พบผลลัพธ์ทั้งหมด 265 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4658/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขชื่อจำเลยในคำพิพากษา และการร่วมกระทำความผิดทางอาญา
โจทก์ฟ้องและดำเนินคดีแก่บริษัทรุ่งชัยอะไหล่ เทรดดิ้ง จำกัด เป็นจำเลยที่ 1 และนาง ร. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทดังกล่าวเป็นจำเลยที่ 2 ดังนั้นที่คำพิพากษาศาลชั้นต้นระบุชื่อจำเลยที่ 1 ในช่องคู่ความว่า บริษัทรุ่งชัย เทรดดิ้ง จำกัด จึงเป็นกรณีการพิมพ์ผิดพลาดซึ่งชอบที่จะแก้ไขได้ตาม ป.วิ.อ. มาตารา 190 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจที่จะแก้ไขคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ถูกต้องดังกล่าวได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยทั้งสองจึงเป็นตัวการร่วมกันตาม ป.อ. มาตรา 83 โดยไม่ต้องปรับบทตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตารา 114 อีก แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นนิติบุคคลและจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทก็ตาม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยทั้งสองจึงเป็นตัวการร่วมกันตาม ป.อ. มาตรา 83 โดยไม่ต้องปรับบทตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตารา 114 อีก แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นนิติบุคคลและจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราผู้เยาว์โดยมีตัวการร่วม ข่มขู่ และผลกระทบต่อการแจ้งความล่าช้า
จำเลยที่ 2 เป็นภริยาจำเลยที่ 3 ได้ช่วยจำเลยที่ 3 ถอดเสื้อผ้าผู้เสียหายออกระหว่างนั้นก็คอยปิดปากและจับแขนผู้เสียหายไว้เหนือศีรษะให้จำเลยที่ 3 กระทำชำเราจนสำเร็จความใคร่ ถือได้ว่าเป็นตัวการร่วมในการกระทำชำเราผู้เสียหายแล้วตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 83
การที่ผู้เสียหายเบิกความถึงเหตุการณ์หลังจากถูกกระทำชำเราแล้วจำเลยที่ 2 และที่ 3 ข่มขู่ว่าหากเอาเรื่องไปบอกคนอื่นจะฆ่าให้ตาย ผู้เสียหายเคยเล่าเรื่องให้จำเลยที่ 1 ฟังแต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือ ซ้ำยังถูกจำเลยที่ 2 ตบอีกอันเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้เสียหายเกรงกลัว ไม่กล้าเล่าให้ผู้ใดฟัง ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์อายุเพียง 14 ปีเศษ มีการศึกษาน้อยไม่เคยอยู่ที่จังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นจังหวัดเกิดเหตุมาก่อน ไม่ทราบว่าสถานีตำรวจอยู่ที่ไหนและจะต้องดำเนินการอย่างไร เมื่อสบโอกาสเพราะบ้านเกิดเหตุปลอดคน ผู้เสียหายจึงหนีกลับบ้านที่จังหวัดเพชรบุรีแล้วเล่าเรื่องให้ ล. ฟังนั้น เป็นการเบิกความถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับและสมเหตุผล แม้ว่าเมื่อเกิดเหตุแล้วผู้เสียหายไม่ได้รีบแจ้งความก็ไม่เป็นพิรุธเพราะถูกขู่เอาไว้ส่วนที่ ล. เบิกความว่าไม่ได้รีบแจ้งความทันทีเพราะไม่อาจตัดสินใจว่าจะจัดการอย่างไร เนื่องจากจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีพระคุณต่อผู้เสียหายมาก่อน ต้องรอปรึกษามารดาจำเลยที่ 1 ก่อนแล้วจึงไปแจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า ล. เคยมีเหตุโกรธเคืองกับจำเลยที่ 3 มาก่อน จึงไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะกลั่นแกล้งหรือปรักปรำจำเลยที่ 3 คำเบิกความดังกล่าวของ ล. จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
การที่ผู้เสียหายเบิกความถึงเหตุการณ์หลังจากถูกกระทำชำเราแล้วจำเลยที่ 2 และที่ 3 ข่มขู่ว่าหากเอาเรื่องไปบอกคนอื่นจะฆ่าให้ตาย ผู้เสียหายเคยเล่าเรื่องให้จำเลยที่ 1 ฟังแต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือ ซ้ำยังถูกจำเลยที่ 2 ตบอีกอันเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้เสียหายเกรงกลัว ไม่กล้าเล่าให้ผู้ใดฟัง ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์อายุเพียง 14 ปีเศษ มีการศึกษาน้อยไม่เคยอยู่ที่จังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นจังหวัดเกิดเหตุมาก่อน ไม่ทราบว่าสถานีตำรวจอยู่ที่ไหนและจะต้องดำเนินการอย่างไร เมื่อสบโอกาสเพราะบ้านเกิดเหตุปลอดคน ผู้เสียหายจึงหนีกลับบ้านที่จังหวัดเพชรบุรีแล้วเล่าเรื่องให้ ล. ฟังนั้น เป็นการเบิกความถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับและสมเหตุผล แม้ว่าเมื่อเกิดเหตุแล้วผู้เสียหายไม่ได้รีบแจ้งความก็ไม่เป็นพิรุธเพราะถูกขู่เอาไว้ส่วนที่ ล. เบิกความว่าไม่ได้รีบแจ้งความทันทีเพราะไม่อาจตัดสินใจว่าจะจัดการอย่างไร เนื่องจากจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีพระคุณต่อผู้เสียหายมาก่อน ต้องรอปรึกษามารดาจำเลยที่ 1 ก่อนแล้วจึงไปแจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า ล. เคยมีเหตุโกรธเคืองกับจำเลยที่ 3 มาก่อน จึงไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะกลั่นแกล้งหรือปรักปรำจำเลยที่ 3 คำเบิกความดังกล่าวของ ล. จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2951/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมฆ่าผู้อื่น: การกระทำร่วม การช่วยเหลือ และการมีส่วนร่วมในความผิด
จำเลยที่ 1 นั่งอยู่โต๊ะเดียวกันกับจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ต่อสู้กับผู้ตาย จำเลยที่ 1 ชักอาวุธมีดออกมาเข้าไปช่วยจำเลยที่ 2 แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตาย แต่จำเลยที่ 1 ก็อยู่กับจำเลยที่ 2 โดยตลอด อีกทั้งเข้าร่วมต่อสู้ด้วยและหลบหนีไปด้วยกัน เมื่อการตายของผู้ตายเกิดจากการที่จำเลยที่ 2 ใช้อาวุธมีดแทงร่างกายบริเวณที่สำคัญ ย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นด้วย
ตามพฤติการณ์แห่งคดีการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันฆ่าผู้ตาย มีสาเหตุจากการทะเลาะวิวาทกันและผู้ตายก็มีอาวุธมีดต่อสู้ด้วย โทษจำคุกที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดมานั้นหนักเกินไป สมควรลดลงให้เหมาะสมแก่รูปคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจที่จะพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ตามพฤติการณ์แห่งคดีการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันฆ่าผู้ตาย มีสาเหตุจากการทะเลาะวิวาทกันและผู้ตายก็มีอาวุธมีดต่อสู้ด้วย โทษจำคุกที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดมานั้นหนักเกินไป สมควรลดลงให้เหมาะสมแก่รูปคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจที่จะพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8308/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย และการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน การลงโทษฐานเป็นตัวการร่วม และการปรับบทลงโทษ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ดิ้นรนขัดขืนไม่ยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมโดยดีจำเลยที่ 2 ไม่ได้ต่อสู้ขัดขวางการจับกุม ฮ. แต่เพียงผู้เดียวทำร้ายสิบตำรวจเอก อ. ตามพฤติการณ์เป็นการตัดสินใจกระทำไปตามลำพังของจำเลยแต่ละคนโดยมิได้คบคิดกัน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิด จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ดังนั้น จึงปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138 วรรคสองเท่านั้น จะปรับบทตามมาตรา 140 วรรคหนึ่งซึ่งเป็นบทลงโทษผู้กระทำความผิดโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปตามที่โจทก์ฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8158/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าโดยเจตนา, กระทำทารุณ, ปล้นทรัพย์, สนับสนุน, ตัวการร่วม, ฎีกาห้าม
จำเลยต้องการวางแผนการกระทำผิดมิให้มีผู้อื่นมาขัดขวาง หลังเกิดเหตุจำเลยก็หลบหนีไป เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้หลังเกิดเหตุเพียง 6 วัน พร้อมของกลางที่ยึดคืนมาได้หลายรายการที่เป็นหลักฐานชี้ชัดว่าจำเลยได้กระทำผิดแม้จำเลยไม่ให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาของศาล จำเลยก็ไม่มีทางที่จะปฏิเสธให้เห็นเป็นอย่างอื่นได้ จำเลยจึงรับสารภาพเพราะจำนนต่อหลักฐาน
จำเลยกับพวกวางแผนจับ ณ. และ ป. ผู้ตายทั้งสองเพื่อบังคับให้ออกเช็ค เมื่อผู้ตายทั้งสองออกเช็คแล้วก็ยังฆ่า ผู้ตายอีก ส่อแสดงถึงเจตนาร้ายมาแต่ต้น การฆ่าโดยใช้ค้อนปอนด์ซึ่งใช้ทุบพื้นซีเมนต์ทุบตีที่บริเวณต้นคอด้านหลังขณะที่ ณ. ถูกขึงพื่าดนอนคว่ำหน้าบนเตียงนอนและใช้เชือกไนล่อนรัดคอผู้ตายทั้งสองซ้ำในสภาพที่ผู้ตายถูกมัดมือ มัดเท้าเป็นวิธีการฆ่าที่ดุร้ายยิ่งกว่าการทำให้ตายตามปกติธรรมดาส่อแสดงว่าจำเลยกับพวกมีจิตใจโหดร้ายอำมหิตผิดมนุษย์ทั่วไป ถือได้ว่าเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้าย
