คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฐานะทางการเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6052/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ผู้บริหารทราบฐานะลูกหนี้ การยินยอมให้ก่อหนี้สมยอมในภาวะล้มละลาย
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้เป็นกรรมการของบริษัทลูกหนี้ย่อมจะต้องทราบถึงฐานะของลูกหนี้ได้ดีว่าตกอยู่ในสภาพเช่นไรการที่เจ้าหนี้ได้รับชำระดอกเบี้ยจากตั๋วสัญญาใช้เงินแต่เพียงบางส่วนตลอดจนลูกหนี้ต้องไปกู้ยืมเงินจากที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาพยุงฐานะของลูกหนี้ที่กำลังทรุดลงจนในที่สุดทางราชการได้มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตดำเนินธุรกิจของลูกหนี้เช่นนี้ เจ้าหนี้ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารบริษัทลูกหนี้จะปฏิเสธว่าไม่ทราบถึงฐานะอันแท้จริงของลูกหนี้ว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหาได้ไม่ ดังนั้นการที่เจ้าหนี้ได้นำเงินเข้าฝากกับลูกหนี้หลังจากที่ทราบดีว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้เงินฝากดังกล่าวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5353/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายต้องมีหนี้สินล้นพ้นตัว ศาลพิจารณาจากทรัพย์สินและฐานะทางการเงินของลูกหนี้
จำเลยเป็นหนี้ธนาคารโดยเบิกเงินเกินบัญชี เป็นเงิน300,000บาทเศษ แต่มีที่ดินจำนองเป็นประกัน 3 แปลง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าจำเลยเป็นหนี้ บุคคลอื่นอีก มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีล้มละลาย เป็นกรณีเรียกเงินตามเช็ค ที่สั่งจ่ายล่วงหน้าตามที่ตกลงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งเช็คส่วนมากยังไม่ถึงกำหนด สำหรับเช็คบางฉบับที่ถึงกำหนดแล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คเป็นคดีอื่น จำเลยก็ยอมใช้จนครบนอกจากนี้จำเลยยังมีทรัพย์สินอยู่อีกหลายอย่างกับมีอาชีพจัดสรรที่ดินขายด้วย แสดงว่ามีฐานะมั่นคงพอที่จะชำระหนี้ได้ คดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวอันโจทก์จะฟ้อง ให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเพื่อประกันหนี้: การออกเช็คโดยที่ผู้รับทราบฐานะทางการเงินของผู้สั่งจ่าย ไม่มีเจตนาใช้เงินจริง ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์โดยในขณะออกเช็คนั้นโจทก์ทราบถึงฐานะทางการเงินของจำเลยดีว่าไม่มีความสามารถชำระหนี้ตามเช็คได้.การออกเช็คของจำเลยจึงมีลักษณะเพื่อประกันหนี้ทางแพ่งที่จำเลยต้องรับผิดแก่โจทก์เท่านั้นไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำทองรูปพรรณออกนอกราชอาณาจักร ไม่เข้าข่ายความผิดพยายามลักลอบนำออกไป เมื่อพิจารณาจากฐานะทางการเงินและพฤติการณ์
จำเลยมีรายได้สุทธิจากการประกอบการค้าหลายแห่งเดือนละประมาณ 40,000 บาท การที่จำเลยสวมสร้อยคอทองคำของกลางน้ำหนัก 387.2 กรัม หรือประมาณ 25 บาท ราคาหนึ่งแสนบาทเศษตามปกติไม่ได้ซ่อนเร้นหรือปิดบัง ขณะจะเดินทางไปต่างประเทศไม่เป็นการเกินฐานานุรูปของจำเลย ไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-845/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินให้บุตรโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส: ศาลพิจารณาความสมเหตุสมผลและการกระทบต่อฐานะของคู่สมรส
โจทก์เป็นภรรยาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 เกิดกับภริยาคนก่อนซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสและเลิกร้างกันไปแล้ว ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินให้บุตรเหล่านี้ทุกคนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์เป็นหนังสือ ที่ดินมีโฉนดอันเป็น สินสมรสที่จำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 2 นั้นมีเนื้อที่เพียง 65 ตารางวา จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 ผู้ให้เอง และได้สมรสแยกครอบครัวไปอยู่ต่างหากแล้วและไม่ปรากฏว่าขณะที่ยกให้นั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์อันมีค่าอย่างอื่นอีกถือได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3) จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิให้ได้ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 524/2506)
ที่ดินตาม น.ส.3 อีกแปลงหนึ่งเป็นที่ดินที่มารดายกให้จำเลยที่ 1 โดยระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้จะไม่ได้จดทะเบียนไว้ก็ไม่สำคัญเพราะขณะที่ยกให้นั้นยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 134/2513) จำเลยที่ 1 มีสิทธิยกให้จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
