พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5943/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์, อายุความ, การทดรองจ่าย, และความรับผิดของตัวการ
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยได้ทำคำขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับโจทก์และแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์แทนจำเลย แล้วโจทก์ได้ซื้อขายหลักทรัพย์ให้จำเลยหลายครั้ง เมื่อหักทอนบัญชีกันแล้วจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามจำนวนที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ทวงถามแล้ว จำเลยไม่ชำระ โดยได้แนบสำเนารายละเอียดการสั่งซื้อหุ้น การสั่งขายหุ้น ยอดเงินสุทธิการซื้อขายให้แก่จำเลยเป็นเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นมูลแห่งคำฟ้องไว้ เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง
ตามสัญญาตั้งตัวแทนเอกสารหมาย จ.4 ขณะนั้นโจทก์ใช้ชื่อว่า" บริษัทไทยค้าหลักทรัพย์ จำกัด" ต่อมาโจทก์ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "บริษัทหลักทรัพย์ไทยค้า จำกัด" การทำเอกสารตั้งตัวแทนตามเอกสารหมาย จ.16 ขึ้นใหม่ จึงเป็นเพราะโจทก์เปลี่ยนชื่อใหม่นั่นเอง ถือไม่ได้ว่าการตั้งตัวแทนตามเอกสารหมาย จ.4ได้สิ้นสุดลงไปแล้ว แต่เป็นการยืนยันตั้งโจทก์ซึ่งเปลี่ยนชื่อใหม่ให้เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ให้จำเลยต่อไปเช่นเดิม แม้ทั้งเอกสารหมาย จ.4 หรือ จ.16 มิได้กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ต้องแจ้ง หรือมีหนังสือเลิกสัญญาเป็นตัวแทนกับโจทก์แต่การเลิกสัญญาต้องกระทำด้วยการแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยหรือโจทก์ได้แสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง และไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยกับโจทก์ได้เลิกสัญญากันโดยปริยาย สัญญาตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังไม่เลิกกัน จนกระทั่งโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระเงินส่วนที่ขาดอยู่ตามหนังสือทวงถามจึงถือได้ว่าโจทก์เพิ่งบอกเลิกสัญญาตัวแทนกับจำเลยในวันที่จำเลยได้รับหนังสือทวงถาม ฉะนั้นการที่โจทก์ทำการเป็นตัวแทนให้จำเลยในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในช่วงเวลาที่จำเลยแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนจนถึงวันบอกเลิกสัญญา การกระทำดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนกระทำแทนตัวการภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนตามที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยซึ่งเป็นตัวการ จำเลยจึงต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดจากการดำเนินการดังกล่าวให้แก่โจทก์ การที่โจทก์เคยเรียกให้จำเลยไปชำระเงินเพิ่ม แต่จำเลยแจ้งว่าไม่มีเงินที่จะชำระ โจทก์จึงได้ทำการขายหุ้นที่โจทก์สั่งซื้อให้จำเลยเพื่อชำระค่าหุ้น ยังไม่พอแสดงว่ามีการหักกลบลบหนี้กันเสร็จสิ้นไปแล้ว
วิธีปฏิบัติระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการปฏิบัติต่อกันตามสัญญาตัวแทน โดยจำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ โดยให้โจทก์จ่ายเงินทดรองแทนจำเลยไปก่อน โจทก์ได้ผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ยจากเงินที่ทดรองจ่ายแทนจำเลย และในการขายหุ้นตามคำสั่งของจำเลย เมื่อขายได้กำไรก็หักภาษี กำไรที่เหลือมอบให้จำเลย และในการที่โจทก์ซื้อขายแทนจำเลยโจทก์ได้รับค่าธรรมเนียมจากจำเลย วัตถุประสงค์ของโจทก์จำเลยจึงเป็นการค้าเก็งกำไรจากราคาหุ้นที่ขึ้นลง มากกว่าประสงค์จะลงทุนอย่างแท้จริง เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์จำเลยมิได้ยึดถือเอาระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ที่ว่าจำเลยต้องวางเงินประกันร้อยละ 30 ของวงเงินที่จำเลยมีสิทธิสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นในแต่ละวัน หากซื้อเกินจำนวนเงินดังกล่าว จำเลยก็จะต้องส่งเงินประกันร้อยละ 30 ภายใน 7 วัน มาเป็นสาระสำคัญของสัญญา ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จำเลยจะได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าวหรือไม่ก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามหลักฐานที่โจทก์นำสืบ จำเลยก็ต้องรับผิดต่อโจทก์
