พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาจ้าง: การคืนเงินประกันเมื่อลาออกระหว่างทดลองงาน ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานกับบริษัทจำเลยนายจ้างข้อ 2 มีข้อความว่า บริษัทฯ ตกลงรับพนักงานเข้าปฏิบัติงานเป็นการทดลองงาน เป็นระยะเวลา 180 วัน ในระหว่างทดลองงานบริษัทฯจะให้การอบรมเกี่ยวกับหน้าที่การงาน... ฯลฯ ... ข้อ 4 มีข้อความว่าในกรณีที่พนักงานผ่านการอบรมครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวและบริษัทฯ เห็นควรว่าจ้างพนักงานต่อไป บริษัทฯ ตกลงว่าจ้างให้พนักงานเป็นพนักงานประจำของบริษัทฯ... ข้อ 5 มีข้อความว่าในกรณีบริษัทฯ ตกลงว่าจ้างพนักงานตามข้อ 4 แล้วพนักงานสัญญาว่าจะทำงานให้แก่บริษัทฯ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันครบกำหนดการทดลองงาน... และข้อ 16 มีข้อความว่า เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานของพนักงานตามสัญญานี้ พนักงานได้วางเงินประกันการทำงานไว้แก่บริษัทฯ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2531 ถ้าพนักงานมีความประสงค์ที่จะลาออกและได้ทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปีแล้ว ทางบริษัทฯ จะคืนเงินประกันจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยธนาคารให้ ข้อสัญญาดังกล่าวย่อมมีความหมายว่า พนักงานที่จำเลยจะคืนเงินประกันเมื่อพนักงานผู้นั้นลาออกตามสัญญาข้อ 16 หมายถึงพนักงานที่จำเลยได้ตกลงว่าจ้างให้เป็นพนักงานประจำของจำเลยตามสัญญาข้อ 4, 5 ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเพียงพนักงานที่จำเลยตกลงว่าจ้างให้ปฏิบัติงานเป็นการทดลองงานขอลาออกจากงานในระหว่างทดลองงาน จึงไม่เป็นการผิดสัญญาจ้างจำเลยจะอ้างเป็นเหตุไม่คืนเงินประกันให้แก่โจทก์ไม่ได้
การตีความสัญญานั้นต้องพิจารณาข้อความในสัญญาทั้งฉบับ จะหยิบยกแต่เฉพาะข้อสัญญาข้อใดข้อหนึ่งหรือเพียงบางข้อขึ้นวินิจฉัยหาเป็นกาถูกต้องไม่
การตีความสัญญานั้นต้องพิจารณาข้อความในสัญญาทั้งฉบับ จะหยิบยกแต่เฉพาะข้อสัญญาข้อใดข้อหนึ่งหรือเพียงบางข้อขึ้นวินิจฉัยหาเป็นกาถูกต้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทดลองงาน การคืนเงินประกัน และการตีความสัญญาตามวัตถุประสงค์
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานกับบริษัทจำเลยนายจ้างข้อ 2 มีข้อความว่า บริษัทฯ ตกลงรับพนักงานเข้าปฏิบัติงานเป็นการทดลองงาน เป็นระยะเวลา 180 วัน ในระหว่างทดลองงานบริษัทฯจะให้การอบรมเกี่ยวกับหน้าที่การงาน... ฯลฯ ... ข้อ 4มีข้อความว่าในกรณีที่พนักงานผ่านการอบรมครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวและบริษัทฯ เห็นควรว่าจ้างพนักงานต่อไป บริษัทฯ ตกลงว่าจ้างให้พนักงานเป็นพนักงานประจำของบริษัทฯ... ข้อ 5 มีข้อความว่าในกรณีบริษัทฯ ตกลงว่าจ้างพนักงานตามข้อ 4 แล้วพนักงานสัญญาว่าจะทำงานให้แก่บริษัทฯ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันครบกำหนดการทดลองงาน... และข้อ 16 มีข้อความว่า เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานของพนักงานตามสัญญานี้ พนักงานได้วางเงินประกันการทำงานไว้แก่บริษัทฯ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท เมื่อวันที่ 15พฤศจิกายน 2531 ถ้าพนักงานมีความประสงค์ที่จะลาออกและได้ทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปีแล้ว ทางบริษัทฯ จะคืนเงินประกันจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยธนาคารให้ ข้อสัญญาดังกล่าวย่อมมีความหมายว่า พนักงานที่จำเลยจะคืนเงินประกันเมื่อพนักงานผู้นั้นลาออกตามสัญญาข้อ 16 หมายถึงพนักงานที่จำเลยได้ตกลงว่าจ้างให้เป็นพนักงานประจำของจำเลยตามสัญญาข้อ 4,5 ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเพียงพนักงานที่จำเลยตกลงว่าจ้างให้ปฏิบัติงานเป็นการทดลองงานขอลาออกจากงานในระหว่างทดลองงาน