คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่อเนื่อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจสอบสวนคดีพรากผู้เยาว์ต่อเนื่อง - สถานที่แจ้งความและจับกุม - อำนาจพนักงานสอบสวน
ผู้เสียหายอยู่กับ พ. ที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต ผู้เสียหายถูกพรากหายตัวไป และ พ. ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต ต่อมาจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเขาพนม จำเลยพาผู้เสียหายไปพักในหลายท้องที่ต่างกัน จึงเป็นกรณีไม่แน่ว่าการกระทำความผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดระหว่างหลายท้องที่ เป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปและเป็นความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (1) (3) (6) และ วรรคสอง พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคตจึงมีอำนาจสอบสวน
พ. ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางเขน แต่พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความร้องทุกข์เนื่องจาก พ. และผู้เสียหายพักอยู่ที่บ้านในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต จึงเท่ากับไม่มีการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางเขน พ. จึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต ว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นหลานสาวถูกจำเลยพรากตัวไป ต่อมาจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคตจึงเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อน จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสาม (ข) มีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง ส่งไปพร้อมสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 140, 141
ฎีกาของจำเลยที่ว่า ตามข้อเท็จจริงก่อนที่จำเลยจะพาผู้เสียหายไปที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ และพักอยู่ที่นั่นหลายวันจนถูกจับกุมตัว จำเลยพาผู้เสียหายไปที่บ้านพี่สาวของจำเลยที่บางแคก่อนและพักอยู่ 1 คืน จากนั้นจำเลยพาผู้เสียหายนั่งรถโดยสารเดินทางหลายร้อยกิโลเมตร และพักอยู่ที่จังหวัดกระบี่ ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายร้องขอความช่วยเหลือจากบุคคลใดทั้งที่มีโอกาสทำได้ และร่วมประเวณีกันหลายครั้ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารย์โดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคแรก ไม่ใช่วรรคสามเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงนำไปสู่ข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาต่อเนื่องหลายท้องที่: การกำหนดพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
ผู้เสียหายพักอาศัยอยู่กับอาในเขตท้องที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต จำเลยพรากผู้เสียหายไป พาผู้เสียหายไปพักและกระทำชำเราผู้เสียหายในหลายท้องที่ต่างกัน จึงเป็นกรณีไม่แน่ว่าการกระทำความผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ และความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป และเป็นความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (1) (3) (6) และวรรคสอง พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคตจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้
พ. อาของผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางเขน แต่พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความร้องทุกข์เนื่องจาก พ. และผู้เสียหายพักอยู่ที่บ้านในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต จึงเท่ากับไม่มีการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางเขน พ. จึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต ต่อมาจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต จึงเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อน จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสาม (ข) มีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง ส่งไปพร้อมสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามมาตรา 140, 141 ได้ การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมืองเดียวต่อเนื่อง 90 วัน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 107 (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียว นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2547 และพ้นจากสมาชิกภาพเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2547 ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ผู้ร้องยังได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคความหวังใหม่เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2547 ก่อนวันที่ผู้ร้องจะไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทย สมาชิกภาพของผู้ร้องจึงหาได้สิ้นสุดลงตามข้อบังคับของพรรคชาติไทย ข้อ 14 (5) ที่กำหนดว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง เมื่อสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่น ดังที่ผู้ร้องอ้างแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ในวันที่ผู้ร้องพ้นจากสมาชิกภาพของพรรคชาติไทย เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2547 ถึงวันที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 11 มกราคม 2548 ผู้ร้องจึงมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียว นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องเป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 107 (4) ที่ผู้คัดค้านไม่รับสมัครและไม่ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7828/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องสิบปีโดยเปิดเผยและสงบ ย่อมก่อให้เกิดภาระจำยอมได้ แม้เจ้าของที่ดินมิได้ใช้เอง