โจทก์บรรยายฟ้องในส่วนจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ว่าร่วมกันมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาต หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพ ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืน ฆ่าผู้อื่นโดยทรมาน และกระทำทารุณโหดร้ายเพื่อจะเอาไว้ซึ่งทรัพย์สินอันเกิดแต่การปล้นทรัพย์ ปกปิดความผิดอื่นของตนและเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ซ้อนเร้นหรือทำลายศพ ปลอมตั๋วเงินและใช้ตั๋วเงินปลอม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคท้าย กับฐานอื่นดังกล่าวทุกฐานความผิด และลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการกระทำผิด ดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 3 ลงโทษเฉพาะฐานใช้ตั๋วเงินปลอม แสดงว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1ฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืน และยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ฐานเป็นตัวการร่วมกระทำผิด กับจำเลยที่ 1 ฐานทุกความผิดแล้วที่โจทก์ร่วมฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์และ โจทก์ร่วมนำสืบฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืน ตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 340 ตรี จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ทุกฐานความผิดจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
จำเลยกับพวกวางแผนจับ ณ. และ ป. ผู้ตายทั้งสองเพื่อบังคับให้ออกเช็ค เมื่อผู้ตายทั้งสองออกเช็คแล้วก็ยังฆ่า ผู้ตายอีก ส่อแสดงถึงเจตนาร้ายมาแต่ต้น การฆ่าโดยใช้ค้อนปอนด์ซึ่งใช้ทุบพื้นซีเมนต์ทุบตีที่บริเวณต้นคอด้านหลังขณะที่ ณ. ถูกขึงพื่าดนอนคว่ำหน้าบนเตียงนอนและใช้เชือกไนล่อนรัดคอผู้ตายทั้งสองซ้ำในสภาพที่ผู้ตายถูกมัดมือ มัดเท้าเป็นวิธีการฆ่าที่ดุร้ายยิ่งกว่าการทำให้ตายตามปกติธรรมดาส่อแสดงว่าจำเลยกับพวกมีจิตใจโหดร้ายอำมหิตผิดมนุษย์ทั่วไป ถือได้ว่าเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้าย
โจทก์บรรยายฟ้องในส่วนจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ว่าร่วมกันมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาต หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพ ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืน ฆ่าผู้อื่นโดยทรมาน และกระทำทารุณโหดร้ายเพื่อจะเอาไว้ซึ่งทรัพย์สินอันเกิดแต่การปล้นทรัพย์ ปกปิดความผิดอื่นของตนและเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ซ้อนเร้นหรือทำลายศพ ปลอมตั๋วเงินและใช้ตั๋วเงินปลอม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคท้าย กับฐานอื่นดังกล่าวทุกฐานความผิด และลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการกระทำผิด ดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 3 ลงโทษเฉพาะฐานใช้ตั๋วเงินปลอม แสดงว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1ฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืน และยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ฐานเป็นตัวการร่วมกระทำผิด กับจำเลยที่ 1 ฐานทุกความผิดแล้วที่โจทก์ร่วมฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์และ โจทก์ร่วมนำสืบฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืน ตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 340 ตรี จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ทุกฐานความผิดจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8061/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมจำหน่ายกัญชา: การแบ่งหน้าที่ชัดเจนเพียงใดถึงเป็นตัวการได้
การที่จำเลยที่ 1 ติดต่อจำหน่ายกัญชาให้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจดูเงินที่ใช้ล่อซื้อโดยนัดวันเวลาและสถานที่ส่งมอบกัญชา เป็นคนแนะนำให้รู้จักกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และเป็นคนพาไปเอากัญชากับช่วยขนกัญชานำมาส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งรออยู่ที่จุดนัดส่งมอบ แสดงว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการจำหน่ายกัญชาร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาตั้งแต่ต้นจนมีการส่งมอบ จำเลยที่ 1มีเจตนาร่วมในการจำหน่ายกัญชาโดยเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำแม้จำเลยที่ 1 จะมิใช่คนหากัญชามาจำหน่ายหรือเป็นผู้มีอำนาจตกลงจำหน่ายกัญชาหรือเป็นคนรับเงินที่มาล่อซื้อ ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดฐานจำหน่ายกัญชาแล้ว หาใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7830/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมผลิตยาเสพติดและการเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำระหว่างพักการลงโทษ
