คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ถอดถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6386/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: การถอดถอนผู้จัดการมรดกและคุณสมบัติของผู้จัดการมรดก
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกก็เพราะเหตุที่ผู้ร้องเห็นว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องและบุตรของผู้ร้องเท่านั้นและทรัพย์มรดกที่มีอยู่ทั้งหมดถูกระบุไว้ในพินัยกรรมแล้ว การไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกในกรณีเช่นนี้ยังไม่เป็นเหตุให้ถอนผู้จัดการมรดก การที่ผู้คัดค้านอ้างว่า ผู้ร้องโอนทรัพย์มรดกอันเป็นสินสมรสของผู้คัดค้านเป็นของตน เป็นการส่อไปในทางทุจริตนั้น คดีไม่มีประเด็นให้พิจารณาว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ผู้ร้องได้รับตามพินัยกรรมมีสินสมรสของผู้คัดค้านอยู่ด้วยหรือไม่ ผู้คัดค้านกับ ส. มิได้มีสิทธิในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมทั้งไม่มีประเด็นว่าทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมมีสินสมรสของผู้คัดค้านรวมอยู่ด้วยหรือไม่ จึงยังไม่มีเหตุผลสมควรจะตั้ง ส.เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องถอดถอนผู้จัดการทรัพย์สิน และการแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์สินใหม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอหรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ และแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ต่อไป จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ถอดถอนจำเลย และโจทก์ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทรวม2 ประเด็น คือ สมควรถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือไม่ เป็นประเด็นข้อแรก และสมควรตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือไม่ เป็นประเด็นข้อ 2 ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรและมีคำพิพากษาตั้งโจทก์เข้าร่วมเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ จึงเป็นการวินิจฉัยในข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบ และเป็นคำพิพากษาตามคำขอในประเด็นข้อ 2 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์ของผู้ไม่อยู่ร่วมกับจำเลย เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบ และเป็นการพิพากษาเกินคำขอ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบนั้น เป็นฎีกาเกี่ยวกับคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวนเป็นราคาเงินได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอดถอนและแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่เกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ และแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ต่อไป จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ถอดถอนจำเลย และโจทก์ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทรวม 2 ประเด็น คือ สมควรถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือไม่ เป็นประเด็นข้อแรกและสมควรตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือไม่เป็นประเด็นข้อ 2 ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรและมีคำพิพากษาตั้งโจทก์เข้าร่วมเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ จึงเป็นการวินิจฉัยในข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบ และเป็นคำพิพากษาตามคำขอในประเด็นข้อ 2 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์ของผู้ไม่อยู่ร่วมกับจำเลย เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบ และเป็นการพิพากษาเกินคำขอคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบนั้น เป็นฎีกาเกี่ยวกับคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอดถอนผู้จัดการมรดกที่จงใจละเลยหน้าที่ และการแต่งตั้งบุตรผู้ตายเป็นผู้จัดการมรดกแทน
การที่ผู้คัดค้านจงใจไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดก ภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดโดยมีพฤติการณ์ที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทอื่น ดังนี้เป็นเหตุสมควรถอดถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อยังมีทรัพย์มรดกของผู้ตาย เพื่อจัดการต่อไปภายหลังที่เพิกถอนผู้จัดการมรดกแล้ว เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นบุตรของผู้ตายทั้งไม่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 ผู้ร้องทั้งสองจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมูลนิธิผิดพลาดและการถอดถอนประธานกรรมการ กรณีไม่เรียกประชุมและละเลยหน้าที่ตามตราสาร
ผู้คัดค้านเป็นประธานกรรมการและผู้จัดการมูลนิธิ เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการย้ายทรัพย์สินและที่ทำการของมูลนิธิคณะกรรมการมูลนิธิจำนวน 4 คน ได้มีหนังสือขอให้ผู้คัดค้านเรียกประชุมวิสามัญ แต่ผู้คัดค้านไม่ยอมเรียกประชุมและเมื่อคณะกรรมการมูลนิธิมีหนังสือถึงนายทะเบียนมูลนิธิขอให้แจ้งผู้คัดค้านเรียกประชุมผู้คัดค้านก็ตอบ ปฏิเสธ เมื่อกรรมการและเหรัญญิกของมูลนิธิถึงแก่กรรม ผู้คัดค้านก็ไม่เรียกประชุมกรรมการเพื่อแต่งตั้งเหรัญญิกคนใหม่ ทำให้การเบิกจ่ายเงินของมูลนิธิไม่สามารถทำได้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องเรียกประชุมสามัญประจำปีผู้คัดค้านก็ไม่เรียกประชุมตามตราสารของมูลนิธิ ทำให้เกิดข้อขัดข้องในการบริหารงานของมูลนิธิ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการปฏิเสธการเรียกประชุมโดยไม่มีเหตุสมควรเป็นการจัดการผิดพลาด และเป็นการฝ่าฝืนข้อความแห่งตราสารก่อตั้งมูลนิธิ ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ถอด ถอนผู้คัดค้านออกจากตำแหน่งได้ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 91.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการร้องขอถอดถอนผู้จัดการมูลนิธิ กรณีจัดการผิดพลาดฝ่าฝืนตราสาร
แม้พนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอถอน พ. ออกจากการเป็นประธานกรรมการ และผู้จัดการมูลนิธิโดยมิได้แนบคำร้องของกรรมการมูลนิธิที่มีไปถึงพนักงานอัยการอันเป็นเหตุให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลแต่คำร้องดังกล่าวมิใช่เอกสารตามที่กฎหมายต้องการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 เพราะพนักงานอัยการมีอำนาจร้องขอต่อศาลได้โดยลำพังอยู่แล้ว ส่วนปัญหาว่าคำร้องของกรรมการมูลนิธิดังกล่าวจะเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้นหรือเป็นเท็จหรือไม่ ก็เป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา เมื่อตามคำร้องบรรยายถึงเหตุต่าง ๆ ที่ผู้คัดค้านในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิและเป็นผู้จัดการได้จัดการมูลนิธิผิดพลาดทำให้มูลนิธิเสื่อมเสียและฝ่าฝืนข้อความแห่งตราสาร โดยได้แนบสำเนาตราสารก่อตั้งมูลนิธิมาท้ายคำร้องด้วยแล้ว กับได้ขอให้ถอดถอนผู้คัดค้านออกจากตำแหน่งประธานกรรมการและขอให้แต่งตั้งผู้อื่นเป็นแทนดังนี้ สภาพแห่งคำร้องและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งคำร้องตลอดจนคำขอบังคับแจ้งชัดดีแล้ว ไม่เป็นคำร้องที่เคลือบคลุม พ. เป็นประธานกรรมการและผู้จัดการมูลนิธิไม่ยอมเรียกประชุมวิสามัญตามที่คณะกรรมการร้องขอ ทั้งที่มีเหตุต้องเลือกตั้งกรรมการอื่นทำหน้าที่เป็นเหรัญญิกแทนคนเดิมซึ่งถึงแก่กรรม กับมิได้เรียกประชุมสามัญประจำปีโดยไม่มีเหตุสมควรจึงเป็นการจัดการผิดพลาดและฝ่าฝืนข้อความแห่งตราสารก่อตั้งมูลนิธิ พนักงานอัยการมีสิทธิร้องขอให้ถอดถอน พ. ออกจากตำแหน่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 91.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต หากมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่รักษาผลประโยชน์ทายาท ศาลมีอำนาจถอดถอนได้
จำเลยเป็นผู้รับมรดกของ ย. ตามพินัยกรรม ย่อมมีส่วนได้เสียที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ย. ได้ เมื่อจำเลยมีสิทธิได้รับที่ดินของ ย. เพียง 30 ไร่ แต่จำเลยครอบครองทำนาอยู่ 130 ไร่ จำเลยไม่เคยทำบัญชีทรัพย์แจ้งให้ญาติพี่น้องทราบ ทั้งยังเคยฟ้องโจทก์ว่าลักข้าวของจำเลย และเหตุที่จำเลยนำคดีต่าง ๆ มาฟ้อง เพราะจำเลยประสงค์จะได้ที่ดินมากกว่าที่มีสิทธิ จำเลยจึงได้ชื่อ ว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อตัวการและมิได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนอันควรแก่การไว้วางใจของทายาท สมควรที่จะถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ย..

