คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตัวบุคคล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยที่เป็นลูกจ้าง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการฟ้องโดยระบุตำแหน่งและข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการฟ้องตัวบุคคล
โจทก์ยื่นฟ้องผู้จัดการและสมุหบัญชีธนาคารสาขาเป็นจำเลยที่2และที่3โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างของธนาคารจำเลยที่1ดังนี้เป็นการฟ้องตัวบุคคลธรรมดาที่มีตัวอยู่แน่นอนแล้วไม่ใช่เป็นการฟ้องตำแหน่งซึ่งไม่ใช่บุคคลตามกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมขายฝากไม่โมฆะ แม้ผู้รับซื้อฝากมอบอำนาจต่อบุคคลอื่น หากผู้ขายไม่ได้เจาะจงตัวบุคคลเป็นสาระสำคัญ
การแสดงเจตนาถ้าสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมย่อมเป็นโมฆะ และตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมก็อาจเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมได้ถ้าการทำนิติกรรมนั้นถือเอาตัวบุคคลเป็นสาระสำคัญ แต่ในบางกรณีตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเนื่องจากจุดประสงค์เพราะต้องการเพียงเงินจำนวนหนึ่งเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เดือดร้อนเรื่องเงินและรู้จักกับนาง อ.มารดาจำเลยซึ่งมีอาชีพรับซื้อฝากที่ดินเป็นธุรกิจ โจทก์ตกลงขายฝากที่ดินไว้แก่นาง อ.เพราะไม่รู้จักจำเลยมาก่อน แต่นาง อ.กับจำเลยได้สมคบกันฉ้อฉลทำหนังสือมอบอำนาจมารับซื้อฝากใส่ชื่อจำเลยไว้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการไถ่คืนในภายหลังเพราะจำเลยไม่ได้อยู่ในประเทศไทย นิติกรรมการขายฝากจึงตกเป็นโมฆะ นั้น คำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างให้เห็นเลยว่าเหตุใดจึงเจาะจงที่จะขายฝากไว้แก่นาง อ.อันพอจะทำให้เห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะถือเอาตัวบุคคลที่จะรับซื้อฝากเป็นสาระสำคัญ คงเห็นได้แต่เพียงว่าโจทก์ต้องการเงินจำนวนหนึ่งเท่านั้น การที่นาง อ.หรือจำเลยจะเป็นผู้รับซื้อฝากก็ไม่มีผลต่างกัน เพราะโจทก์ได้รับค่าขายฝากไปครบถ้วนแล้ว เหตุตามคำฟ้องดังกล่าวจึงไม่ทำให้นิติกรรมขายฝากเป็นโมฆะ คดีพอวินิจฉัยได้หาจำต้องฟังพยานโจทก์จำเลยอีกต่อไปไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในนิติกรรม: ตัวบุคคลเป็นสาระสำคัญหรือไม่ พิจารณาจากเจตนาและความจำเป็นในการไถ่คืน
การแสดงเจตนาถ้าสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมย่อมเป็นโมฆะและตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมก็อาจเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมได้ถ้าการทำนิติกรรมนั้นถือเอาตัวบุคคลเป็นสาระสำคัญแต่ในบางกรณีตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเนื่องจากจุดประสงค์เพราะต้องการเพียงเงินจำนวนหนึ่งเท่านั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เดือดร้อนเรื่องเงินและรู้จักกับนางอ.มารดาจำเลยซึ่งมีอาชีพรับซื้อฝากที่ดินเป็นธุรกิจโจทก์ตกลงขายฝากที่ดินไว้แก่นางอ.เพราะไม่รู้จักจำเลยมาก่อนแต่นางอ.กับจำเลยได้สมคบกันฉ้อฉลทำหนังสือมอบอำนาจมรรับซื้อฝากใส่ชื่อจำเลยไว้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการไถ่คืนในภายหลังเพราะจำเลยไม่ได้อยู่ในประเทศไทยนิติกรรมการขายฝากจึงตกเป็นโมฆะนั้นคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างให้เห็นเลยว่าเหตุใดจึงเจาะจงที่จะขายฝากไว้แก่นางอ.อันพอจะทำให้เห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะถือเอาตัวบุคคลที่จะรับซื้อฝากเป็นสาระสำคัญคงเห็นได้แต่เพียงว่าโจทก์ต้องการเงินจำนวนหนึ่งเท่านั้นการที่นางอ.หรือจำเลยจะเป็นผู้รับซื้อฝากก็ไม่มีผลต่างกันเพราะโจทก์ได้รับค่าขายฝากไปครบถ้วนแล้วเหตุตามคำฟ้องดังกล่าวจึงไม่ทำให้นิติกรรมขายฝากเป็นโมฆะคดีพอวินิจฉัยได้หาจำต้องฟังพยานโจทก์จำเลยอีกต่อไปไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับในความผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก ต้องปรับตามตัวบุคคล ไม่รวมกัน