พ.ศ. 2539 มาตรา 4
พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 มาตรา 6
จำเลยกับพวกมีการติดต่อประสานงานกันอย่างใกล้ชิด กรรมวิธีในการผลิตเมทแอมเฟตามีนมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่จัดหาสถานที่ จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ตลอดจนสารเคมีต่าง ๆ รวมทั้งแรงงานในการผลิต ผู้เข้าร่วมในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งย่อมถือว่าเป็นตัวการที่ร่วมกันกระทำความผิดแล้ว ไม่จำเป็นที่ต้องเป็นผู้ดำเนินการเองทุกขั้นตอนจนสำเร็จ ดังนั้น จำเลยจึงไม่จำต้องเป็นผู้ลงมือปรุงหรืออัดเม็ดเมทแอมเฟตามีนด้วยตนเอง การกระทำความผิดของจำเลยกับพวกเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ ถือว่าเป็นตัวการร่วมกัน
จำเลยมากระทำผิดอาญาขึ้นอีกในระหว่างได้รับการพักการลงโทษเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งการพักการลงโทษตาม พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 43 กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ข้อ 93 (1) และ 94 (ก) และ พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 มาตรา 6 จำเลยจึงมิใช่ผู้ซึ่งพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับการล้างมลทินตาม พ.ร.บ. ล้างมลทิน ฯ มาตรา 4
พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 มาตรา 6
จำเลยกับพวกมีการติดต่อประสานงานกันอย่างใกล้ชิด กรรมวิธีในการผลิตเมทแอมเฟตามีนมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่จัดหาสถานที่ จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ตลอดจนสารเคมีต่าง ๆ รวมทั้งแรงงานในการผลิต ผู้เข้าร่วมในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งย่อมถือว่าเป็นตัวการที่ร่วมกันกระทำความผิดแล้ว ไม่จำเป็นที่ต้องเป็นผู้ดำเนินการเองทุกขั้นตอนจนสำเร็จ ดังนั้น จำเลยจึงไม่จำต้องเป็นผู้ลงมือปรุงหรืออัดเม็ดเมทแอมเฟตามีนด้วยตนเอง การกระทำความผิดของจำเลยกับพวกเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ ถือว่าเป็นตัวการร่วมกัน
จำเลยมากระทำผิดอาญาขึ้นอีกในระหว่างได้รับการพักการลงโทษเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งการพักการลงโทษตาม พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 43 กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ข้อ 93 (1) และ 94 (ก) และ พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 มาตรา 6 จำเลยจึงมิใช่ผู้ซึ่งพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับการล้างมลทินตาม พ.ร.บ. ล้างมลทิน ฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7205/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของตัวการร่วม และการลดโทษจากเหตุบรรเทาโทษ
จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 และพวกทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการในการกระทำความผิดดังกล่าวจึงต้องรับผิดในผลของการกระทำของจำเลยที่ 1 และพวกที่ร่วมกระทำผิดด้วยกันเสมือนหนึ่งเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 เอง จำเลยที่ 1 ทำร้ายร่างกายของผู้เสียหายโดยใช้อาวุธปืนยิงจนผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส แม้จำเลยที่ 2 ไม่มีส่วนร่วมในการยิงผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดในผลของการกระทำดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายถึงสาหัส
จำเลยที่ 2 ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย แม้ที่ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา แต่ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษหนักเกินไป ศาลฎีกาก็ย่อม มีอำนาจแก้ไขให้เหมาะสมแก่ความผิดได้
จำเลยที่ 2 ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย แม้ที่ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา แต่ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษหนักเกินไป ศาลฎีกาก็ย่อม มีอำนาจแก้ไขให้เหมาะสมแก่ความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6984/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมข่มขืนโทรมหญิง แม้ไม่ได้ลงมือจับกุม แต่มีส่วนสำคัญในการกระทำผิด
