คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ถอนสัญชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4744/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสัญชาติ: การพิจารณาความเป็นไทยของบุตรจากมารดาที่ถูกถอนสัญชาติ และอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) ที่ให้ถอนสัญชาติไทยแก่บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็นผู้ที่มาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดย ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองนั้น ข้อความที่ว่า"ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย" ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงคนต่างด้าวที่มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทย เพราะเป็นข้อความที่ใช้ถ้อยคำติดต่อกันตลอดไม่มีลักษณะที่จะให้เข้าใจได้ว่าต้องการจะให้แยกความหมายของคำว่า "เข้ามา" กับคำว่า "อยู่"ออกจากกันเหมือนดังที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 มาตรา 54 ที่ใช้คำว่า "เข้ามาหรืออยู่" ซึ่งเห็นได้ชัดว่าต้องการให้มีผลบังคับถึงคนต่างด้าวทั้งที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร กับที่อยู่ในราชอาณาจักรอยู่แล้วโดยมิได้เดินทางมาจากนอกราชอาณาจักรด้วย โดยที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3)เป็นกฎหมายที่มีลักษณะถอนสิทธิของบุคคลจึงต้องแปลความโดยเคร่งครัดดังนั้น กรณีของนาง ท. มารดาโจทก์ทั้งสามเกิดในราชอาณาจักรไทยแม้จะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ข้อ 1(3) กลายเป็นคนต่างด้าวและอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก็มิใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามความหมายแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสามเป็นบุตรนาง ท. และเกิดในราชอาณาจักรไทยจึงมิใช่บุคคลตามข้อ 1แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 แม้โจทก์ทั้งสามจะเกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับแล้วก็ไม่ต้องด้วยกรณีที่จะไม่ได้สัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ข้อ 2 โจทก์ทั้งสามจึงได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) และไม่ถูกถอนสัญชาติไทยโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1(3)
แม้จะปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์ระบุชื่อนาย ส. เป็นจำเลยโดยไม่ได้ระบุตำแหน่งของจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬมาด้วยก็ตามแต่การจะพิจารณาว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงข้อความในฟ้องประกอบกันด้วย ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยเป็นข้าราชการมีตำแหน่งเป็นนายอำเภอบึงกาฬจังหวัดหนองคาย เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้จดทะเบียนให้โจทก์เป็นคนสัญชาติไทยต่อจำเลย จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย จึงถือว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬแล้ว โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวไม่ ปรากฏว่าเมื่อบิดาของโจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยให้จดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสามเป็นคนสัญชาติไทย แต่จำเลยเพิกเฉยการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในเรื่องสัญชาติแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะนายอำเภอบึงกาฬให้จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3860/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทย แม้บิดามารดาถูกถอนสัญชาติภายหลัง สิทธิสัญชาติของบุตรยังคงอยู่
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า โจทก์ที่ 1 เป็นคนต่างด้าว ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นบุตร จึงถูกถอนสัญชาติไทยด้วย และไม่ยอมออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่โจทก์ที่ 4 ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิเรื่องสัญชาติของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 แล้ว โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5จึงมีอำนาจฟ้อง บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 นั้นจะต้องปรากฏว่าบุคคลนั้นมีบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยขณะที่เกิดนั้นโจทก์ที่ 1 ผู้เป็นมารดาเป็นคนสัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทยด้วย แม้ภายหลังโจทก์ที่ 1 ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ก็หาเป็นผลให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ต้องถูกถอนสัญชาติไทยไปด้วยไม่ การจะออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ผู้ใดนั้นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องพิจารณาว่าผู้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน มีหลักเกณฑ์ครบถ้วนตามกฎหมายเสียก่อนศาลจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นพนักงานผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่โจทก์ที่ 4 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ ต้องพิจารณาถึงสัญชาติบิดาในขณะที่บุตรเกิด แม้บิดาถูกถอนสัญชาติในภายหลัง
การที่บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 นั้น ประการแรกจะต้องปรากฏว่าบุคคลนั้นมีบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีของโจทก์ ในขณะที่เกิดโจทก์เป็นบุตรของมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าว แต่โจทก์มีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้โจทก์จึงไม่อาจถูกถอนสัญชาติไทยด้วยกรณีที่ มารดา โจทก์เป็นคนต่างด้าว ป. บิดาโจทก์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2473 ที่จังหวัดนครพนม จึงเป็นบุคคลสัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.สัญชาติที่ใช้อยู่ในขณะนั้นและโจทก์ทั้งหกเป็นบุคคลสัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2515 อันเป็นวันที่ประกาศของคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับดังนั้นขณะที่โจทก์ทุกคนเกิดป. บิดาโจทก์ยังมีสัญชาติไทยอยู่ แม้ต่อมา ป. บิดาโจทก์จะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ก็ไม่มีบทบัญญัติให้ถอนสัญชาติไทยของโจทก์ด้วย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่า โจทก์เป็นบุคคลต่างด้าว โจทก์จึงเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสัญชาติและการออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหลังถูกถอนสัญชาติไทย
โจทก์เกิดในราชอาณาจักร ไทย จึงมีสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) แม้โจทก์จะใช้สัญชาติของบิดาโดยขอบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ แต่โจทก์ก็ยังคงมีสัญชาติไทย เพราะยังมิได้มีการถอนสัญชาติตามมาตรา 17 วรรคท้าย ต่อมาโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2514 เมื่อโจทก์เสียสัญชาติไทยจึงต้องไปขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากนายทะเบียนท้องที่ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 8 จำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนท้องที่จึงมีหน้าที่ต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยและการขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหลังถูกถอนสัญชาติ
โจทก์เกิดในราชอาณาจักรไทยจึงมีสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) แม้โจทก์จะใช้สัญชาติของบิดาโดยขอบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ แต่โจทก์ก็ยังคงมีสัญชาติไทย เพราะยังมิได้มีการถอนสัญชาติตามมาตรา 17 วรรคท้าย ต่อมาโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13ธันวาคม 2514 เมื่อโจทก์เสียสัญชาติไทยจึงต้องไปขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากนายทะเบียนท้องที่ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 8 จำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนท้องที่จึงมีหน้าที่ต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสัญชาติและการออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว กรณีบุคคลเกิดในไทยและถูกถอนสัญชาติ
โจทก์เกิดในราชอาณาจักร ไทย จึงมีสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) แม้โจทก์จะใช้สัญชาติของบิดาโดยขอบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ แต่โจทก์ก็ยังคงมีสัญชาติไทย เพราะยังมิได้มีการถอนสัญชาติตามมาตรา 17 วรรคท้าย ต่อมาโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13ธันวาคม 2514 เมื่อโจทก์เสียสัญชาติไทยจึงต้องไปขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากนายทะเบียนท้องที่ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 8 จำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนท้องที่จึงมีหน้าที่ต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยของบุตรจากมารดาชาวญวนอพยพ และบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จะเกิดในราชอาณาจักรไทยและได้สัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่ามีบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิด โจทก์ที่1 ซึ่งเป็นมารดาเป็นคนต่างด้าวสัญชาติญวน และเป็นคนญวนอพยพเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 ดังนั้นโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513-1514/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ: สัญชาติไทยยึดตามสัญชาติบิดา ณ เวลาเกิด แม้บิดาถูกถอนสัญชาติภายหลัง
จำเลยเป็นบุตรของมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ปรากฏบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจถูกถอนสัญชาติไทยด้วยกรณีของมารดาได้ ส่วนบิดาของจำเลยและจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรและจำเลยเกิดในขณะที่บิดาจำเลยมีสัญชาตไทย ดังนี้แม้ต่อมาในภายหลังบิดาจำเลยจะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จำเลยก็หาถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวด้วยไม่
ในคดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเกิดเมื่อใด ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยกรณีบิดามารดาเข้ามาในไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายคนเข้าเมือง และผลกระทบต่อสิทธิในการมีสัญชาติ
จำเลยมีคำสั่งให้นายทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองนครพนมแก้ไขสัญชาติของโจทก์ในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านจากสัญชาติไทยเป็นญวน และนายอำเภอท้องถิ่นเทศบาลเมืองนครพนมได้ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยแล้ว แม้การออกคำสั่งของจำเลยดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่และระเบียบแบบแผนของทางราชการ จะไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม ก็เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ต้นฉบับเอกสารที่เจ้าพนักงานทำขึ้นส่งต่อศาลโดยตรง ไม่ต้องมีพยานบุคคลเข้าเบิกความรับรอง ศาลก็รับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93
ขณะโจทก์ที่ 1 เกิด บิดามารดาของโจทก์ที่ 1 ไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พุทธศักราช 2480 มาตรา 29 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า บิดามารดาของโจทก์ที่ 1 เข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดยมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง จึงถือว่าขณะที่โจทก์ที่ 1 เกิด บิดามารดาของโจทก์ที่ 1 เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 (3) โจทก์ที่ 1 จึงถูกถอนสัญชาติไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้สัญชาติไทยตามกฎหมายและผลกระทบของการถอนสัญชาติจากกรณีมารดาเป็นชาวต่างด้าว
การที่จำเลยจำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านและมีหนังสือแจ้งไปยังนายทะเบียนคนญวนอพยพ โดยอ้างว่าโจทก์ทั้งเจ็ดถูกถอนสัญชาติไทยเป็นเหตุให้นายทะเบียนคนญวนอพยพแจ้งให้โจทก์ไปทำทะเบียนประวัติคนญวนอพยพเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
บ.บิดาโจทก์เป็นคนมีสัญชาติไทย จดทะเบียนสมรสในประเทศไทยกับมารดาโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตและเกิดบุตรคือโจทก์ในราชอาณาจักรไทยดังนี้โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2408มาตรา 7(1)(3) และมิใช่กรณีที่โจทก์เกิดจากมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมิใช่บุคคลที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1(3)
of 5