คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตำรวจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 135 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจเติมข้อความเท็จในบันทึกจับกุมและเบิกความเท็จ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 161
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ทำการจับกุมโจทก์มีหน้าที่ทำและกรอกข้อความในบันทึกการจับกุม ได้ทำและกรอกข้อความลงในบันทึกการจับกุมนั้น โดยลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำบันทึกพร้อมทั้งให้โจทก์ในฐานะผู้ต้องหาลงลายมือชื่อจนเป็นเอกสารที่ครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไปเขียนเติมข้อความอีกว่าสอบถามผู้ต้องหาแล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ซึ่งไม่เป็นความจริงจึงเป็นการเติมข้อความในเอกสารที่แท้จริง น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นบางส่วนโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้นแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจับกุมผู้กระทำความผิดได้จับกุมโจทก์ในข้อหาปลอมเอกสาร แต่กรอกข้อความเพิ่มเติมลงในบันทึกจับกุมว่า สอบถามโจทก์แล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ทั้งที่ทราบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เพราะบันทึกการจับกุมดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่ศาลอาจฟังลงโทษโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกความว่า "ข้าพเจ้าเข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานและขอจับกุมโดยแสดงหมายจับให้จำเลยที่ 1ดูด้วย ข้าพเจ้าแจ้งข้อหาจำเลยฐานปลอมเอกสารตามข้อความในหมายจับจำเลยให้การรับสารภาพ" ซึ่งเป็นความเท็จและเป็นข้อสำคัญในคดี โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าข้อที่จำเลยที่ 1 เบิกความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร ฟ้องโจทก์จึงขาดการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดเท่าที่จะทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในข้อหานี้ได้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มิได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขออนุญาตซักค้านพยานอันเป็นการโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างขึ้นมาในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 วรรคแรก ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2714/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการรับเงินเพื่อวิ่งเต้นให้บุตรชายบรรจุตำรวจ ศาลฎีกายืนว่าผู้เสียหายเป็นผู้ถูกกระทำ
จำเลยกับพวกได้เรียกเงินจาก ก. จำนวน 200,000 บาท โดยบอกว่าจะนำไปให้พลตำรวจโท ส. เป็นค่าตอบแทนในการที่จะให้บุตรชายของ ก. บรรจุเข้าเป็นนายตำรวจโดยไม่ต้องสอบจะบรรจุเป็นการภายในเงินดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนอะไร ก. ไม่ทราบ เป็นเรื่องที่ฝ่ายจำเลยจะนำไปจัดการ ต่อมาบุตรชายของ ก. ไม่ได้เข้ารับราชการกรมตำรวจดังนี้ การ ก. มอบเงินให้จำเลยไปตามที่จำเลยกับพวกเรียกในลักษณะดังกล่าวเป็นเรื่องยังไม่แน่ชัดว่า ก. ให้เงินไปเพื่อให้จำเลยกับพวกนำไปให้เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการใด ๆโดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของจำเลยกับพวกให้กระทำการหรือไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่บุตรชายของ ก.ถือไม่ได้ว่า ก. ได้ร่วมกับจำเลยและพวกนำสินบนไปให้แก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ ก.ย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานฉ้อโกงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทจากการกล่าวหาตำรวจรับสินบน: การใส่ความที่ทำให้เสียชื่อเสียง
