พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความบทกฎหมายอาญาที่แก้ไขเพิ่มเติม กรณีฟ้องระบุเฉพาะมาตราเดิม ศาลลงโทษตามมาตราที่แก้ไขแล้วได้
ฟ้องหาว่าจำเลยหน่วงเหนี่ยวกักขังคนเพื่อเอาสินไถ+บทก.ม. ขอให้ลงโทษ+เพียง ก.ม.อาญามาตรา 270 เท่านั้น ย่อมต้องเข้าใจว่าหมายถึงมาตรา 270 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย(ฉบับ ที่ 4)477 แล้ว ศาลงโทษตามพ.ร.บ.ที่แก้ไขเพิ่มเติมได้ไม่เป็นการเกินคำขอท้ายฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความบทกฎหมายอาญาที่แก้ไขเพิ่มเติม ศาลพิจารณาตามบทแก้ไขล่าสุดได้ แม้ท้ายฟ้องระบุเพียงบทเดิม
ฟ้องหาว่าจำเลยหน่วงเหนี่ยวกักขังคนเพื่อเอาสินไถ่ อ้างบทกฎหมายขอให้ลงโทษ เพียงกฎหมายลักษณะมาตรา 270 เท่านั้น ย่อมต้องเข้าใจว่าหมายถึงมาตรา 270 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย(ฉบับที่ 4)2477 แล้ว ศาลลงโทษตามพระราชบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมได้ไม่เป็นการเกินคำขอท้ายฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตขนสุราข้ามตำบล: การตีความตามกฎหมายภาษีชั้นในและการขาดเขตนายอากร
ในเรื่องห้ามขนสุราข้ามเขตโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ไม่ปรากฏว่า ให้ถือเขตตาม พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ถ้าโจทก์นำสืบถึงเขตตามพระราชบัญญัติภาษีชั้นในไม่ได้ ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำประจำที่ในที่สาธารณประโยชน์ การตีความคำว่า 'ที่สาธารณประโยชน์' ตามกฎหมายอากรค่าน้ำ
กฎกระทรวงว่าด้วยวิธีจัดการและตั้งอัตราเก็บเงินอากรค่าน้ำตามความใน พรบ อากรค่าน้ำข้อ 2 (ง) และข้อ 2 (1)(2) ข้อ 23 (5) เครื่องมือที่ใช้จับสัตว์น้ำจะเป็นเครื่องมือประจำที่หรือไม่ต้องพิเคราะห์ถึงการใช้เครื่องมือนั้น ๆ เป็นราย ๆ ไป ใช้เผือกลงกั้นขวางเต็มครองในเวลาน้ำลงแล้วเอาลอบดักตามช่องเผือกคอยกู้ลอบเอาปลาดังนี้เรียกว่าใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำประจำที่ตาม พรบ อากรค่าน้ำมาตรา 19 และกฎกระทรวงซึ่งออกตามความใน พรบ นั้น ข้อ 23 (5) คำว่า ที่สาธารณประโยชน์ตามกฎกระทรวงข้อ 23 (5) หมายถึงที่สาธารณประโยชน์ตามกฎหมายทั่วไป หาได้มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าที่สาธารณประโยชน์ ในกฎข้อ 2 (ง) และข้อ 2(2)(3) ไม่ ที่สาธารณประโยชน์ตามกฎกระทรวงข้อ 2 (ง) นั้นเป็นคำประกอบความในตอนต้นของวรรคนั้นคือแสดงว่าเป็นที่สาธารณไม่หวงห้ามการจับสัตว์น้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 156/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการห้ามโฆษณาทางการเมือง: การตีความ 'สถานที่เลือกตั้ง' ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้ง
ทำการโฆษนาภายในปริมณฑลสามสิบเมตร์แห่งสถานที่เลือกตั้ง แต่ก่อนวันเลือกตั้งไม่มีผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพะนันอีโจ้ง: การตีความวิธีเล่นตามกฎหมายเก่าเพื่อตัดสินคดี
การพะนันชนิตที่เคยมีคำอธิบายถึงวิธีเล่นไว้ตามกฎหมายเก่า แต่ไม่มีอธิบายไว้ในกฎหมายใหม่นั้น ศาลถงถือเอาวิธีเล่าตามกฎหมายเก่า วิธีเล่นอีโจ้งคือเอาสตางค์โยนลงหลุม แล้วทายกันว่าเป็นคู่หรือคี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9955/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีทุจริต: การตีความบทบัญญัติขยายอายุความโดยเคร่งครัด และผลกระทบต่อคดีที่เกิดขึ้นก่อนมีผลบังคับใช้
ขณะเกิดเหตุ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ที่ให้เพิ่มความตามมาตรา 98 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ซึ่งให้นำมาตรา 74/1 มาใช้บังคับโดยอนุโลมยังไม่มีผลใช้บังคับ เมื่อมาตรา 98 ประกอบมาตรา 74/1 เป็นบทบัญญัติที่มิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความด้วย ประกอบกับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มิได้มีบทเฉพาะกาลให้นำมาตรา 98 ประกอบมาตรา 74/1 มาใช้บังคับแก่คดีที่เกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การตีความกฎหมายจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด จะขยายความไปถึงคดีที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับโดยที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดอันจะเป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่ เพราะจะขัดต่อความรับผิดของบุคคลในการรับโทษทางอาญา ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคหนึ่ง กรณีจึงนำมาตรา 98 ประกอบมาตรา 74/1 มาใช้ย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยมิได้ อายุความการฟ้องคดีอาญาแก่จำเลยที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนแล้วมีมติแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลย จึงต้องพิจารณาตามความใน ป.อ. มาตรา 95 เมื่อความผิดตาม ป.อ. มาตรา 148 ประกอบมาตรา 83 และ 86 ที่โจทก์ฟ้องมีอายุความยี่สิบปีนับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (1) การที่โจทก์ฟ้องและได้ตัวจำเลยมาดำเนินคดีนี้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2556 เกินกว่ายี่สิบปีนับแต่วันกระทำความผิดแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6245/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบาดเจ็บกระดูกหักหลายแห่ง เงินทดแทนต้องจ่ายตามจริง แม้กฎหมายไม่ได้นิยามชัดเจน คุ้มครองลูกจ้างตามหลัก
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองลูกจ้าง การตีความข้อกฎหมายที่เป็นปัญหาหรือมีข้อสงสัยให้ตีความไปในทางหรือนัยให้ความคุ้มครองหรือให้ประโยชน์แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
กระดูกปลายแขนช่วงล่างนับแต่ข้อศอกประกอบด้วยกระดูก 2 ชิ้น คือกระดูกเรเดียส (กระดูกชิ้นใหญ่) และกระดูกอัลนา (กระดูกชิ้นเล็ก) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ขนาด และชื่อเรียกทางการแพทย์ต่างกัน น.ลูกจ้างของโจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานกระดูกแขนขวาหัก โดยกระดูกเรเดียสหักเป็น 3 ท่อน แพทย์ต้องผ่าตัดใช้โลหะยาวดามกระดูกที่หักเป็น 3 ท่อน ให้เป็นชิ้นเดียวกัน กระดูกอัลนาหักเป็น 2 ท่อน แพทย์ต้องผ่าตัดใช้โลหะ ที่สั้นกว่าดามกระดูกที่หักเป็น 2 ท่อน ให้เป็นชิ้นเดียวกัน จึงเป็นการบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ข้อ 2 (2)
กระดูกปลายแขนช่วงล่างนับแต่ข้อศอกประกอบด้วยกระดูก 2 ชิ้น คือกระดูกเรเดียส (กระดูกชิ้นใหญ่) และกระดูกอัลนา (กระดูกชิ้นเล็ก) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ขนาด และชื่อเรียกทางการแพทย์ต่างกัน น.ลูกจ้างของโจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานกระดูกแขนขวาหัก โดยกระดูกเรเดียสหักเป็น 3 ท่อน แพทย์ต้องผ่าตัดใช้โลหะยาวดามกระดูกที่หักเป็น 3 ท่อน ให้เป็นชิ้นเดียวกัน กระดูกอัลนาหักเป็น 2 ท่อน แพทย์ต้องผ่าตัดใช้โลหะ ที่สั้นกว่าดามกระดูกที่หักเป็น 2 ท่อน ให้เป็นชิ้นเดียวกัน จึงเป็นการบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ข้อ 2 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2623/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจใบอนุญาตมัคคุเทศก์เฉพาะพื้นที่: ตีความกฎหมายเพื่อประโยชน์แก่จำเลยเมื่อไม่มีข้อห้ามชัดเจน
พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 มาตรา 49 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 กำหนดว่า ผู้ใดประสงค์จะเป็นมัคคุเทศก์ก็ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์จากนายทะเบียน การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่อใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งถือเป็นบทกฎหมายที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในการประกอบอาชีพ และมีการกำหนดโทษทางอาญาไว้ตามมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น การพิจารณาว่าใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์เฉพาะพื้นที่ บัตรสีชมพู มีเงื่อนไขห้ามนำเที่ยวทางทะเลชายฝั่งในพื้นที่ที่ได้รับใบอนุญาตหรือไม่ จึงต้องตีความบทกฎหมายดังกล่าวตลอดจนข้อกำหนดในกฎกระทรวงโดยเคร่งครัด จะตีความเพื่อขยายความให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่ เพราะจะขัดต่อความรับผิดของบุคคลในการรับโทษทางอาญาตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคหนึ่ง เมื่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 ซึ่งคู่ความนำสืบรับกันว่ามีผลใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ ข้อ 1 กำหนดว่า ให้ยกเลิกความในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 1 การอนุญาตให้เป็นมัคคุเทศก์ แบ่งเป็นสองประเภท ดังนี้ (1) มัคคุเทศก์ทั่วไป หมายความว่า มัคคุเทศก์ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับงานนำเที่ยวครอบคลุมในทุกสาขา สำหรับนำนักท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ (2) มัคคุเทศก์เฉพาะ หมายความว่า มัคคุเทศก์ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับงานนำเที่ยวเฉพาะสาขา เช่น สาขาประวัติศาสตร์ โบราณคดี และการนำเที่ยวป่า เป็นต้น อันเป็นการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวที่มีความสนใจในสาขานั้น ๆ ตามที่นักท่องเที่ยวต้องการจะทราบ..." และ ข้อ 2 กำหนดว่า ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 5 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 5 ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ก็มีสองประเภท ดังนี้ (1) ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ทั่วไป ให้ใช้ได้ทั่วราชอาณาจักรตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต (2) ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์เฉพาะ ให้ใช้ได้เฉพาะงานนำเที่ยวเฉพาะสาขาและตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต" จะเห็นว่าไม่มีข้อความตอนใดที่กล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับมัคคุเทศก์เฉพาะพื้นที่ให้ได้ความชัดเจน ทั้งที่เหตุผลในการออกกฎกระทรวงท้ายกฎกระทรวงระบุว่า "มัคคุเทศก์เฉพาะปฏิบัติงานนำเที่ยวได้เฉพาะสาขาหรือเฉพาะพื้นที่.." แสดงถึงเจตนารมณ์ในการออกกฎกระทรวงที่ต้องการแยกเงื่อนไขในการใช้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์เฉพาะสาขาและเฉพาะพื้นที่ออกจากกัน ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเงื่อนไขการใช้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์เฉพาะตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวซึ่งระบุว่าให้ใช้ได้เฉพาะงานนำเที่ยวเฉพาะสาขาจะหมายความรวมถึงใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์เฉพาะพื้นที่ด้วยหรือไม่ ประกอบกับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์เฉพาะพื้นที่ของจำเลย ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขห้ามนำเที่ยวเฉพาะสาขาด้วยแล้ว กรณีจึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่จำเลยว่า ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์เฉพาะพื้นที่ บัตรสีชมพู ซึ่งออกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2539) ไม่มีเงื่อนไขที่กำหนดห้ามนำเที่ยวทางทะเลชายฝั่งในพื้นที่ที่ได้รับใบอนุญาต เมื่อพิจารณาเงื่อนไขในการใช้ใบอนุญาตมัคคุเทศก์ชนิดต่าง ๆ มัคคุเทศก์เฉพาะทางทะเลชายฝั่ง บัตรสีเหลือง สามารถนำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการชุมนุมสาธารณะ: การตีความ 