จำเลยที่ 1 ยกที่ดินมีโฉนดอันเป็นสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 เอง ที่ดินแปลงนี้มีเนื้อที่เพียง 2 งานเศษ และเมื่อให้แล้วโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์ร่วมกันอีกมาก ถือได้ว่าเป็นการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอน ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยังให้ที่ดินสินสมรสแก่จำเลยที่ 3 อีกแปลงหนึ่งแม้จะมีราคาเพียง 70,000 บาท แต่มีเนื้อที่ถึง 7 ไร่เศษ และไม่จำเป็นต้องให้อีก เพราะได้ให้ไปแปลงหนึ่งแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี และอาจทำให้ฐานะของโจทก์ตกต่ำลงได้จึงสมควรเพิกถอนนิติกรรมการยกให้ที่ดินแปลงนี้
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 7 โดยที่ได้ยกให้ไปสองแปลงแล้ว ถือว่าไม่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ จึงต้องเพิกถอนเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าจากเหตุหมิ่นประมาท, ทำร้ายร่างกาย, และฐานะทางการเงินของคู่สมรส
สามีภริยาได้ทำหนังสือลงลายมือชื่อสามีภริยาและพยาน 2คน มีข้อความว่าได้พร้อมใจกันเลิกสภาพการเป็นสามีภริยากันตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป. เช่นนี้ เป็นการเลิกสภาพการเป็นสามีภริยาโดยพฤตินัย. แต่โดยทางนิตินัยยังมิได้หย่าขาดกันตามกฎหมาย หรือมีความประสงค์จะไปจดทะเบียนในภายหลัง. และต่อมาอีก 5 วัน สามีโทรเลขให้ภริยากลับบ้านบอกว่าฉีกหนังสือนั้นแล้ว. ต่อมาได้คืนดีกันและประพฤติต่อกันฉันสามีภริยาอีก. ดังนี้ จะถือว่าหย่าขาดจากกันตามหนังสือดังกล่าวไม่ได้.
ภริยาส่งจดหมายถึงสามีมีใจความว่า สามีเป็นสัตว์ป่าในร่างมนุษย์. เป็นการหมิ่นประมาทสามีอย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1500(2).
ภริยาส่งจดหมายถึงสามีมีข้อความว่า ภริยาจะจ้างด้วยเงิน ด้วยตัวกับผู้ที่หลงรักภริยา ให้เอาน้ำกรดสาดหน้าสามี. ย่อมถือได้ว่าภริยาทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง. จนสามีไม่อาจจะอยู่กินกันได้. เพราะอาจได้รับอันตรายจากภริยาเมื่อใดก็ได้. อันเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1500(3).
ภริยามีที่ดินและอาคารราคาสองแสนบาทเศษ ใช้อาคารนั้นเป็นหอพักเก็บผลประโยชน์ได้เดือนละ 1,000 บาทเศษ และทำงานได้เงินเดือนเดือนละ 1,975 บาทถือว่าภริยามีรายได้พอจากทรัพย์สินและการงานที่ทำ. เมื่อหย่ากันโดยสามีภริยาเป็นผู้ต้องรับผิดทั้งสองฝ่าย สามีไม่ต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1506.
แม้โจทก์ฟ้องขอหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1500(2)(3). เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือนนับแต่วันรู้เหตุหย่าก็ตาม. แต่จำเลยไม่ได้ยกเอาเหตุแห่งการระงับของสิทธิฟ้องร้องตามมาตรา 1509 ขึ้นต่อสู้ไว้. ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรขัดต่อกฎหมาย และการแก้ไขจำนวนค่าอุปการะเลี้ยงดูตามฐานะทางการเงินที่เปลี่ยนแปลง
การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไว้ตามบันทึกข้อตกลงในสำเนารายงานประจำวัน ระบุว่า โจทก์จะไม่เรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยอีกนั้น ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการสละสิทธิที่จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ซึ่งขัดต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1598/41 ข้อตกลงในส่วนนี้จึงใช้บังคับมิได้ จำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ จึงต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร และการกำหนดจำนวนค่าเลี้ยงดูตามฐานะทางการเงิน
จำเลยที่ 1 เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของ พ. ซึ่งจำต้องอุปการะเลี้ยงดู พ. ในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง บทกฎหมายดังกล่าวมิได้กำหนดระยะเวลาการจ่ายไว้ และไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงกำหนดระยะเวลาชำระไว้ตามมาตรา 1598/40 วรรคหนึ่ง ดังนั้นค่าอุปการะเลี้ยงดู พ. ขณะที่เป็นผู้เยาว์ที่โจทก์เรียกร้องในคดีนี้ โดยอาศัยบทบัญญัติ มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 193/33 (4) อันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2854/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแยกสินสมรสและค่าอุปการะเลี้ยงดูในคดีหย่า การพิสูจน์สินสมรสและฐานะทางการเงินของคู่สมรส
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่ากันและแบ่งสินสมรส ประเด็นในคดีก่อนมีว่า มีเหตุหย่าหรือไม่ หากศาลพิพากษาให้หย่า จึงจะมีการแบ่งสินสมรสว่ามีทรัพย์สินใดที่เป็นสินสมรส เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากไม่มีเหตุหย่า จึงไม่ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้แยกสินสมรสและให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่า มีเหตุให้แยกสินสมรสหรือไม่ และจำเลยต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือไม่ และสินสมรสที่ต้องแยกได้แก่ทรัพย์สินใด ประเด็นแห่งคดีนี้และประเด็นคดีก่อนจึงต่างกัน แม้ทรัพย์สินที่อ้างตามฟ้องคดีนี้จะเป็นทรัพย์สินตามฟ้องกับคดีก่อน แต่เมื่อคดีก่อนศาลยังไม่ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสที่ ต้องแบ่ง จึงถือไม่ได้ว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เกี่ยวกับสินสมรสเป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ หรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน
โจทก์ฟ้องขอให้แยกสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลย เดิมโจทก์และจำเลยประกอบกิจการห้างหุ้นส่วนจำกัด น. และต่อมาจดทะเบียนเลิกห้าง และจัดตั้งบริษัท อ. โดยมีข้อตกลงว่าโจทก์และจำเลยจะไม่ใช้อำนาจบริหารกิจการบริษัท อ. แต่ให้ อ. บุตรชายของโจทก์และจำเลยเป็นผู้บริหารแทน กิจการโรงงานเป็นของบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก หาใช่สินสมรสไม่ ทั้งคดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยและคดีถึงที่สุดโดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับบริษัท อ. เนื่องจากโจทก์ติดการพนันและมีปัญหาหนี้สิน โจทก์จะไม่เกี่ยวข้องเป็นผู้ถือหุ้นหรือกรรมการผู้มีอำนาจ และโจทก์เคยทำลายทรัพย์สินของบริษัทจนถูกห้ามเข้าบริษัท ข้อเท็จจริงในคดีก่อนจึงผูกพันโจทก์และจำเลยในคดีนี้ ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบกับโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องหลังจากคดีก่อนถึงที่สุดเพียง 4 เดือน บ่งชี้ถึงความไม่สุจริตของโจทก์ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยขัดขวางการจัดการสินสมรสของโจทก์
บริษัท อ. และ บริษัท ซ. มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบุคคลอื่นและผู้ถือหุ้น มีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ เป็นของตนเอง การดำเนินกิจการต่างๆ เป็นอำนาจหน้าที่กรรมการบริษัทภายในขอบอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับจัดตั้ง กิจการบริษัททั้งสองรวมทั้งทรัพย์สินของบริษัทหาใช่สินสมรสไม่ แต่เป็นของบริษัทภายใต้การดำเนินกิจการของบริษัท หากจะเกิดความเสียหายหรือเกิดความหายนะ ก็เป็นเรื่องที่กรรมการบริษัทจะรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 กรณีจึงไม่มีเหตุแยกสินสมรส
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์ แต่ข้อตกลงของโจทก์และจำเลยคือ ให้ อ. บุตรชาย นำรายได้ของบริษัทส่วนหนึ่งมาจ่ายเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และจำเลยคนละ 300,000 บาท ซึ่งค่าอุปการะเลี้ยงดูตามที่โจทก์ฟ้องเป็นของบริษัทที่นำมาจ่ายให้โจทก์และจำเลยเมื่อมีกำไร หาใช่ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่คู่สมรสต้องอุปการะเลี้ยงดูตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง อันจะถือเป็นเหตุให้แยกสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1484 (2) ไม่ ทั้งบริษัท อ. ถูกศาลล้มละลายกลางพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลาย จึงมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่มีรายได้ที่จะนำมาชำระค่าเลี้ยงดูโจทก์และจำเลยได้ ดังนี้จะถือว่าจำเลยผิดข้อตกลงหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7073/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: ศาลฎีกาพิจารณาภาระหนี้สินและการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงินของจำเลย
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ป. ที่ค้างชำระจำนวน 10,000 บาท และให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เป็นรายเดือน เดือนละ 5,000 บาท ทุกวันที่ 30 ของเดือน ต่อมาจำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงขอให้บังคับคดี จำเลยยื่นคำร้องว่า จำเลยมีภาระหนี้สินมากและมีภาระต้องเลี้ยงดูบิดาและครอบครัว เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2559 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอลดเงิน ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดไว้เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดู ต่อมาจำเลยขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2559 จำเลยยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2559 จึงถือได้ว่าจำเลยยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด ส่วนคำร้องของจำเลยที่ขอลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้น จำเลยอ้างว่า จำเลยมีภาระต้องเลี้ยงดูบุตรซึ่งเกิดจากโจทก์และบุตรกับภริยาคนใหม่ ทั้งจำเลยยังกู้ยืมเงินจากธนาคาร ก. จำนวน 1,500,000 บาท พฤติการณ์รายได้หรือฐานะของจำเลยเปลี่ยนแปลงไปซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นภายหลัง แม้หนี้เงินกู้ดังกล่าวจำเลยอ้างว่าเพื่อสร้างบ้านให้แก่บิดาที่จังหวัดเชียงรายและต่อเติมตกแต่งบ้านที่จังหวัดสุรินทร์ ทั้ง ๆ ที่จำเลยรู้ว่ามีภาระต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรให้แก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท แต่จำเลยกลับไปสร้างภาระหนี้สินจำนวนมากมายดังกล่าว กรณีจึงไม่อาจนำมาอ้างเป็นเหตุผลให้กระทบเสียหายต่อค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและค่าใช้จ่ายอื่นแก่โจทก์
of 2