คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฎีกาต้องห้าม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 496 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยกล่าวอ้างในศาลล่าง
จำเลยให้การว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายและจำเลยไม่เคยได้รับหนังสือจากโจทก์แจ้งกำหนดเวลาจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาท ดังนั้น ที่จำเลยฎีกาว่าหนังสือบอกกล่าวที่แจ้งกำหนดเวลาให้จำเลยไปรับโอนที่ดินพิพาทไม่มีข้อความว่าหากจำเลยไม่ไปถือว่าเป็นอันเลิกสัญญาซื้อขาย จึงเป็นการฎีกาในข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลล่าง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง: การโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์เรื่องพฤติการณ์พิเศษขยายเวลาอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า ในการต่อสู้คดีนี้จำเลยที่ 2 ได้เสียค่าใช้จ่ายและค่าฤชาธรรมเนียมมาโดยตลอด และยังต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายค่าเล่าเรียนบุตรอีก 3 คน ทั้งผู้ตายสามีจำเลยที่ 2 ก็มีหนี้สินเป็นจำนวนมากซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องแบกรับภาระเองทั้งสิ้นค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องวางในชั้นอุทธรณ์แม้จะมีจำนวนไม่มากแต่ก็ถือว่าสูงสำหรับจำเลยที่ 2 นอกจากนี้ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ก็มิได้บัญญัติว่าเหตุใดเป็นพฤติการณ์พิเศษแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจเป็นเรื่อง ๆ ไป การที่ศาลวินิจฉัยว่าเหตุที่จำเลยที่ 2 อ้างในการขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ว่าหาเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลไม่ทันมิใช่พฤติการณ์พิเศษ จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ฎีกาในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนการพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของคดีที่คู่ความพิพาทกัน ก็ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8348/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: คดีเยาวชน ลดโทษ/เปลี่ยนโทษเป็นฝึกอบรม ไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ยืน จึงห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 83 ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 กึ่งหนึ่ง จำคุก 8 ปี อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสงขลา มีกำหนดจนกว่าจำเลยจะมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์ จึงเป็นกรณีศาลชั้นต้นใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลย ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 124 และมาตรา 6 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้ร่วมไล่แทงผู้ตายก็ดี คำเบิกความของพยานโจทก์ไม่น่าเชื่อถือก็ดี กรณีมีเหตุลงโทษสถานเบา ลดโทษ รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษก็ดี เป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการลงโทษซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8082/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: แก้ไขเล็กน้อยฐานความผิดและโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์มีดุลพินิจลงโทษจำคุก
แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งบทความผิดและโทษจำคุกที่ลงแก่จำเลย แต่การแก้ไขบทความผิดก็เป็นเพียงการปรับบทความผิดตามกฎหมายเดิมให้ถูกต้องโดยระบุเป็นข้อความที่ถูกต้องไว้ภายในวงเล็บ แต่มิได้แก้ไขฐานความผิดแต่อย่างใด ถือเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุก เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7603/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการฟ้องซ้อนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ซึ่งการฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ก็อยู่ในบังคับของบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกัน ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ถือเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (3) หลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ กรณีถือว่าคดีเกี่ยวกับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 22 ตุลาคม 2544 โดยอ้างเหตุเดิมอีกในระหว่างนั้น จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) มิใช่เรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5757/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 กรณีทุนทรัพย์พิพาทต่ำกว่า 200,000 บาท แม้เป็นการฎีกาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้จำนวน 69,956.72 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 54,596.43 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์อุทธรณ์โดยขอให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ฎีกาว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ไม่จงใจเพิกเฉยไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลชั้นต้น อันจะเป็นการทิ้งฟ้อง ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง แม้จะเป็นปัญหาในชั้นดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นไม่ใช่ปัญหาในประเด็นที่พิพาทตามคำฟ้อง คำให้การ ฟ้องแย้ง และคำให้การแก้ฟ้องแย้งก็ต้องถือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 69,956.72 บาท ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เมื่อไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ประเด็นอายุความหนี้ค่าไฟฟ้าที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่าไฟฟ้าที่โจทก์ชำระแทนให้แก่จำเลยไป จำเลยให้การต่อสู้ในเรื่องอายุความว่า โจทก์ผู้ให้เช่าฟ้องจำเลยผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่าเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่จำเลยได้ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าหรือนับแต่โจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาเช่าเมื่อปี 2535 หรือพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือนับแต่วันที่จำเลยส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า หรือนับแต่โจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาเช่าเมื่อปี 2535 หรือเกินกำหนด 5 ปี ในการใช้สิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ คำให้การของจำเลยดังกล่าวมิได้ให้การต่อสู้ถึงเรื่องอายุความหนี้ค่าไฟฟ้า จึงไม่มีประเด็นในเรื่องอายุความหนี้ค่าไฟฟ้า การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยประเด็นในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยฎีกาต่อมาอีกก็ถือว่าเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5490/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากเป็นคดีข้อเท็จจริง เกินอำนาจศาลฎีกาในปัญหาการรับฟังพยานหลักฐานเรื่องสิทธิครอบครองที่ดิน
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีอาณาเขตติดต่อกับที่ดินของจำเลย เมื่อโจทก์ขอรังวัดที่ดินปรากฏว่าสิ่งปลูกสร้างของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ 15,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกไปและให้จำเลยชำระคืนค่าเสียหายเดือนละ 15,000 บาท มาด้วย แต่จะบังคับให้ได้หรือไม่เพียงใดนั้น เป็นผลต่อเนื่องมาจากข้อวินิจฉัยในเรื่องสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทอันเป็นประเด็นสำคัญในคดีนี้ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ที่ดินพิพาทตีราคาเป็นเงิน 67,875 บาท ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงว่าพยานหลักฐานโจทก์ทั้งสองรับฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ฎีกาโจทก์ทั้งสองเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5302/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง: คดีขับไล่ที่ไม่สามารถฎีกาในข้อเท็จจริงได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยเช่าออกจากที่ดินพิพาทของโจทก์ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกจากที่ดินของโจทก์ และส่งมอบที่ดินคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยกับให้จำเลยชำระเงิน 170,000 บาทแก่โจทก์ พร้อมค่าเสียหายเดือนละ 3,500 บาท จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง และเมื่อคดีเดิมต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ในชั้นบังคับคดีซึ่งเป็นคดีสาขาก็ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงด้วยเช่นกัน ที่จำเลยฎีกาในชั้นบังคับคดีว่าที่ดินจำเลยครอบครองในปัจจุบันเป็นที่สาธารณะและอยู่นอกเขตที่ดินของโจทก์ การขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการบังคับคดีนอกเหนือคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลที่รับฟังว่าจำเลยยังมิได้ขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5185/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง กรณีคดีทุนทรัพย์น้อย และการโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้นเกี่ยวกับเหตุขยายเวลา
ฎีกาของจำเลยแม้เป็นฎีกาคัดค้านในเรื่องของการขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ มิใช่ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดี ก็ตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีมีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่สูงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะหาเงินค่าธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้ และพฤติการณ์การยื่นคำร้องของจำเลยมีลักษณะเป็นการประวิงคดีกรณีไม่มีพฤติการณ์พิเศษ เท่ากับศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและฟังว่าไม่มีเหตุตามที่จำเลยอ้างมาในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ อันเป็นการวินิจฉัยในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า กรณีมีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า ตามคำร้องของจำเลยเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ จำเลยใช้ความพยายามทุกทางแล้วแต่หาเงินค่าธรรมเนียมได้เพียงบางส่วน และจำเลยไม่มีเจตนาที่จะประวิงคดี เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
of 50