พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6499/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจเพียงครั้งเดียวถูกต้องตามกฎหมาย และผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจฟ้องแย้งได้
หนังสือมอบอำนาจระบุว่าจำเลยมอบอำนาจให้ว. ดำเนินคดีนี้แทนและระบุเลขคดีชื่อศาลกับชื่อคู่ความไว้โดยให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในทางจำหน่ายสิทธิเช่นยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้องการถอนฟ้องการประนีประนอมจอมความการสละสิทธิการใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาการขอให้พิจารณาใหม่รวมทั้งมีอำนาจรับเอกสารคืนจากศาลการแต่งตั้งตัวแทนช่วงเพื่อการนี้ด้วยเป็นการที่จำเลยมอบอำนาจให้ว.ดำเนินคดีแทนเฉพาะคดีนี้ถือว่ามอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียวต้องปิดอากรแสตมป์10บาทตามประมวลรัษฎากรมาตรา118และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ7(ก) การที่จำเลยมอบอำนาจให้ว. มีอำนาจดำเนินกระบวนการพิจารณาแทนตามหนังสือมอบอำนาจย่อมหมายถึงให้มีอำนาจในการต่อสู้คดีซึ่งรวมถึงมีอำนาจฟ้องแย้งมาในคำให้การได้ด้วยและผู้รับมอบอำนาจย่อมตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2559/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย และผลผูกพันจากการยินยอมชำระภาษี
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าการประเมินของเจ้าพนักงานชอบแล้ว คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ชอบที่จะยกอุทธรณ์ของโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยหักลดเงินภาษีที่โจทก์ได้ชำระแล้วให้เพราะว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะวินิจฉัยหักหรือลดให้เฉพาะแต่ในกรณีที่เห็นว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องเท่านั้น ส่วนเงินที่โจทก์ไม่ได้โต้แย้งและชำระภาษีไปบางส่วนแล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้รับชำระภาษีจากโจทก์ที่จะทำการหักและลดให้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3545/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขายฝากที่ดิน: เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงและผลของการบังคับคดีที่ถูกต้อง
ศ. ปลูกสร้างตึกแถวพิพาทในที่ดินโดยมีข้อสัญญากับ น.ว่าเมื่อก่อสร้างเสร็จและ ศ. ได้รับเงินช่วยค่าก่อสร้างจากผู้เช่า ศ. จะยกตึกแถวพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ น.เมื่อขณะปลูกสร้างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกับ น.ในขณะนั้น รู้เห็นยินยอมให้ น. ทำสัญญาดังกล่าว ต้องถือว่า น.มีสิทธิที่จะให้ก่อสร้างตึกแถวในที่ดินส่วนที่เป็นของจำเลยที่ 1ได้โดยไม่ถือว่าตึกแถวพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 เมื่อ ศ. ก่อสร้างตึกแถวพิพาทเสร็จและจดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์ให้ น. น.จึงเป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทแต่เพียงผู้เดียว เมื่อ น. ถึงแก่กรรมและทำพินัยกรรมยกตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาท และจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ใช่เจ้าของตึกแถวพิพาทไม่มีอำนาจทำสัญญาขายฝากนิติกรรมขายฝากตึกแถวพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยร่วมจึงไม่มีผลบังคับ จำเลยร่วมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาท ศาลย่อมมีอำนาจเพิกถอนนิติกรรมขายฝากตึกแถวพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบุคคลต่างด้าว: การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรโดยชอบด้วยกฎหมาย
คนต่างด้าวจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522มาตรา 81 ต้องอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการอนุญาตสิ้นสุดหรือถูกเพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2027/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งขายทอดตลาดที่ถูกต้องตามกฎหมาย เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการที่จำเลยแจ้งไว้
จำเลยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า จำเลยได้หยุดกิจการชั่วคราวไม่มีคนอยู่ หากมีเรื่องต้องแจ้งแก่จำเลยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งไปยังที่อยู่แห่งใหม่ เป็นกรณีที่จำเลยประสงค์ถือเอาสถานที่ตามคำร้องเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการของจำเลยในการดำเนินคดีนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 49เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องแจ้งการขายทอดตลาดไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการของจำเลย การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการขายทอดตลาดให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดประกาศ ณ ภูมิลำเนาตามที่ปรากฏในทะเบียนหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัททั้งที่ได้รับคำร้องแจ้งภูมิลำเนาเฉพาะการก่อนหน้านั้นแล้ว เป็นการแจ้งที่ไม่ชอบถือไม่ได้ว่ามีการแจ้งการขายทอดตลาดแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 306 การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5519/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีหลังการแบ่งส่วนราชการ และการรับฟังพยานเอกสาร การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
พ.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี 7 ได้รับคำสั่งกรมสรรพากรให้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบและประเมินภาษีอากรประจำสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 8 อันเป็นสำนักงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2515 ย่อมถือว่าเป็นเจ้าพนักงานประเมินผู้ได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 121) เรื่อง ประกาศยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากร ที่กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปเป็นเจ้าพนักงานประเมิน การแบ่งส่วนราชการภายในของกรมสรรพากรเป็นเรื่องการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพในปัจจุบันไม่กระทบถึงอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบภาษีที่ทำต่อเนื่องกันมา ดังนั้น เมื่อกองภาษีการค้าซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับภาษีของโจทก์ถูกยุบเลิกไป โดยมีการจัดตั้งสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ขึ้นมาแทน และปรากฏว่าภูมิลำเนาและสถานที่ประกอบการค้าของโจทก์อยู่ภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 7 แต่กรมสรรพากรมีคำสั่งให้ ว.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีภายในของโจทก์อยู่เดิมมีอำนาจตรวจสอบภาษีของโจทก์ต่อไป แม้ ว.จะได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีของสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 8 ก็มีอำนาจตรวจสอบภาษีของโจทก์ได้ ภาพถ่ายจากต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในความอารักขาหรือในความควบคุมของทางราชการเป็นสำเนาเอกสารที่ต้องมีบุคคลดังที่ระบุไว้ในมาตรา 93(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งรับรองความถูกต้องจึงจะรับฟังได้ แต่เมื่อจำเลยอ้างส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลโดยโจทก์มิได้คัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารไม่มี หรือเอกสารนั้นปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องเช่นนี้ ศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 โจทก์มีรายได้จากการประกอบกิจการ แต่ไม่มีหลักฐานแสดงการจ่ายของโจทก์ ซึ่งต้องถือว่าโจทก์มีเงินกำไรสุทธิที่จะต้องเสียภาษีตามจำนวนที่เป็นรายรับของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินนำข้อมูลจากหน่วยงานที่ควบคุมการทำงานของโจทก์มาคำนวณกำไรสุทธิด้วยการหักค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์รวมจำนวนถึงร้อยละ 80ซึ่งเป็นการกระทำโดยมีเหตุสมควรและเป็นธรรมแก่โจทก์เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจกระทำได้ โจทก์เพิกเฉยไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีของจำเลยเมื่อถูกประเมินก็ไม่ยอมมารับผลการประเมินโดยอ้างว่าสถานที่ประกอบการค้าของโจทก์ไม่ได้อยู่ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 8 จึงไม่ไปรับทราบผลการประเมินเช่นนี้ ย่อมไม่มีเหตุจะงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4924/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย: คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานได้
เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท อ. โจทก์นำมาถือเป็นรายจ่ายโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และไม่ปรากฏว่าการจ่ายเงินจำนวนนี้ โจทก์ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ได้พิจารณาลดเงินเพิ่มให้เหลือเพียงร้อยละ 10 แห่งเงินภาษีที่ต้องเสีย ซึ่งนับว่าเป็นคุณแก่โจทก์มากอยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะงดเงินเพิ่ม
เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน196,719.80 บาท มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงถือเป็นเงินได้ของโจทก์และคำนวณภาษีและเงินเพิ่มให้โจทก์เสียรวม 70,818.88 บาท แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าเงินจำนวน 196,719.80 บาทนี้ เจ้าพนักงานประเมินนำไปคำนวณภาษีโดยถือเป็นเงินได้ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นภาษีที่โจทก์ถูกหักณ ที่จ่ายตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะเอาไปเครดิตภาษีได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้ เมื่อปรากฏว่าเงินจำนวนนี้เป็นเงินภาษีที่โจทก์ถูกหัก ณ ที่จ่ายก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2516 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเอามาเครดิตภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2516 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงวินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีในจำนวนที่เอาไปเครดิตไม่ได้เป็นเงิน 196,719.80 บาทซึ่งมากกว่าจำนวนที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียนั้น ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน 196,719.80 บาท ดังกล่าวนั้นได้มีการโต้แย้งกันมาแต่ชั้นเจ้าพนักงานประเมินตลอดมาจนถึงชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แก้ไขโดยคิดให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิได้เอาเงินได้อื่นมาคำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการประเมินเรียกเก็บเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่น หรือใช้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำได้
เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน196,719.80 บาท มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงถือเป็นเงินได้ของโจทก์และคำนวณภาษีและเงินเพิ่มให้โจทก์เสียรวม 70,818.88 บาท แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าเงินจำนวน 196,719.80 บาทนี้ เจ้าพนักงานประเมินนำไปคำนวณภาษีโดยถือเป็นเงินได้ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นภาษีที่โจทก์ถูกหักณ ที่จ่ายตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะเอาไปเครดิตภาษีได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้ เมื่อปรากฏว่าเงินจำนวนนี้เป็นเงินภาษีที่โจทก์ถูกหัก ณ ที่จ่ายก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2516 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเอามาเครดิตภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2516 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงวินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีในจำนวนที่เอาไปเครดิตไม่ได้เป็นเงิน 196,719.80 บาทซึ่งมากกว่าจำนวนที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียนั้น ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน 196,719.80 บาท ดังกล่าวนั้นได้มีการโต้แย้งกันมาแต่ชั้นเจ้าพนักงานประเมินตลอดมาจนถึงชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แก้ไขโดยคิดให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิได้เอาเงินได้อื่นมาคำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการประเมินเรียกเก็บเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่น หรือใช้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4924/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายเพื่อบริการต่างประเทศ และการเครดิตภาษีหัก ณ ที่จ่าย การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์มิได้จ่ายเงินให้บริษัทต่างประเทศเพื่อเป็นค่าบริการสำหรับกิจการของโจทก์ จึงมิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์และมิใช่การจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ ไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เงินภาษี หัก ณ ที่จ่าย ที่โจทก์ถูกหักไว้ตามมาตรา 69 ทวิแห่งประมวลรัษฎากรโจทก์มีสิทธิเอาไปเครดิตภาษีได้เฉพาะในรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้เท่านั้น เมื่อโจทก์ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่ถูกประเมิน โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเอามาเครดิตภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถูกประเมิน การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีในจำนวนที่เอาไปเครดิตไม่ได้ด้วยรวมเป็นเงินภาษีมากกว่าที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียเป็นเพียงการคิดภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายมิได้เอาเงินได้อื่นมาคำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษี จึงมิใช่การประเมินเรียกเก็บเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่น หรือใช้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษี คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้น: การเลื่อนวันประชุมไม่ทำให้การบอกกล่าวเป็นโมฆะ หากการบอกกล่าวครั้งแรกถูกต้องตามกฎหมาย
หนังสือบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นที่ได้ออกในคราวแรกได้กำหนดระเบียบวาระการประชุม วันเวลาและสถานที่ประชุมโดยได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าเกินกว่า 7 วัน นับถึงวันนัดประชุมถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทแล้ว แม้ต่อมาจะได้มีการเลื่อนวันประชุมออกไปจากกำหนดเดิม โดยวันที่ออกหนังสือแจ้งกำหนดเปลี่ยนแปลงวันประชุม และวันที่ผู้ถือหุ้นได้รับหนังสือดังกล่าวจะมีเวลาน้อยกว่า 7 วัน นับถึงวันนัดประชุมใหม่ที่เลื่อนออกไปก็ตาม ก็ต้องถือว่าการบอกกล่าวเรียกประชุมครั้งนี้ได้มีการแจ้งถึงผู้ถือหุ้นตั้งแต่คราวแรกแล้ว หนังสือแจ้งกำหนดเปลี่ยนแปลงวันเวลาประชุมดังกล่าวเป็นแต่เพียงการแจ้งเปลี่ยนแปลงวันเวลาประชุมตามหนังสือที่แจ้งเดิมเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีถูกต้องตามกฎหมาย แม้ส่งหมายเรียก/หนังสือแจ้งทางตู้ไปรษณีย์ และโจทก์ไม่ปฏิบัติตาม
โจทก์เช่าตู้ไปรษณีย์ของที่ทำการไปรษณีย์ไว้ ซึ่งโจทก์จะต้องมารับหนังสือที่ส่งถึงโจทก์จากตู้ที่เช่านั้น เมื่อผู้จัดการของโจทก์ได้รับหมายเรียกซึ่งจำเลยส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปจากที่ทำการไปรษณีย์นั้นแล้วถือได้ว่าเป็นการส่งหมายเรียกโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถูกต้องชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ไม่จำต้องนำไปส่งที่สำนักงานของโจทก์
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกให้โจทก์ไปพบกับให้นำบัญชีและเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีไปส่งมอบเพื่อไต่สวนและตรวจสอบแต่โจทก์ไม่ยอมไปพบและไม่ส่งเอกสาร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีได้โดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินเจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินภาษีการค้าโดยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา 87(3) ประกอบด้วยมาตรา 87 ทวิ (8) กรณีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 88
โจทก์เช่าตู้ไปรษณีย์ไว้ ในการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์พนักงานไปรษณีย์ได้เก็บคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นไว้ โดยออกหนังสือแจ้งความให้โจทก์ทราบเมือ่วันที่ 3 เมษายน 2529ต่อมาโจทก์มอบให้คนของโจทก์มารับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2529 ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30วันคือภายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2529 แต่ปรากฏว่าวันที่ 10 และ11 เป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องในวันที่12 พฤษภาคม 2529 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161.
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกให้โจทก์ไปพบกับให้นำบัญชีและเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีไปส่งมอบเพื่อไต่สวนและตรวจสอบแต่โจทก์ไม่ยอมไปพบและไม่ส่งเอกสาร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีได้โดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินเจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินภาษีการค้าโดยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา 87(3) ประกอบด้วยมาตรา 87 ทวิ (8) กรณีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 88
โจทก์เช่าตู้ไปรษณีย์ไว้ ในการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์พนักงานไปรษณีย์ได้เก็บคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นไว้ โดยออกหนังสือแจ้งความให้โจทก์ทราบเมือ่วันที่ 3 เมษายน 2529ต่อมาโจทก์มอบให้คนของโจทก์มารับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2529 ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30วันคือภายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2529 แต่ปรากฏว่าวันที่ 10 และ11 เป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องในวันที่12 พฤษภาคม 2529 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161.