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกจัดการทรัพย์สินโดยมิชอบและแบ่งปันผลประโยชน์ไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจถอดถอนได้
ผู้คัดค้านและผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของผู้ตาย ปรากฏว่าผู้คัดค้านจัดการมรดกไปโดยที่ผู้ร้องมิได้รู้เห็นหรือได้รับความยินยอมจากทายาทอื่น และมิใช่กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน เป็นพฤติการณ์ส่อแสดงถึงผู้คัดค้านจัดการมรดกไปตามอำเภอใจ โดยมิได้ทำหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทหากยังคงให้เป็นผู้จัดการมรดกต่อไปอาจทำให้ผู้ร้องหรือทายาทอื่นได้รับความเสียหายได้ จึงมีเหตุสมควรถอดถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดก.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3419/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทบุตรบุญธรรม การถอดถอนผู้จัดการมรดก และการพิสูจน์สิทธิในกองมรดก
โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเป็นทายาทอันดับ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 จำเลยซึ่งเป็นบุตรน้องสาวของเจ้ามรดกเป็นทายาทอันดับ 3 ย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกรายนี้ แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินมรดกบางแปลงตั้งแต่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ ก็หาใช่มีส่วนได้เสียโดยตรงในทรัพย์มรดกไม่ แม้ศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่าจำเลยไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก โจทก์ที่ 2 ซึ่งพิสูจน์ฟังได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียฟ้องหรือร้องขอให้ศาลถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้และศาลย่อมมีอำนาจที่จะถอดถอนและสั่งตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแทนจำเลยได้
การที่โจทก์ที่ 2 ได้เบิกความชั้นศาลเป็นพยานโจทก์ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นว่าพินัยกรรมที่โจทก์ในคดีดังกล่าวนำสืบอ้างเป็นพยานในศาลนั้นเป็นพินัยกรรมอันแท้จริงของเจ้ามรดก และต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า พินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมปลอมก็ตาม แต่โจทก์ที่ 2 มิได้เป็นผู้ปลอมหรือใช้หรืออ้างพินัยกรรมปลอมนั้น จึงไม่ถือว่าโจทก์ที่ 2 ปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดกอันจะถูกกำจัดมิให้ได้มรดก
การร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก โจทก์เพียงแต่บรรยายถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันจำเป็นและสมควรจะต้องมีผู้จัดการมรดกเท่านั้น การที่ศาลจะตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกย่อมแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก และภายใต้บังคับบทบัญญัติที่ชี้แนวทางให้ศาลปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ไม่จำต้องเป็นบรรยายบทบังคับให้ศาลจำต้องปฏิบัติไว้ในฟ้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3419/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทบุตรบุญธรรม vs. ทายาทลำดับหลัง การถอดถอนผู้จัดการมรดก และการพิสูจน์สิทธิ
โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเป็นทายาทอันดับ1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 จำเลยซึ่งเป็นบุตรน้องสาวของเจ้ามรดกเป็นทายาทอันดับ 3 ย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกรายนี้แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินมรดกบางแปลงตั้งแต่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ ก็หาใช่มีส่วนได้เสียโดยตรงในทรัพย์มรดกไม่แม้ศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่าจำเลยไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก โจทก์ที่ 2ซึ่งพิสูจน์ฟังได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียฟ้องหรือร้องขอให้ศาลถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้และศาลย่อมมีอำนาจที่จะถอดถอนและสั่งตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแทนจำเลยได้
การที่โจทก์ที่ 2 ได้เบิกความชั้นศาลเป็นพยานโจทก์ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นว่าพินัยกรรมที่โจทก์ในคดีดังกล่าวนำสืบอ้างเป็นพยานในศาลนั้นเป็นพินัยกรรมอันแท้จริงของเจ้ามรดกและต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า พินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมปลอมก็ตามแต่โจทก์ที่ 2 มิได้เป็นผู้ปลอมหรือใช้หรืออ้างพินัยกรรมปลอมนั้น จึงไม่ถือว่าโจทก์ที่ 2 ปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดกอันจะถูกกำจัดมิให้ได้มรดก
การร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก โจทก์เพียงแต่บรรยายถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันจำเป็นและสมควรจะต้องมีผู้จัดการมรดกเท่านั้น การที่ศาลจะตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกย่อมแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและภายใต้บังคับบทบัญญัติที่ชี้แนวทางให้ศาลปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1718ไม่จำต้องเป็นบรรยายบทบังคับให้ศาลจำต้องปฏิบัติไว้ในฟ้องด้วย
of 4