จึงไม่เป็นการผิด สัญญาจ้างจำเลยจะอ้างเป็นเหตุไม่คืนเงินประกันให้แก่โจทก์ไม่ได้ การตีความสัญญานั้นต้องพิจารณาข้อความในสัญญาทั้งฉบับ จะหยิบยกแต่เฉพาะข้อสัญญาข้อใดข้อหนึ่งหรือเพียงบางข้อขึ้นวินิจฉัยหาเป็นกาถูกต้องไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกรอกเงื่อนไขทดลองงานและซื้อหุ้นในใบสมัครงานโดยความยินยอม ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าทำงานโดยกรอกข้อความในใบสมัครเว้นว่าง ไว้แต่ในช่องเฉพาะเจ้าหน้าที่ด้านหลังใบสมัคร จำเลยซึ่งเป็น ผู้อำนวยการบริษัทได้กรอกข้อความลงในช่องเฉพาะเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ภายหลังจากที่บริษัทได้มีคำสั่งอนุมัติให้โจทก์เข้า ทำงานแล้ว แต่จำเลยกระทำไปตรงตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่ทำไว้กับโจทก์ก่อนยื่นใบสมัครทั้งเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการและระเบียบข้อบังคับของบริษัท เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยกระทำไปโดยได้รับความยินยอมจากโจทก์และเมื่อข้อความที่จำเลยกรอกนั้นตรงตามที่ได้ตกลงกับโจทก์ไว้ จำเลยก็มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาทดลองงานและข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า จำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกค้าประจำรายวันทดลองปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงานขับรถ ดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวทดลองปฏิบัติงาน จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานรวม 2 ครั้งครั้งแรกมีกำหนด 120 วัน เมื่อผลกาหรทดลองปฏิบัติงานตามคำสั่งของจำเลยไม่เป็นที่พอใจของจำเลย จำเลยจึงออกคำสั่งครั้งที่ 2 ให้โจทก์ปฏิบัติงานต่อไปอีก 60 วัน แม้ว่าโจทก์จะยินยอมก็ตาม จะถือว่าจำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานในคราวเดียวกันรวมเป็นเวลา 180 วันหาได้ไม่เมื่อโจทก์ทดลองปฏิบัติงานครบ 120 วันแล้ว จำเลยก็มิได้เลิกจ้างโจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาที่แจ้งไว้แต่แรก จึงไม่เข้าเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคท้ายในอันที่จำเลยจะได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานรวม 2 ครั้งครั้งแรกมีกำหนด 120 วัน เมื่อผลกาหรทดลองปฏิบัติงานตามคำสั่งของจำเลยไม่เป็นที่พอใจของจำเลย จำเลยจึงออกคำสั่งครั้งที่ 2 ให้โจทก์ปฏิบัติงานต่อไปอีก 60 วัน แม้ว่าโจทก์จะยินยอมก็ตาม จะถือว่าจำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานในคราวเดียวกันรวมเป็นเวลา 180 วันหาได้ไม่เมื่อโจทก์ทดลองปฏิบัติงานครบ 120 วันแล้ว จำเลยก็มิได้เลิกจ้างโจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาที่แจ้งไว้แต่แรก จึงไม่เข้าเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคท้ายในอันที่จำเลยจะได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างทดลองงาน: ศาลต้องวินิจฉัยเหตุผลความจำเป็นและความเพียงพอในการเลิกจ้าง
ลูกจ้างที่ทดลองปฏิบัติงานเป็นลูกจ้างประจำ แต่หาใช่ลูกจ้างประจำสมบูรณ์อันจะพึงมีสิทธิตามกฎหมายเยี่ยงลูกจ้างประจำโดยทั่วไปไม่ เพราะนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างเสียได้ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยว่าเหตุผลที่การทดลองปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ไม่เป็นที่พอใจเกิดแต่เหตุอันใด พฤติการณ์เป็นอย่างใด มีความจำเป็นแท้จริง และเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง มีเหตุอันสมควรที่จะให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาในประเด็นนี้ใหม่.
ศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยว่าเหตุผลที่การทดลองปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ไม่เป็นที่พอใจเกิดแต่เหตุอันใด พฤติการณ์เป็นอย่างใด มีความจำเป็นแท้จริง และเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง มีเหตุอันสมควรที่จะให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาในประเด็นนี้ใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3965/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างระหว่างทดลองงานและการจ่ายค่าชดเชย แม้เลิกจ้างหลังพ้นกำหนดทดลองงานเล็กน้อย นายจ้างยังต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 180 วัน ต่อมาจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์เพราะผลของการทดลองงานไม่เป็นที่พอใจจำเลย โดยให้การเลิกจ้างมีผลเมื่อพ้นกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติงาน 180 วันไป 2 วัน แม้จะเพื่อประโยชน์หรือให้เป็นผลดีแก่ลูกจ้างเพียงใดก็ถือไม่ได้ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังอยู่ในระยะเวลาทดลองปฏิบัติงาน กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 46 วรรคท้าย แต่เมื่อจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากผลของการทดลองงานไม่เป็นที่พอใจและจำเลยได้บอกเลิกจ้างภายในกำหนดระยะเวลาทดลองงานโดยได้แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบล่วงหน้าแล้ว แม้จะให้มีผลเลิกจ้างเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาทดลองงานไปแล้ว ก็ไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 จำเลยจึงไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3965/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างระหว่างทดลองงานเกินกำหนด ทำให้ต้องจ่ายค่าชดเชย แม้แจ้งล่วงหน้า
จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 180 วัน ต่อมาจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์เพราะผลของการ ทดลองงาน ไม่เป็นที่พอใจจำเลย โดยให้การเลิกจ้างมีผลเมื่อพ้นกำหนดเวลาทดลอง ปฏิบัติงาน 180 วันไป 2 วัน แม้จะเพื่อประโยชน์หรือให้เป็นผลดีแก่ลูกจ้าง เพียงใดก็ถือไม่ได้ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังอยู่ในระยะเวลาทดลอง ปฏิบัติงาน กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ 46 วรรคท้ายแต่เมื่อจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากผลของการทดลองงานไม่เป็นที่พอใจ และจำเลยได้บอกเลิกจ้างภายในกำหนดระยะเวลาทดลองงานโดยได้แจ้ง เป็นหนังสือให้โจทก์ทราบล่วงหน้าแล้ว แม้จะให้มีผลเลิกจ้างเมื่อพ้น กำหนดระยะเวลาทดลองงานไปแล้ว ก็ไม่อยู่ในบังคับแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 จำเลยจึงไม่ต้อง บอกกล่าวล่วงหน้าซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3965/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ค่าชดเชย และการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา180วันต่อมาจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์เพราะผลของการทดลองงานไม่เป็นที่พอใจจำเลยโดยให้การเลิกจ้างมีผลเมื่อพ้นกำหนดเวลาทดลองปฏิบหัติงาน180วันไป2วันแม้จะเพื่อประโยชน์หรือให้เป็นผลดีแก่ลูกจ้างเพียงใดก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังอยู่ในระยะเวลาทดลองปฏิบัติงานกรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ46วรรคท้ายแต่เมื่อจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากผลของการทดลองงานไม่เป็นที่พอใจและจำเลยได้บอกเลิกจ้างภายในกำหนดระยะเวลาทดลองงานโดยได้แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบล่วงหน้าแล้วแม้จะให้มีผลเลิกจ้างเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาทดลองงานไปแล้วก็ไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582จำเลยจึงไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าซ้ำอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846-3847/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อตกลงทดลองงานต้องเป็นหนังสือชัดเจน การส่งมอบระเบียบข้อบังคับอย่างเดียวไม่ถือว่าเป็นการแจ้งทดลองงาน
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยแจ้งด้วยวาจาพร้อมกับมอบระเบียบข้อบังคับในการทำงานและกฎข้อบังคับของพนักงานบริษัทจำเลยให้แก่โจทก์ในวันสัมภาษณ์ว่าโจทก์ต้องทดลองงาน 180 วัน ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการ 'แจ้งให้ทราบเป็นหนังสือ'ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แต่เป็นเพียงการส่งมอบเอกสารให้โจทก์ไปศึกษาว่า จำเลยมีข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นประการใดเท่านั้น ทั้งในวันสัมภาษณ์นั้นก็ยังมิได้มีการตกลงจ้างกัน ต่อมา จำเลยตัดสินใจจ้างโจทก์ตามหนังสือแจ้งให้โจทก์มาทำงาน ก็หามีข้อความใดแสดงให้ปรากฏว่าโจทก์จะต้องทดลองปฏิบัติงานหรือไม่ จึงไม่เป็นการแจ้งให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846-3847/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการทดลองงานต้องเป็นหนังสือชัดเจน การส่งมอบระเบียบข้อบังคับไม่ถือเป็นการแจ้งทดลองงาน
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยแจ้งด้วยวาจาพร้อมกับมอบระเบียบข้อบังคับในการทำงานและกฎข้อบังคับของพนักงานบริษัทจำเลย ให้แก่โจทก์ในวันสัมภาษณ์ว่าโจทก์ต้องทดลองงาน 180วัน ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการ 'แจ้งให้ทราบเป็นหนังสือ'ตามความหมายของ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แต่เป็นเพียงการส่งมอบเอกสารให้โจทก์ไปศึกษาว่า จำเลยมีข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นประการใดเท่านั้นทั้งในวันสัมภาษณ์นั้นก็ยังมิได้มีการตกลงจ้างกัน ต่อมา จำเลย ตัดสินใจจ้างโจทก์ตามหนังสือแจ้งให้โจทก์มาทำงาน ก็หามีข้อความใด แสดงให้ปรากฏว่าโจทก์จะต้องทดลองปฏิบัติงานหรือไม่ จึงไม่เป็น การแจ้งให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน