พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากละเมิดต่อทรัพย์สินที่ดูแลรักษา แม้ไม่ใช่เจ้าของ
โจทก์มีหน้าที่จัดหา ติดตั้ง ครอบครอง ดูแลและรักษาสัญญาณไฟจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยเมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดทำให้สัญญาณไฟจราจรในขณะอยู่ในความครอบครองของโจทก์เสียหาย แม้โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของโจทก์ก็จะต้องทำการจัดหา ติดตั้งและบำรุงรักษาสัญญาณไฟจราจรนั้นให้มีสภาพดีเช่นเดิมตามหน้าที่ โจทก์ย่อมเสียหายจากการกระทำละเมิด จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ การดูแลรักษาไม้ และความรับผิดเมื่อไม้สูญหาย
ตามสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีสาระสำคัญว่าจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างจะต้องทำการตัดฟันชักลากไม้กระยาเลยออกจากป่าไปรวมหมอน ณ สถานที่กำหนดและมีหน้าที่ดูแล รักษาไม้ดังกล่าวมิให้เสียหายหรือสูญหาย จนกว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบไม้ให้โจทก์โดยได้มีการตรวจตีตราค่าภาคหลวงและโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างให้จำเลยที่ 1 แล้ว ถ้า เกิดการเสียหายหรือสูญหายไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆโจทก์มีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 ตามจำนวนไม้ที่เสียหายหรือสูญหายเมื่อไม้ที่รวมหมอนไว้ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแล รักษาได้สูญหายไปในระหว่างที่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแล รักษา โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 ได้ตามสัญญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ต่อความเสียหายของไม้ของกลาง: อายัดแล้วต้องดูแลรักษา หากเสื่อมสภาพตามกาลเวลาไม่ต้องรับผิด
เจ้าพนักงานป่าไม้และเจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจพบไม้ได้อายัดไม้ของกลางของโจทก์ไว้ และให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลตามระเบียบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำเลยที่ 3 เป็นเพียงพนักงานสอบสวนผู้รับแจ้งความ มีหน้าที่ทำการสืบสวนดำเนินคดีให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วเท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับไม้ของกลาง แม้จะเกิดความเสียหายกับไม้ของกลาง จำเลยที่ 3 ก็ไม่ต้องรับผิด ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดเช่นกัน จำเลยที่ 1 ได้อายัดไม้ของกลางของโจทก์แล้วก็ปล่อยให้อยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ขนย้ายออกไป ไม้ดังกล่าวได้ปลูกสร้างอยู่ในที่ดินของโจทก์ และหลังการอายัดเพียง 28 วัน ก็ได้มีการมุงหลังคาโครงสร้างฉางไว้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้จัดการดูแลรักษาไม้ที่อายัดไว้ดีพอสมควรแล้ว แม้จะเสื่อมสภาพไปบ้างก็เป็นไปตามกาลเวลา ไม่ใช่เพราะความบกพร่องของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชอบใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับจ้างและผู้ว่าจ้างในการดูแลรักษาสิ่งก่อสร้างระหว่างการพิจารณาคดี และขอบเขตคำสั่งศาล
โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยชำระค่าจ้างก่อสร้างอาคาร จำเลยให้การว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อตามสัญญาระบุให้สิ่งก่อสร้างรวมทั้งสัมภาระอุปกรณ์ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยผู้ว่าจ้างตั้งแต่นำเข้ามาในที่ก่อสร้าง จำเลยจึงมีส่วนได้เสียในอาคารพิพาท หากอาคารถูกปล่อยปละละเลยไม่มีผู้ดูแลรักษา ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนได้เสียของจำเลย แม้จำเลยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์ส่งมอบอาคาร จำเลยก็มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างการพิจารณา เพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ดูแลรักษาอาคารในระหว่างการพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 264 เมื่อโจทก์หยุดการก่อสร้างไปแล้ว และการที่จะให้จำเลยเข้าดูแลรักษาอาคารไม่กระทบถึงสิทธิส่วนได้เสียของโจทก์ ศาลจึงชอบที่จะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเข้าเป็นผู้ดูแลรักษาอาคารพิพาทในระหว่างพิจารณา แต่ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเข้าดำเนินการทำประโยชน์และครอบครองอาคารโดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้งและมีคำขอบังคับเช่นนั้น จึงไม่ชอบด้วย มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาจ้างดูแลทรัพย์สิน กรณีประมาทเลินเล่อทำให้ทรัพย์สินเสียหาย
จำเลยทำสัญญารับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางให้โจทก์ จำเลยก็ต้องรักษาไม้ของกลางให้อยู่ในสภาพปลอดภัย แต่จำเลยมิได้ทำการอย่างใดเพื่อป้องกันไฟป่า ซึ่งถ้าจำเลยกระทำการป้องกันไว้ก่อนไฟป่าอาจไม่ลุกลามมาถึงกองไม้ ดังนั้นการที่ไฟป่าไหม้ไม้ของกลางจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย แต่เป็นเพราะจำเลยประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังตรวจตราดูแลเฝ้ารักษาไม้ของกลางให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบทรัพย์สินเพื่อดูแลรักษา ไม่ถือเป็นการครอบครองแทนเจ้าของ หากนำไปให้ผู้อื่นเป็นการยักยอกทรัพย์
