คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ถอนเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดธนาคาร: การเปิดบัญชีปลอมและการถอนเงินทั้งหมด
โจทก์ฟ้องว่า ส. พนักงานของโจทก์ปลอมหนังสือรับรองของโจทก์ไปขอเปิดบัญชีเงินฝากในนามโจทก์กับธนาคารจำเลย จำเลยกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบหลักฐานด้วยความระมัดระวัง กับไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบและวิธีการของธนาคารได้อนุมัติให้เปิดบัญชี ซึ่ง ส.ได้นำเช็คที่มีผู้สั่งจ่ายให้โจทก์ไปเข้าบัญชีหลายครั้ง และถอนออกจากบัญชีไปหมดสิ้นแล้วเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ดังนี้ ฟ้องของโจทก์มิใช่เป็นการฟ้องเรียกร้องติดตามเอาทรัพย์สินของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 เพราะเงินจำนวนดังกล่าวได้ถูกถอนออกจากบัญชีไปหมดสิ้นแล้ว ไม่มีทรัพย์สินของโจทก์อยู่กับจำเลยอีกแต่อย่างใด แต่ฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปีตามมาตรา 448

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการเปิดบัญชีปลอมและการถอนเงินโดยมิชอบ โจทก์ต้องฟ้องภายใน 1 ปี
โจทก์ฟ้องว่า ส. พนักงานของโจทก์ปลอมหนังสือรับรองของโจทก์ไปขอเปิดบัญชีเงินฝากในนามโจทก์กับธนาคารจำเลย จำเลยกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบหลักฐานด้วยความระมัดระวังกับไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบและวิธีการของธนาคาร ได้อนุมัติให้เปิดบัญชี ซึ่ง ส. ได้นำเช็คที่มีผู้สั่งจ่ายให้โจทก์ไปเข้าบัญชีหลายครั้ง และถอนออกจากบัญชีไปหมดสิ้นแล้ว เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ดังนี้ ฟ้องของโจทก์มิใช่เป็นการฟ้องเรียกร้องติดตามเอาทรัพย์สินของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 เพราะเงินจำนวนดังกล่าวได้ถูกถอนออกจากบัญชีไปหมดสิ้นแล้ว ไม่มีทรัพย์สินของโจทก์อยู่กับจำเลยอีกแต่อย่างใดแต่ฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 448.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2274/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงเอาสมุดเงินฝากของตนเองคืนจากเจ้าหนี้ ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง เพราะเจ้าหนี้ไม่สามารถถอนเงินได้จริง
จำเลยกู้เงินโจทก์ไป 20,000 บาท ตกลงผ่อนชำระคืนเดือนละ 4,000 บาท ในการนี้จำเลยมอบสมุดเงินฝากสะสมทรัพย์ของจำเลยพร้อมด้วยใบมอบฉันทะให้ถอนเงิน 5 ฉบับ ๆ ละ 4,000 บาท ให้แก่โจทก์ เพื่อโจทก์ไปเบิกเงินมาชำระหนี้ดังกล่าว แม้ต่อมาจำเลยจะหลอกลวงโจทก์จนโจทก์หลงเชื่อมอบสมุดเงินฝากของจำเลยให้แก่จำเลยไป แต่จำเลยมีอำนาจสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามใบมอบฉันทะให้ถอนเงินได้ทุกเมื่อทั้งยังปรากฏว่าในขณะที่จำเลยหลอกลวงเอาสมุดเงินฝากคืนไปจากโจทก์นั้น เงินในบัญชีธนาคารของจำเลยมีจำนวนไม่ถึง 4,000 บาท โจทก์ย่อมไม่อาจถอนเงินตามใบมอบฉันทะดังกล่าวได้ แม้โจทก์จะมีสมุดเงินฝากของจำเลยและจำเลยไม่สั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินก็ตาม การที่จำเลยหลอกลวงเอาสมุดเงินฝากของจำเลยเองไปจากโจทก์จึงไม่ทำให้จำเลยได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ และไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2274/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงเอาสมุดเงินฝากของตนเองคืนจากเจ้าหนี้ ไม่ถือว่าฉ้อโกง เพราะเจ้าหนี้ไม่สามารถถอนเงินได้จริง
จำเลยกู้เงินโจทก์ไป 20,000 บาท ตกลงผ่อนชำระคืนเดือนละ4,000 บาท ในการนี้จำเลยมอบสมุดเงินฝากสะสมทรัพย์ของจำเลยพร้อมด้วยใบมอบฉันทะให้ถอนเงิน 5 ฉบับ ๆ ละ 4,000 บาท ให้แก่โจทก์เพื่อโจทก์ไปเบิกเงินมาชำระหนี้ดังกล่าว แม้ต่อมาจำเลยจะหลอกลวงโจทก์จนโจทก์หลงเชื่อมอบสมุดเงินฝากของจำเลยให้แก่จำเลยไปแต่จำเลยมีอำนาจสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามใบมอบฉันทะให้ถอนเงินได้ทุกเมื่อทั้งยังปรากฏว่าในขณะที่จำเลยหลอกลวงเอาสมุดเงินฝากคืนไปจากโจทก์นั้น เงินในบัญชีธนาคารของจำเลยมีจำนวนไม่ถึง 4,000 บาท โจทก์ย่อมไม่อาจถอนเงินตามใบมอบฉันทะดังกล่าวได้ แม้โจทก์จะมีสมุดเงินฝากของจำเลยและจำเลยไม่สั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินก็ตาม การที่จำเลยหลอกลวงเอาสมุดเงินฝากของจำเลยเองไปจากโจทก์จึงไม่ทำให้จำเลยได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ และไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4293/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อในการถอนเงิน-จ่ายเช็ค ธนาคารไม่มีความผิด
จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นศึกษาธิการจังหวัดและผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดตามลำดับ ได้ลงชื่อในใบถอนเงินฝากของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดที่ฝากประจำไว้กับธนาคารจำเลยที่ 4 เพื่อโอนเข้าบัญชีกระแสรายวันของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งมีอยู่แล้วที่ธนาคารจำเลยที่ 4 ทั้งนี้เพื่อปฏิบัติตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการโจทก์ที่ 1 ว่าด้วยการจัดการกองทุนสงเคราะห์ ฯลฯ โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 มอบฉันทะให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการครูช่วยปฏิบัติงานสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้รับเงินแทนแต่ใบถอนเงินดังกล่าวมิได้ระบุว่า เป็นการถอนเงินเพื่อโอนไปฝากในบัญชีกระแสรายวัน จึงเป็นใบถอนเงินเพื่อรับเงินสดไปจากธนาคาร แม้จำเลยที่ 2 จะได้ทำหนังสือแจ้งธนาคารจำเลยที่ 4 ขอถอนเงินกองทุนสงเคราะห์ฯ ในบัญชีเงินฝากประจำโอนเข้าบัญชีกระแสรายวันมอบให้จำเลยที่ 1 ไปก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นหนังสือดังกล่าวต่อธนาคาร เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับเงินแล้วก็หลบหนีไป การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เพราะเป็นช่องทางให้จำเลยที่ 1 ทุจริตเอาเงินที่ถอนไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวได้โดยง่าย เนื่องจากธนาคารจำเลยที่ 4 ต้องจ่ายเป็นเงินสดให้จำเลยที่ 1 นอกจากนี้การมอบฉันทะให้จำเลยที่ 1 ไปถอนเงินเป็นจำนวนมากถึงหกแสนบาทเศษ จำเลยที่ 2 ที่ 3 กลับมอบฉันทะให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเงินแต่ผู้เดียว จึงเป็นความประมาทเลินเล่อยิ่งขึ้น แม้ตามระเบียบจำเลยที่ 2 ที่ 3 มีหน้าที่ไปถอนเงินด้วยตนเอง เพราะมีอำนาจหน้าที่ลงนามเป็นผู้ถอนเงิน จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็อาจมอบฉันทะให้ผู้อื่นทำการแทนได้ แต่จะต้องควบคุมดูแล และใช้วิธีการที่รัดกุม รอบคอบ เพื่อป้องกันมิให้เกิดการทุจริตขึ้นได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 กระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เปิดช่องให้จำเลยที่ 1 ถอนเงินแล้วเอาเงินสดหลบหนีไปโดยทุจริต จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
สำหรับธนาคารจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้จัดการประจำสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 6 สมุห์บัญชีนั้น ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้นำใบถอนเงินซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 มอบฉันทะโดยถูกต้องแล้วมายื่นต่อธนาคารเพื่อขอรับเงินสด โดยมิได้ยื่นหนังสือของจำเลยที่ 2 ที่ให้นำเงินเข้าฝากในบัญชีกระแสรายวัน การที่จำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 6 จ่ายเงินสดให้จำเลยที่ 1 ไป จึงเป็นการกระทำตามหน้าที่ มิได้ประมาทเลินเล่อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4293/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่ในการถอนเงินและจ่ายเงินสด ทำให้เกิดการทุจริตและโจทก์ได้รับความเสียหาย
จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นศึกษาธิการจังหวัดและผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดตามลำดับ ได้ลงชื่อในใบถอน เงินฝากของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดที่ฝากประจำไว้กับธนาคารจำเลยที่ 4เพื่อโอนเข้าบัญชีกระแสรายวันของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งมีอยู่แล้วที่ธนาคารจำเลยที่ 4 ทั้งนี้เพื่อปฏิบัติตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการโจทก์ที่ 1 ว่าด้วยการจัดการกองทุนสงเคราะห์ ฯลฯโดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 มอบฉันทะให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการครูช่วย ปฏิบัติงานสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้รับเงินแทน แต่ใบถอน เงินดังกล่าวมิได้ระบุว่า เป็นการถอน เงินเพื่อโอนไปฝากในบัญชีกระแสรายวัน จึงเป็นใบถอน เงินเพื่อรับเงินสดไปจากธนาคาร แม้จำเลยที่ 2 จะได้ทำหนังสือแจ้งธนาคารจำเลยที่ 4 ขอถอน เงินกองทุนสงเคราะห์ฯ ในบัญชีเงินฝากประจำโอนเข้าบัญชีกระแสรายวันมอบให้จำเลยที่ 1 ไปก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นหนังสือดังกล่าวต่อธนาคาร เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับเงินแล้วก็หลบหนีไปการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เพราะเป็นช่องทางให้จำเลยที่ 1 ทุจริตเอาเงินที่ถอน ไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวได้โดยง่าย เนื่องจากธนาคารจำเลยที่ 4 ต้องจ่ายเป็นเงินสดให้จำเลยที่ 1 นอกจากนี้การมอบฉันทะให้จำเลยที่ 1 ไปถอน เงินเป็นจำนวนมากถึงหกแสน บาทเศษ จำเลยที่ 2 ที่ 3 กลับมอบฉันทะให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเงินแต่ผู้เดียว จึงเป็นความประมาทเลินเล่อยิ่งขึ้น แม้ตามระเบียบจำเลยที่ 2 ที่ 3 มีหน้าที่ไปถอน เงินด้วยตนเอง เพราะมีอำนาจหน้าที่ลงนามเป็นผู้ถอน เงิน จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็อาจมอบฉันทะให้ผู้อื่นทำการแทนได้แต่จะต้องควบคุมดูแล และใช้วิธีการที่รัดกุม รอบคอบ เพื่อป้องกันมิให้เกิดการทุจริตขึ้นได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 กระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เปิดช่องให้จำเลยที่ 1 ถอน เงินแล้วเอาเงินสดหลบหนีไปโดยทุจริต จำเลยที่ 2ที่ 3 จึงกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย สำหรับธนาคารจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้จัดการประจำสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 6 สมุห์บัญชีนั้นปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้นำใบถอน เงินซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 มอบฉันทะโดยถูกต้องแล้วมายื่นต่อธนาคารเพื่อขอรับเงินสด โดยมิได้ยื่นหนังสือของจำเลยที่ 2 ที่ให้นำเงินเข้าฝากในบัญชีกระแสรายวันการที่จำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 6 จ่ายเงินสดให้จำเลยที่ 1 ไป จึงเป็นการกระทำตามหน้าที่ มิได้ประมาทเลินเล่อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4293/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการประมาทเลินเล่อในการถอนเงินกองทุนสงเคราะห์ฯ และความรับผิดของธนาคาร
จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นศึกษาธิการจังหวัดและผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดตามลำดับ ได้ลงชื่อในใบถอนเงินฝากของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดที่ฝากประจำไว้กับธนาคารจำเลยที่ 4เพื่อโอนเข้าบัญชีกระแสรายวันของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งมีอยู่แล้วที่ธนาคารจำเลยที่ 4 ทั้งนี้เพื่อปฏิบัติตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการโจทก์ที่ 1 ว่าด้วยการจัดการกองทุนสงเคราะห์ ฯลฯ โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 มอบฉันทะให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการครูช่วยปฏิบัติงานสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้รับเงินแทนแต่ใบถอนเงินดังกล่าวมิได้ระบุว่า เป็นการถอนเงินเพื่อโอนไปฝากในบัญชีกระแสรายวัน จึงเป็นใบถอนเงินเพื่อรับเงินสดไปจากธนาคาร แม้จำเลยที่ 2 จะได้ทำหนังสือแจ้งธนาคารจำเลยที่ 4 ขอถอนเงินกองทุนสงเคราะห์ฯ ในบัญชีเงินฝากประจำโอนเข้าบัญชีกระแสรายวันมอบให้จำเลยที่ 1 ไปก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นหนังสือดังกล่าวต่อธนาคาร เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับเงินแล้วก็หลบหนีไป การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เพราะเป็นช่องทางให้จำเลยที่ 1 ทุจริตเอาเงินที่ถอนไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวได้โดยง่าย เนื่องจากธนาคารจำเลยที่ 4 ต้องจ่ายเป็นเงินสดให้จำเลยที่ 1 นอกจากนี้การมอบฉันทะให้จำเลยที่ 1 ไปถอนเงินเป็นจำนวนมากถึงหกแสนบาทเศษ จำเลยที่ 2 ที่ 3 กลับมอบฉันทะให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเงินแต่ผู้เดียว จึงเป็นความประมาทเลินเล่อยิ่งขึ้น แม้ตามระเบียบจำเลยที่ 2 ที่ 3 มีหน้าที่ไปถอนเงินด้วยตนเอง เพราะมีอำนาจหน้าที่ลงนามเป็นผู้ถอนเงิน จำเลยที่2 ที่ 3 ก็อาจมอบฉันทะให้ผู้อื่นทำการแทนได้ แต่จะต้องควบคุมดูแล และใช้วิธีการที่รัดกุม รอบคอบ เพื่อป้องกันมิให้เกิดการทุจริตขึ้นได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 กระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เปิดช่องให้จำเลยที่ 1 ถอนเงินแล้วเอาเงินสดหลบหนีไปโดยทุจริต จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
สำหรับธนาคารจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้จัดการประจำสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 6 สมุห์บัญชีนั้น ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้นำใบถอนเงินซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 มอบฉันทะโดยถูกต้องแล้วมายื่นต่อธนาคารเพื่อขอรับเงินสด โดยมิได้ยื่นหนังสือของจำเลยที่ 2 ที่ให้นำเงินเข้าฝากในบัญชีกระแสรายวัน การที่จำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 6 จ่ายเงินสดให้จำเลยที่ 1 ไป จึงเป็นการกระทำตามหน้าที่ มิได้ประมาทเลินเล่อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดต่อการถอนเงินปลอมแปลงจากบัญชีเงินฝาก แม้โจทก์มอบหมายพนักงานดูแลบัญชี
การที่โจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายบัญชีและการเงินของโจทก์ดูแลสมุดบัญชีนับว่าเป็นเรื่องปกติ มิได้หมายความว่าบุคคลที่ได้รับมอบหมายจะต้องปฏิบัติหน้าที่โดยชอบเสมอไป จะไม่มีการทุจริตแต่อย่างใด การที่โจทก์มอบหมายสมุดเงินฝากไว้แก่จำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาท
จำเลยที่ 5 จะมีลายมือชื่อของลูกค้าไว้เปรียบเทียบเพื่อตรวจสอบได้และเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 5 จะต้องตรวจสอบความถูกต้องเนื่องจากจำเลยที่ 5 เป็นผู้รับฝากเงินเป็นอาชีพและได้รับผลประโยชน์จากการประกอบธุรกิจดังกล่าว เพราะต้องเกี่ยวข้องกับประชาชนที่เข้าใช้บริการกับจำเลยที่ 5 ด้วยเหตุที่เป็นอาชีพและปริมาณลูกค้าจำนวนมาก จำเลยที่ 5 ย่อมต้องมีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้ารวมทั้งโจทก์ และเมื่อพิจารณาลายมือชื่อของ ม. กับ ร. ตามใบถอนเงินแล้วจะเห็นได้ว่าไม่เหมือนกับลายมือชื่อของ ม. และ ร. ที่ให้ไว้เป็นตัวอย่างแก่จำเลยที่ 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำที่ไม่เคยมีการถอนเงินมาก่อน และในการถอนเงินครั้งแรกเป็นการมอบอำนาจให้รับเงิน แต่ไม่ปรากฏว่ามีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของ ม. และ ร. และการจ่ายเงินทุกครั้งก็จ่ายเป็นเงินสด เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่า หากจำเลยที่ 5 ปฏิบัติหน้าที่อย่างระมัดระวังเหตุทั้งหมดจะเกิดขึ้นไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จำเลยที่ 5 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเพียงพนักงานของจำเลยที่ 5 ถือเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 5 มิได้เป็นผู้กระทำละเมิดโดยตรงต่อโจทก์ หากแต่เป็นการกระทำโดยตรงต่อจำเลยที่ 5 เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 5 จะดำเนินการกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะต้องรับผิดทั้งต่อโจทก์และจำเลยที่ 5 ในการกระทำความผิดครั้งเดียว ย่อมทำให้ต้องรับผิดเกินกว่าความเสียหายจริง แต่จำเลยที่ 5 มิได้นำเงินของโจทก์ไป หากแต่จำเลยที่ 1 เอาเงินของจำเลยที่ 5 ไป จำเลยที่ 5 เพียงแต่ต้องปรับแก้บัญชีของโจทก์ที่ระบุว่ามีการถอนเงินออกไปให้กลับคืนเหมือนเดิม และเงินดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 5 การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14102/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาวางเงินชดใช้ค่าเสียหายเพื่อขอรอการลงโทษ แม้ศาลไม่อนุญาต ก็ไม่มีสิทธิถอนเงินคืน
