คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดำเนินกิจการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2527 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงตัวผู้ถือหุ้นและการดำเนินกิจการต่อเนื่อง: สถานะนายจ้าง-ลูกจ้างยังคงเดิม
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 นั้นมีผลเพียงเปลี่ยนตัวผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งบริษัทจำเลยที่ 1 เช่ามาจากผู้อื่น จึงเป็นการดำเนินกิจการโรงแรมในฐานะผู้ซื้อหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เท่ากับบริษัทจำเลยที่1 ยังเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงแรมอยู่นั่นเอง บริษัทจำเลยที่ 1 ยังคงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานโรงแรมนี้อยู่
จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหุ้นให้ดำเนินกิจการโรงแรมแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของโจทก์ตามบทนิยามคำว่า'นายจ้าง' ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน
แม้จำเลยที่ 2 จะเข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นจากบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ทำงานต่อเนื่องกันมา จึงต้องนับอายุงานของโจทก์ที่ทำงานอยู่กับบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อเนื่องกันมาด้วย จะนับอายุงานของโจทก์เพียงเท่าที่จำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ: แม้มีการให้เช่า/ขายทรัพย์สิน ห้างหุ้นส่วนยังไม่เลิกจนกว่าจะตกลงเลิกกัน
โจทก์จำเลยกับพี่น้องทำสัญญาหุ้นส่วนโรงสีได้ดำเนินกิจการเรื่อยมาโดยจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จนถึง พ.ศ. 2498 หรือ พ.ศ. 2499 ได้ให้บริษัท ข. เช่าไป แม้ พ.ศ. 2509 จำเลยจะได้ขายโรงสีให้แก่บริษัท ข. ก็ตาม ห้างหุ้นส่วนสามัญนี้ยังอยู่มิได้เลิกกัน โจทก์ฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนสามัญนี้ได้เสมอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนรับผิดร่วมกันในละเมิดจากการดำเนินกิจการร่วมกัน
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนเดินรถโดยสารประจำทางกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับขี่ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ควบคุมรถและเก็บค่าโดยสาร ถ้าจำเลยที่ 1 ขับขี่รถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย และตัวโจทก์ได้รับบาดเจ็บ จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำต่อโจทก์เช่นเดียวกับตัวการต้องร่วมกันรับผิดกับตัวแทนตามนัยมาตรา 1042 และ 427 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนร่วมรับผิดในละเมิดจากการดำเนินกิจการร่วมกัน
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนเดินรถโดยสารประจำทางกับจำเลยที่1โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับขี่ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ควบคุมรถและเก็บค่าโดยสาร ถ้าจำเลยที่ 1 ขับขี่รถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายและตัวโจทก์ได้รับบาดเจ็บ จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำต่อโจทก์เช่นเดียวกับตัวการต้องร่วมรับผิดกับตัวแทนตามนัยมาตรา 1042และ 427 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4483/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจโรงสี จำเป็นต้องพิจารณาถึงเจตนาของเจ้าของรวมและผลกระทบต่อการดำเนินกิจการ
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองจำเลยที่ 2 น. และ น. จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่าที่ดินพิพาทใช้เป็นที่ตั้งกิจการโรงสีไฟของจำเลยที่ 1 และบ้านพักอาศัย จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวไม่มีหน้าที่จะต้องไถ่ถอนจำนองและแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน มิได้ต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของห้างที่จะต้องนำมาเพื่อการชำระบัญชีหรือเป็นทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์ทั้งสองกับเจ้าของรวมคนอื่นจึงเป็นการไม่ถูกต้อง และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่าที่ดินเป็นทรัพย์สินของ จ. นำมาลงทุนเป็นหุ้นในห้างจำเลยที่ 1 อันเท่ากับรับฟังว่าเป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยเช่นกัน คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเพียงว่าจำเลยทั้งสองต้องไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทและแบ่งกรรมสิทธิ์รวมแก่โจทก์ทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทมีที่มาจากสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโดยรวมเป็นการตกลงแบ่งมรดกในส่วนที่เป็นที่ดินรวม 8 แปลง และหุ้นในห้างจำเลยที่ 1 กับหุ้นในบริษัท ร. สำหรับที่ดินแปลงอื่นที่จดทะเบียนจำนองได้ระบุว่าให้นำเงินของจำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองและจดทะเบียนโอนให้แก่ทายาทที่ระบุชื่อไว้ แต่ที่ดินพิพาทซึ่งขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีภาระจำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อธนาคารอยู่ก่อนแล้ว ไม่มีการกล่าวถึงการไถ่ถอนจำนอง เพียงแต่ระบุส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ของเจ้าของรวมแต่ละคน เมื่อรับฟังประกอบข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ตั้งของโรงสีและสิ่งปลูกสร้างอื่นที่ใช้ร่วมกันมาตั้งแต่เริ่มประกอบกิจการจนถึงปัจจุบัน และหนี้ที่ที่ดินพิพาทจำนองเป็นประกันก็เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 กู้จากธนาคารมาใช้หมุนเวียนในการดำเนินกิจการ เมื่อเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคือผู้ถือหุ้นในห้างจำเลยที่ 1 