คดีนี้เป็นเรื่องตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ออกทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 816ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา164 เดิม ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อจำเลยแต่งตั้งโจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2521 แล้ว ต่อมาโจทก์ได้ดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์และออกเงินทดรองให้แก่จำเลยหลายคราวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2530 ยังไม่ถึง 10 ปี นับแต่โจทก์ได้ออกเงินทดรองแต่ละคราวไป คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ตามสัญญาตั้งตัวแทนเอกสารหมาย จ.4 ขณะนั้นโจทก์ใช้ชื่อว่า" บริษัทไทยค้าหลักทรัพย์ จำกัด" ต่อมาโจทก์ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "บริษัทหลักทรัพย์ไทยค้า จำกัด" การทำเอกสารตั้งตัวแทนตามเอกสารหมาย จ.16 ขึ้นใหม่ จึงเป็นเพราะโจทก์เปลี่ยนชื่อใหม่นั่นเอง ถือไม่ได้ว่าการตั้งตัวแทนตามเอกสารหมาย จ.4ได้สิ้นสุดลงไปแล้ว แต่เป็นการยืนยันตั้งโจทก์ซึ่งเปลี่ยนชื่อใหม่ให้เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ให้จำเลยต่อไปเช่นเดิม แม้ทั้งเอกสารหมาย จ.4 หรือ จ.16 มิได้กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ต้องแจ้ง หรือมีหนังสือเลิกสัญญาเป็นตัวแทนกับโจทก์แต่การเลิกสัญญาต้องกระทำด้วยการแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยหรือโจทก์ได้แสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง และไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยกับโจทก์ได้เลิกสัญญากันโดยปริยาย สัญญาตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังไม่เลิกกัน จนกระทั่งโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระเงินส่วนที่ขาดอยู่ตามหนังสือทวงถามจึงถือได้ว่าโจทก์เพิ่งบอกเลิกสัญญาตัวแทนกับจำเลยในวันที่จำเลยได้รับหนังสือทวงถาม ฉะนั้นการที่โจทก์ทำการเป็นตัวแทนให้จำเลยในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในช่วงเวลาที่จำเลยแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนจนถึงวันบอกเลิกสัญญา การกระทำดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนกระทำแทนตัวการภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนตามที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยซึ่งเป็นตัวการ จำเลยจึงต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดจากการดำเนินการดังกล่าวให้แก่โจทก์ การที่โจทก์เคยเรียกให้จำเลยไปชำระเงินเพิ่ม แต่จำเลยแจ้งว่าไม่มีเงินที่จะชำระ โจทก์จึงได้ทำการขายหุ้นที่โจทก์สั่งซื้อให้จำเลยเพื่อชำระค่าหุ้น ยังไม่พอแสดงว่ามีการหักกลบลบหนี้กันเสร็จสิ้นไปแล้ว
วิธีปฏิบัติระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการปฏิบัติต่อกันตามสัญญาตัวแทน โดยจำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ โดยให้โจทก์จ่ายเงินทดรองแทนจำเลยไปก่อน โจทก์ได้ผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ยจากเงินที่ทดรองจ่ายแทนจำเลย และในการขายหุ้นตามคำสั่งของจำเลย เมื่อขายได้กำไรก็หักภาษี กำไรที่เหลือมอบให้จำเลย และในการที่โจทก์ซื้อขายแทนจำเลยโจทก์ได้รับค่าธรรมเนียมจากจำเลย วัตถุประสงค์ของโจทก์จำเลยจึงเป็นการค้าเก็งกำไรจากราคาหุ้นที่ขึ้นลง มากกว่าประสงค์จะลงทุนอย่างแท้จริง เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์จำเลยมิได้ยึดถือเอาระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ที่ว่าจำเลยต้องวางเงินประกันร้อยละ 30 ของวงเงินที่จำเลยมีสิทธิสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นในแต่ละวัน หากซื้อเกินจำนวนเงินดังกล่าว จำเลยก็จะต้องส่งเงินประกันร้อยละ 30 ภายใน 7 วัน มาเป็นสาระสำคัญของสัญญา ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จำเลยจะได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าวหรือไม่ก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามหลักฐานที่โจทก์นำสืบ จำเลยก็ต้องรับผิดต่อโจทก์
คดีนี้เป็นเรื่องตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ออกทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 816ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา164 เดิม ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อจำเลยแต่งตั้งโจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2521 แล้ว ต่อมาโจทก์ได้ดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์และออกเงินทดรองให้แก่จำเลยหลายคราวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2530 ยังไม่ถึง 10 ปี นับแต่โจทก์ได้ออกเงินทดรองแต่ละคราวไป คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าใช้บริการโทรศัพท์ที่ทดรองจ่าย กรณีเช่าทรัพย์สิน ไม่ใช่สัญญาเช่า
ตามสัญญาเช่าอาคารระหว่างโจทก์ผู้ให้เช่า และจำเลยผู้เช่าตกลงกันให้จำเลยผู้เช่าเป็นผู้ชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ที่ใช้ประจำอยู่กับอาคารที่เช่า เมื่อจำเลยผู้เช่าไม่ชำระ และโจทก์ได้ชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ดังกล่าวไป การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินคืนแก่โจทก์ มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ให้เช่าฟ้องจำเลยผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าอันมีอายุความหกเดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ใหม่)และเมื่อนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยไปถึงวันฟ้องยังไม่เกินสิบปีคดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารปลอมเพื่อเคลียร์เงินทดรองจ่าย แม้มีการชำระหนี้ภายหลัง ก็เป็นการกระทำความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยใช้เอกสารปลอมและฉ้อโกง ศาลชั้นต้นลงโทษฐานใช้เอกสารปลอม ยกฟ้องฐานฉ้อโกง คดีสำหรับโจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 22 การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์โจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำเลยฐานใช้เอกสารปลอมให้หนักขึ้น ทั้งรับอุทธรณ์โจทก์ที่ขอให้ลงโทษฐานปลอมเอกสารซึ่งโจทก์มิได้ฟ้องและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้องในข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ก็ถือว่าปัญหาเกี่ยวกับข้อหาปลอมเอกสารและสมควรลงโทษหนักขึ้นในข้อหาใช้เอกสารปลอมหรือไม่นั้น มิได้ว่ากล่าวมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาโจทก์ในปัญหาดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนออกเงินทดรองจ่าย: ศาลพิพากษายืนตามสัญญา หากมีหลักฐานชัดเจนถึงการทดรองจ่ายจริง
การที่จำเลยมอบอำนาจให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภ. เป็นตัวแทนในการจัดสรรที่ดินและปลูกบ้านขายโดยให้มีอำนาจตั้งตัวแทนช่วงได้แล้วห้างหุ้นส่วนจำกัด ภ. มอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนช่วงโจทก์จึงกระทำการต่าง ๆ เกี่ยวกับการปลูกสร้างบ้านและจัดสรรที่ดินของจำเลยเป็นขั้นตอนหลายประการจนถึงขนาดจำเลยมอบอำนาจโดยตรงให้โจทก์เป็นผู้ชี้แจงเรื่องภาษีต่อเจ้าหน้าที่สรรพากรเช่นนี้จำเลยกับโจทก์จึงมีนิติสัมพันธ์กันในฐานะตัวการตัวแทนตลอดมาโจทก์มีอำนาจออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยและเรียกให้จำเลยรับผิดชดใช้คืนให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสาร 'ทดรองจ่าย' ไม่ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม แม้ลูกหนี้ลงลายมือชื่อรับเงิน
การที่ใบสำคัญคู่จ่ายมีข้อความเพียงว่า ทดรองจ่ายให้คุณสมศักดิ์ (ลูกหนี้) เท่านั้น แม้ลูกหนี้จะลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินไว้ด้วย ก็มีความหมายเพียงว่าออกเงินหรือทรัพย์ไปก่อนไม่มีข้อความที่แสดงว่าลูกหนี้ต้องใช้เงินคืนแก่เจ้าหนี้หรือกำหนดการเสียดอกเบี้ยกันไว้อันเป็นลักษณะของการกู้ยืม จะฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมไม่ได้ จึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเรียกค่าทดรองจ่าย: ตัวแทน vs. พ่อค้า - อายุความ 10 ปี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม 2528 ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการ ได้ติดต่อให้โจทก์จัดหาห้องพักที่ฮ่องกงให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ 1 โจทก์ได้จัดหาห้องพักและออกเงินทดรองสำหรับห้องพักให้ลูกค้าของจำเลยที่ 1ในเดือนสิงหาคมและตุลาคม 2528 โจทก์จัดหาห้องพักและออกเงินทดรองค่าห้องพัก 2 ครั้ง เป็นเงิน 5,085 เหรียญฮ่องกงส่วนเดือนตุลาคม 2528 โจทก์หาห้องพักและจ่ายเงินทดรองค่าห้องพักเป็นเงิน 18,130 เหรียญฮ่องกง เมื่อถึงกำหนดจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์นอกจากนั้นโจทก์ยังแนบเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วย ฟ้องของ โจทก์ได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาคือจำเลยที่ 1 ให้โจทก์ จัดหาห้องพักให้ลูกค้าจำเลยที่ 1 และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลัก แห่งข้อหาคือโจทก์ได้จัดหาห้องพักและออกเงินทดรอง ค่าห้องพักดังกล่าวแต่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินทดรอง ค่าห้องพักแก่โจทก์โดยแจ้งชัดพอที่จำเลยทั้งสองจะเข้าใจแล้ว ส่วนที่ฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายว่าโจทก์จัดหาห้องพักและ จ่ายค่าห้องพักที่ไหนนั้น เป็นรายละเอียดโจทก์สามารถ นำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม จำเลยที่ 1 ให้โจทก์จัดหาห้องพักที่ฮ่องกง และ ทดรองจ่ายค่าห้องพักแก่ลูกค้าของจำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ มาฟ้องเรียกเงินทดรองจ่ายค่าห้องพักดังกล่าว เป็นเรื่อง ตัวแทนเรียกเงินที่ออกทดรองจ่ายไปในการจัดทำกิจการของ ตัวการ มิใช่เป็นเรื่องโจทก์เป็นพ่อค้าเรียกเอาเงินที่ ได้ออกทดรองไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(เดิม) ซึ่งในกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนด อายุความไว้เป็นการเฉพาะต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164(เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยืมเงินทดรองจ่ายเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง ไม่ถือเป็นการยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 640, 650
การยืมตามป.พ.พ.มาตรา640,650เป็นกรณีที่ผู้ให้ยืมให้ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมเพื่อประโยชน์ของผู้ยืมมิใช่เพื่อประโยชน์ของผู้ให้ยืมฉะนั้นการที่โจทก์ผู้ให้ยืมให้จำเลยยืมเงินทดรองจ่ายเพื่อให้จำเลยนำไปใช้สอยในกิจการของโจทก์จึงเป็นการยืมเพื่อประโยชน์ของผู้ให้ยืมเองแม้การยืมเงินทดรองจ่ายนี้จะมีข้อบังคับว่าผู้ยืมต้องนำใบสำคัญคู่จ่ายที่ถูกต้องพร้อมทั้งเงินที่เหลือจ่ายส่งคืนให้โจทก์ภายใน15วันมิฉะนั้นผู้ยืมจะต้องรับผิดถูกหักเงินเดือนหรือค่าจ้างก็ตามก็เป็นเรื่องกำหนดความรับผิดชอบของผู้ยืมไว้เป็นการเฉพาะเป็นหลักปฏิบัติงานในหน่วยงานของโจทก์ไม่เป็นการยืมตามลักษณะ9แห่งป.พ.พ.เมื่อจำเลยมิได้อยู่ในฐานะผู้ยืมแต่เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่โดยชอบจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดคืนเงินนี้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินยืมทดรองจ่ายเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง ไม่เข้าลักษณะยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ ผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ไม่ต้องรับผิด
โจทก์ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายการวินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ศาลฎีกาจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา640และมาตรา650ลักษณะ9เรื่องยืมเป็นกรณีที่ผู้ให้ยืมให้ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมเพื่อประโยชน์ของผู้ยืมหาใช่เพื่อประโยชน์ของผู้ให้ยืมไม่การที่โจทก์ผู้ให้ยืมให้จำเลยยืมเงินไปเป็นการทดรองเพื่อให้จำเลยนำไปใช้สอยในกิจการของโจทก์เป็นประโยชน์ของโจทก์ผู้ให้ยืมเองรูปเรื่องจึงปรับเข้าด้วยลักษณะ9เรื่องยืมแห่งบทบัญญัติกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจึงผูกพันกันในลักษณะอื่นโดยเฉพาะต้องพิจารณาเจตนารมณ์ระหว่างคู่กรณีมุ่งผูกพันกันแค่ไหนอย่างไรการที่จำเลยลงชื่อในใบยืมเงินทดรองของโจทก์นั้นได้กระทำไปโดยตำแน่งหน้าที่ของจำเลยในฐานะพนักงานของโจทก์ในขอบเขตแห่งหน้าที่ของตนตามระเบียบแบบแผนของโจทก์ที่วางไว้เพื่อใช้ดำเนินงานของโจทก์โดยมอบให้จ.ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์ไปดำเนินการต่อไปเพื่อให้งานของโจทก์ดำเนินไปโดยเรียบร้อยแม้จะมีข้อบังคับให้ผู้ยืมต้องนำใบสำคัญคู่จ่ายที่ถูกต้องพร้อมทั้งเงินที่เหลือจ่ายส่งใช้แก่โจทก์ตามกำหนดก็เป็นเรื่องกำหนดความรับผิดชอบของผู้ยืมไว้เป็นการเฉพาะเป็นหลักปฏิบัติงานในหน่วยงานของโจทก์เมื่อจำเลยมิได้อยู่ในฐานะของผู้ยืมตามกฎหมายแต่เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่โดยชอบจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดคืนเงินรายพิพาทแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1757/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าหุ้นทดรองจ่ายจากตัวการตามสัญญาตัวแทนและอายุความ 10 ปี
จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยจำเลยยอมชำระค่าหุ้น 30 เปอร์เซ็นต์แก่โจทก์ไปแล้ว ส่วนค่าหุ้นอีก 70 เปอร์เซ็นต์ โจทก์ผู้เป็นตัวแทนจำต้องออกเงินทดรองจ่ายไป โจทก์จึงชอบที่จะเรียกเอาจากจำเลยผู้เป็นตัวการได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 807, 816 และกรณีนี้เป็นเรื่องตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการ ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ10 ปี ตามมาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1757/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าหุ้นทดรองจ่ายจากตัวการตามกฎหมายตัวแทน อายุความ 10 ปี
จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยจำเลยยอมชำระค่าหุ้น 30 เปอร์เซ็นต์แก่โจทก์ไปแล้ว ส่วนค่าหุ้น อีก 70 เปอร์เซ็นต์โจทก์ผู้เป็นตัวแทนจำต้องออก เงินทดรองจ่ายไป โจทก์จึงชอบที่จะเรียกเอาจากจำเลยผู้ เป็นตัวการได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 807,816 และกรณีนี้เป็นเรื่องตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการ ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึง ต้องใช้อายุความ10 ปี ตามมาตรา 164