คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่างกรรมต่างวาระ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3655/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเด้ง: คำฟ้องชอบด้วยกฎหมาย, โจทก์มีอำนาจฟ้อง, ความผิดต่างกรรมต่างวาระ
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่าจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้เงินยืม รายละเอียดของสัญญายืมโจทก์จะเสนอต่อศาลในชั้นพิจารณา ซึ่งมูลหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คถึงกำหนดโจทก์นำเข้าเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่าย เป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่เกี่ยวข้องอันพอทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว หาจำต้องกล่าวถึงรายละเอียดในสัญญากู้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาของศาล ฉะนั้นคำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์นำคดีฟ้องศาลภายในอายุความฟ้องร้อง ดังนั้น การร้องทุกข์จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่ใช่สาระสำคัญไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใด โจทก์มีอำนาจฟ้อง
เมื่อศาลสอบคำให้การจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องเท่ากับยอมรับว่าได้ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์และออกเช็คพิพาทชำระหนี้ดังกล่าวจริง ที่จำเลยอ้างว่ากรณีเป็นที่น่าสงสัยเท่ากับเป็นการโต้เถียงขึ้นมาใหม่ว่าไม่ได้กู้ยืมหรือไม่ได้ออกเช็คพิพาท ย่อมกระทำมิได้เพราะถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
เช็คในคดีนี้ทั้งสี่ฉบับจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายชำระหนี้ตามสัญญากู้ต่างฉบับกัน วันที่สั่งจ่ายในเช็คต่างวันกัน แสดงว่าจำเลยเจตนาสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับชำระหนี้แต่ละส่วนแยกกัน และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินต่างวันกันจึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน หาใช่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9029/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนหรือไม่: คดีแจ้งความเท็จและปฏิบัติหน้าที่มิชอบต่อเจ้าพนักงาน แม้รายงานเรื่องเดียวกันแต่ต่างกรรมต่างวาระ
คดีของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้บังคับบัญชาของโจทก์แจ้งข้อความและรายงานอันเป็นเท็จต่อสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลดอนเมืองและผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นว่า โจทก์ไม่ส่งมอบสำนวนการสอบสวนคดีจราจรกับจำหน่ายคดีอาญาเป็นเท็จ เป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อจะแกล้งโจทก์ให้ได้รับโทษทางอาญาและทางวินัย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และต่อมาจำเลยที่ 1 แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนทางวินัยว่า โจทก์ไม่ส่งสำนวนการสอบสวนคดีอาญาให้พนักงานอัยการและโจทก์เขียนจำหน่ายคดีดังกล่าวลงในสมุดคุมคดีเป็นเท็จว่าได้ส่งสำนวนการสอบสวนดังกล่าวให้พนักงานอัยการแล้ว เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อจะแกล้งให้โจทก์ได้รับโทษทางอาญาและทางวินัย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงรายงานผลการสอบสวนต่อผู้บังคับการตำรวจนครบาลพระนครเหนือ ตามคำสั่งของผู้บัญชาการตำรวจนครบาลว่า โจทก์ไม่ส่งมอบสำนวนการสอบสวนกับจำหน่ายคดีอาญาดังกล่าวข้างต้นซึ่งเป็นความเท็จ เป็นการร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด และเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญากระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด ๆ ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบเพื่อจะแกล้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดต้องรับโทษ หรือรับโทษหนักขึ้น จึงเป็นการรายงานคนละฐานะต่อบุคคลคนละคนและคนละครั้งคราวเดียวกัน แม้จะรายงานในเรื่องเดียวกัน ก็เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9029/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนหรือไม่? กรณีรายงานเท็จแจ้งความดำเนินคดี – การกระทำต่างกรรมต่างวาระ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้บังคับบัญชาของโจทก์แจ้งข้อความและรายงานอันเป็นเท็จต่อสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลดอนเมืองและผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นว่าโจทก์ไม่ส่งมอบสำนวนการสอบสวนคดีจราจรกับจำหน่ายคดีอาญาเป็นเท็จ เป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อจะแกล้งโจทก์ให้ได้รับโทษทางอาญาและทางวินัย ทำให้ โจทก์ได้รับความเสียหาย และต่อมาจำเลยที่ 1 แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนทางวินัยว่า โจทก์ไม่ส่งสำนวนการสอบสวนคดีอาญาให้พนักงานอัยการและโจทก์เขียนจำหน่ายคดีดังกล่าวลงในสมุดคุมคดีเป็นเท็จว่าได้ส่งสำนวนการสอบสวนดังกล่าวให้พนักงานอัยการแล้วเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อจะแกล้งให้โจทก์ได้รับโทษทางอาญาและทางวินัย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงรายงานผลการสอบสวนต่อผู้บังคับการตำรวจนครบาลพระนครเหนือตามคำสั่งของผู้บัญชาการตำรวจนครบาลว่า โจทก์ไม่ส่งมอบสำนวนการสอบสวนกับจำหน่ายคดีอาญาดังกล่าวข้างต้นซึ่งเป็นความเท็จ เป็นการร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายและเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด และเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด ๆ ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบเพื่อจะแกล้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดต้องรับโทษ หรือรับโทษหนักขึ้นจึงเป็นการรายงานคนละฐานะต่อบุคคลคนละคนและคนละครั้งคราวกันแม้จะรายงานในเรื่องเดียวกันก็เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมและใช้เอกสารปลอม (ประกันภัย, ภาษีรถยนต์) ถือเป็นคนละกรรมต่างวาระ แม้ใช้พร้อมกัน
จำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของบริษัทประกันภัยเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม2539 ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 แล้วจำเลยได้ใช้เอกสารปลอมนั้นติดที่บริเวณกระจกหน้ารถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 3 พ-6729กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264 วรรคแรก และฐานใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด รวม 2 กระทง แต่เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารแผ่นป้าย ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเองกับเป็นผู้ใช้เอง จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียวตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสอง แต่เนื่องจากเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2539จำเลยได้กระทำการปลอมแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ ประจำปี พ.ศ. 2539 ของกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นเอกสารราชการแล้วจำเลยได้ใช้เอกสารปลอมนั้นติดที่ บริเวณกระจกหน้ารถยนต์คันดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 อีกกรรมหนึ่ง จำเลยจึงกระทำผิดฐานปลอมและใช้ เอกสารราชการปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมและใช้เอง จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารราชการปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265แต่เพียงกระทงเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสองเช่นกัน แม้จะใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ประกอบในคราวเดียวกันแต่ก็เป็นเอกสารคนละประเภทและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกันกล่าวคือ การใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า มีการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 จริงส่วนการใช้แผ่นป้ายวงกลมปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าได้มีการเสียภาษีรถยนต์ถูกต้องตามพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ. 2522 จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกกันต่างหากจำนวน 2 กระทง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3497/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต่างกรรมต่างวาระ: สัญญาซื้อขายกับสัญญาตัวแทนเป็นคนละเรื่องกัน จำเลยมีสิทธิฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยซื้อสินค้าผ้าอนามัยไปจากโจทก์แล้วไม่ชำระราคาค่าสินค้าให้แก่โจทก์ เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขาย ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาตั้งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในประเทศไทยโดยจำเลยต้องดำเนินการโฆษณาสินค้าและส่งเสริมการขาย จำเลยได้เสียค่าใช้จ่ายไปเป็นมูลค่ารวม355,312 บาท โจทก์บอกเลิกสัญญาไม่ชอบต้องชำระค่ายกเลิกสัญญาให้แก่จำเลยจำนวน 1,000,000 บาท เป็นการฟ้องบังคับให้โจทก์รับผิดตามสัญญาตัวแทน ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับที่โจทก์ฟ้องฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ชอบที่จำเลยจะฟ้องเป็นคดีต่างหากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4914/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน: การกระทำต่างกรรมต่างวาระ แม้หลอกลวงหลายกลุ่ม
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2521 มีกำหนด 1 เดือน และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 รวม 5 กระทงจำคุกกระทงละ 2 ปี ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2521 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนส่วนความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนพิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวและลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี ความผิดทั้งสองฐานจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
การที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมานั้นยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนรับสมัครไปทำงานและรับเงินค่าบริการจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหาย พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมานั้นฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ว่าจำเลยมิได้หลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหาย ทั้งมิได้รับเงินไว้เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ขอให้ศาลฎีการับฟังพยานเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยส่งมาพร้อมฎีกาและขอให้รอการลงโทษจำเลยนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานและการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม
จำเลยหลอกลวงว่าสามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศได้ผู้เสียหายแต่ละคนหลงเชื่อจึงมาสมัครงานกับจำเลยและมอบเงินค่าบริการให้ตามที่จำเลยเรียกร้อง โดยกระทำในวันเวลาที่แตกต่างกันรวม 5 ครั้ง แต่ละครั้งจำเลยหลอกลวงประชาชนต่างกลุ่มกันผู้เสียหายแต่ละกลุ่มมาสมัครงานและมอบเงินแก่จำเลยต่างวันเวลากัน เป็นการกระทำโดยเจตนาให้เกิดผลต่อประชาชนแต่ละกลุ่มแยกต่างหากจากกันต่างกรรมต่างวาระ เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนรวม 5 กระทง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4914/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนต่างกรรมต่างวาระ: ศาลฎีกาแก้โทษเพิ่มกระทงความผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2521 มีกำหนด 1 เดือน และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 รวม 5 กระทงจำคุกกระทงละ 2 ปี ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2521 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนส่วนความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนพิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวและลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี ความผิดทั้งสองฐานจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก การที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมานั้นยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนรับสมัครไปทำงานและรับเงินค่าบริการจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหาย พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมานั้นฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ว่าจำเลยมิได้หลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหาย ทั้งมิได้รับเงินไว้เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ขอให้ศาลฎีการับฟังพยานเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยส่งมาพร้อมฎีกาและขอให้รอการลงโทษจำเลยนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานและการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม จำเลยหลอกลวงว่าสามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศได้ผู้เสียหายแต่ละคนหลงเชื่อจึงมาสมัครงานกับจำเลยและมอบเงินค่าบริการให้ตามที่จำเลยเรียกร้อง โดยกระทำในวันเวลาที่แตกต่างกันรวม 5 ครั้ง แต่ละครั้งจำเลยหลอกลวงประชาชนต่างกลุ่มกันผู้เสียหายแต่ละกลุ่มมาสมัครงานและมอบเงินแก่จำเลยต่างวันเวลากัน เป็นการกระทำโดยเจตนาให้เกิดผลต่อประชาชนแต่ละกลุ่มแยกต่างหากจากกันต่างกรรมต่างวาระ เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนรวม 5 กระทง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3905/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ แม้เคยถูกยกฟ้องในคดีก่อน
คดีก่อนจำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองป่าสงวนแห่งชาติเนื้อที่ 30 ไร่เศษ โดยเข้าใจผิดว่าเป็นที่ดินของจำเลยตาม ส.ค.1 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ต่อมาจำเลยเข้าแผ้วถางบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนคลองท่าเรือเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่เศษ โดยจำเลยอ้างว่าเป็นที่ดินตาม ส.ค.1 ของจำเลย และเมื่อมีการตรวจสอบแล้วปรากฏว่าไม่ใช่ที่ดินตาม ส.ค.1 ของจำเลย แต่เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยรู้แล้วยังเข้าแผ้วถาง ปลูกต้นมะพร้าว ต้นมะม่วงหิมพานต์ นำเปลือกมะพร้าวไปถมที่ดินและครอบครองตลอดมา เป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องคดีนี้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระกับคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3905/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระในคดีบุกรุกป่าสงวน แม้เคยถูกยกฟ้องในคดีก่อน
คดีก่อนจำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองป่าสงวนแห่งชาติเนื้อที่ 30 ไร่เศษ โดยเข้าใจผิดว่าเป็นที่ดินของจำเลยตามส.ค.1 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ต่อมาจำเลยเข้าแผ้วถางบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนคลองท่าเรือเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่เศษโดยจำเลยอ้างว่าเป็นที่ดินตาม ส.ค.1 ของจำเลย และเมื่อมีการตรวจสอบแล้วปรากฏว่าไม่ใช่ที่ดินตาม ส.ค.1 ของจำเลย แต่เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติจำเลยรู้แล้วยังเข้าแผ้วถาง ปลูกต้นมะพร้าวต้นมะม่วงหิมพานต์ นำเปลือกมะพร้าวไปถมที่ดินและครอบครองตลอดมา เป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระกับคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงผู้เยาว์เพื่อค้าประเวณีถือเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ
จำเลยกับพวกใช้อุบายหลอกลวงนางสาว ป. กับนางสาว จ.ผู้เยาว์อ้างว่าจะพาไปทำงานแต่กลับพาไปขายให้เป็นหญิงโสเภณี ดังนี้เห็นได้ว่า ที่จำเลยหลอกลวงผู้เยาว์ทั้งสองก็โดยเจตนาจะให้เกิดผลต่างกรรมกัน แม้จะพาผู้เยาว์ทั้งสองไปในครั้งเดียวคราวเดียวก็เป็นการกระทำต่อผู้เยาว์แต่ละคนโดยเฉพาะ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ จำเลยมีความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารรวม 2 กระทง ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 283 วรรคสองกับความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน.
of 6