พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,659 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6257/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่มีดอกเบี้ยเกินกฎหมายทำให้จำนวนหนี้ไม่แน่นอน ฟ้องล้มละลายไม่ได้
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ยอดหนี้ตามฟ้องโจทก์มีดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะอันเป็นมูลหนี้ที่ผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วย กรณีถือได้ว่าหนี้ของโจทก์ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6233/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โมฆะ; สิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224
ดอกเบี้ยเงินกู้ที่จำเลยชำระไปแล้วตามสัญญาคำนวณแล้วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตามสัญญาแก่จำเลย แต่โจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปีได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โดยเริ่มนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือทวงถาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5857/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย การหักเงินเพิ่ม และการประเมินรายได้ดอกเบี้ยจากเงินค่าหุ้น
โจทก์มีหน้าที่หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย เมื่อหักแล้วต้องนำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จ่ายเงินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 52 และในการตรวจสอบการหักภาษี ณ ที่จ่าย นั้น เจ้าพนักงานประเมินอาจส่งหนังสือแจ้งโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ยื่นบัญชีจ่ายเงินได้หรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องเพื่อตรวจสอบการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ตามที่เห็นสมควร และเมื่อได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าวให้ปฏิบัติตามภายใน 15 วัน ตามมาตรา 51 แห่ง ป.รัษฎากร จึงเป็นกรณีที่ไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบไต่สวนภายในกำหนดเวลา ตามมาตรา 19 แห่ง ป.รัษฎากร และสิทธิเรียกร้องของรัฐเพื่อเรียกเอาค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการตรวจสอบพบว่าโจทก์นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ไม่ครบถ้วนและแจ้งให้โจทก์นำส่งให้ครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระค่าหุ้นจาก น. ผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1122 ประกอบมาตรา 7 การที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระค่าหุ้นดังกล่าว แต่กลับลงบัญชีว่าได้ชำระแล้ว เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นเสมือนให้กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยและโจทก์จะอ้างการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1120 ถึง 1121 อันเป็นเรื่องการบอกกล่าวให้ชำระค่าหุ้นเป็นเหตุให้ถือว่าผู้ถือหุ้นยังไม่ต้องเสียดอกเบี้ยไม่ได้ด้วย
โจทก์นำเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีบางส่วนไปใช้ในการลงทุนก่อสร้างโรงงาน รายจ่ายดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวจึงมิใช่รายจ่ายในการดำเนินธุรกิจ แต่ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) ประกอบ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 มาตรา 4
เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ปัญหาว่าโจทก์ขายรถยนต์ต่ำกว่ามูลค่าคงเหลือตามบัญชีหรือไม่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การประเมินในปัญหาดังกล่าวจึงยุติ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินในปัญหาดังกล่าวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 7 (1) มาตรา 8 ประกอบ ป.รัษฎากร มาตรา 30
คำอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ได้ระบุว่าโจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ คงบรรยายเพียงว่าโจทก์คัดค้านการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไรเท่านั้น การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะจึงถือว่ายุติ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้ ก็ไม่ทำให้การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งยุติแล้วกลับเป็นไม่ยุติ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ไม่ได้รับชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนเติมมูลค่า แต่ลงบัญชีว่าได้รับชำระเงินค่าหุ้นเติมมูลค่าถือเป็นการกระทำโดยจงใจ และการที่โจทก์ให้กรรมการและพนักงานกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยโดยไม่มีเหตุสมควร นั้น มิใช่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเจ้าหน้าที่บัญชีของโจทก์ กรณีไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มให้แก่โจทก์นอกเหนือไปจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัย
เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระค่าหุ้นจาก น. ผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1122 ประกอบมาตรา 7 การที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระค่าหุ้นดังกล่าว แต่กลับลงบัญชีว่าได้ชำระแล้ว เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นเสมือนให้กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยและโจทก์จะอ้างการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1120 ถึง 1121 อันเป็นเรื่องการบอกกล่าวให้ชำระค่าหุ้นเป็นเหตุให้ถือว่าผู้ถือหุ้นยังไม่ต้องเสียดอกเบี้ยไม่ได้ด้วย
โจทก์นำเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีบางส่วนไปใช้ในการลงทุนก่อสร้างโรงงาน รายจ่ายดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวจึงมิใช่รายจ่ายในการดำเนินธุรกิจ แต่ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) ประกอบ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 มาตรา 4
เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ปัญหาว่าโจทก์ขายรถยนต์ต่ำกว่ามูลค่าคงเหลือตามบัญชีหรือไม่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การประเมินในปัญหาดังกล่าวจึงยุติ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินในปัญหาดังกล่าวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 7 (1) มาตรา 8 ประกอบ ป.รัษฎากร มาตรา 30
คำอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ได้ระบุว่าโจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ คงบรรยายเพียงว่าโจทก์คัดค้านการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไรเท่านั้น การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะจึงถือว่ายุติ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้ ก็ไม่ทำให้การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งยุติแล้วกลับเป็นไม่ยุติ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ไม่ได้รับชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนเติมมูลค่า แต่ลงบัญชีว่าได้รับชำระเงินค่าหุ้นเติมมูลค่าถือเป็นการกระทำโดยจงใจ และการที่โจทก์ให้กรรมการและพนักงานกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยโดยไม่มีเหตุสมควร นั้น มิใช่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเจ้าหน้าที่บัญชีของโจทก์ กรณีไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มให้แก่โจทก์นอกเหนือไปจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5791/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากการเวนคืนอ้างอิงอัตราบุคคลทั่วไป แม้ผู้ชำระเป็นส่วนราชการ
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น" และมาตรา 31 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ถ้าจะต้องมีการวางเงินค่าทดแทน ไม่ว่าเนื่องในกรณีใด ๆ ให้กระทำโดยการนำไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์ หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยแยกเป็นบัญชีเฉพาะราย ในการนี้ถ้ามีดอกเบี้ยหรือดอกผลใดเกิดขึ้นเนื่องจากการฝากเงินนั้นให้ตกเป็นสิทธิแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนั้นด้วย" ดังนั้น เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแก่โจทก์ และจำเลยทั้งสี่ได้นำเงินดังกล่าวมาวางต่อศาลเพื่อชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในฐานะที่โจทก์เป็นบุคคลผู้ฝากทั่วไปโดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้จ่ายหรือวางเงินค่าตอบแทนจะเป็นส่วนราชการหรือไม่ เพราะโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวมิใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5791/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน: ผู้รับเงินมีสิทธิได้รับอัตราสูงสุดในฐานะผู้ฝากทั่วไป แม้ผู้จ่ายเป็นส่วนราชการ
ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแก่โจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ฝากทั่วไปมิใช่อัตราที่คิดสำหรับส่วนราชการเป็นผู้ฝากและไม่ต้องคำนึงเลยว่าผู้จ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นจะเป็นส่วนราชการหรือไม่ และกรณีดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องคำพิพากษาศาลฎีกามีข้อผิดพลาดเล็กน้อยอันอาจแก้ไขตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 แต่เป็นกรณีมีปัญหาการบังคับคดีเกี่ยวกับการคิดคำนวณดอกเบี้ยซึ่งโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องก็ชอบที่ร้องขอต่อศาลให้วินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา แม้เป็นสถาบันการเงินก็ต้องปฏิบัติตาม
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ไม่ได้อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 654 แต่จะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 14 ซึ่งกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดน้อย เมื่อโจทก์ได้ออกประกาศอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเป็นสองอัตรา คือ อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไปและอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระ คิดอัตราร้อยละ 19 ต่อปี การที่โจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกหนี้ที่ปฏิบัติผิดสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญาเลย จึงเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ ถือว่าเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 อันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 (ก) จึงตกเป็นโมฆะ
การที่ศาลฎีกาจะพิพากษาตามยอมได้นั้น ศาลฎีกาจะต้องพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความของคู่ความว่าเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือไม่ หากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาก็ย่อมไม่อาจพิพากษาให้ได้เพราะเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 138 เมื่อตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์เสนอมีจำนวนเงินซึ่งคำนวณจากดอกเบี้ยเกินอัตราอันเป็นการต้องห้ามตามพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา ๓ (ก) รวมอยู่ด้วย สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์เสนอต่อศาลจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาไม่พิพากษาตามยอมให้
การที่ศาลฎีกาจะพิพากษาตามยอมได้นั้น ศาลฎีกาจะต้องพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความของคู่ความว่าเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือไม่ หากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาก็ย่อมไม่อาจพิพากษาให้ได้เพราะเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 138 เมื่อตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์เสนอมีจำนวนเงินซึ่งคำนวณจากดอกเบี้ยเกินอัตราอันเป็นการต้องห้ามตามพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา ๓ (ก) รวมอยู่ด้วย สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์เสนอต่อศาลจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาไม่พิพากษาตามยอมให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5482/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ดอกเบี้ยไม่ชัดเจน ศาลใช้ดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ระบุว่า ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราตามที่ธนาคาร ก. กำหนดให้ในวงเงินเบิกเกินบัญชี โดยจะชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนจนกว่าจะได้ชำระต้นเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตามข้อตกลงดังกล่าวเพียงแต่ตกลงกันว่าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน แต่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้งในสัญญาว่าอัตราเท่าไร เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคาร ก. กำหนดให้ในวงเงินเบิกเกินบัญชีไม่แน่นอนย่อมขึ้นลงได้ตามประกาศธนาคาร ก. จึงต้องใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่กำหนดให้คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปี ที่จะตกเป็นโมฆะไปทั้งหมด และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองไม่สมบูรณ์แต่บังคับได้ - จำนวนหนี้ไม่ตรงตามจริง - ดอกเบี้ยเกินอัตรา - ผิดนัดชำระหนี้
สัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งหนี้ซึ่งจำเลยลงลายมือชื่อไว้จึงเป็นหลักฐานเป็นหนังสือที่โจทก์นำมาฟ้องบังคับจำเลยผู้ลงลายมือชื่อไว้ได้ ส่วนจำนวนเงินกู้ที่ระบุไว้ 800,000 บาท เมื่อจำเลยต่อสู้และนำสืบพยานหลักฐานหักล้างและฟังได้ว่า จำเลยได้กู้ยืมเงินจากโจทก์เพียง 400,000 บาท ก็เป็นเพียงการทำให้จำนวนหนี้ในสัญญาจำนองนั้นไม่สมบูรณ์เท่านั้น มิใช่กรณีที่ทำให้สัญญาจำนองเป็นเอกสารที่มีการทำปลอมขึ้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
โจทก์หักเงิน 60,000 บาท เป็นค่าดอกเบี้ย 3 เดือนไว้ ซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อสัญญาจำนองทำเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 และกำหนดไถ่ถอนภายใน 1 ปี ถือว่าเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยมิได้ชำระหนี้ตามกำหนดจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดทันทีนับแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2543 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง
โจทก์หักเงิน 60,000 บาท เป็นค่าดอกเบี้ย 3 เดือนไว้ ซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อสัญญาจำนองทำเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 และกำหนดไถ่ถอนภายใน 1 ปี ถือว่าเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยมิได้ชำระหนี้ตามกำหนดจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดทันทีนับแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2543 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4999/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน-ค่าเสื่อมราคา-ดอกเบี้ย-ความรับผิดร่วมของผู้แทน
พ.ร.บ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 30 บัญญัติไว้อย่างกว้างมุ่งให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจ่ายเงินค่าทดแทนตามความเป็นธรรมมีเจตนารมณ์เช่นเดียวกับ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 จึงต้องนำวิธีการกำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากถูกแนวเขตสายส่งไฟฟ้าอันมีราคาลดลงได้
พ.ร.บ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 30 ทวิ วรรคสาม กำหนดให้คิดดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้น นับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย วางหรือฝากเงินค่าทดแทนนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ให้มารับเงินในวันที่ 2 พฤษภาคม 2538 เวลา 10 นาฬิกา แต่โจทก์ไม่ไปรับเงินค่าทดแทนภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องวางหรือฝากเงินค่าทดแทนโดยพลันในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 3 พฤษภาคม 2538 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2538
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 และการจ่ายเงินค่าทดแทนเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างระบบไฟฟ้าสายส่งของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย แต่หาต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวไม่
พ.ร.บ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 30 ทวิ วรรคสาม กำหนดให้คิดดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้น นับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย วางหรือฝากเงินค่าทดแทนนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ให้มารับเงินในวันที่ 2 พฤษภาคม 2538 เวลา 10 นาฬิกา แต่โจทก์ไม่ไปรับเงินค่าทดแทนภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องวางหรือฝากเงินค่าทดแทนโดยพลันในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 3 พฤษภาคม 2538 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2538
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 และการจ่ายเงินค่าทดแทนเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างระบบไฟฟ้าสายส่งของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย แต่หาต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงรับผิดชอบความเสียหายจากการทุจริตบัตรภาษี เป็นสัญญาที่ใช้บังคับได้ และการคิดดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางในปัญหาที่มีการวินิจฉัยตามข้ออ้างตามคำฟ้องโจทก์ อันเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางดังกล่าวได้ หามีบทกฎหมายห้ามแต่อย่างใด
จำเลยมีหนังสือขอรับโอนบัตรภาษีต่อโจทก์โดยมีข้อตกลงว่า ในกรณีเกิดการทุจริตในการรับเงินชดเชยค่าภาษีอากร และเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการ โดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้นข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยว่า ในการขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีรายพิพาท หากปรากฏว่าการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรของผู้โอนสิทธิเกิดจากการทุจริต และความเสียหายเกิดแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนต้องรับผิดต่อโจทก์ มิใช่เป็นความตกลงยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเมินเล่ออย่างร้ายแรงของตนอันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 แต่เป็นข้อสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายห้าม จึงใช้บังคับได้
จำเลยมีหนังสือขอรับโอนบัตรภาษีต่อโจทก์โดยมีข้อตกลงว่า ในกรณีเกิดการทุจริตในการรับเงินชดเชยค่าภาษีอากร และเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการ โดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้นข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยว่า ในการขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีรายพิพาท หากปรากฏว่าการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรของผู้โอนสิทธิเกิดจากการทุจริต และความเสียหายเกิดแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนต้องรับผิดต่อโจทก์ มิใช่เป็นความตกลงยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเมินเล่ออย่างร้ายแรงของตนอันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 แต่เป็นข้อสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายห้าม จึงใช้บังคับได้