คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6593/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ ศาลยกฟ้อง
คดีเดิมจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยแล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน คดีถึงที่สุด คำพิพากษาตามยอมจึงผูกพันคู่ความ หากคู่ความไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความคู่ความชอบที่จะขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ซึ่งคดีเดิมโจทก์เคยยื่นคำร้องว่าโจทก์ไม่ได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยเจตนาไม่ขายที่ดินพิพาท ขอให้ยกเลิกหมายบังคับคดี ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ยกคำร้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่ง แต่กลับมายื่นฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ ดังนี้คำร้อง ของ โจทก์ในคดีก่อนและคำฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงมีประเด็นแห่งคดีอย่างเดียวกัน คือให้วินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ คู่ความทั้งสองฝ่ายก็เป็นรายเดียวกันศาลชั้นต้นเคยวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีก่อนไปแล้วคำฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และฟ้องซ้ำด้วย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในคดีครอบครองปรปักษ์ เมื่อประเด็นข้อพิพาทและคู่ความเหมือนเดิม
คดีก่อนผู้คัดค้านเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยว่า ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ผู้ร้องได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาท ขอให้ขับไล่ผู้ร้องไป ผู้ร้องให้การว่า ผู้ร้องได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทมากว่า 30 ปีแล้ว คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินบางส่วนของที่ดินพิพาทด้วยความสงบเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 22 ปีแล้ว ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์ ขอให้ศาลสั่งว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้อง ประเด็นของคดีทั้งสองจึงมีว่า ผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382แล้วหรือไม่ เมื่อประเด็นแห่งคดีเหมือนกันและเป็นคู่ความเดียวกันทั้งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ย่อมต้องห้ามมิให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: ข้อจำกัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และข้อยกเว้น กรณีประเด็นพิพาทซ้ำ
เมื่อจำเลยถูกโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ทั้งสี่เป็นจำเลยออกจากที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2526 ขับไล่โจทก์ทั้งสี่ และให้โจทก์ทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหายให้จำเลย ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนี้เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2527 ปรากฏว่าศาลฎีกาย้อนสำนวนคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ทั้งสี่ ไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ตามรูปคดี ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่แล้วได้พิพากษาเมื่อวันที่ 20เมษายน 2533 โดยฟังว่าโจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลย (โจทก์ทั้งสี่) หรือคู่สมรส ในเมื่อคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ทั้งสี่คดีนี้เป็นจำเลยมีประเด็นเดียวกับคดีนี้ คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษาไปแล้วคดีนี้จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144(1) ถึง (5)กรณีจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ แต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: ข้อยกเว้นตามมาตรา 144 และขอบเขตการย้อนสำนวน
เมื่อจำเลยถูกโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยได้ฟ้องขับไล่โจทก์ทั้งสี่ออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี ส่วนคดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 พิพากษายกฟ้อง การที่ศาลฎีกาได้ส่งคดีที่จำเลยได้ฟ้องโจทก์ทั้งสี่คืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อให้พิจารณาและพิพากษาใหม่นั้นคดีดังกล่าวเท่านั้นที่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144(4) ที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำได้ ไม่ ใช่ คดีนี้ซึ่งไม่มีกรณีเข้าข้อยกเว้นที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำได้ กรณีของโจทก์จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องขัดทรัพย์ซ้ำในประเด็นที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามกฎหมาย
ผู้ร้องเคยฟ้องคดีแพ่งที่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ผู้ร้องเป็นทายาทจึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวดังกล่าวร่วมกับจำเลย โจทก์คดีนี้รับจำนองทรัพย์ดังกล่าวไว้โดยไม่สุจริต จึงขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนอง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยคดีนี้เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทที่จำนองแต่ผู้เดียว ซึ่งเท่ากับวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีว่าทรัพย์ที่จำนองมิใช่ของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมาร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้ในขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โดยอ้างว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นของผู้ร้อง จึงเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้วดังกล่าวมา การร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องเรียกค่าภาษีเพิ่มเติม ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีเดิม
คดีเดิมซึ่งจำเลยฟ้องโจทก์มีประเด็นข้อพิพาทว่า การประเมินภาษีอากรของโจทก์ที่ 1 ชอบหรือไม่ และโจทก์ที่ 1 มีหน้าที่ต้องคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารและชดใช้ค่าเสียหายให้จำเลยหรือไม่ ส่วนคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยนี้มีประเด็นว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากรเพิ่มเติมจากที่โจทก์ได้รับชำระจากจำเลยและจากธนาคารผู้ค้ำประกันเพียงใดหรือไม่ประเด็นในคดีทั้งสองแตกต่างกัน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสามที่บัญญัติให้จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้นั้น มิได้บังคับให้จำเลยต้องฟ้องแย้งมาในคำให้การเสมอไป แต่เป็นบทบัญญัติที่ให้จำเลยเลือกฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ หรือจะฟ้องเป็นคดีใหม่ก็ได้ตามแต่จำเลยจะพิจารณาเห็นสมควร ดังนั้นการที่โจทก์มิได้ฟ้องแย้งมาในคำให้การคดีก่อน หากแต่ได้ฟ้องเป็นคดีใหม่ จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 แม้ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด
คดีก่อน จำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับพวกเป็นจำเลย ในข้อหาว่า โจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ที่โจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์ และโจทก์ได้สั่งให้ จำเลยที่ 1 ระงับการก่อสร้างเนื่องจากโจทก์ได้ทำการออกแบบแปลนตัวอาคารที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชนโดยความผิดพลาดของโจทก์เองและเรียกร้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 จึงมีประเด็นว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ และจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 เท่าใด ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสิทธิบอกกล่าวเลิกสัญญากับโจทก์ จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีนี้ในข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก่อสร้างฉบับเดียวกันโดยอ้างเหตุเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์ได้ออกแบบแปลนตัวอาคารผิดพลาดโดยเหตุที่ที่ดินบางส่วนทางด้านทิศใต้ของบริเวณที่ดินที่ก่อสร้างเป็นของเอกชน ต่อมาโจทก์ได้จัดซื้อที่ดินของเอกชนดังกล่าวแล้ว จึงขอให้จำเลยทั้งสองทำการก่อสร้างต่อไป แต่จำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างและให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนี้ มูลคดีทั้งสองคดีนี้มีว่าคู่ความฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์ โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเรื่องก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษารุกล้ำที่ดินของเอกชนเป็นข้อสำคัญของคดีจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 กรณีมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตาม มาตรา 148 เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้ศาลชั้นต้นจะรอคดีนี้ไว้เพื่อฟังผลของคดีก่อนจนถึงที่สุดก็ตาม
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำ/ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในคดีสัญญาจ้างเหมา กรณีประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน แม้คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด
คดีก่อน จำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับพวกเป็นจำเลย ในข้อหาว่า โจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ที่โจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์ และโจทก์ได้สั่งให้ จำเลยที่ 1 ระงับการก่อสร้างเนื่องจากโจทก์ได้ทำการออกแบบแปลน ตัวอาคารที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชนโดยความผิดพลาด ของโจทก์เองและเรียกร้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 จึงมีประเด็นว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ และจะต้องใช้ค่าเสียหาย แก่จำเลยที่ 1เท่าใด ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสิทธิบอกกล่าวเลิกสัญญา กับโจทก์ จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีนี้ในข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา ก่อสร้างฉบับเดียวกันโดยอ้างเหตุเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์ได้ ออกแบบแปลนตัวอาคารผิดพลาดโดยเหตุที่ที่ดินบางส่วนทางด้านทิศใต้ ของบริเวณที่ดินที่ก่อสร้างเป็นของเอกชนต่อมาโจทก์ได้จัดซื้อที่ดิน ของเอกชนดังกล่าวแล้ว จึงขอให้จำเลยทั้งสองทำการก่อสร้างต่อไป แต่จำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างและให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหาย แก่โจทก์ ดังนี้ มูลคดีทั้งสองคดีนี้มีว่าคู่ความฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา จ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์ โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเรื่องก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษา รุกล้ำที่ดินของเอกชนเป็นข้อสำคัญของคดีจึงเป็นการ ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 กรณีมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตาม มาตรา 148 เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้ศาลชั้นต้น จะรอคดีนี้ไว้เพื่อฟังผลของคดีก่อนจนถึงที่สุดก็ตาม
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1 ต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาถึงที่สุด การยื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีเพื่อโต้แย้งประเด็นที่เคย争ในศาลแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินของโจทก์โดยวินิจฉัยว่าบ้านจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินที่จำเลยขายให้โจทก์แล้ว คดีถึงที่สุด ดังนี้การที่จำเลยกลับมายื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีว่าจำเลยปลูกบ้านอยู่นอกเขตโฉนดที่จำเลยขายให้โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ ขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งเพิกถอนคำบังคับนั้น เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3051/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องครอบครองปรปักษ์ที่ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ แม้คดีก่อนมีประเด็นเรื่องการครอบครองที่ดินเดียวกัน
เดิม จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องบิดาโจทก์เป็นจำเลย อ้างว่าบิดาโจทก์อาศัยปลูกเรือนและรั้วในที่ดินของจำเลย ขอให้บิดาโจทก์รื้อสิ่งปลูกสร้างออกไป บิดาโจทก์ต่อสู้ว่าปลูกสร้างในที่ดินของตนเอง ศาลล่างพิพากษาให้บิดาโจทก์แพ้คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้อ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนหนึ่งของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ประเด็นในคดีก่อนมีว่าสิ่งปลูกสร้างของบิดาโจทก์อยู่ในที่ดินของจำเลยหรือไม่ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าโจทก์ครอบครองที่ดินของจำเลยโดยปรปักษ์หรือไม่อันเป็นประเด็นคนละอย่างต่างกัน ทั้งโจทก์ในคดีนี้ก็มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน การยื่นฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 และไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) แม้โจทก์คนหนึ่งในคดีนี้จะเข้าแทนที่บิดาโจทก์ผู้มรณะในคดีก่อนนั้น ก็ไม่มีผลให้โจทก์ในคดีนี้เป็นคู่ความในคดีก่อนด้วย
of 5