การที่จำเลยพูดว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นสารวัตรกำนันชอบพาตำรวจมาจับชาวบ้านและหากินกับตำรวจนั้น ผู้ที่ได้ยินได้ฟังย่อมเข้าใจความหมายไปในทางที่ว่าผู้เสียหายหาเหตุพาตำรวจมาจับชาวบ้าน และตำรวจเรียกร้องเอาเงินทองหรือผลประโยชน์อย่างอื่นเพื่อแลกเปลี่ยนหรือตอบแทนกับการที่จะไม่ถูกดำเนินคดีในฐานความผิดที่ถูกจับกุมอันเป็นเรื่องตำรวจรับสินบนแล้วแบ่งเงินทองหรือผลประโยชน์ที่ได้รับมาให้แก่ผู้เสียหายผู้เสียหายจึงได้ชื่อว่าหากินกับตำรวจและเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ คำกล่าวของจำเลยย่อมจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง จำเลยจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำกล่าวที่ว่า ผู้เสียหายนามสกุลหมา ๆ นั้น เป็นแต่เพียงการดูหมิ่นเหยียดหยามเท่านั้น ไม่ถือว่าเป็นการใส่ความผู้เสียหายโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6263/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตำรวจเรียกรับเงินเพื่อปล่อยตัวผู้ต้องหา: ศาลแก้โทษจำเลยที่ 1 เป็นสนับสนุนการกระทำผิด
จำเลยที่ 2 เป็นตำรวจได้จับกุมผู้เสียหายในข้อหาเล่นการพนันสลากกินรวบ จำเลยที่ 1 เป็นตำรวจประจำสถานีเดียวกันแต่ไม่ได้ร่วมจับกุมและมิใช่พนักงานสอบสวนได้เรียกเงินจากผู้เสียหายกับพวก นำไปให้จำเลยที่ 2 เพื่อให้ปล่อยผู้เสียหายไป และจำเลยที่ 2 ได้รับเงินจากฝ่ายผู้เสียหายแล้วได้ปล่อยตัวผู้เสียหายไปไม่ดำเนินคดีตามกฎหมาย อันเป็นการกระทำโดยมิชอบต่อหน้าที่ แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับคดีที่จำเลยที่ 2 จับกุมผู้เสียหายมาโดยตรง จึงเป็นเรื่องปฏิบัตินอกหน้าที่ ถือได้ว่าเป็นเพียงการสนับสนุนการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 ของจำเลยที่ 2 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6263/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตำรวจเรียกรับเงินช่วยเหลือผู้ต้องหา อัตราโทษสนับสนุนความผิด
จำเลยที่ 2 เป็นตำรวจได้จับกุมผู้เสียหายในข้อหาเล่นการพนันสลากกินรวบ จำเลยที่ 1 เป็นตำรวจประจำสถานีเดียวกันแต่ไม่ได้ร่วมจับกุมและมิใช่พนักงานสอบสวนได้เรียกเงินจากผู้เสียหายกับพวกนำไปให้จำเลยที่ 2 เพื่อให้ปล่อยผู้เสียหายไป และจำเลยที่ 2ได้รับเงินจากฝ่ายผู้เสียหายแล้วได้ปล่อยตัวผู้เสียหายไปไม่ดำเนินคดีตามกฎหมาย อันเป็นการกระทำโดยมิชอบต่อหน้าที่แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับคดีที่จำเลยที่ 2 จับกุมผู้เสียหายมาโดยตรง จึงเป็นเรื่องปฏิบัตินอกหน้าที่ ถือได้ว่าเป็นเพียงการสนับสนุนการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149 ของจำเลยที่ 2 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจค้นรถและการกล่าวหาตำรวจกลั่นแกล้ง: ศาลยกฟ้องข้อหาขัดขวางการปฏิบัติงาน ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน และไม่แจ้งชื่อ
เจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจค้นรถของจำเลย ครั้งแรกจำเลยไม่ยอมให้ค้นเนื่องจากเกรงว่าตำรวจจะกลั่นแกล้งเพราะเหตุที่เคยมีสาเหตุกับตำรวจนั้นมาก่อนในที่สุดจำเลยยอมให้ค้นดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยขาดเจตนาต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา138
