พบผลลัพธ์ทั้งหมด 923 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1965/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: ดุลพินิจรับชำระคดีที่จำเลยมีภูมิลำเนา vs. ที่เกิดเหตุ
เรือนจำกลางนครศรีธรรมราชเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 47 ย่อมถือได้ว่าจำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจศาล ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 22 (1) แต่บทกฎหมายดังกล่าวมิได้เป็นบทบังคับให้ศาลชั้นต้นที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับชำระคดีที่โจทก์ฟ้อง จึงใช้ดุลพินิจที่จะรับชำระคดีเช่นว่านั้นหรือไม่ก็ได้ แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 22 (1) ไม่ได้บัญญัติให้ศาลท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่หยิบยกเหตุเรื่องความไม่สะดวกของศาลที่รับชำระคดีมาเป็นเหตุไม่รับฟ้องหรือไม่ชำระคดี แต่การใช้ดุลพินิจที่จะรับชำระคดีหรือไม่ก็ต้องคำนึงถึงความสะดวกในการพิจารณาคดีด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกฟ้องคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต่างกรรมต่างวาระ และการใช้ดุลพินิจในการลดโทษ
การกระทำความผิดอาญาในคดีก่อนเป็นคนละตอนกับการกระทำความผิดคดีนี้ เมทแอมเฟตามีนก็เป็นคนละจำนวนกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ โจทก์จึงมีอำนาจแยกฟ้องเป็นคนละคดีได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรับรองอุทธรณ์ของพนักงานอัยการ และการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษคดีพนัน
โจทก์อุทธรณ์โดยมีพนักงานอัยการผู้รักษาการแทนอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 8 รับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมีสำเนาคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 235/2546 ที่มอบหมายให้อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต หรือพนักงานอัยการผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขตมีอำนาจรับรองอุทธรณ์แทนอัยการสูงสุด เมื่อพิจารณาเห็นว่า มีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยสำหรับคดีอาญาซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขตนั้น ๆ ได้ โดยเป็นคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี และ พ.ร.บ.พนักงานอัยการฯ มาตรา 15 พนักงานอัยการผู้รักษาการแทนอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 8 ตามมาตรา 18 จึงเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาจึงเป็นไปโดยชอบ
การกระทำความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ เป็นการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสงบสุขของครอบครัว สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคม พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรง จึงไม่สมควรรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลย แต่จำเลยมีอายุถึง 58 ปี และโทษจำคุกที่จะต้องรับแต่ละกระทงมีกำหนดเวลาน้อยกว่าสามเดือน เห็นสมควรใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกให้น้อยลงอีกเพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี
การกระทำความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ เป็นการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสงบสุขของครอบครัว สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคม พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรง จึงไม่สมควรรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลย แต่จำเลยมีอายุถึง 58 ปี และโทษจำคุกที่จะต้องรับแต่ละกระทงมีกำหนดเวลาน้อยกว่าสามเดือน เห็นสมควรใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกให้น้อยลงอีกเพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งวางประกันในการเพิกถอนการขายทอดตลาด: หลักฐานเบื้องต้นและการใช้ดุลพินิจ
เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยนำเงินหรือหลักประกันมาวางศาลเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนได้ หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องดังกล่าวไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคห้า ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติว่าหลักฐานเบื้องต้นนั้นจะต้องเป็นหลักฐานที่ได้มาจากการไต่สวนคำร้องที่ยื่น ดังนั้น คำร้องของจำเลยประกอบรายงานข้อเท็จจริงในการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงเป็นหลักฐานเบื้องต้นได้โดยไม่ต้องไต่ส่วนคำร้องของจำเลยเสียก่อน และเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้น ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวแล้ว หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ศาลชั้นต้นชอบที่ยกคำร้องของจำเลยได้ และคำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด
(คำสั่งคำร้องศาลฎีกา)
(คำสั่งคำร้องศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7290/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับโรงงานน้ำตาล: ความเป็นหนี้ทางแพ่ง, ดุลพินิจการปรับ, อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
จำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมการขายอ้อยและน้ำตาลทรายจำนวน 972,303.26 บาท ซึ่งได้รับคืนจากกรมสรรพากรเพื่อไปชำระให้แก่กองทุนโจทก์ตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายฉบับที่ 4 และที่ 5 ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการขายอ้อยและน้ำตาลทราย อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 5 (12) ของระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบ หรือ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 คณะกรรมการบริหารจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยชำระเบี้ยปรับได้ โดยให้พิจารณาเบี้ยปรับตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 7 ซึ่งเบี้ยปรับตามระเบียบดังกล่าวข้อ 3 หมายความว่าเป็นเงินค่าปรับที่คณะกรรมการบริหารกำหนดให้โรงงานซึ่งปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบนี้ชำระให้แก่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ดังนี้เบี้ยปรับจึงไม่ใช่ค่าปรับอันเป็นโทษทางอาญา เพราะเบี้ยปรับดังกล่าวเป็นการกำหนดความรับผิดในทางแพ่งสำหรับโรงงานที่ฝ่าฝืนจะนำไปเปรียบกับค่าปรับทางอาญาไม่ได้ นอกจากนี้ เบี้ยปรับกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพราะเป็นการกระทำโดยคณะกรรมการบริหารอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับทางปกครอง มิใช่เบี้ยปรับเพราะเหตุผิดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นเรื่องของคู่สัญญาซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับลูกหนี้ทำสัญญาไว้ต่อกันว่าลูกหนี้จะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร ดังบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 379 ถึง 385 และเบี้ยปรับที่คณะกรรมการของโจทก์กำหนดให้จำเลยนำไปชำระถือว่าเป็นหนี้อย่างหนึ่งไม่ว่าโจทก์จะเสียหายจริงหรือไม่ โจทก์ย่อมเรียกเบี้ยปรับได้
ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8 ให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาและคิดเบี้ยปรับเอาจากโรงงานที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือ พระราชบัญญัติดังกล่าว คำว่า "พิจารณา" และคำว่า "คิด" มีความหมายให้ใคร่ครวญหรือไตร่ตรองหรือตรวจตราก่อน ดังนั้น จึงเป็นดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารที่จะสั่งปรับหรือไม่ปรับก็ได้ ทั้งนี้อยู่ที่ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ของโรงงานที่ทำการฝ่าฝืนระเบียบเป็นเรื่องๆไป
ดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายไม่กำหนดไว้ว่ามีอัตราสูงสุดเท่าใดใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีเฉพาะกรณีกู้ยืมเงินตามมาตรา 654 เท่านั้นที่ให้คิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี กรณีอื่นๆนอกนั้นไม่มีกำหนดอัตราสูงสุดไว้เลย ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามกฎหมายจึงเป็นอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8 ให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาและคิดเบี้ยปรับเอาจากโรงงานที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือ พระราชบัญญัติดังกล่าว คำว่า "พิจารณา" และคำว่า "คิด" มีความหมายให้ใคร่ครวญหรือไตร่ตรองหรือตรวจตราก่อน ดังนั้น จึงเป็นดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารที่จะสั่งปรับหรือไม่ปรับก็ได้ ทั้งนี้อยู่ที่ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ของโรงงานที่ทำการฝ่าฝืนระเบียบเป็นเรื่องๆไป
ดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายไม่กำหนดไว้ว่ามีอัตราสูงสุดเท่าใดใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีเฉพาะกรณีกู้ยืมเงินตามมาตรา 654 เท่านั้นที่ให้คิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี กรณีอื่นๆนอกนั้นไม่มีกำหนดอัตราสูงสุดไว้เลย ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามกฎหมายจึงเป็นอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน (สำเนาภาพถ่าย) ในคดีอาญา: ศาลมีดุลพินิจพิจารณาความน่าเชื่อถือและความจำเป็นในการตรวจพยานวัตถุ
ป.วิ.อ. มาตรา 241 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีการสืบพยานวัตถุหาใช่บทบังคับให้สืบพยานวัตถุเสมอไปไม่ หากศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตรวจดูพยานวัตถุก็อาจใช้ดุลพินิจไม่ตรวจดูได้ คดีนี้โจทก์อ้างส่งสำเนาภาพถ่ายธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อซึ่งมีความชัดเจนสามารถตรวจดูลักษณะและหมายเลขธนบัตรได้โดยง่าย ทั้งจำเลยไม่ได้โต้แย้งความไม่ถูกต้องของสำเนาภาพถ่ายธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อแต่อย่างใด ศาลจึงรับฟังสำเนาภาพถ่ายธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อประกอบพยานบุคคลและพยานเอกสารอื่นๆ เพื่อเป็นหลักฐานในคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6519/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัยและการใช้ดุลพินิจศาลในการกำหนดดอกเบี้ย
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าข้าวจากบริษัท ซ. ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าข้าว เมื่อสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่ง โจทก์ย่อมมีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 877 อันเป็นการชำระหนี้ตามกฎหมาย และผลแห่งการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวทำให้โจทก์อยู่ในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้าข้าวพิพาทได้ในนามของโจทก์เองตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง และการรับช่วงสิทธิของโจทก์ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยอำนาจแห่งกฎหมาย หาใช่เกิดจากข้อตกลงของคู่กรณีในสัญญาประกันภัยไม่ แม้เอกสารการรับช่วงสิทธิไม่มีกรรมการที่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ซ. ลงลายมือชื่อพร้อมกับประทับตราสำคัญของบริษัท ก็ไม่มีผลทำให้การรับช่วงสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่เป็นอันสิ้นสิทธิหรือระงับสิ้นไป
บทบัญญัติมาตรา 142 (6) แห่ง ป.วิ.พ. เป็นข้อยกเว้นของหลักทั่วไปตามมาตรา 142 ที่ห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง บทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้นดังกล่าวนี้นำมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ได้โดยอนุโลมตามมาตรา 246 ดังนั้น ในการพิจารณาคดีชั้นอุทธรณ์แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กำหนดอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรใช้ดุลพินิจตามมาตรา 142 (6) โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของจำเลยแล้ว กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษานับถัดจากวันฟ้อง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือขัดต่อบทกฎหมาย
บทบัญญัติมาตรา 142 (6) แห่ง ป.วิ.พ. เป็นข้อยกเว้นของหลักทั่วไปตามมาตรา 142 ที่ห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง บทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้นดังกล่าวนี้นำมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ได้โดยอนุโลมตามมาตรา 246 ดังนั้น ในการพิจารณาคดีชั้นอุทธรณ์แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กำหนดอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรใช้ดุลพินิจตามมาตรา 142 (6) โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของจำเลยแล้ว กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษานับถัดจากวันฟ้อง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือขัดต่อบทกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6453/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญา: โทษจำคุกไม่เกินห้าปี และการโต้เถียงดุลพินิจศาล
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 2 ปี 6 เดือน จำนวน 26 กระทง และกระทงละ 6 เดือน จำนวน 6 กระทง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แม้เมื่อรวมโทษจำคุกจำเลยทุกกระทงแล้วศาลล่างทั้งสองให้จำคุกจำเลย 50 ปี ก็เป็นไปตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) ไม่มีผลต่อข้อจำกัดในการฎีกาของจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5292/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบการทำสัญญาเพื่อปฏิเสธหนี้จากการเล่นแชร์ และดุลพินิจค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลย จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้เป็นเรื่องการเล่นแชร์กัน การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยเล่นแชร์กับโจทก์และจำเลยประมูลแชร์ได้ โจทก์ซึ่งเป็นนายวงแชร์ให้จำเลยทำสัญญากู้เงินเพื่อเป็นประกันว่าจำเลยจะส่งชำระค่าแชร์ในงวดที่เหลือต่อไป และต่อมาการเล่นแชร์สิ้นสุดลงโดยจำเลยส่งชำระค่าแชร์ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ซึ่งเป็นการนำสืบตามที่จำเลยให้การต่อสู้ และเป็นการนำสืบถึงมูลเหตุที่มาของการทำสัญญากู้เงิน เพื่อแสดงให้เห็นว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ เพราะจำเลยส่งชำระค่าแชร์ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว เท่ากับเป็นการนำสืบว่าสัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคสอง จำเลยจึงมีสิทธินำสืบได้ หาใช่เป็นการนำสืบถึงการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินไม่
โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน แต่กำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลเป็นพับซึ่งเป็นผลให้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นพับไปด้วย จึงไม่ถูกต้อง เพราะการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้รับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแค่ไหนเพียงไรนั้น เป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจ มิใช่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย จึงมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน แต่กำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลเป็นพับซึ่งเป็นผลให้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นพับไปด้วย จึงไม่ถูกต้อง เพราะการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้รับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแค่ไหนเพียงไรนั้น เป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจ มิใช่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย จึงมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5185/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง กรณีคดีทุนทรัพย์น้อย และการโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้นเกี่ยวกับเหตุขยายเวลา
ฎีกาของจำเลยแม้เป็นฎีกาคัดค้านในเรื่องของการขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ มิใช่ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดี ก็ตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีมีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่สูงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะหาเงินค่าธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้ และพฤติการณ์การยื่นคำร้องของจำเลยมีลักษณะเป็นการประวิงคดีกรณีไม่มีพฤติการณ์พิเศษ เท่ากับศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและฟังว่าไม่มีเหตุตามที่จำเลยอ้างมาในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ อันเป็นการวินิจฉัยในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า กรณีมีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า ตามคำร้องของจำเลยเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ จำเลยใช้ความพยายามทุกทางแล้วแต่หาเงินค่าธรรมเนียมได้เพียงบางส่วน และจำเลยไม่มีเจตนาที่จะประวิงคดี เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีมีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่สูงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะหาเงินค่าธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้ และพฤติการณ์การยื่นคำร้องของจำเลยมีลักษณะเป็นการประวิงคดีกรณีไม่มีพฤติการณ์พิเศษ เท่ากับศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและฟังว่าไม่มีเหตุตามที่จำเลยอ้างมาในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ อันเป็นการวินิจฉัยในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า กรณีมีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า ตามคำร้องของจำเลยเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ จำเลยใช้ความพยายามทุกทางแล้วแต่หาเงินค่าธรรมเนียมได้เพียงบางส่วน และจำเลยไม่มีเจตนาที่จะประวิงคดี เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง