พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6604/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อโกงต้องมีตั้งแต่ต้น แม้พัฒนาที่ดินไม่เสร็จก็ไม่ถึงขั้นฉ้อโกงหากมีการดำเนินการบางส่วนและผู้เสียหายพอใจ
การกระทำอันเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่ง ของความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ก็คือการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการกระทำดังกล่าวผู้กระทำจะต้องมีเจตนามาตั้งแต่ต้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคหนึ่ง ได้ความว่าโจทก์ร่วมซื้อที่ดินเนื้อที่ 500 ไร่ แล้วพาจำเลยไปดูที่ดินดังกล่าวเพื่อปรึกษาว่าจะพัฒนาที่ดินอย่างไร หลังจากนั้นจำเลยมาเสนอให้โจทก์ร่วมปลูกมันสำปะหลังหรือทำการเกษตรแบบผสมซึ่งโจทก์ร่วมเห็นชอบด้วยจำเลยบอกว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับ พื้นที่ โจทก์ร่วมตกลงให้จำเลยดำเนินการโดยจ่ายเงินให้จำเลยเป็นค่าใช้จ่ายหลังจากที่ได้จ่ายเงินครั้งที่สามแล้วโจทก์ร่วมไปดูที่ดินพบว่ามีการปรับพื้นที่ไปประมาณ 5 ถึง 6 ไร่ซึ่งโจทก์ร่วมตรวจดูมิได้คัดค้านแต่ประการใด ตรงกันข้ามกลับจ่ายค่าพัฒนาที่ดินให้จำเลยอีกถึง 85,000 บาท แสดงว่าโจทก์ร่วมพอใจในการพัฒนาที่ดินของจำเลย แม้ต่อมาจำเลยจะไม่ได้ดำเนินการพัฒนาที่ดินต่อไปจนเสร็จสิ้นซึ่งจะต้องด้วยเหตุผลประการใดก็ตามกรณีจึงยังฟังไม่ได้โดยแน่ชัดว่าจำเลยมีเจตนาหลอกลวงโจทก์ร่วมมาตั้งแต่ต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2481/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการเพื่ออุทธรณ์หลังศาลยกคำร้องอนาถา: กำหนดเวลาดำเนินการเช่นเดียวกับการชำระค่าธรรมเนียม
ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยทั้งสองในชั้นอุทธรณ์จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิดำเนินการเพื่อให้ศาลรับอุทธรณ์ของตนได้คือนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระเสียภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดกรณีหนึ่งหรือยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคสี่อีกกรณีหนึ่งเมื่อจำเลยทั้งสองใช้สิทธิดำเนินการในกรณีหลังแม้กฎหมายมาตราดังกล่าวนี้จะไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้ยื่นคำร้องไว้แต่เมื่อการใช้สิทธิดำเนินการในกรณีแรกคือนำเงิน ค่าธรรมเนียมมาชำระต้องนำมาชำระภายใน15วันตามคำสั่งศาลชั้นต้นดังนี้การใช้สิทธิดำเนินการในกรณีหลังก็ต้องดำเนินการเสียภายใน15วันเช่นเดียวกันเพราะเป็นการใช้สิทธิเพื่อให้ศาลรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเหมือนกันจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนด15วันศาลอุทธรณ์ย่อมไม่รับอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2481/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการเพื่ออุทธรณ์หลังศาลยกคำร้องขอเป็นคนอนาถา ต้องกระทำภายในกำหนดเวลาที่ศาลกำหนด
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์จำเลยทั้งสองมีสิทธิดำเนินการเพื่อให้ศาลรับอุทธรณ์ของตนได้โดยนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระภายใน15วันตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดกรณีหนึ่งหรือยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคสี่อีกกรณีหนึ่งเมื่อจำเลยทั้งสองใช้สิทธิดำเนินการในกรณีหลังก็ต้องยื่นคำร้องเสียภายในกำหนด15วันเช่นเดียวกันเพราะเป็นการใช้สิทธิเพื่อให้ศาลรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเหมือนกันแต่จำเลยทั้งสองใช้สิทธิดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคสี่เมื่อพ้นกำหนด15วันแล้วจึงชอบที่ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตและไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองมิได้แก้อุทธรณ์ตั้งประเด็นในปัญหาว่าโจทก์ไม่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นภายใน8วันจึงหมดสิทธิคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นจำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดีตามคำพิพากษา: การดำเนินการภายใน 10 ปี และความแตกต่างจากอายุความ
การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ตามคำ-พิพากษาจะต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ครบถ้วนภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ดังนั้นหากเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาแล้วขายทอดตลาดได้เงินไม่คุ้มหนี้และโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีอีก โจทก์จะแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้เพิ่มเติมเมื่อเกินกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาแล้วไม่ได้
ปัญหาในชั้นนี้เป็นข้อโต้เถียงเกี่ยวกับสิทธิในการบังคับคดีโดยตรงว่าโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่ ป.วิ.พ. มาตรา 271กำหนดไว้หรือไม่ อันเป็นระยะเวลาตามที่กฎหมายวิธีสบัญญัติกำหนดไว้โดยเฉพาะจึงไม่อาจนำบทบัญญัติในเรื่องอายุความตาม ป.พ.พ. ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติมาใช้บังคับแก่กรณีได้
ปัญหาในชั้นนี้เป็นข้อโต้เถียงเกี่ยวกับสิทธิในการบังคับคดีโดยตรงว่าโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่ ป.วิ.พ. มาตรา 271กำหนดไว้หรือไม่ อันเป็นระยะเวลาตามที่กฎหมายวิธีสบัญญัติกำหนดไว้โดยเฉพาะจึงไม่อาจนำบทบัญญัติในเรื่องอายุความตาม ป.พ.พ. ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติมาใช้บังคับแก่กรณีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดีและการแก้ไขหมายบังคับคดี: การดำเนินการภายใน 10 ปี และการแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยเพิ่มมูลหนี้ความรับผิดของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นอุทธรณ์ความรับผิดของจำเลยที่ 2 อยู่ด้วย จึงหาทำให้คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วหากคู่ความไม่ฎีกา คดีก็ย่อมเป็นที่สุดนับตั้งแต่ระยะเวลาฎีกาได้สิ้นสุดลง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 147 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามอุทธรณ์โจทก์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2525 โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2535 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษา จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 271
เมื่อโจทก์ร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ย่อมไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดี ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีแม้จะเกินกว่าคำพิพากษา ก็ย่อมออกคำสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลสั่งแก้ไขหมายบังคับคดีมิใช่แก้คำพิพากษา เมื่อค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีเกินกว่าที่จำเลยรับผิดตามคำพิพากษา ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง
เมื่อโจทก์ร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ย่อมไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดี ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีแม้จะเกินกว่าคำพิพากษา ก็ย่อมออกคำสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลสั่งแก้ไขหมายบังคับคดีมิใช่แก้คำพิพากษา เมื่อค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีเกินกว่าที่จำเลยรับผิดตามคำพิพากษา ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5285/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าของผู้เชี่ยวชาญไม่สมบูรณ์ ศาลต้องดำเนินการตามคำท้าให้ครบถ้วน
คู่ความท้ากัน 2 ประการ แต่หนังสือของศาลชั้นต้นคงขอให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์ปัญหาประการแรกว่า ตัวเลข 2 ได้เขียนขึ้นในคราว-เดียวกัน หรือเขียนเติมขึ้นในภายหลังเท่านั้น ปัญหาประการที่สองที่ว่าตัวเลข 2เขียนด้วยหมึกจากปากกาคนละด้ามกันหรือไม่ ศาลชั้นต้นไม่ได้ขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ จึงยังไม่เป็นไปตามคำท้าที่จะถือว่าโจทก์แพ้คดีได้ กรณีเป็นเรื่องศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามคำท้าของคู่ความให้ครบถ้วน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: การขานราคาและการให้โอกาสผู้เข้าสู้ราคา ความถูกต้องของการดำเนินการ
ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงาน-บังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 83 ที่กำหนดให้ผู้ขายทอดตลาดร้องขานจำนวนเงินที่มีผู้สู้ราคาระหว่างการนับนั้น นอกจากเพื่อให้เป็นที่ชัดเจนแก่ผู้เข้าสู้ราคาคนอื่นเพื่อไตร่ตรองก่อนตัดสินใจว่าจะสู้ราคาขึ้นไปอีกหรือไม่แล้ว ยังมีเจตนารมณ์เพื่อให้โอกาสแก่ผู้เข้าสู้ราคารายอื่น ซึ่งมิได้อยู่ร่วมในการประมูลสู้ราคามาแต่ต้นแต่เพิ่งมาถึงได้ทราบราคาที่มีผู้สู้ราคาไว้แล้ว เพื่อจะได้ประกอบการตัดสินใจว่าสมควรสู้ราคาขึ้นไปอีกหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ร้องอยู่ร่วมเข้าสู้ราคามาแต่ต้น ผู้ร้องย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าผู้คัดค้านได้เสนอราคามาถึงเท่าใด และอาจตัดสินใจได้ว่าจะสู้ราคาขึ้นไปอีกหรือไม่ ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าระหว่างการนับ 1 ถึง 3 แต่ละช่วงเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ขานจำนวนเงินที่มีผู้สู้ราคาครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง 3 - 4 หนตามนัยแห่งระเบียบดังกล่าว ก็หามีผลทำให้ผู้ร้องไม่มีโอกาสเสนอราคาเพิ่มสูงขึ้นดังที่ผู้ร้องอ้าง พฤติการณ์ฟังไม่ได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง ที่จะขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยที่ไม่สมเหตุสมผลและการดำเนินการของทนาย
จำเลยได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์มา 2 ครั้งแล้ว จำเลยไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด หลังจากครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ 2 วัน ทนายจำเลยมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เป็นครั้งที่ 3 อ้างว่า วันสุดท้ายที่ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ทนายจำเลยได้เขียนอุทธรณ์เสร็จแล้วในตอนเช้าและเกิดท้องร่วงกะทันหัน แพทย์ให้พักรักษาตัว 2 วัน ไม่สามารถติดต่อจำเลยและเสมียนทนายจำเลยได้ โดยไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยได้แนบสำเนาอุทธรณ์มาด้วยเพื่อเป็นหลักฐานแสดงต่อศาลว่าได้ทำอุทธรณ์เสร็จแล้วจริง ทั้งปรากฏว่าตามคำร้องฉบับดังกล่าวได้ขออนุญาตให้ศาลขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 3 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาต จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าทนายจำเลยยังทำอุทธรณ์ไม่เสร็จในวันครบกำหนด อีกทั้งปรากฏว่าคดีนี้ยังมีทนายจำเลยอีกคนหนึ่งซึ่งสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ กรณีของทนายจำเลยดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุสุดวิสัย จึงไม่สามารถขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5344/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนด 10 ปีบังคับคดี: เจ้าหนี้ต้องดำเนินการภายในกำหนด หากพ้นกำหนดจะบังคับคดีไม่ได้
การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี และแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ครบถ้วนภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ดังนั้นหากเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาแล้วขายทอดตลาดได้เงินไม่คุ้มหนี้และโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีอีก โจทก์จะแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้เมื่อเกินกำหนด 10 ปีแล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4595/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดทรัพย์หลังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการแล้ว: คดีไม่มีประโยชน์พิจารณาต่อ
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปแล้ว ทรัพย์ดังกล่าวไม่อยู่ในความยึดถือหรืออยู่ในอำนาจสั่งการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินการขายหรือไม่ขายทอดตลาดอีกต่อไป ถึงหากจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไว้ก่อนตามคำร้องของจำเลย หรืออนุญาตให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการขายทอดตลาดต่อไปตามฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ก็ไม่อยู่ในวิสัยที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำพิพากษาดังกล่าวได้ คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยต่อไปว่าสมควรอนุญาตให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยดังฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่ จึงให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