การที่จำเลยว่าตำรวจจะเอาของผิดกฎหมายใส่รถจำเลย ตำรวจจะรุททำร้ายจำเลย ไม่แน่ใจว่าเป็นตำรวจ ตำรวจแต่งเครื่องแบบปล้นก็มี เป็นการกล่าวเพราะเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยถูกตำรวจกลั่นแกล้ง เนื่องจากตำรวจหาเหตุมาหยุดรถและค้นรถของจำเลยโดยเฉพาะ การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำเช่นนั้นจึงเป็นการปกป้องตนเอง มิให้ตำรวจกระทำการดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136
ตำรวจรู้จักชื่อและที่อยู่จำเลยแล้วเพราะเคยไปค้นบ้านจำเลยมาก่อน ไม่มีความจำเป็นอย่างไรที่จะต้องถามชื่อและที่อยู่จำเลยอีก การที่จำเลยมิได้แจ้งชื่อและที่อยู่ตามที่ตำรวจถาม จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 367.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ตำรวจในการสืบสวนคดีอาญา: การกระทำที่ไม่เข้าข่ายละเว้นหน้าที่
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาและจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมาย การที่จำเลยทราบจากผู้เสียหายว่ามีคนร้ายลักทรัพย์ผู้เสียหาย แล้วจำเลยพูดว่า เรื่องนี้พอสืบได้แต่ต้องไถ่ทรัพย์คืนโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รู้ว่าผู้ใดเป็นคนร้ายลักทรัพย์หรือรับของโจรรายนี้และยังไม่รู้ว่าทรัพย์ที่ถูกลักรายนี้ถูกเก็บรักษาไว้ ณ ที่ใด ทั้งยังไม่ได้มีการแจ้งความออกหมายจับคนร้าย จำเลยจึงไม่มีอำนาจหน้าที่จะจับกุมผู้ใดมาดำเนินคดีหรือนำทรัพย์ที่ถูกลักไปมาคืนผู้เสียหายหรือส่งมอบพนักงานสอบสวน ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริตตาม ป.อ. มาตรา 157.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ตำรวจ: การสืบสวนคดีอาญาและการจับกุมผู้ต้องสงสัย
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาและจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมาย การที่จำเลยทราบจากผู้เสียหายว่ามีคนร้ายลักทรัพย์ผู้เสียหายแล้วจำเลยพูดว่าเรื่องนี้พอสืบได้แต่ต้องไถ่ทรัพย์คืนโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รู้ว่าผู้ใดเป็นคนร้ายลักทรัพย์หรือรับของโจรรายนี้ และยังไม่รู้ว่าทรัพย์ที่ถูกลักรายนี้ถูกเก็บรักษาไว้ ณ ที่ใด ทั้งยังไม่ได้มีการแจ้งความออกหมายจับคนร้าย จำเลยจึงไม่มีอำนาจหน้าที่จะจับกุมผู้ใดมาดำเนินคดีหรือนำทรัพย์ที่ถูกลักไปมาคืนผู้เสียหายหรือส่งมอบพนักงานสอบสวน ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนใจเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่: การรวมกลุ่มขัดขวางและข่มขู่ตำรวจในการปฏิบัติหน้าที่จับกุม
ตำรวจจะเข้าจับกุมเจ้าของรถเข็นในข้อหานำรถที่ไม่ได้เสียภาษีมาใช้ในทางและกีดขวางทางจราจร จำเลยพูดว่า 'ถ้าจับมีเรื่องแน่' พร้อมกับชี้มือในลักษณะของการข่มขู่ และพวกจำเลยประมาณ 30-40 คนได้เดินเข้าไปหาตำรวจ ทำให้ตำรวจกลัวว่าจำเลยและพวกจะทำร้ายจึงพากันถอยออกไป การกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามีเจตนาที่จะข่มขืนใจไม่ให้เจ้าพนักงานปฏิบัติตามหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ จำเลยจึงมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 139 และเมื่อการกระทำต้องด้วยมาตรา 140 ก็ไม่ต้องปรับบทด้วยมาตรา 139 อีก.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 850/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ การใช้กำลังพอสมควรแก่เหตุ
จำเลยที่2เป็นเจ้าพนักงานตำรวจเห็นจำเลยที่1กับพวกขับรถจักรยานยนต์วนเวียนไปมาและไปจอดรถที่ปากซอยที่เกิดเหตุมีพฤติการณ์เป็นที่น่าสงสัยจำเลยที่2จึงเข้าสอบถามและขอตรวจค้นแต่จำเลยที่1กับพวกติดเครื่องจะขับรถออกไปและใช้ปืนยิงมายังจำเลยที่2การที่จำเลยที่2ใช้ปืนยิงโต้ตอบถูกจำเลยที่1กับพวกได้รับบาดเจ็บถือว่าเป็นการป้องกันตัวในการปฏิบัติหน้าที่และได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุแล้ว.
of 14