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก มาตรา 40 และมาตรา 138 ที่โจทก์ฟ้องไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษปรับไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31 มาใช้บังคับ โดยต้องปรับจำเลยทั้งสามเรียงตามรายตัวบุคคลไป จะปรับจำเลยทั้งสามรวมกันไม่ได้
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1339/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับในความผิด พ.ร.บ.ขนส่งทางบก ต้องปรับตามตัวบุคคลตามประมวลกฎหมายอาญา
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก มาตรา 40 และมาตรา 138ที่โจทก์ฟ้องไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษปรับไว้เป็น อย่างอื่น จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31 มา ใช้บังคับ โดยต้องปรับจำเลยทั้งสามเรียงตามรายตัวบุคคล ไป จะปรับจำเลยทั้งสามรวมกันไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1339/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในตัวบุคคล สัญญาโมฆะ ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ปกปิดความจริงโดยแอบอ้างแสดงว่ากระทำในฐานะผู้แทนของบริษัท จำเลยหลงเชื่อได้เข้าทำสัญญาด้วย จึงเป็นการแสดงเจตนาด้วยความสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม โดยมิได้เกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลย สัญญาจึงตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 การที่จำเลยบอกเลิกสัญญากับโจทก์ จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนสินค้าของกลางหลังศาลพิพากษา หากมีข้อโต้แย้งเรื่องตัวบุคคลและระยะเวลาอ้างสิทธิ ย่อมชอบที่จะฟ้องเป็นคดีแพ่ง
ในคดีกระทำผิดพระราชบัญญัติศุลกากรเมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนสินค้าของกลางแก่ผู้ร้องแล้ว ถ้ากรมศุลกากรไม่มีเหตุโต้แย้งก็จะต้องคืนให้ตามคำพิพากษา แต่กรมศุลกากรโต้แย้งอยู่ว่า ผู้ร้องมิใช่นายเบ๊หรือจือเฮ้าตัวจริง เพราะตัวจริงตายไปนานแล้วตามมรณบัตร และโต้แย้งด้วยว่า ตั้งแต่กรมศุลกากรจับยึดสินค้ารายนี้แล้ว ไม่มีผู้ใดมาขอคืนในกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขฉบับที่ 12 พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ผู้ร้องจึงชอบที่จะว่ากล่าวเอาเองเป็นคดีแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 48 วรรค 2
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาท ต้องพิสูจน์ตัวบุคคลที่ถูกกล่าวถึงว่าเป็นใคร และโจทก์ต้องนำสืบข้อเท็จจริงที่ศาลไม่รู้
คดีมีข้อหาว่า จำเลยหมิ่นประมาทหลวงอรรถปรีชาชนูปการอธิบดีกรมอัยการ ข้อเท็จจริงที่ว่า อธิบดีกรมอัยการ คือหลวงอรรถปรีชาชนูปการ ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้เองเป็นข้อที่โจทก์ต้องนำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญามาตรา 136 ต้องระบุตัวบุคคลที่ถูกบังคับให้ส่งทรัพย์ชัดเจน เพื่อให้จำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง
ฟ้องหาว่า จำเลยกระทำผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา136 ซึ่งมีสาระสำคัญว่าจำเลยกระทำการบังคับบุคคลคนหนึ่งให้ส่งทรัพย์ให้แก่จำเลยนั้น ฟ้องจะต้องระบุถึงบุคคลนั้น พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จะระบุในฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยบังคับผู้มีชื่อให้ส่งทรัพย์ให้แก่จำเลยเท่านั้นไม่ระบุชื่อ จำเลยย่อมไม่สามารถจะรู้ได้ว่าจำเลยต้องหาว่ากระทำการบังคับใคร ทำให้จำเลยมืดมนไม่รู้ที่จะแก้ข้อหาส่วนนี้อย่างไรได้จึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ในเคหะสถาน: การ 'เข้าไป' ต้องหมายถึงตัวบุคคล มิใช่ส่วนใดส่วนหนึ่ง
จำเลยยื่นมือเข้าไปทางประตูเอาไม้เล็กประมาณ 1 แขนสอยเอากางเกงของเจ้าทรัพย์ ที่ตากไว้ข้างฝาในห้องไป ดังนี้ จำเลยย่อมมีผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 288 หาใช่ตามมาตรา 294 ข้อ 1 ไม่.
of 3