'ผู้ประสงค์จะจัดการชุมนุม' และขอบเขตจำกัดสิทธิเสรีภาพ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 44 บัญญัติรับรองและคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธไว้ โดยมีข้อยกเว้นให้สามารถจํากัดเสรีภาพในการชุมนุมดังกล่าวได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น และมาตรา 26 บัญญัติให้การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ เมื่อ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การใช้สิทธิชุมนุมสาธารณะให้ชัดเจนและโดยสอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ประเทศไทยเป็นภาคี ทั้งนี้ เพื่อให้การชุมนุมสาธารณะเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ตลอดจนสุขอนามัยของประชาชนหรือความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ และไม่กระทบกระเทือนสิทธิและเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น ดังนั้น บทบัญญัติเกี่ยวกับการแจ้งการชุมนุมสาธารณะตามมาตรา 10 ซึ่งกําหนดให้ผู้ประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะต้องแจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง อันมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากการชุมนุมสาธารณะ การดูแลการชุมนุมสาธารณะและการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง รวมทั้งเพื่อประโยชน์ในการอํานวยความสะดวกและคุ้มครองผู้ชุมนุม จึงเป็นบทบัญญัติที่จํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ และมีการกำหนดโทษทางอาญาไว้ตามมาตรา 28 การตีความบทบัญญัติเช่นนี้ ซึ่งหมายรวมถึงลักษณะและความหมายของ "ผู้ประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะ" ในวรรคสอง จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด และไม่อาจนําบทนิยาม "ผู้จัดการชุมนุม" ตามมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าวมาพิจารณาประกอบดังที่จําเลยฎีกา เนื่องจากบทนิยาม "ผู้จัดการชุมนุม" ให้หมายความรวมถึงผู้ประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะอยู่แล้ว หากมาตรา 10 วรรคสอง ต้องการที่จะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้เชิญชวนหรือนัดให้ผู้อื่นมาร่วมชุมนุมต้องแสดงออกหรือมีพฤติการณ์ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้จัดหรือร่วมจัดให้มีการชุมนุม จึงจะถือว่าเป็นผู้ประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะแล้ว ก็น่าจะระบุเงื่อนไขดังกล่าวไว้ให้ชัดเจนในบทมาตรานี้ โดยไม่จําต้องระบุเงื่อนไขให้ซ้ำซ้อนในบทนิยามดังกล่าวอีก นอกจากนั้น หากแปลความดังที่จําเลยอ้าง ย่อมจะทำให้มีการเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องแจ้งการจัดการชุมนุมสาธารณะ ด้วยวิธีการที่ผู้ประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะอาจไม่แสดงตัว แล้วให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเชิญชวนหรือนัดให้ผู้อื่นมาร่วมชุมนุมแทนตนเอง หรืออาจมีการจัดการชุมนุมโดยใช้วิธีต่างคนต่างเชิญชวนให้ผู้อื่นเข้าร่วมชุมนุมสาธารณะ อันจะทำให้การบริหารจัดการการชุมนุมสาธารณะก่อนที่จะเริ่มมีการชุมนุมไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนั้น แม้ทางพิจารณาจะไม่ปรากฏแกนนําในการจัดชุมนุมสาธารณะตามฟ้องที่ชัดเจน แต่เมื่อจําเลยโพสต์ข้อความลงในระบบคอมพิวเตอร์บนเว็บไซต์เฟซบุ๊กเพื่อเชิญชวนหรือนัดให้ผู้อื่นมาร่วมชุมนุมในวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด และต่อมามีการจัดการชุมนุมดังกล่าวขึ้นโดยไม่มีการแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมงแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานมิได้แจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อผู้รับแจ้งการชุมนุมก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 10