ผู้เสียหายได้มอบกระบือและรถจักรยาน 2 ล้อ ให้จำเลยเป็นผู้ควบคุมดูแลรักษาโดยเก็บรักษาไว้ที่นาเพื่อใช้ทำนาและไร่ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวผู้เสียหายได้มอบหมายให้จำเลยยึดถือครอบครองทรัพย์นั้นแทนผู้เสียหาย การยึดถือครอบครองทรัพย์จึงอยู่ที่จำเลย หาใช่ยังอยู่ที่ผู้เสียหายไม่ เมื่อจำเลยเอาทรัพย์นั้นไปให้แก่บุคคลอื่น จึงมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ หาใช่ลักทรัพย์ตามฟ้องไม่ เมื่อกรณีเป็นเช่นนี้ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงตามฟ้องในข้อสาระสำคัญซึ่งโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลย จะลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูแลรักษาทรัพย์สินของผู้อื่น แม้ไม่ใช่เจ้าของโดยตรง ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องร้องลักทรัพย์เป็นโมฆะ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า กระบือที่ถูกคนร้ายลักไปเป็นของผู้เสียหาย ทางพิจารณาได้ความว่ากระบือนั้นเป็นของแม่ยายของผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายเป็นคนดูแลรักษากระบือนั้นทั้งหมด ดังนี้ ไม่เป็นเหตุที่จะให้ศาลพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์: กรมการอำเภอและอธิบดีกรมที่ดิน
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 4 มิได้ยกเลิก พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 117, 122 บัญญัติให้กรมการอำเภอดูแลรักษาที่อันเป็นสาธารณประโยชน์ และว่าจะขัดกับประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (15) ก็ไม่ได้เพราะ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 8 ให้อธิบดีกรมที่ดินทีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดิน ทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ในเมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 117 บัญญัติให้เป็นหน้าที่กรมการอำเภอจะต้องระวังรักษาดูแลที่ดินเป็นสาธารณประโยชน์ของรัฐบาล ไม่ให้ผู้ใดทำให้เสียหายและ พ.ร.บ. ระเบียบราชการบริหารแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสุดท้ายได้บัญญัติให้นายอำเภอมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการอันเป็นอำนาจของกรรมการอำเภอ ฉะนั้น นายอำเภอจึงมีอำนาจดูแลรักษาและสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดทำให้ที่สาธารณประโยชน์เสียหาย
พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 117 บัญญัติให้เป็นหน้าที่กรมการอำเภอจะต้องระวังรักษาดูแลที่ดินเป็นสาธารณประโยชน์ของรัฐบาล ไม่ให้ผู้ใดทำให้เสียหายและ พ.ร.บ. ระเบียบราชการบริหารแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสุดท้ายได้บัญญัติให้นายอำเภอมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการอันเป็นอำนาจของกรรมการอำเภอ ฉะนั้น นายอำเภอจึงมีอำนาจดูแลรักษาและสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดทำให้ที่สาธารณประโยชน์เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์: นายอำเภอ vs กรมที่ดิน
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4มิได้ยกเลิกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 และพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 117,122บัญญัติให้กรมการอำเภอดูแลรักษาที่อันเป็นสาธารณประโยชน์ และจะว่าขัดกับประมวลกฎหมายที่ดินอันจะต้องยกเลิกไป ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4(15)ก็ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 8 ให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ในเมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 117บัญญัติให้เป็นหน้าที่กรมการอำเภอจะต้องระวังรักษาดูแลที่ดินเป็นสาธารณประโยชน์ของรัฐบาล ไม่ให้ผู้ใดทำให้เสียหายและพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 40 วรรคสุดท้ายได้บัญญัติให้นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการอันเป็นอำนาจของกรมการอำเภอ ฉะนั้น นายอำเภอจึงมีอำนาจดูแลรักษาและสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดทำให้ที่สาธารณประโยชน์เสียหาย
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 117บัญญัติให้เป็นหน้าที่กรมการอำเภอจะต้องระวังรักษาดูแลที่ดินเป็นสาธารณประโยชน์ของรัฐบาล ไม่ให้ผู้ใดทำให้เสียหายและพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 40 วรรคสุดท้ายได้บัญญัติให้นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการอันเป็นอำนาจของกรมการอำเภอ ฉะนั้น นายอำเภอจึงมีอำนาจดูแลรักษาและสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดทำให้ที่สาธารณประโยชน์เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่นายอำเภอในการดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ แม้มีกฎหมายใหม่ให้อำนาจผู้ว่าฯ สูงกว่า
ที่สาธารณะประโยชน์เดิมเป็นอำนาจและหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะตรวจตรารักษาตาม พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ม. 122 ต่อมาอำนาจหน้าที่นี้ได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอโดย พ.ร.บ.ระเบียบราชการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 ม.40 วรรค.3 และไม่มีข้อความแห่งใดใน พ.ร.บ.นี้เพิกถอนอำนาจนายอำเภอที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ดังกล่าว (พ.ศ. 2457) ดังนี้เมื่อนายอำเภอสั่งให้จำเลยออกไปจากที่สาธารณะประโยชน์ จำเลยขัดขืนก็มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ก.ม. อาญา ม. 334 (2)