พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6572/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารเกินกว่าการซ่อมแซม ถือเป็นการก่อสร้างใหม่ ต้องรื้อถอน
จำเลยได้ต่อเติมอาคารพิพาทจากหลังคามุงกระเบื้องเป็นดาดฟ้าคอนกรีตทำเป็นชั้นที่ 4 และต่อเติมจากชั้นดาดฟ้าโดยทำหลังคาเป็นชั้นที่ 5ถือเป็นการก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่ มิใช่เป็นการซ่อมแซมเพื่อความเป็นระเบียบสวยงาม จำเลยจึงต้องรื้อถอนส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมออกไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6572/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร ถือเป็นการก่อสร้างใหม่ ต้องรื้อถอน
จำเลยได้ต่อเติมอาคารพิพาทจากหลังคามุงกระเบื้องเป็นดาดฟ้าคอนกรีตทำเป็นชั้นที่ 4 และต่อเติมจากชั้นดาดฟ้าโดยทำหลังคาเป็นชั้นที่ 5 ถือเป็นการก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่ มิใช่เป็นการซ่อมแซมเพื่อความเป็นระเบียบสวยงามจำเลยจึงต้องรื้อถอนส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมออกไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6554/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารผิดแบบและการบังคับใช้พื้นที่ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์เดิมที่ได้รับอนุญาต
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำการติดตั้งบันใดเลื่อนจากชั้นใต้ดินไปชั้นที่ 1 และใช้บริเวณชั้นใต้ดินเพื่อการอื่นโดยมิได้รับอนุญาตอันเป็นการดัดแปลงต่อเติมอาคารผิดไปจากแบบแปลนโดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารแล้วแต่จำเลยเพิกเฉย โดยโจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยใช้บริเวณชั้นใต้ดินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับอนุญาต เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติว่าบริเวณชั้นใต้ดินของอาคารที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างนั้นต้องทำเป็นลานจอดรถ แต่จำเลยได้ใช้ลานจอดรถดังกล่าวเพื่อการอื่นดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบริเวณชั้นใต้ดินดังกล่าวและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่เรียกรับเงินแลกกับการไม่ดำเนินคดีต่อเติมอาคาร ศาลฎีกาพิพากษาว่าเป็นการกรรโชก
ผู้เสียหายที่ 2 ได้ต่อเติมห้องน้ำที่บ้านของตนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่นายตรวจอาคาร มีอำนาจหน้าที่ตรวจอาคารตามคำสั่งของสำนักงานเขตพญาไท จำเลยได้ข่มขู่เรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายที่ 2 ถ้าผู้เสียหายไม่ให้จำเลยจะดำเนินคดีในเรื่องต่อเติมอาคารผิดกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 2 ให้ยอมให้ตนได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพและชื่อเสียงของผู้ถูกขู่เข็ญ เป็นการลงมือกระทำความผิดฐานกรรโชกและกระทำไปตลอดแล้ว แต่ไม่บรรลุผล เพราะการที่ผู้เสียหายที่ 2 เจรจากับจำเลยแล้วขึ้นไปชั้น 2 โทรศัพท์เรียกเจ้าพนักงานตำรวจให้มาจับกุมจำเลยทันที แสดงว่าผู้เสียหายที่ 2ไม่ยอมให้เงิน เพียงแต่ทำทีเป็นยอมเพื่อวางแผนจับกุมจำเลยหาใช่ยอมให้เงินแก่จำเลยด้วยใจจริงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารซ้ำ ฟ้องซ้ำสิทธิอาญา และการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
คดีก่อนจำเลยดัดแปลงต่อเติมอาคารชั้นที่สี่ ระหว่างวันที่6 พฤศจิกายน 2531 ถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2531 ส่วนคดีนี้จำเลยทั้งสองร่วมกันดัดแปลงอาคารโดยการต่อเติมขยายเพิ่มขึ้นจาก 3 ชั้น เป็น8 ชั้น และกระทำเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2534 เช่นนี้แม้อาคารคดีนี้จะเป็นอาคารเดียวกันกับคดีก่อน แต่การกระทำในคดีนี้ก็เป็นคนละกรรมต่างกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณไม่ว่าในทางใด ดังนั้นจึงต้องนำบทบัญญัติ มาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่แก้ไขอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิมมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง และยังคงต้องใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 65 ที่แก้ไขมาใช้บังคับด้วย ฉะนั้น เมื่อนำกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือ มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งไม่มีระวางโทษจำคุกคงมีแต่โทษปรับและมาตรา 70 ที่แก้ไขซึ่งไม่ได้กำหนดโทษจำคุกไว้มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง จึงไม่มีโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยทั้งสอง คงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เพียงปรับซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าโทษจำคุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารต่อเติมที่ไม่ได้รับอนุญาต: เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้หากแก้ไขไม่ได้
เมื่ออาคารที่จำเลยต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต ฝ่าฝืนต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติดังกล่าวได้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอน หรือร้องต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคแรกและวรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร
จำเลยเป็นเจ้าของอาคารที่ได้ปลูกสร้างมาก่อนข้อบัญญัติกรุงเทพ-มหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ออกใช้บังคับโดยมีแนวอาคารและระยะขัดกับข้อบัญญัติดังกล่าว ต่อมาจำเลยได้ขออนุญาตต่อโจทก์เมื่อวันที่ 18มีนาคม 2530 เพื่อทำการซ่อมแซมอาคารดังกล่าวโจทก์อนุญาต หลังจากนั้นจำเลยได้ทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารนอกเหนือไปจากแบบแปลนที่ได้ขออนุญาตไว้ โดยต่อเติมด้านหลังอาคารซึ่งเดิมเป็นชั้นเดียวให้เป็นสองชั้น และมีชั้นดาดฟ้าด้วยการสร้างฐานราก เสาตอหม้อ คานคอดิน คานชั้นสอง คานรับดาดฟ้า หลังคา ขยายพื้นชั้นสองขนาดประมาณ 24.86 ตารางเมตร ต่อเติมพื้นชั้นดาดฟ้าขนาดประมาณ 18.48ตารางเมตร เพิ่มหลังคามุมห้องบันได สร้างผนังอิฐกั้นห้องชั้นสอง ซึ่งการดัดแปลงต่อเติมดังกล่าวได้สร้างปิดทางเดินด้านหลังอาคาร สภาพและลักษณะของการต่อเติมและขยายอาคารของจำเลยดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมหรือดัดแปลงเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม แต่เป็นการดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 22 เดิม,31 เดิม และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522ข้อ 30, 76, 83 และเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อ-บัญญัติได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารเกินแบบที่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร
จำเลยเป็นเจ้าของอาคารที่ได้ปลูกสร้างมาก่อนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ออกใช้บังคับโดยมีแนวอาคารและระยะขัดกับข้อบัญญัติดังกล่าว ต่อมาจำเลยได้ขออนุญาตต่อโจทก์เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2530 เพื่อทำการซ่อมแซมอาคารดังกล่าวโจทก์อนุญาต หลังจากนั้นจำเลยได้ทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารนอกเหนือไปจากแบบแปลนที่ได้ขออนุญาตไว้ โดยต่อเติมด้านหลังอาคารซึ่งเดิมเป็นชั้นเดียวให้เป็นสองชั้น และมีชั้นดาดฟ้าด้วยการสร้างฐานราก เสาตอหม้อ คานคอดิน คานชั้นสอง คานรับดาดฟ้า หลังคาขยายพื้นชั้นสองขนาดประมาณ 24.86 ตารางเมตร ต่อเติมพื้นชั้นดาดฟ้าขนาดประมาณ 18.48 ตารางเมตร เพิ่มหลังคามุมห้องบันได สร้างผนังอิฐกั้นห้องชั้นสอง ซึ่งการดัดแปลงต่อเติมดังกล่าวได้สร้างปิดทางเดินด้านหลังอาคาร สภาพและลักษณะของการต่อเติมและขยายอาคารของจำเลยดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมหรือดัดแปลงเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม แต่เป็นการดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 22 เดิม,31 เดิม และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 30,76,83 และเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต เจ้าของโรงเรือนมีสิทธิใช้ที่ดินนั้นได้
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแทนจำเลยร่วมและเป็นผู้ว่าจ้างต่อเติมผนังตึกแถวพิพาทแทนจำเลยร่วมด้วย ดังนั้นการจ้างช่างมาต่อเติมอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์จึงกระทำโดยจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน มิใช่ผู้อื่นเป็นผู้สร้าง แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยร่วมได้รู้ว่าได้สร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์จึงต้องถือว่า จำเลยร่วมสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 วรรคหนึ่งโจทก์ไม่มีอำนาจให้จำเลยร่วมรื้อถอนผนังตึก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต เจ้าของอาคารไม่ต้องรื้อถอน มีสิทธิใช้ที่ดินและชดใช้ค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยร่วมปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต ให้ยกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยร่วมเรียกค่าใช้ที่ดิน ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยร่วมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่รุกล้ำ ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า อาคารที่รุกล้ำเป็นของจำเลยร่วม ไม่ใช่ของจำเลย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของจำเลย จึงไม่มีปัญหาข้อใดที่จำเลยต้องโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้ ที่ดินพร้อมตึกแถวของโจทก์ทั้งสองกับที่ดินพร้อมตึกแถวของจำเลยร่วม อยู่ติดกันใช้ตงและคานร่วมกัน เดิมจำเลยได้ตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารแล้วชำระเงินในชื่อของจำเลยร่วมเป็นงวด ๆ เมื่อตกลงซื้อแล้วจะให้จำเลยร่วมโอนกรรมสิทธิ์ไป พฤติการณ์ถือได้ว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายแทนจำเลยร่วมระหว่างการซื้อขายได้มีการจ้างช่างมาต่อเติมอาคาร โดยโจทก์ทั้งสองกับมารดาร่วมกับจำเลยและผู้อยู่ในตึกแถวรายอื่น ๆ โดยนาง อ.ผู้จัดการมรดกของผู้ขายให้ความยินยอมแล้ว เมื่อจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายแทนจำเลยร่วมจึงถือว่าจำเลยเป็นผู้จ้างต่อเติมอาคารแทนจำเลยร่วมด้วย ดังนั้นการจ้างช่างมาต่อเติมอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์กระทำหลังจากที่จำเลยร่วมเป็นผู้จะซื้อที่ดินและอาคารแล้วโดยจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินที่ปลูกสร้างเป็นผู้จ้างช่างมาสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์เอง มิใช่ผู้อื่นเป็นผู้สร้างอาคารที่รุกล้ำแล้วโอนให้จำเลยร่วม การปลูกสร้างโจทก์ทั้งสองกับมารดาและจำเลยร่วมดำเนินการปลูกสร้างด้วยกัน ไม่ปรากฏว่าจำเลยร่วมรู้ว่าได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์ทั้งสองจึงต้องถือว่าจำเลยร่วมสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยสุจริต กรณีจึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 วรรคหนึ่ง จำเลยร่วมจึงเป็นเจ้าของโรงเรือนคือผนังตึกที่สร้างขึ้นนั้น โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจให้รื้อถอนคงมีสิทธิที่จะเรียกเงินเป็นค่าที่จำเลยร่วมใช้ที่ดินของโจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองมิได้ฟ้องขอบังคับ ศาลจึงไม่อาจบังคับให้ได้