คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่างกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7258/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นข้อพิพาทต่างกัน แม้คดีก่อนเกี่ยวข้องกรรมสิทธิ์เดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่พิพาทซึ่งได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินส่วนที่โจทก์ครอบครอง ขอให้ห้ามจำเลยกระทำการใด ๆบนที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่า การจดทะเบียนให้ที่พิพาทซึ่งค.และจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างค. กับโจทก์ ไม่ชอบด้วยกฎหมายและว่าไม่เคยมีการแบ่งแยกการครอบครอง จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า การจดทะเบียนให้ระหว่าง ค. กับโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่และได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมที่พิพาทจากจำเลย ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมหรือไม่ประเด็นแห่งคดีทั้งสองจึงต่างกัน เหตุที่นำมาวินิจฉัยคนละเหตุจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3707/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องภาระจำยอมหลังคดีเช่าถึงที่สุด ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เหตุต่างกันในมูลฐาน
เดิมโจทก์และนาง ล. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน ต่อมาได้แบ่งแยกเป็นสองโฉนด มีอาคารและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ล้ำเข้าไปในที่ดินของนาง ล. ต่อมานาง ล.ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้นาย ฮ. นาย ฮ.ได้ฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินที่รุกล้ำ โจทก์ยอมรับว่าที่ดินเป็นของนาย ฮ. ตกลงเช่าที่ดินพิพาทเป็นเวลา 5 ปี แต่ไม่จดทะเบียนการเช่า เมื่อนาย ฮ.ตายที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลยโดยทางมรดก จำเลยฟ้องขับไล่โจทก์อ้างว่าสัญญาเช่าไม่จดทะเบียนมีผลเพียง 3 ปี ในคดีดังกล่าวโจทก์อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านเฉพาะประเด็นที่ว่าสัญญาเช่าบังคับกันได้ 3 ปีหรือ 5 ปี คดีถึงที่สุดแล้วโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาเช่าบังคับได้ 3 ปี พ้นกำหนดแล้ว ให้โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทโจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าได้ปลูกสร้างอาคารโดยสุจริต และได้ครอบครองโดยสงบเปิดเผยตลอดมา ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนภาระจำยอม ข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์คดีนี้มุ่งไปที่เรื่องปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตและได้ภาระจำยอมโดยโจทก์เป็นเจ้าของโรงเรือนและมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทจึงเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนซึ่งเป็นเรื่องเช่าทรัพย์ และกรณีนี้มิใช่เรื่องที่เนื่องมาจากมูลฐานเดียวกันหรือติดต่อกันจากเรื่องเช่าทรัพย์ซึ่งโจทก์ต้องยกขึ้นอ้างหรือต่อสู้เสียในคดีก่อน การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5310/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษตามข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ แม้ต่างจากข้อหาเดิมที่ฟ้อง
ข้อเท็จจริงปรากฏในการพิจารณาว่า จำเลยใช้มีดปลายแหลมแทงผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัสตาม มาตรา 297(8) ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับฟ้องย่อมลงโทษจำเลยตาม มาตรา 295 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์แก้ไขจำนวนหนี้: ข้อผิดพลาดเล็กน้อย vs. จำนวนหนี้ที่ต่างกัน
คำร้องของโจทก์ที่โต้เถียงว่า จำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสองค้างชำระถึงวันฟ้องมีมากกว่าจำนวนหนี้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยและขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขจำนวนเงินเพิ่มจากเดิมถึงสองหมื่นบาทเศษมิใช่ข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาคดีไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายเฮโรอีนและกัญชาเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้จำหน่ายในคราวเดียวกัน
พระราชบัญญัติ ญญัติยาเสพติดให้โทษบัญญัติให้เฮโรอีนกับกัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษคนละประเภทกัน ทั้งบทกำหนดโทษในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษทั้ง 2 ชนิดก็เป็นคนละมาตรากันด้วย แสดงว่ากฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำผิดแยกต่างหากจากกัน การที่จำเลยจำหน่ายยาเสพติดให้โทษประเภทเฮโรอีนและกัญชาไปในคราวเดียวกันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5819/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องครอบครองปรปักษ์ไม่ซ้ำกับคดีเดิม แม้ที่ดินแปลงเดียวกัน หากเหตุฟ้องต่างกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยเหตุว่า โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ว่างเปล่า แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยเหตุว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยในฐานะโจทก์เป็นเจ้าของโดยสงบและเปิดเผยเกินกว่า 10 ปีที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นคนละเหตุกับคดีก่อน แม้ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกันโจทก์ก็ฟ้องคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2028/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดต่อผู้เสียหายหลายรายในคราวเดียวกัน ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรม
จำเลยใช้ไขควงแทงผู้เสียหาย เมื่อ ป.เข้าช่วยเหลือขัดขวางจำเลยก็แทง ป.เป็นการกระทำคนละครั้ง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นต่างกัน แม้ที่ดินแปลงเดียวกัน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอแบ่งที่ดินในฐานะที่เป็นทายาทของเจ้ามรดกร่วมกับจำเลย จำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย คดีถึงที่สุดโดยศาลฟังว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โดยบรรยายฟ้องว่าที่พิพาทซึ่งจำเลยปักหลักเขตรุกล้ำเป็นคนละแปลงกับที่พิพาทในคดีก่อน จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยปักหลักเขตภายในที่ดินของจำเลยซึ่งเคยเป็นที่พิพาทในคดีก่อน มิได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ประเด็นในคดีนี้จึงมีว่าจำเลยปักหลักเขตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์หรือไม่ ส่วนประเด็นในคดีก่อนมีว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งร่วมกับจำเลยหรือไม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ซ้ำกับคดีก่อน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นต่างกัน แม้สัญญาเดิมคล้ายกัน ศาลไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีเดิมโจทก์ฟ้องเกี่ยวกับสัญญาแบ่งผลประโยชน์ตึกแถวพิพาทว่าจำเลยผิดสัญญา ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยอ้างว่าโจทก์นำสืบพยานหลักฐานได้ไม่สมตามฟ้องและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยผิดสัญญาอย่างใด จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัย พิพากษายกฟ้อง ดังนี้ ในคดี เดิมศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องเพราะเหตุโจทก์มิได้บรรยายฟ้อง ถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ ไหนอย่างไร หาได้วินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาดังกล่าว หรือไม่ คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำผิดสัญญา อย่างไร ซึ่งยังไม่ได้รับการวินิจฉัยในคดีก่อน กรณีจึงเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-สภาพแห่งข้อหาต่างกัน แม้คำขอบังคับเหมือนกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีแรก โจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวอ้างว่าจำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจฉบับปลอมไปทำการโอนที่พิพาทเป็นของจำเลย คดีนี้ โจทก์ฟ้องอ้างว่าหลังจากฟ้องคดีแรกแล้วโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยตกลงโอนที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ยอมยกหนี้สินให้จำเลยและยอมถอนฟ้องคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยอยู่ โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาแล้ว แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง สภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งสองคดีจึงต่างกัน แม้คำขอบังคับจะเป็นการให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์เช่นเดียวกัน ก็มิใช่คำฟ้องเรื่องเดียวกัน ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173
of 3