกอบมาตรา 265 จำเลยกระทำความผิด 23 กระทง เรียงกระทงลงโทษ จำคุกกระทงละ 1 ปี รวมจำคุก23 ปี รวมโทษจำคุก จำเลยทั้งหมด 138 ปี แต่ให้จำคุกจำเลยเพียง 50 ปี ตามป.อ. มาตรา 91 (3) ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามป.อ. มาตรา 147 , 265, 268 กระทงเดียว เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 147 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดจำคุก 5 ปีและไม่ปรับบทกระทำผิดของจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีกเท่านั้น จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปีจำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงทำนองว่า ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง แต่ถ้าศาลฎีกาฟังว่าจำเลยกระทำความผิด ขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษแก่จำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษอาญาซ้ำซ้อนและหลักการใช้กฎหมายบทหนัก กรณีจำเลยกระทำผิดหลายกระทง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147,157,265 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทลงโทษตามมาตรา 147 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดจำเลยกระทำความผิด 23 กระทง เรียงกระทงลงโทษจำคุกกระทงละ 5 ปีรวมจำคุก 115 ปี และมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265,268 แต่ลงโทษตามมาตรา 268 วรรคสอง ประกอบมาตรา 265จำเลยกระทำความผิด 23 กระทง เรียงกระทงลงโทษ จำคุกกระทงละ 1 ปีรวมจำคุก 23 ปี รวมโทษจำคุก จำเลยทั้งหมด 138 ปี แต่ให้จำคุกจำเลยเพียง 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,265,268 กระทงเดียวเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 147ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดจำคุก 5 ปี และไม่ปรับบทกระทำผิดของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีกเท่านั้น จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงทำนองว่า ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง แต่ถ้าศาลฎีกาฟังว่าจำเลยกระทำความผิด ขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษแก่จำเลยจึงต้องห้ามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย