คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ถึงแก่ความตาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 233 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับบุตรหลังผู้ให้ความยินยอมถึงแก่ความตาย ศาลอนุญาตได้ตามกฎหมาย
เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว กรณีจึงเป็นเรื่องที่บุคคลทั้งสองไม่อาจให้ความยินยอมในการที่ผู้ร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 1548 วรรคสาม ผู้ร้องไม่อาจกระทำได้โดยวิธีอื่นนอกจากดำเนินการทางศาล ในเมื่อบุคคลที่จะต้องให้ความยินยอมในการขอจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีผู้ใดยังมีชีวิตอยู่เช่นนี้ ผู้ร้องก็ชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลจดทะเบียนรับบุตรเมื่อผู้ให้ความยินยอมถึงแก่ความตาย
ด.มารดาของช.และช. ผู้เป็นบุตรถึงแก่ความตายแล้ว ไม่อาจให้ความยินยอมในการที่ผู้ร้องขอจดทะเบียนรับ ช. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 วรรคสาม ผู้ร้องไม่อาจกระทำได้โดยวิธีอื่นนอกจากดำเนินการทางศาล ในเมื่อบุคคลที่จะต้องให้ความยินยอมในการขอจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีผู้ใดยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องจึงชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้พิพากษาว่า ช. เป็นบุตรผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในคดีทำร้ายร่างกายถึงแก่ความตาย: การแบ่งแยกความผิดของผู้ใช้อาวุธปืนและผู้ร่วมทำร้าย
จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้ตาย และจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แต่จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้ตายและผู้ตายถึงแก่ความตายโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่รู้ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนไปด้วย ฉะนั้น จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายต้องรับผิดฐานฆ่าผู้ตายเป็นการเฉพาะตัวส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้ตายมาแต่ต้นจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคหนึ่งมิใช่มีความผิดตามมาตรา 295 ดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามาแต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาจึงแก้ไขเพียงปรับบทลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 เสียให้ถูกต้อง แต่ไม่อาจเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8973/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีละเมิดอำนาจศาลเนื่องจากผู้ถูกกล่าวหาถึงแก่ความตาย
ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลในการพิจารณาคดีอาญา ผู้ถูกกล่าวหาถึงแก่ความตาย กรณีถือได้ว่าเป็นเรื่องความมรณะของผู้ถูกกล่าวหา ยังให้คดีไม่มีประโยชน์ต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 (3) ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ให้จำหน่ายคดีจากสารบบความศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5828/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมแต่ไม่เจตนาฆ่า
++ เรื่อง ความผิดต่อชีวิต ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยที่ 1 ได้ใช้ไม้ท่อนเหลี่ยมขนาดยาวประมาณ 46 เซนติเมตร กว้างประมาณ 8 เซนติเมตร หนาประมาณ4.5 เซนติเมตร ตีทำร้ายร่างกายนายยศฟ้า แก้วสีสม ผู้ตาย ที่บริเวณศีรษะด้วยเจตนาฆ่า นายยศฟ้าผู้ตายได้รับบาดเจ็บจนกะโหลกศีรษะแตก สมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงถึงแก่ความตายสมเจตนาของจำเลยที่ 1
++ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาหรือไม่
++ ได้ความจากคำเบิกความของนายกิติพงษ์ รัตนพจน์ พยานโจทก์ตอบถามค้านทนายจำเลยว่า ก่อนที่ผู้ตายจะถูกทำร้ายถึงแก่ความตายนั้น จำเลยทั้งสองมาที่บ้านพยานผู้ตายก็มาและได้ชกต่อยกับจำเลยที่ 1 พยานช่วยห้ามแล้วต่างก็แยกย้ายกันกลับโดยผู้ตายกับเพื่อนกลับไปก่อน หลังจากนั้นประมาณ 5ถึง 10 นาที จำเลยทั้งสองก็ขับรถจักรยานยนต์ตามไป ต่อมาทราบว่ามีการฆ่ากันตาย นายสุทธิชัย เภาโพธิ์ เบิกความเป็นพยานโจทก์ว่า ในวันเกิดเหตุขับรถจักรยานยนต์ไปเที่ยวกับผู้ตาย ในตอนกลับได้แวะเยี่ยมเพื่อนที่บ้านที่เกิดเหตุ มีจำเลยทั้งสองขับรถจักรยานยนต์ตามมาแล้วตะโกนเข้ามาว่าอย่าเพิ่งไปไหน หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองได้ขับรถกลับไปก่อน ต่อมาจำเลยทั้งสองได้ขับรถจักรยานยนต์มาอีกพร้อมด้วยไม้หน้าสาม ยาวประมาณ 1 ศอก หนาประมาณ 5 เซนติเมตร คนซ้อนท้ายคือจำเลยที่ 1เป็นคนถือไม้ดังกล่าวเข้ามาตีผู้ตาย และได้ความจากคำเบิกความของนายสุทธิชัยและนายถาวร เกตุสีพรม พยานโจทก์ ซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุตรงกันว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ตีทำร้ายร่างกายผู้ตายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์หลบหนีไปพร้อมกับจำเลยที่ 2
++ เห็นว่า พยานโจทก์ไม่เคยมีสาเหตุกับจำเลยที่ 2 มาก่อน จึงไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่าจะกลั่นแกล้งเบิกความใส่ร้ายจำเลยที่ 2 เชื่อว่าเบิกความตามที่รู้เห็นจริง ดังปรากฏว่ารายละเอียดในข้อเท็จจริงส่วนใหญ่ที่ได้ความจากคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ก็เจือสมกับข้อนำสืบของโจทก์ ทั้งในเรื่องการชกต่อยของจำเลยที่ 1กับผู้ตายก็สอดคล้องตรงกับคำเบิกความของนายกิติพงษ์ดังกล่าวข้างต้นแม้กระทั่งการไปมาของจำเลยทั้งสองในวันเกิดเหตุก็ตรงกัน ว่าจำเลยที่ 2ร่วมไปกับจำเลยที่ 1 โดยตลอด จึงรับรู้รับทราบเหตุการณ์ที่จำเลยที่ 1ได้กระทำลงไปโดยใกล้ชิด พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ถูกผู้ตายชกต่อยเป็นเหตุการณ์ที่เกิดต่อหน้าจำเลยที่ 2
++ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ไปกับจำเลยที่ 1 โดยปรากฏว่าเมื่อตามไปพบผู้ตายอยู่ที่บ้านเกิดเหตุแล้วตะโกนบอกว่าอย่าเพิ่งไปไหน หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองมาด้วยกันมีไม้เป็นอาวุธสำหรับใช้ทำร้ายผู้ตายติดตัวมาด้วย แสดงว่าจำเลยที่ 2 ได้รู้และมีเจตนาร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ที่จะทำร้ายผู้ตาย เท่านั้น
++ ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 สมคบคิดกับจำเลยที่ 1 ถึงกับจะมาฆ่าผู้ตาย และจำเลยที่ 2 ไม่อาจคาดคิดหรือเล็งเห็นผลว่า จำเลยที่ 1จะตีผู้ตายอย่างรุนแรงจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
++ พฤติการณ์เช่นนี้ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้ตายด้วย
++ เมื่อผลการทำร้ายเป็นเหตุทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 ++
++ พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 83 ลงโทษจำคุก 9 ปี คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 6 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษามาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3337/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ลดโทษจากความพยายามช่วยเหลือและบรรเทาผลร้าย ไม่ริบของกลาง
จำเลยให้ผู้ตายดื่มสารพิษที่บ้านพักของผู้ตาย ความผิดอาญาที่จำเลยกระทำเกิดขึ้นที่บ้านพักของผู้ตาย ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของสถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง ส่วนที่ผู้ตายถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาล พ. เป็นผลของการกระทำผิดความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำนาจพนักงานสอบสวนคนใด โดยปกติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนผู้นั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนความผิดนั้น ๆ เพื่อดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสาม พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดอนเมืองมีอำนาจสอบสวน
ถ้วยกาแฟและช้อนกาแฟของกลางเป็นของใช้ประจำบ้านผู้ตายส่วนสารพิษของกลางเป็นทรัพย์สินของโรงพยาบาล ร. มิใช่ทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าทำหรือมีไว้เป็นความผิด จึงมิใช่ทรัพย์ที่ต้องริบเสียทั้งสิ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32
จำเลยเป็นผู้นำผู้ตายไปส่งโรงพยาบาลและพยายามบอกความจริงให้แพทย์ผู้รักษาทราบว่าผู้ตายกินสารพิษโคลชิซินเพื่อแพทย์จะได้รักษาผู้ตายได้ถูกต้องทั้งจำเลยให้ผู้ตายรับประทานเม็ดคาร์บอนเพื่อช่วยดูดซึมสารพิษในร่างกายของผู้ตายให้หมดไป แสดงว่าจำเลยได้พยายามช่วยชีวิตผู้ตายอย่างเต็มความสามารถประกอบกับจำเลยได้ออกค่ารักษาพยาบาลผู้ตายตลอดมาโดยมุ่งหมายให้ผู้ตายรอดชีวิตอันเป็นการพยายามบรรเทาผลร้าย จึงมีเหตุอันควรปรานีลงโทษสถานเบา
จำเลยรับราชการที่โรงพยาบาล ร. ตั้งแต่ 2525 ปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 5 แสดงว่าจำเลยมีคุณงามความดีมาก่อน จำเลยกระทำผิดเนื่องจากความหึงหวงผู้ตายที่ไปมีหญิงอื่น หลังจากเกิดเหตุจำเลยพยายามบรรเทาผลร้ายอย่างสุดความสามารถเท่าที่จะทำได้นอกจากนี้ไม่ปรากฏว่าเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงสมควรให้โอกาสจำเลยได้กลับตัวเป็นคนดีโดยรอการลงโทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลแก้โทษฐานทำร้ายร่างกาย ไม่ใช่ฆ่า
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดสองกรรมต่างกันคือฐานทำร้ายร่างกายผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายกระทงหนึ่งและฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนาอีกกระทงหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์นำเอาการตายของผู้ตายซึ่งโจทก์บรรยายฟ้อง ว่าเป็นผลอันเกิดจากการกระทำความผิดกระทงหลัง ซึ่งศาลชั้นต้น ยกฟ้องและยุติไปแล้วมารับฟังว่าเป็นผลอันเกิดจากการกระทำ ของจำเลยกับพวกในความผิดกระทงแรก และพิพากษาลงโทษ จำเลยฐานร่วมกันทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 เป็นการพิพากษาในข้อที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องสำหรับความผิด กระทงแรก ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยกับพวกได้รุมทำร้ายร่างกายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ เกิดอันตรายแก่กายอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ตามฟ้องกระทงแรก แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องใน ความผิดกระทงแรกว่าจำเลย แต่ผู้เดียวทำร้ายร่างกายผู้ตาย และ ตามทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยร่วมกับพวกทำร้ายร่างกายผู้ตายด้วยเป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียด ทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ และ แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288,289 โดยมิได้ขอให้ลงโทษตามมาตรา 295 มาด้วย ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 295 ได้เพราะถือได้ว่า เป็นความผิดที่รวมอยู่ในบทมาตราที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสามและวรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีอาญาหลังโจทก์ร่วมถึงแก่ความตาย และการวินิจฉัยอุทธรณ์ที่เกินกรอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 288 โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาของผู้ตาย จึงเข้าจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 5 (2) แต่เมื่อโจทก์ร่วมถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา ทายาทของโจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ถึงแก่ความตายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 29 แห่ง ป.วิ.อ.
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ส.ทายาทของโจทก์ร่วมเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 29 การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.ที่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ดังกล่าวฟังไม่ขึ้น ก็เป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ปัญหาข้อนี้แม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องโดยมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นและคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
จำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้ตาย ขณะผู้ตายวิ่งหนี การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7547/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาจากการใช้เรือโดยประมาทและโดยเจตนา จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 (ข) โดยสรุปว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันดัดแปลงต่อเติมเรือเอี้ยมจุ๊นซึ่งมิใช่เรือที่ทำขึ้นสำหรับขนส่งคนโดยสารโดยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและไม่ได้มาตราฐานโดยต่อเติมชั้นสองของเรือเป็นดาดฟ้า ให้บรรทุกขนส่งคนโดยสารได้ ส่วนของโครงหลังคาชั้นสองมีเสาเหล็กรองรับ 17 ต้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว พื้นดาดฟ้าชั้นสองเป็นเหล็กแผ่นเรียบ หนาประมาณ 1 หุน ยึดติดกับเสาเหล็กไม่แข็งแรง คานรับดาดฟ้าเล็ก และ ดาดฟ้าสูงจากพื้นชั้นล่าง 2.10 เมตร ซึ่งสูงเกินไปไม่สามารถบรรทุกคนโดยสารได้อย่างปลอดภัย และไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ ที่เจ้าพนักงานกรมเจ้าท่าจะออกใบอนุญาตใช้เรือให้เป็นเรือรับจ้างขนส่งคนโดยสารได้ และตามวันเวลาในฟ้องข้อ 1 จำเลยทั้งห้าใช้เรือลำเกิดเหตุบรรทุกคนโดยสารมากถึง 70 คน ซึ่งลักษณะและการบรรทุกน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือแล้วแล่นไปในบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ และการกระทำของจำเลยทั้งห้า เป็นความประมาทปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งจำเลยทั้งห้าจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ แต่จำเลยทั้งห้าหาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เมื่อดาดฟ้าชั้นสองไม่สามารถรับน้ำหนักคนโดยสารเป็นจำนวนมากหักลง เรือเสียการทรงตัวและพลิกคว่ำเป็นเหตุให้คนโดยสารจมน้ำตาย 39 คน ดังนี้ คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและ รายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งห้าเข้าใจข้อหาได้ดี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 233 และ องค์ประกอบของการกระทำโดยประมาทตามมาตรา 59 วรรคสี่ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้การตกลงว่าจ้างเรือทั้งสองลำกระทำในคราวเดียวกัน และมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน แต่เรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีนี้กับเรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่นเป็นเรือคนละลำกัน สามารถแยกการกระทำออกจากกันได้ กรณีจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฉะนั้นแม้ศาลฎีกา จะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่น โจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 ในคดีนี้ หาเป็นฟ้องซ้ำไม่
เรือโท ส. และเรือเอก ช. พยานโจทก์ทั้งสองจบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ หลักสูตร 5 ปี เรือโท ส. รับราชการ ที่กรมเจ้าท่าในตำแหน่ง เจ้าพนักงานตรวจเรือเป็นเวลาประมาณ 3 ปี มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจเรือมาโดยตลอด ส่วนเรือเอก ช. รับราชการเป็นเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 มีตำแหน่งเป็นเจ้าพนักงานตรวจเรือตั้งแต่ปี 2510 ถึง 2530 พยานทั้งสอง จึงเป็นผู้ชำนาญการพิเศษในการตรวจเรือ ความเห็นของพยานทั้งสองจึงเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดและ มีน้ำหนักให้รับฟังได้
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมทุนกันซื้อเรือลำเกิดเหตุซึ่งเป็นเรือเอี่ยมจุ๊นมาต่อเติมดัดแปลงเป็นสองชั้นเพื่อรับจ้าง ขนส่งคนโดยสารไปชมทิวทัศน์ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ โดยจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ยื่นขอใบอนุญาตใช้เรือต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ดูแลเขื่อนอุบลรัตน์ จำเลยที่ 3 มีหน้าที่จัดหาผู้โดยสารเรือ จำเลยที่ 4 มีหน้าที่ออกแบบต่อเติมเรือ และได้ว่าจ้าง จำเลยที่ 1 ควบคุมเรือลำเกิดเหตุซึ่งมีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้นไปใช้รับจ้างขนส่งผู้โดยสารด้วยการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 233 ประกอบด้วยมาตรา 83 เมื่อการกระทำนั้นเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 238 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างขนส่งโดยสารโดยเจตนาจนน่าจะเกิดอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 233 กรณีไม่ใช่การกระทำโดยประมาทตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสี่ ซึ่งจะต้องเป็นการกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แม้ผลแห่งการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย อันนอกเหนือจากเจตนาที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลก็ตาม แต่ ป.อ. มาตรา 238 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับโทษหนักขึ้นในผลแห่งการกระทำความผิดตามมาตรา 233 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย กรณีเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดจนไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องถูกรับโทษในบทมาตราดังกล่าวด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7547/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาจากการใช้เรือโดยประมาทและเจตนาจนน่าเกิดอันตราย เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1(ข) โดยสรุปว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันดัดแปลงต่อเติมเรือเอี้ยมจุ๊นซึ่งมิใช่เรือที่ทำขึ้นสำหรับขนส่งคนโดยสารโดยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและไม่ได้มาตรฐานโดยต่อเติมชั้นสองของเรือเป็นดาดฟ้าให้บรรทุกขนส่งคนโดยสารได้ ส่วนของโครงหลังคาชั้นสองมีเสาเหล็กรองรับ 17 ต้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว พื้นดาดฟ้าชั้นสองเป็นเหล็กแผ่นเรียบ หนาประมาณ 1 หุน ยึดติดกับเสาเหล็กไม่แข็งแรง คานรับดาดฟ้าเล็ก และดาดฟ้าสูงจากพื้นชั้นล่าง 2.10 เมตร ซึ่งสูงเกินไปไม่สามารถบรรทุกคนโดยสารได้อย่างปลอดภัยและไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานกรมเจ้าท่าจะออกใบอนุญาตใช้เรือให้เป็นเรือรับจ้างขนส่งคนโดยสารได้และตามวันเวลาในฟ้องข้อ 1 จำเลยทั้งห้าใช้เรือลำเกิดเหตุบรรทุกคนโดยสารมากถึง 70 คน ซึ่งลักษณะและการบรรทุกน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือ แล้วแล่นไปในบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์และการกระทำของจำเลยทั้งห้าเป็นความประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งจำเลยทั้งห้าจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ แต่จำเลยทั้งห้าหาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เมื่อดาดฟ้าชั้นสองไม่สามารถรับน้ำหนักคนโดยสารเป็นจำนวนมากหักลง เรือเสียการทรงตัวและพลิกคว่ำเป็นเหตุให้คนโดยสารจมน้ำตาย 39 คน ดังนี้ คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งห้าเข้าใจข้อหาได้ดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 233 และองค์ประกอบของการกระทำโดยประมาทตามมาตรา 59 วรรคสี่ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้การตกลงว่าจ้างเรือทั้งสองลำกระทำในคราวเดียวกันและมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน แต่เรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีนี้กับเรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่น เป็นเรือคนละลำกัน สามารถแยกการกระทำออกจากกันได้กรณีจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฉะนั้น แม้ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่น โจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2และที่ 4 ในคดีนี้ หาเป็นฟ้องซ้ำไม่
พยานโจทก์ทั้งสองจบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ หลักสูตร 5 ปี เรือโท ส. รับราชการที่กรมเจ้าท่าในตำแหน่ง เจ้าพนักงานตรวจเรือเป็นเวลาประมาณ 3 ปี มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจเรือมาโดยตลอด ส่วนเรือเอก ช. รับราชการเป็นเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 มีตำแหน่งเป็นเจ้าพนักงานตรวจเรือตั้งแต่ปี 2510 ถึง 2530 พยานทั้งสองจึงเป็นผู้ชำนาญการพิเศษในการตรวจเรือความเห็นของพยานทั้งสองจึงเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดและมีน้ำหนักให้รับฟังได้
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมทุนกันซื้อเรือลำเกิดเหตุซึ่งเป็นเรือเอี้ยมจุ๊นมาต่อเติมดัดแปลงเป็นเรือสองชั้นเพื่อรับจ้างขนส่งคนโดยสารไปชมทิวทัศน์ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ โดยจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ยื่นขอใบอนุญาตใช้เรือต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ดูแลเขื่อนอุบลรัตน์ จำเลยที่ 3มีหน้าที่จัดหาผู้โดยสารเรือ จำเลยที่ 4 มีหน้าที่ออกแบบต่อเติมเรือและได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ควบคุมเรือลำเกิดเหตุซึ่งมีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น ไปใช้รับจ้างขนส่งคนโดยสารด้วยการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 ประกอบด้วยมาตรา 83เมื่อการกระทำนั้นเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 238 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างขนส่งคนโดยสารโดยเจตนาจนน่าจะเกิดอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 กรณีไม่ใช่กระทำโดยประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ ซึ่งจะต้องเป็นการกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แม้ผลแห่งการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายอันนอกเหนือจากเจตนาที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 238 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับโทษหนักขึ้นในผลแห่งการกระทำความผิดตามมาตรา 233จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายอีกบทหนึ่ง
of 24