พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนจากสัมปทานปิโตรเลียม: ต่างตอบแทน vs. จ่ายเป็นระยะเวลา
สัมปทานปิโตรเลียมที่โจทก์ออกให้แก่จำเลยเป็นการอนุญาตให้จำเลยมีสิทธิที่จะทำได้แต่ผู้เดียวในกิจการสำรวจการปิโตรเลียมภายในขอบเขตที่กำหนดซึ่งจำเลยจะต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์แต่การจ่ายเงินผลประโยชน์มีจำนวนมากหลายรายการเพื่อผ่อนผันแบ่งเบาภาระให้แก่จำเลย จึงได้แบ่งชำระเป็นงวด เงื่อนไขดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์พึงได้รับประโยชน์จากการที่ยอมให้สัมปทานแก่จำเลย แม้เงินผลประโยชน์พิเศษงวดที่ 3 ใช้คำว่า"กับทุกปีหลังจากนั้นเป็นเวลาต่อเนื่องกันอีกสองปี" ก็ตาม ก็มิใช่เป็นเงินอื่น ๆ ที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา จึงไม่เป็นสิทธิเรียกร้องที่มีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 166 เดิม สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปกำหนด10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินผลประโยชน์พิเศษให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะโจทก์เตือนแล้วโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก นับตั้งแต่วันผิดนัด แต่จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ย ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นดอกเบี้ยค้างส่งที่มีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 166 เดิม ดอกเบี้ยที่ค้างส่งเกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน: การปรับปรุงที่ดินโดยผู้เช่าไม่ทำให้สัญญาเป็นต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
ที่ดินที่เช่า เป็นที่ลุ่มลึก หากไม่ทำการปรับและถม ที่ดินก็ใช้ประโยชน์ไม่ได้ การที่ผู้เช่าปรับและถม ที่ดินสิ้นค่าใช้จ่ายไปเป็นเงิน 150,000 บาท ทำให้ที่ดินมีราคาสูงขึ้น ก็ทำไปเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าที่จะก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างและหาผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างนั้น ทั้งผู้เช่าก็ไม่ได้รับประโยชน์สิ่งใด นอกจากค่าเช่า ดังนี้ สัญญาเช่าดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่างตอบแทน สิทธิและหน้าที่ตกทอดแก่ทายาท ฟ้องแย้งจดทะเบียนได้แต่มีอายุความ
สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ตามข้อตกลง และถือไม่ได้ว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว แม้คู่สัญญาจะตาย สิทธิและหน้าที่ดังกล่าวก็ต้องตกทอดไปยังทายาท สัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับ ฉ. ผู้ให้เช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา และมีข้อตกลงให้เช่าช่วงได้ เมื่อจำเลยเช่ายังไม่ครบกำหนดและให้เช่าช่วงตามข้อตกลง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา และไม่มีอำนาจฟ้องและที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของฉ. จดทะเบียนการเช่า เป็นการให้ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้การเช่าได้จดทะเบียนการเช่าสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนี้ จำเลยจึงฟ้องแย้งให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าได้ การจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของผู้ให้เช่าที่จะต้องกระทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้เช่าเมื่อผู้ให้เช่าถึงแก่กรรมหน้าที่ดังกล่าวย่อมตกทอดไปยังทายาท การที่ผู้เช่าฟ้องบังคับให้จดทะเบียนสิทธิการเช่าถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้อง จึงต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่ผู้เช่าทราบว่าผู้ให้เช่าถึงแก่กรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเช่าต่างตอบแทน: การนำสืบเพื่อหักล้างสัญญาเช่าเดิม
คำฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนการเช่าให้จำเลย เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
จำเลยให้การต่อสู้ว่าการเช่าตึกพิพาทมีข้อตกลงให้จำเลยออกค่าก่อสร้างตึกพิพาทโดยโจทก์จะให้จำเลยเช่าตึกพิพาทมีกำหนด25 ปี เพียงแต่ทำสัญญาเช่าไว้มีกำหนด 12 ปีก่อน จำเลยมีสิทธินำสืบถึงเหตุที่จำเลยมีสิทธิเช่าต่อได้ เพราะเป็นการนำสืบหักล้างสัญญาที่ทำไว้ว่าไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94.
จำเลยให้การต่อสู้ว่าการเช่าตึกพิพาทมีข้อตกลงให้จำเลยออกค่าก่อสร้างตึกพิพาทโดยโจทก์จะให้จำเลยเช่าตึกพิพาทมีกำหนด25 ปี เพียงแต่ทำสัญญาเช่าไว้มีกำหนด 12 ปีก่อน จำเลยมีสิทธินำสืบถึงเหตุที่จำเลยมีสิทธิเช่าต่อได้ เพราะเป็นการนำสืบหักล้างสัญญาที่ทำไว้ว่าไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการอนุญาตเลื่อนคดี, งดสืบพยาน และประเด็นสัญญาเช่าต่างตอบแทน
การที่จะอนุญาตให้เลื่อนคดีเพราะความเจ็บป่วยตามป.วิ.พ.มาตรา40หรือไม่ก็ดีการสั่งงดสืบพยานเพราะเป็นพยานหลักฐานฟุ่มเฟือยเกินสมควรตามป.วิ.พ.มาตรา86วรรคสองหรือไม่ก็ดีเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งตามสมควรแก่กรณีเป็นเรื่องๆไปการที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีเพราะไม่เชื่อว่าทนายจำเลยป่วยจริงเนื่องจากไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงและโจทก์คัดค้านกับสั่งงดสืบพยานจำเลยเพราะเห็นว่าฟุ่มเฟือยเกินไปเนื่องจากจำเลยได้สืบพยานอย่างเดียวกันมาแล้วเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายแล้ว โจทก์จำเลยพิพาทกันเรื่องเช่าทรัพย์แม้คดีจะมีประเด็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนอันจำเลยอาจนำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงอื่นที่มิได้ระบุไว้ในสัญญาเช่าได้ก็ตามแต่ก็ต้องนำสืบเท่าที่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การเมื่อจำเลยให้การต่อสู้ในเรื่องนี้เฉพาะข้อตกลงเรื่องทำถนนเชื่อมกับถนนพหลโยธินเท่านั้นมิได้กล่าวอ้างถึงเงื่อนไขข้อตกลงค่าถมดิน 150,000บาทว่าเป็นการตอบแทนการเช่าที่พิพาทข้อนำสืบของจำเลยจึงนอกประเด็นไม่ชอบที่ศาลจะรับฟัง จำเลยเช่าที่พิพาทจากโจทก์เพื่อทำกิจการค้าไม้แปรรูปแล้วทำถนนในที่พิพาทใช้สำหรับรถบรรทุกไม้แปรรูปเข้าออกอันเป็นประโยชน์ในกิจการค้าไม้ของจำเลยแม้โจทก์จะได้รับประโยชน์บ้างก็ไม่ทำให้สัญญาเช่าที่พิพาทเป็นสัญญาต่างตอบแทนเป็นพิเศษยิ่งไปกว่าสัญญาเช่าธรรมดา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: ศาลไม่อาจบังคับสัญญาต่างตอบแทน หากคำขอให้บังคับสัญญาถูกยก การชำระหนี้จึงเป็นสิทธิเรียกร้องใหม่
มูลกรณีเดิมโจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินตาม ส.ค.1 พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของโจทก์ ให้จำเลยดำเนินการรังวัดออกโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โอนให้โจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้อง และให้จำเลยรับชำระเงินที่ดินที่ค้างชำระอีก 14,800 บาทไปจากโจทก์ในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยให้การต่อสู้คดี ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้อง ให้ยกคำขออื่นนอกจากนี้จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยดำเนินการออกโฉนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ โดยให้จำเลยรับชำระราคาที่ดิน 14,800 บาทจากโจทก์ในวันจดทะเบียน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เป็นให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ คำขอของโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยดำเนินการออกโฉนดและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์นั้นเป็นการขอบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน หากศาลพิพากษาบังคับให้ตามที่โจทก์ขอ โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องชำระค่าที่พิพาท ซึ่งยังค้างชำระอีก 14,800 บาท แก่จำเลย แต่เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกคำขอของโจทก์ในข้อนี้เสียแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับโจทก์ชำระเงินค่าที่พิพาทที่เหลือโดยจำเลยมิได้ถูกบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายได้ เป็นเรื่องที่จำเลยจะไปฟ้องเรียกเอาจากโจทก์เป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่างตอบแทน: เจตนาผูกพันระยะยาวจากการยกสิ่งปลูกสร้าง
การที่จำเลยจะต้องยกอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าอีกโสดหนึ่งต่างหากจากค่าเช่าซึ่งมีเพียงเล็กน้อย ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่ามุ่งจะผูกพันกันเป็นเวลาถึงสิบปี โดยจำเลยต้องการเวลานาน ส่วนโจทก์ต้องการอาคารและสิ่งปลูกสร้างสัญญาเช่าจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาโจทก์จำเลยต้องผูกพันตามนั้น จะบอกเลิกสัญญาและขับไล่จำเลยก่อนครบกำหนดสิบปีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2338/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและหลักประกัน: ลักษณะสัญญาต่างตอบแทนและอายุความ 10 ปี
บริษัท อ. ทำสัญญากับโจทก์รวม 3 ฉบับโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ค้ำประกันสัญญาทั้ง 3 ฉบับระหว่างโจทก์และบริษัท อ. มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการผลประโยชน์ตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยบริษัท อ.ต้องการเก็บกำไรจากการซื้อหุ้นแต่บริษัทอ. ไม่มีเงินจึงขอเบิกเงินจากโจทก์ทำนองเบิกเงินเกินบัญชี เพื่อนำเงินไปซื้อหุ้นแต่ถ้าโจทก์จ่ายเงินให้บริษัท อ. ไปซื้อหุ้นด้วยตนเองแล้วโจทก์จะไม่มีหลักประกัน โจทก์จึงทำหน้าที่ซื้อหุ้นตามคำสั่งของบริษัท อ. เพื่อยึดใบหุ้นเป็นหลักประกันและตีราคามูลค่าหุ้นที่ยึดไว้เป็นหลักประกันเพียงร้อยละ75 ส่วนอีกร้อยละ 25 บริษัท อ. ต้องเอาเงินมาฝากเข้าบัญชีกับโจทก์ และถ้าหุ้นมีมูลค่าลดลงต่ำกว่าร้อยละ 75 บริษัท อ. ต้องเพิ่มเงินฝากเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 25 เพื่อให้โจทก์มีหลักประกันเต็มจำนวนร้อย ผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับตามสัญญาคือได้ดอกเบี้ยและค่าชักส่วนลด จากยอดเงินที่บริษัท อ.เป็นหนี้โจทก์ส่วนบริษัทอ. มีเงินเพียงร้อยละ 25 ก็สามารถซื้อหุ้นมีมูลค่าเต็มจำนวนร้อยเพื่อหวังเก็บกำไรได้ การที่โจทก์ซื้อหุ้นแทนบริษัท อ. นั้น. เป็นเพียงข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท อ. เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์เท่านั้นไม่อาจแยกออกเป็นเอกเทศได้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกหนี้ที่บริษัท อ. เป็นหนี้ตามสัญญาดังกล่าว จึงไม่เข้าลักษณะเอกเทศสัญญาในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 164 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2524)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1364/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าหน้าดินส่วนหนึ่งของค่าเช่า ไม่ทำให้เป็นสัญญาต่างตอบแทน
เงินค่าหน้าดินที่ผู้เช่าให้แก่ผู้ให้เช่า เพื่อผู้เช่าจะได้เช่าทรัพย์ เป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าเช่นเดียวกับเงินกินเปล่าไม่ทำให้เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าเช่าธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะของสัญญาและอายุความ สัญญาฝากทรัพย์ vs สัญญาต่างตอบแทน
สัญญารายพิพาทเรียกว่าสัญญารับฝากเก็บและสีแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นสัญญาระหว่างโจทก์ ซึ่งในสัญญาเรียกว่าผู้ฝากกับโรงสี ม. โดยจำเลยผู้เป็นเจ้าของและผู้จัดการ ซึ่งในสัญญาเรียกว่าผู้รับฝากเก็บและสีแปรสภาพข้าว โดยผู้รับฝากฯ ตกลงจะรับฝากเก็บและสีแปรสภาพข้าวเปลือกทุกชนิดของผู้ฝาก และผู้รับฝากจะส่งมอบข้าวกลับคืนให้แก่ผู้ฝากเป็นข้าวสารตามชนิด จำนวนและระยะเวลาที่คณะกรรมการสำรองข้าวสั่ง โดยผู้ฝากให้ประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้รับฝากเป็นต้นข้าวปลาย ข้าวและรำข้าวที่เหลือจากการส่งให้แก่ผู้ฝาก สัญญาเช่นนี้หาใช้สัญญาฝากทรัพย์ไม่ แต่เป็นสัญญาที่จำเลยตกลงรับฝากเก็บข้าวเปลือกไว้เพื่อสีแปรสภาพจนสำเร็จเป็นข้าวสารให้แก่โจทก์และโจทก์ตกลงให้ต้นข้าว ปลายข้าว และรำข้าวเป็นการตอบแทนที่จำเลยสีแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสารจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนประเภทหนึ่งซึ่ง ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164