จำเลยชักพาผู้เสียหายและ ส. คนรักผู้เสียหายไปยังกระท่อมต่อมา ส. กลัวว่าจะเกิดเรื่องไม่ดีจึงคิดจะกลับ ขณะที่ ส. กำลังติดเครื่องรถจักรยานยนต์และผู้เสียหายจะนั่งซ้อนท้าย จำเลยได้เข้ามาล็อกคอผู้เสียหายลากลงมาและกอดปล้ำผู้เสียหาย จากนั้นมี ต., จ., ช. เข้ามาจับแขนขาพาไปที่แคร่ข้างกระท่อมช่วยกันถอดกางเกงผู้เสียหายแล้วต. ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นคนแรกโดยมี ช. ช่วยจับแขนขาผู้เสียหาย ระหว่างนี้จำเลยซึ่งอยู่บริเวณแคร่ได้ตะโกนบอกให้ จ. ไปตามหา ส. ซึ่งหนีออกไปหาคนช่วยเหลือแล้วจำเลยและ จ. วิ่งออกไปสะกัดกั้นมิให้ ส. ไปร้องขอความช่วยเหลือได้ หลังจาก ต. กระทำชำเราเสร็จแล้ว ช. ได้กระทำชำเราเป็นคนต่อไป ดังนี้ แม้จำเลยจะมิได้ช่วยจับแขนขาผู้เสียหายระหว่างที่ ต. หรือ ช. ทำการกระทำชำเราแต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวนับได้ว่าเป็นตัวการในการร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6355/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมข่มขืนโทรมหญิง พรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร ศาลลดโทษตามคำให้การชั้นสอบสวน
การที่จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์พาผู้เสียหายไปบ้านเกิดเหตุเพื่อให้จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นพวกของจำเลยที่ 2 ข่มขืนกระทำชำเราพฤติการณ์มีลักษณะเป็นการคบคิดกันมาก่อน และในขณะที่จำเลยที่ 1กับพวกกำลังข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอยู่นั้น จำเลยที่ 2 ก็อยู่ร่วมรู้เห็นเหตุการณ์ในห้องที่เกิดเหตุนั้นด้วยโดยตลอด แม้จำเลยที่ 2มิได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม การกระทำของจำเลยที่ 2ก็ถือว่าเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 กับพวกในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงแล้ว
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารนั้น เมื่อจำเลยที่ 2กับพวกร่วมกันพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควร และพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอันไม่สมควรทางเพศ ก็เป็นความผิดสำเร็จฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงหลังจากนั้นโดยจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมด้วย จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง ซึ่งต่างกรรมต่างวาระกัน การกระทำของจำเลยที่ 2กับพวกจึงเป็นความผิดหลายกรรม
ในความผิดฐานร่วมกันพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร ศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองกำหนดโทษจำคุกจำเลยทั้งสองหนักเกินไปย่อมกำหนดโทษจำเลยทั้งสองเสียใหม่ให้เบาลง เพื่อให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาแต่จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกา แต่การกระทำความผิดข้อหานี้ร่วมกันเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้โทษตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213ประกอบกับมาตรา 225
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารนั้น เมื่อจำเลยที่ 2กับพวกร่วมกันพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควร และพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอันไม่สมควรทางเพศ ก็เป็นความผิดสำเร็จฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงหลังจากนั้นโดยจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมด้วย จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง ซึ่งต่างกรรมต่างวาระกัน การกระทำของจำเลยที่ 2กับพวกจึงเป็นความผิดหลายกรรม
ในความผิดฐานร่วมกันพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร ศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองกำหนดโทษจำคุกจำเลยทั้งสองหนักเกินไปย่อมกำหนดโทษจำเลยทั้งสองเสียใหม่ให้เบาลง เพื่อให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาแต่จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกา แต่การกระทำความผิดข้อหานี้ร่วมกันเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้โทษตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213ประกอบกับมาตรา 225