เรื่องการจำยอมนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1387 กำหนดว่า อสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กฎหมายเพ่งเล็งถึงความสำคัญของตัวอสังหาริมทรัพย์คือที่ดินไม่ใช่ตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของ ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้ภาระจำยอมถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกผ่านที่ดินจำเลยโดยอายุความ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๐๑ ประกอบด้วยมาตรา ๑๓๘๒ นั้น ภาระจำยอมเดินทางเข้าออกอาจได้มาโดยการใช้ทางดังกล่าวโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี กรณีจึงเห็นได้แจ้งชัดอยู่ว่ากฎหมายมุ่งความสำคัญตรงที่มีการใช้ทางพิพาท โดยไม่มีใครห้ามปรามและไม่ต้องรับอนุญาตจากใคร ก็เกิดภาระจำยอมโดยอายุความได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ใช้ทางนั้นจะต้องเป็นผู้ใช้ติดต่อกันสิบปีด้วยหรือไม่ คดีนี้โจทก์จึงอาจนำสืบว่ามีการใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยติดต่อกันจนได้อายุความแล้วได้ การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานแล้วพิพากษายกฟ้องจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7828/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องโดยสงบและเปิดเผยโดยไม่ต้องคำนึงถึงตัวเจ้าของ
โจทก์บรรยายฟ้องโดยกล่าวอ้างว่าโจทก์ได้ภาระจำยอมถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกผ่านที่ดินจำเลยโดยอายุความ ซึ่งกรณีนี้ ป.พ.พ. มาตรา 1401 ให้นำมาตรา 1382 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น กรณีตามฟ้องจึงหมายความได้ว่า ภาระจำยอมทางเดินเข้าออกอาจได้มาโดยการใช้ทางดังกล่าวโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี จึงเห็นได้ชัดว่ากฎหมายมุ่งความสำคัญตรงที่การใช้ทางพิพาทโดยไม่มีใครห้ามปรามและไม่ต้องรับอนุญาตจากใคร ก็เกิดภาระจำยอมโดยอายุความได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ใช้ทางนั้นจะต้องเป็นผู้ใช้ติดต่อกันสิบปีด้วยไม่ โจทก์จึงอาจนำสืบว่ามีการใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยติดต่อกันจนได้ภาระจำยอมโดยอายุความแล้วได้ การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานแล้วพิพากษายกฟ้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4232/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน: กระทำชำเราต่อเนื่องต่างวันเป็นกรรมต่างกัน
จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายในเวลากลางคืนแต่ละคืน แม้จำเลยจะกระทำต่อผู้เสียหายรายเดียวกัน ลักษณะการกระทำความผิดอย่างเดียวกัน สถานที่เกิดเหตุเดียวกันและมีเจตนาประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันก็ตาม แต่จำเลยกระทำความผิดแต่ละครั้งต่างวันต่างเวลากันมิได้กระทำต่อเนื่องกัน และหลังจากจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายแต่ละครั้งบรรลุผลสมดังเจตนาแล้ว จำเลยย่อมต้องเลิกกระทำและปฏิบัติตัวเป็นปกติเพื่อมิให้มารดาของผู้เสียหายรู้ถึงการกระทำของจำเลย เมื่อถึงเวลากลางคืนจำเลยต้องหาโอกาสกระทำชำเราผู้เสียหายใหม่ การกระทำของจำเลยแต่ละครั้งจึงแยกต่างหากจากกันอันเป็นการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4014/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราต่อเนื่องในวาระเดียวกัน ถือเป็นกรรมเดียว
จำเลยที่ 1 กับพวกติดตามผู้เสียหายไปในลักษณะทันที ถือว่าผู้เสียหายยังไม่หลุดพ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 กับพวก ดังนั้น การกระทำชำเราของจำเลยที่ 1 ทั้งสองครั้งจึงต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ในวาระเดียวกันโดยเจตนาเดิมไม่ขาดตอนจากกัน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4014/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราต่อเนื่อง: การพิจารณาความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายครั้งแรกในคืนวันที่ 16 มีนาคม 2544 ครั้นถึงวันรุ่งขึ้นเวลาเที่ยงวัน ผู้เสียหาย จะกลับบ้านจึงเดินออกจากบ้านที่เกิดเหตุกับนางสาว ร. เดินไปประมาณ 2 กิโลเมตร จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 1 คน ขับรถจักรยานยนต์ตามมา จำเลยที่ 2 จับแขนนางสาว ร. จำเลยที่ 1 จับแขนผู้เสียหายบอกผู้เสียหายว่าค่อยกลับตอนเย็น ผู้เสียหายไม่ยอม จำเลยที่ 1 ดึงแขนลากตัวผู้เสียหายกลับไปในบ้านเกิดเหตุแล้วกระทำชำเราผู้เสียหายอีก 1 ครั้ง เห็นว่า จำเลยที่ 1 กับพวกติดตามผู้เสียหายทันที ถือว่าผู้เสียหายยังไม่หลุดพ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 กับพวก ดังนั้น การกระทำชำเราของจำเลยที่ 1 ทั้งสองครั้งจึงต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ในวาระเดียวกัน โดยเจตนาเดิมไม่ขาดตอนจากกัน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางเดินต้องต่อเนื่อง เปิดเผย และเพื่อประโยชน์ที่ดิน
การที่โจทก์จะได้ภาระจำยอมโดยอายุความหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์อันเป็นสามยทรัพย์ได้เดินผ่านหรือใช้ที่ดินของจำเลยอันเป็นภารยทรัพย์มาครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เกี่ยวกับการได้ภาระจำยอมโดยอายุความหรือไม่ ในส่วนที่ผู้อื่นจะได้ใช้ทางเดินอันเป็นทางพิพาทหรือไม่นั้น ไม่มีผลเกี่ยวกับการได้ภาระจำยอมโดยอายุความของโจทก์แต่ประการใด โจทก์จึงมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้ฟังได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทอย่างปรปักษ์คือโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้ได้สิทธิในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์เป็นเวลาติดต่อกัน 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษคดีอาญาต่อเนื่อง: นับโทษต่อได้แม้คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด
คดีอาญาเรื่องก่อนยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์ยังมิได้มีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลง โดยพิพากษาแก้หรือกลับผลของคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วจำเลยยังคงต้องถูกบังคับตามโทษของศาลชั้นต้น ดังนี้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษคดีอาญาเรื่องก่อนของศาลชั้นต้นต่อไปจนกว่าผลของคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลนั้นๆ จะเปลี่ยนแปลงไป
of 36