คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตัดทายาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินให้ภริยา, พินัยกรรมยกทรัพย์, และการตัดทายาทอื่นตามกฎหมายมรดก
สามีโอนที่ดินสินเดิมของตนให้ภริยาในระหว่างอยู่กินด้วยกันโดยมิได้ระบุว่าให้เป็นสินส่วนตัว ทรัพย์นั้นย่อมตกเป็นสินสมรส
สามีทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ภรรยาแล้วโอนทรัพย์นั้นให้ภรรยา แต่ทรัพย์นั้นตกเป็นสินสมรส ดังนี้ไม่ถือว่าข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้นถูกเพิกถอนตาม ม.1696
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ภรรยาและบุตร์ 2 คนและระบุว่า คนอื่นนอกจากนี้ไม่ให้ได้รับทรัพย์เป็นอันขาดนั้น ถือว่าเป็นการตัดทายาทอื่น ม.1608 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนพินัยกรรมและการตัดทายาทต้องทำเป็นหนังสือ การฎีกาข้อเท็จจริงขัดต่อข้อกำหนด
เจ้ามฤดกจะตัดทายาทมิให้รับมฤดกได้ก็ต้องแสดงเจตนาด้วยการทำเป็นพินัยกรรม์หรือทำเป็นหนังสือจะตัดด้วยปากเปล่าไม่ได้ คดีที่ฎีกาได้ฉะเพาะข้อกฎหมายนั้น แม้เขียนฎีกาฟุ่มเฟือยแต่พอเก็บหัวข้อเป็นข้อกฎหมายได้แล้ว ศาลฎีการับพิจารณาให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14777/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินตัดทายาทโดยธรรม แม้ผู้คัดค้านเป็นบุตรที่ผู้ตายรับรอง ก็ไม่มีสิทธิในมรดก
พินัยกรรมระบุยกทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายให้แก่บุตรทั้งสาม คือ เด็กหญิง บ. เด็กชาย ฉ. และเด็กหญิง ก. ดังนั้นแม้จะฟังว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตายที่ผู้ตายรับรองแล้วอันถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 ซึ่งมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายตามมาตรา 1629 (1) ก็ตาม ผู้คัดค้านก็ถูกตัดมิให้รับมรดก ตามมาตรา 1608 วรรคสอง ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียอันจะมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านและร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก ตามมาตรา 1713 และ 1727 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4397/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตัดทายาทโดยพินัยกรรม: การจำหน่ายทรัพย์สินทั้งหมดและการตกได้แก่ทายาทโดยธรรม
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมมีข้อความย่อหน้าแรกระบุว่า ยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่นางลูกจันทร์ โจทก์ร่วม และนางมาลัย และย่อหน้าที่สองระบุว่าหากว่าจะมีใครอื่นนอกจากที่ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมย่อมไม่มีสิทธิในทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกทั้งสิ้น ดังนั้น แม้เจ้ามรดกจะไม่ได้ระบุตัวทายาทที่ถูกตัดมิให้รับมรดกว่า คือ นายจุล นางสาวลำพวน และจำเลยที่ 1 ไว้โดยชัดแจ้ง แต่การที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกของตนทั้งหมดให้แก่นางลูกจันทร์ โจทก์ร่วม และนางมาลัยไปหมดแล้ว ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 และทายาทคนอื่นที่ไม่ได้รับทรัพย์มรดกจากพินัยกรรม เป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคสามแล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า ข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนของนางลูกจันทร์ และนางมาลัยไม่มีผลใช้บังคับ เพราะขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1653 ประกอบ มาตรา 1705 คงสมบูรณ์เฉพาะข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนของโจทก์ร่วม ดังนั้น ทรัพย์มรดกส่วนที่มีข้อกำหนดให้ตกเป็นของนางลูกจันทร์และนางมาลัยซึ่งเสียเปล่าไม่มีผลใช้บังคับนั้นจึงตกแก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1620 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1699
of 2