โดยมีส่วนเท่ากับส่วนของหุ้นที่ได้รับจึงเห็นได้ว่าผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินต่างมีเจตนาใช้ที่ดินพิพาทเป็นสถานที่ประกอบกิจการโรงสีและใช้เป็นหลักประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กันต่อไปเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1 หากจะแบ่งที่ดินดังกล่าวให้แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเสียในขณะนี้ย่อมไม่เป็นไปตามเจตนาดังกล่าวทั้งยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการของห้างให้ไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ ทั้งศาลวินิจฉัยไว้แล้วว่ายังไม่มีเหตุให้ต้องเลิกห้างอันจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินทั้งหมดทุกคน แม้เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนหนึ่งๆ จะมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้ แต่จะเรียกให้แบ่งในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันสมควรไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 วรรคสาม พฤติการณ์ดังกล่าวมาถือได้ว่ายังไม่เป็นโอกาสอันสมควรที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทและเป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 จะเรียกให้แบ่งทรัพย์สิน
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์อัตราค่าทนายความต้องกำหนดตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551 มาตรา 21 ที่ให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่มีการฟ้องคดีบังคับแก่คดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ซึ่งตาราง 6 ระบุว่าคดีไม่มีทุนทรัพย์ อัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ 1,500 บาท ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดค่าทนายความเป็นเงิน 3,000 บาท จึงเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11193/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานชักชวนเข้าสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ และการพิสูจน์การดำเนินกิจการโดยมิได้จดทะเบียน
ความผิดฐานร่วมกันชักชวนให้ผู้ใดเข้าเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2517 มาตรา 29 นั้น ต้องเป็นการชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการโดยวิธีใด ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ให้ผู้ใดเข้าเป็นสมาชิกในสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งยังมิได้จดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องในข้อ ก. ว่า เมื่อระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2541 ถึงวันที่ 22 กันยายน 2541 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งสองร่วมกันดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ในนามชมรมผู้สูงอายุมวลชน อำเภอนาเชือก และสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ร่วมมิตร อำเภอนาเชือก โดยมิได้จดทะเบียนเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ตามกฎหมาย และบรรยายฟ้องในข้อ ข. ว่า เมื่อระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2541 ถึงวันที่ 26 มกราคม 2542 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งสองโดยทุจริตหลอกลวง บ. ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกรวม 59 คน และประชาชนทั่วไปด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งว่าจำเลยทั้งสองได้จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุมวลชน อำเภอนาเชือก และสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ร่วมมิตร อำเภอนาเชือก ซึ่งได้จดทะเบียนให้ดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ได้ตามกฎหมาย หากผู้เสียหายทั้ง 59 คน และประชาชนโดยทั่วไปประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกสมาคมจะต้องเสียเงินเป็นค่าสมัครเริ่มต้น 100 บาท ค่าบำรุงสมาคม จำนวน 400 บาท และค่าสงเคราะห์ศพของสมาชิกล่วงหน้าศพละ 20 บาท เมื่อสมาชิกถึงแก่ความตายหลังเข้าเป็นสมาชิกแล้ว 180 วัน ผู้รับประโยชน์จะได้รับเงินผลประโยชน์รายละ 100,000 บาท อันเป็นความเท็จ ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาที่จะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อสมาชิกถึงแก่ความตายแต่อย่างใด ข้อความในฟ้องข้อ ก. จึงเป็นการบรรยายตามองค์ประกอบความผิดฐานดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยมิได้จดทะเบียนเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์หรือขึ้นทะเบียนการฌาปนกิจสงเคราะห์ตามมาตรา 50 แห่ง พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2517 เพราะการดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์อาจเป็นการดำเนินการอื่นที่มิใช่การชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการให้ผู้ใดเข้าเป็นสมาชิก อันเป็นองค์ประกอบความผิดของความผิดฐานร่วมกันชักชวนให้ผู้ใดเข้าเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียน ส่วนข้อความในฟ้องข้อ ข. โจทก์บรรยายฟ้องรวมการกระทำของจำเลยทั้งสองตั้งแต่ก่อนการจดทะเบียนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ร่วมมิตร อำเภอนาเชือก และหลังจากจดทะเบียนเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์แล้วโดยมุ่งถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดว่าเป็นการหลอกลวงว่าจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์หากผู้เป็นสมาชิกถึงแก่ความตายอันเป็นความเท็จ จึงมิได้แบ่งแยกว่าเป็นการกระทำก่อนหรือหลังการจดทะเบียนเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์หรือไม่ เห็นได้ว่าเป็นการบรรยายข้อเท็จจริงซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก ประกอบมาตรา 341 เป็นข้อสำคัญ เพราะการกระทำความผิดฐานร่วมกันชักชวนให้ผู้ใดเข้าเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนต้องเป็นการกระทำก่อนการจดทะเบียนเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์เท่านั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องโดยรวมการกระทำทั้งก่อนและหลังการจดทะเบียนเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ จึงมิได้แสดงข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นการบรรยายฟ้องความผิดตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2517 มาตรา 29 มาด้วยดังที่โจทก์ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด: ความรับผิดของหุ้นส่วนและบุคคลภายนอกที่เข้าไปดำเนินกิจการ
