พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1762/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพนันทายผลฟุตบอล: ความผิดตาม พ.ร.บ.การพนัน และอำนาจศาลในการแก้ไขฐานความผิด
การเล่นอย่างใดที่เสี่ยงโชคให้เงินแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งตามบัญชี ข. หมายเลข 16 ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ต้องมีลักษณะคล้ายกับการเล่นการพนันสลากกินแบ่งหรือสลากกินรวบซึ่งอยู่ในบัญชี ข. หมายเลขเดียวกันด้วย
จำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนันทายผลฟุตบอล ซึ่งเป็นการเล่นที่เสี่ยงโชคให้เงินแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง อันเป็นการพนันประเภทต้องขออนุญาตตามบัญชี ข. หมายเลข 16 ตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ แต่การพนันทายผลฟุตบอลไม่มีลักษณะคล้ายกับการเล่นการพนันสลากกินแบ่งหรือสลากกินรวบ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 4
พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 ทวิ วรรคสอง บัญญัติว่า "คำว่า "การเล่น" ในวรรคก่อนให้หมายความรวมตลอดถึงการทายและการทำนายด้วย" การเล่นพนันทายผลฟุตบอลเป็นการเล่นอื่นใดนอกจากที่กล่าวในมาตรา 4 และมิใช่การเล่นที่ระบุชื่อและเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง จึงเป็นความผิดตามมาตรา 4 ทวิ
โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนันทายผลฟุตบอล พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต และประสงค์ให้ลงโทษจำเลยจากการกระทำนั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่า จำเลยเล่นการพนันดังกล่าวจริง อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แม้โจทก์มิได้บรรยายว่า การเล่นพนันทายผลฟุตบอลเป็นการเล่นอื่นใดนอกจากที่กล่าวในมาตรา 4 ซึ่งมิได้ระบุชื่อและเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง และอ้างบทมาตรา 4 ทวิ มาในคำขอท้ายฟ้อง แต่มาตรา 4 ทวิ ไม่ใช่บทมาตราที่บัญญัติองค์ประกอบความผิดและความผิดตามมาตรา 4 ทวิ ก็มีบทลงโทษรวมอยู่ในมาตรา 12 ซึ่งโจทก์อ้างมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
จำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนันทายผลฟุตบอล ซึ่งเป็นการเล่นที่เสี่ยงโชคให้เงินแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง อันเป็นการพนันประเภทต้องขออนุญาตตามบัญชี ข. หมายเลข 16 ตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ แต่การพนันทายผลฟุตบอลไม่มีลักษณะคล้ายกับการเล่นการพนันสลากกินแบ่งหรือสลากกินรวบ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 4
พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 ทวิ วรรคสอง บัญญัติว่า "คำว่า "การเล่น" ในวรรคก่อนให้หมายความรวมตลอดถึงการทายและการทำนายด้วย" การเล่นพนันทายผลฟุตบอลเป็นการเล่นอื่นใดนอกจากที่กล่าวในมาตรา 4 และมิใช่การเล่นที่ระบุชื่อและเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง จึงเป็นความผิดตามมาตรา 4 ทวิ
โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนันทายผลฟุตบอล พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต และประสงค์ให้ลงโทษจำเลยจากการกระทำนั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่า จำเลยเล่นการพนันดังกล่าวจริง อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แม้โจทก์มิได้บรรยายว่า การเล่นพนันทายผลฟุตบอลเป็นการเล่นอื่นใดนอกจากที่กล่าวในมาตรา 4 ซึ่งมิได้ระบุชื่อและเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง และอ้างบทมาตรา 4 ทวิ มาในคำขอท้ายฟ้อง แต่มาตรา 4 ทวิ ไม่ใช่บทมาตราที่บัญญัติองค์ประกอบความผิดและความผิดตามมาตรา 4 ทวิ ก็มีบทลงโทษรวมอยู่ในมาตรา 12 ซึ่งโจทก์อ้างมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6781/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษผิดฐานจากที่ฟ้อง ศาลฎีกามีอำนาจแก้โทษเป็นฐานความผิดที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฉกฉวยเอาพลอยของผู้เสียหายพาหนีไปซึ่งหน้า อันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเห็นได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ อันเป็นความผิดที่มีลักษณะพิเศษไปจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ธรรมดาและมิใช่องค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 จึงเป็น การไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาชอบที่จะพิพากษาแก้และพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในข้อหาความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(6)(7) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ให้ถูกต้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4129/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพข้อหาลักทรัพย์ การแก้ไขฐานความผิดของศาล และการกำหนดโทษที่เหมาะสม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334,335 และ 357 ศาลชั้นต้นจดคำให้การจำเลยว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดตามฟ้องโจทก์ คำให้การฉบับนี้ย่อมไม่ชัดเจนว่าจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาใด แต่ในวันเดียวกันนั้นจำเลยยื่นคำให้การอีกฉบับหนึ่งมีข้อความว่า จำเลยขอถอนคำให้การเดิมทั้งหมดแล้วขอให้การรับสารภาพในข้อกล่าวหาลักทรัพย์ตามมาตรา 334 เท่ากับจำเลยยังปฏิเสธคำฟ้องโจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 และ 357 เมื่อโจทก์จำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน และโจทก์จำเลยได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งศาลชั้นต้นได้จดรายงานกระบวนพิจารณาในวันเดียวกันนั้น เท่ากับโจทก์ไม่ติดใจที่จะสืบพยานในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 และ 357 อีกต่อไปข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามคำรับสารภาพของจำเลยว่า จำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(8) วรรคแรก จึงไม่ถูกต้อง
การปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานใดนั้นเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
การปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานใดนั้นเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3454/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน: การพิจารณาบทมาตราที่อ้างและเจตนาของผู้กระทำ
แม้โจทก์จะบรรยายข้อเท็จจริงไว้ในคำฟ้องว่า หลังจากจำเลยขับรถด้วยความประมาทแล้วผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานจราจรและได้รับแจ้งเหตุให้สกัดจับจำเลยได้ออกมายืนสกัดอยู่กลางถนนและให้สัญญาณมือให้จำเลยหยุดรถเพื่อจับกุมดำเนินคดี อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แต่จำเลยขับรถพุ่งเข้าชนผู้เสียหายทั้งสองโดยเจตนาฆ่าเพื่อขัดขวางการจับกุม ซึ่งเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง แต่โจทก์ก็มิได้อ้างบทมาตราดังกล่าวซึ่งโจทก์ถือว่าเป็นความผิดและขอให้ลงโทษจำเลยมาในคำขอท้ายฟ้องคงอ้างเฉพาะมาตรา 289,80 เห็นได้ว่าโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ด้วย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในความผิดกรรมเดียว แม้ฐานความผิดต่างกัน สิทธิฟ้องระงับตามกฎหมาย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินทำเลเลี้ยงสัตว์ อันเป็นที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน โดยเข้าไประเบิดย่อยหินในที่ดินดังกล่าว โดยไม่มีสิทธิครอบครองและมิได้รับอนุญาตกับข้อหาละเว้นไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่สั่งให้หยุดการระเบิดย่อยหินในที่ดินและออกไปจากที่ดินดังกล่าว จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง คดีถึงที่สุด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาทำเหมืองโดยใช้เครื่องมือทำการระเบิดและย่อยหิน โดยมิได้รับประทานบัตรจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐในคดีก่อนกับความผิดคดีนี้ ระยะเวลาที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุและการกระทำของจำเลยเป็นครั้งเดียวกัน แม้ฐานความผิดจะต่างกันก็เป็นความผิดกรรมเดียว ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยในการกระทำความผิดดังกล่าวจนศาลพิพากษาลงโทษคดีถึงที่สุดไปแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) โจทก์มาฟ้องจำเลยอีกแม้จะอ้างบทลงโทษตามพระราชบัญญัติแร่ฯ ก็เป็นการฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลแก้โทษฐานทำร้ายร่างกาย ไม่ใช่ฆ่า
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดสองกรรมต่างกันคือฐานทำร้ายร่างกายผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายกระทงหนึ่งและฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนาอีกกระทงหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์นำเอาการตายของผู้ตายซึ่งโจทก์บรรยายฟ้อง ว่าเป็นผลอันเกิดจากการกระทำความผิดกระทงหลัง ซึ่งศาลชั้นต้น ยกฟ้องและยุติไปแล้วมารับฟังว่าเป็นผลอันเกิดจากการกระทำ ของจำเลยกับพวกในความผิดกระทงแรก และพิพากษาลงโทษ จำเลยฐานร่วมกันทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 เป็นการพิพากษาในข้อที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องสำหรับความผิด กระทงแรก ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยกับพวกได้รุมทำร้ายร่างกายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ เกิดอันตรายแก่กายอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ตามฟ้องกระทงแรก แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องใน ความผิดกระทงแรกว่าจำเลย แต่ผู้เดียวทำร้ายร่างกายผู้ตาย และ ตามทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยร่วมกับพวกทำร้ายร่างกายผู้ตายด้วยเป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียด ทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ และ แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288,289 โดยมิได้ขอให้ลงโทษตามมาตรา 295 มาด้วย ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 295 ได้เพราะถือได้ว่า เป็นความผิดที่รวมอยู่ในบทมาตราที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสามและวรรคท้าย
จำเลยกับพวกได้รุมทำร้ายร่างกายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ เกิดอันตรายแก่กายอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ตามฟ้องกระทงแรก แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องใน ความผิดกระทงแรกว่าจำเลย แต่ผู้เดียวทำร้ายร่างกายผู้ตาย และ ตามทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยร่วมกับพวกทำร้ายร่างกายผู้ตายด้วยเป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียด ทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ และ แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288,289 โดยมิได้ขอให้ลงโทษตามมาตรา 295 มาด้วย ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 295 ได้เพราะถือได้ว่า เป็นความผิดที่รวมอยู่ในบทมาตราที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสามและวรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7473/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณา ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่พิจารณาได้ แม้ต่างจากฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7, 15, 66, 102 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3และที่ 4 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 จำหน่ายเฮโรอีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ให้แก่ผู้มีชื่อ แม้โจทก์มิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4ร่วมกันครอบครองเฮโรอีนของกลางก็ตาม แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 กับพวกร่วมกันมีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็ต้องถือว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับฐานความผิด อันเป็นข้อแตกต่างกันในรายละเอียดทั้งจำเลยที่ 3 และที่ 4 นำสืบต่อสู้ว่า จำเลยทั้งสองมิได้มีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครอง การบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าว จึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3และที่ 4 หลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในความผิดฐานร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกง: การสอบสวนฐานฉ้อโกงเป็นปัจจัยสำคัญในการฟ้องคดีได้
เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาจำเลยว่า ลักทรัพย์ รับของโจร และฉ้อโกง แล้วพนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การ จ. ผู้รับมอบอำนาจจากธนาคารผู้เสียหายกรณีที่จำเลยใช้สมุดคู่ฝากถอน เงินสดจากธนาคารผู้เสียหายไปเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 ไว้ ชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับว่า ในวันดังกล่าวจำเลยได้ใช้ สมุดคู่ฝากถอนเงินสดจำนวนดังกล่าวไปจากผู้เสียหายจริง ดังนี้ เห็นได้ว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาความผิด ฐานฉ้อโกงด้วยแล้ว แม้ว่าในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง พนักงานสอบสวนจะไม่ได้สอบปากคำว่าจำเลยได้ไปฉ้อโกง หรือหลอกลวงผู้ใดไว้ก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะ ในการสอบสวนไม่มีข้อห้ามตามกฎหมายว่าพนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนมากน้อยเพียงใด เมื่อมีการสอบสวนใน ความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงมี อำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง โดยวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานฉ้อโกง โดยชอบ โดยศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิด ฐานฉ้อโกงหรือไม่ ดังนี้เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลย เป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความ ศาลฎีกา ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6879/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: แก้ไขโทษเล็กน้อย ไม่กระทบฐานความผิด ไม่รับฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง,67เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ ลงโทษ ตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกจำเลย 5 ปีเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 97 คงจำคุก 7 ปี 6 เดือน คำขอนอกจากนั้นให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่เพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97ริบของกลาง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ให้เพิ่มโทษจำเลย เป็นไม่เพิ่มโทษกับให้ริบของกลางเท่านั้นโดยมิได้แก้บทมาตราแห่งความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการแก้เฉพาะ ในเรื่องโทษ อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุก จำเลยในความผิดเดิมไม่เกิน 5 ปี จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนฐานความผิด ศาลต้องยกฟ้องเมื่อโจทก์ไม่นำสืบพยาน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักลอบ นำพาของกลางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยง การเสียภาษีอากร หรือจำเลยได้ซื้อ รับไว้ และช่วยพาเอาไปเสีย ช่วยจำหน่าย ช่วยซ่อนเร้น ซึ่งของกลางดังกล่าวโดยรู้อยู่แล้วว่า เป็นของผู้อื่นลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษี ข้างต้น ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นคนละฐานกัน และโจทก์มี ความประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาหนึ่งเพียงฐานเดียว จะลงโทษจำเลยในเรื่องเดียวกันทั้งสองฐานไม่ได้ คำให้การ ของจำเลยที่ให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการยังไม่ชัดเจน พอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใด ย่อมเป็นหน้าที่ ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบพยานต่อไปให้ได้ความถึงการกระทำผิด ของจำเลยว่าได้กระทำความผิดฐานใดแน่หาใช่เป็นหน้าที่ ของศาลที่จะสอบถามจำเลยว่าจะให้การรับสารภาพในฐานความผิดใดเมื่อโจทก์แถลงไม่สืบพยาน คำให้การรับสารภาพของจำเลยดังกล่าว จึงไม่อาจฟังลงโทษจำเลยได้ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องและคดี ไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณา สอบถามคำให้การของจำเลยใหม่