การที่ระหว่างฎีกา จำเลยยื่นคำร้องขอวางเงิน 20,000 บาท ต่อศาลชั้นต้นเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย แสดงว่าจำเลยวางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายโดยมีเจตนาที่จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในคำร้องของจำเลยให้นัดพร้อมเพื่อสอบถามผู้เสียหายว่าประสงค์จะรับเงินจำนวนดังกล่าวหรือไม่แล้ว ทั้งฎีกาของจำเลยก็อ้างเหตุที่จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เพื่อบรรเทาความเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย เป็นเหตุหนึ่งที่ขอให้ศาลฎีการอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยด้วย เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้จำเลยมีภาระต้องเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัว หรือมีเหตุอื่นดังที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกา ก็มิใช่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษให้แก่จำเลยเท่ากับศาลฎีกาได้วินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยพยายามบรรเทาความเสียหายด้วยการวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายแล้ว ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการตามคำร้องของจำเลยที่ขอวางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายและศาลฎีกานำข้อเท็จจริงตามคำร้องดังกล่าวมาวินิจฉัยฎีกาของจำเลยแล้ว แม้ศาลชั้นต้นเพิ่งออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้นหลังจากที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้วก็ตาม แต่การวางเงินเพื่อให้ผู้เสียหายมารับไปย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยจะไม่ถอนเงินดังกล่าวกลับไป หากผู้เสียหายยังประสงค์จะรับเงินนั้น เมื่อต่อมาปรากฏตามคำร้องของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายประสงค์จะรับเงินจำนวนดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะขอถอนเงินที่วางต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวคืนไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8870/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเพื่อเปิดบัญชีและถอนเงิน ทำให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลและธนาคาร
จำเลยปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ร่วมเพื่อขอให้เปิดบัญชีออมทรัพย์กับธนาคารโดยใช้ชื่อโจทก์ร่วมในคำขอเปิดบัญชีและปลอมตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในคำขอเปิดบัญชีตามเอกสารหมาย จ.1 แล้วนำไปยื่นต่อพนักงานธนาคาร ทำให้ธนาคารหลงเชื่อว่าเป็นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากของโจทก์ร่วม จึงออกสมุดเงินฝากในนามของโจทก์ร่วมให้ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมและใช้เอกสารปลอม
ส่วนการที่จำเลยนำแบบพิมพ์ใบถอนเงินของธนาคารรวม 15 ฉบับ มากรอกข้อความโดยเขียนชื่อโจทก์ร่วมในช่องชื่อบัญชี เขียนเลขที่บัญชี จำนวนเงิน และลงลายมือชื่อปลอมของโจทก์ร่วมในช่องเจ้าของบัญชีและช่องผู้รับเงิน แล้วนำใบถอนเงินดังกล่าวไปยื่นต่อพนักงานของธนาคาร ทำให้พนักงานของธนาคารหลงเชื่อว่าเป็นใบถอนเงินที่แท้จริงจึงจ่ายเงินให้จำเลยไป แม้ว่าโจทก์ร่วมจะมิได้เปิดบัญชีตามเอกสารหมาย จ.1 และเงินในบัญชีดังกล่าวมิใช่เงินของโจทก์ร่วม ซึ่งโจทก์ร่วมอาจจะไม่ได้รับความเสียหายต่อทรัพย์สินโดยตรงก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับหลักฐานทางการเงินในนามของโจทก์ร่วมในระบบบัญชีธนาคารดังกล่าวให้แตกต่างไปจากความเป็นจริง อันจะเป็นผลให้โจทก์ร่วมและธนาคารดังกล่าวเสียชื่อเสียงไม่ได้รับความเชื่อมั่นไว้วางใจในสังคมและในการประกอบธุรกิจ อันเป็นประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมและธนาคารแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอมรวม 15 กระทง
of 3