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มิใช่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ การที่จำเลยที่ 4 เข้าไปดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1 ไม่มีผลให้จำเลยที่ 4 กลายเป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 และต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ด้วย และแม้จำเลยที่ 4 จะยินยอมโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนกับชื่อของห้างจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เสมือนเป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1054 ประกอบมาตรา 1080

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10068/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทหุ้นส่วน-เลิกห้างหุ้นส่วน: ความไม่ไว้วางใจและความเป็นไปไม่ได้ในการดำเนินกิจการต่อ
การที่โจทก์และจำเลยทั้งหกมีข้อพิพาทต่อกันหลายคดี รวมถึงการดำเนินกิจการโรงรับจำนำ ฮ. โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาให้โจทก์นำเงินรายได้ประจำวันของโรงรับจำนำ ฮ. มาวางศาล และขอให้ตั้งจำเลยที่ 3 เป็นผู้ตรวจบัญชี แสดงให้เห็นว่าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ปรองดองกันและไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทั้งการเป็นหุ้นส่วนกันนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนเองจึงไม่สามารถบังคับให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขายหุ้นส่วนของฝ่ายนั้นให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งได้ กรณีเหลือวิสัยที่ห้างหุ้นส่วนจะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ จึงมีเหตุที่ศาลจะพิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอนอาคารหลังได้รับแจ้งโดยชอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองและดำเนินกิจการจึงมีความผิด
แม้อาคารที่เกิดเหตุจะปลูกสร้างภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 ซึ่งต่อมามี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 บังคับใช้ โดยที่มาตรา 3 บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ก็ได้บัญญัติบทเฉพาะกาลไว้ในมาตรา 75 ถึงมาตรา 80 โดยมาตรา 80 บัญญัติว่า ท้องที่ใดได้มี พ.ร.ฎ.ให้ใช้บังคับพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479... อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ในท้องที่นั้นแล้ว อันเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่มีผลบังคับต่อเนื่องกับ พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 จึงหาได้มีผลทำให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่มีการก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตก่อนที่ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มีผลบังคับใช้ ไม่จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่อย่างใด ซึ่งในส่วนของความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 คดีก่อน เมื่อพิจารณาจากสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 7 และศาลฎีกา เห็นได้ว่า เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยกับ พ. โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 77 ของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาล โดยเหตุว่าบริเวณชายหาดหัวหินที่เกิดเหตุมีอาคารก่อสร้างขึ้นเป็นจำนวนมากในที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก่อนที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้ และเป็นท้องที่ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปรับปรุงอาคารแล้ว ซึ่งเทศบาลเมืองหัวหินได้มีคำสั่งให้เจ้าของอาคารมาทำสัญญาเช่าที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินกับทางเทศบาล ตามความในมาตรา 77 (4) วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นเพียงมาตรการผ่อนปรนชั่วคราว โดยเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารต้องรื้อถอนและขนย้ายสิ่งปลูกสร้างของตนออกจากบริเวณที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา คดีดังกล่าวศาลจึงต้องพิจารณาจากหลักฐานสัญญาเช่าที่ดินเป็นหลักและรับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ได้เป็นผู้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับเจ้าพนักงานท้องถิ่น ไม่ใช่คู่สัญญา จึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องรื้อถอนอาคารตามมาตรา 77 วรรคสี่ แต่คดีนี้เห็นได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามที่บัญญัติในหมวด 4 ของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 (2) และมาตรา 42 ที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการแจ้งคำสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารห้ามใช้อาคารและให้รื้อถอน หากไม่ปฏิบัติตาม ผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกันและเป็นความผิดคนละข้อหากับคดีก่อน คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในคดีนี้จึงเป็นการกระทำตามกรอบอำนาจของกฎหมาย มิได้ซ้ำซ้อนกับคดีก่อนและข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาในคดีก่อนก็ไม่ผูกพันศาลในคดีนี้ให้ต้องถือตาม แต่ต้องรับฟังพยานหลักฐานจากข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏจากทางนำสืบในสำนวนนี้
of 2