คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทนาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาทในชั้นศาล: การวิพากษ์วิจารณ์ทนายคู่ความในภาวะกดดัน ไม่ถึงขั้นทำให้เสียชื่อเสียง
วันนัดสืบพยานโจทก์ ระหว่างผู้พิพากษารออ่านรายงานกระบวนพิจารณา จำเลยได้พูดต่อหน้าผู้พิพากษา ทนายจำเลยและพยานว่า "ทนายความคนนี้ใช้ไม่ได้ ทั้งประเทศไทยมีทนายความแบบนี้อยู่คนเดียว ชอบหาเรื่องกลั่นแกล้งจำเลย ประเทศชาติอยู่ไม่ได้แน่ ถ้ายังมีทนายความประเภทนี้ อย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล" และเมื่อผู้พิพากษาตักเตือน จำเลยยังพูดต่ออีกว่า "ท่านครับอย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล" เป็นการระบายความรู้สึกของจำเลยที่มีต่อโจทก์และเป็นการวิจารณ์การทำงานในหน้าที่ทนายความของโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามกับจำเลยในความรู้สึกว่าจำเลยถูกกลั่นแกล้งมิใช่เป็นการใส่ความให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ไม่เป็นหมิ่นประมาท
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องแม้ศาลจะพิจารณาเพียงว่าคดีโจทก์พอมีมูลที่จะประทับฟ้องไว้หรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดศาลก็ชอบที่จะวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องไปได้เลย ไม่จำเป็นต้องประทับฟ้องไว้แล้วพิจารณายกฟ้องในภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8885/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์และการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ กรณีทนายจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นคนเดียวกัน
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องสอดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยก็เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสยื่นคำแก้อุทธรณ์ของผู้ร้องสอด แต่เมื่อปรากฏว่าทนายผู้ร้องสอดผู้ยื่นอุทธรณ์และทนายจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกันมีผลเท่ากับว่าทนายจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่า ผู้ร้องสอดได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นมาแต่ต้นและจำเลยอาจยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้อยู่แล้ว ศาลชั้นต้นไม่จำต้องสั่งให้ผู้ร้องสอดนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้อีก ดังนั้น แม้ผู้ร้องสอดจะไม่ได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ก็ไม่ถือว่าผู้ร้องสอดทิ้งอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8328/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตเลื่อนคดีและการพิจารณาพยาน: ความรับผิดของผู้รับมอบอำนาจและทนายโจทก์
ข้อที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางและพิพากษาให้เป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์ทุกประการเป็นคำขอที่เกินเลยไปจากคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ที่อุทธรณ์คัดค้านเฉพาะแต่เรื่องการไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดี ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงไม่อาจวินิจฉัยและพิพากษาตามคำขอของโจทก์ในข้อนี้ให้ได้
ผู้รับมอบอำนาจโจทก์กำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ โดยไม่คำนึงว่าทนายโจทก์จะว่างมาว่าความให้โจทก์ได้หรือไม่ รวมทั้งมิได้แจ้งวันนัดให้ทนายโจทก์ทราบ ถือว่าเป็นความบกพร่องของผู้รับมอบอำนาจโจทก์เอง และแสดงให้เห็นว่าทนายโจทก์ไม่เอาใจใส่ในคดีของโจทก์ ทั้งเมื่อนับจากวันที่มีการกำหนดนัดสืบพยานจนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวก็เป็นระยะเวลานานถึง 71 วัน หากเกิดเหตุผิดพลาดทำให้ทนายโจทก์นัดซ้อนวันกับศาลอื่น ก็ชอบที่ฝ่ายโจทก์จะต้องรีบร้องขอเลื่อนคดีนี้เสียแต่เนิ่น ๆ แต่ฝ่ายโจทก์ก็หาได้กระทำไม่ พฤติการณ์ที่ฝ่ายโจทก์มิได้ให้ความสำคัญแก่วันเวลานัดของศาล กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ฝ่ายโจทก์เลื่อนคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความขอบเขตเกินคดีแรงงาน และการไกล่เกลี่ยคดีแรงงาน
ใบแต่งทนายความของโจทก์ ในคดีแรงงานระบุไว้ชัดว่าให้ทนายโจทก์มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปในทางจำหน่ายสิทธิของโจทก์ด้วย เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ ทนายความโจทก์จึงมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ได้ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแรงงานจะมีข้อตกลงด้วยว่า โจทก์จะถอนฟ้องคดีอาญาของศาลจังหวัดเชียงราย และถอนฟ้อง ถอนคำร้องทุกข์ในคดีอื่น ๆ และสัญญาว่าโจทก์จำเลยต่างจะไม่ดำเนินคดีใด ๆ ต่อกันอีก ไม่ว่าทางแพ่งหรืออาญาก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวทำนอกเหนือขอบอำนาจที่โจทก์มอบหมาย เพราะตามใบแต่งทนายความมิได้จำกัดไว้แต่เฉพาะคดีแรงงานเท่านั้น ทั้งข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวเนื่องกับข้อตกลงซึ่งเป็นประเด็นที่พิพาทกันในคดีแรงงาน
โจทก์ในคดีอาญามีอำนาจถอนฟ้องได้ก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือก่อนคดีถึงที่สุดแล้วแต่กรณี ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 35 ข้อตกลงว่าโจทก์จะถอนฟ้องและถอนคำร้องทุกข์จึงไม่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ในการพิจารณาคดีแรงงานศาลจะต้องดำเนินการไกล่เกลี่ยตั้งแต่แรกที่คู่ความมาพร้อมกันแล้วและไกล่เกลี่ยตลอดไปจนเสร็จการพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 38 และมาตรา 43 บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลแรงงานไกล่เกลี่ยให้คู่ความตกลงกันได้โดยมิได้จำกัดให้ศาลแรงงานต้องไกล่เกลี่ยได้แต่เฉพาะคดีแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของทนาย, เหตุสมควรยกฟ้อง, การไม่แจ้งศาล, และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ทนายโจทก์ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้วแต่มาถึงศาลชั้นต้นซึ่งเป็นเวลาอันเลยกำหนดนัดไปแล้วหนึ่งชั่วโมงครึ่งเนื่องจากรถยนต์ของทนายโจทก์มีเหตุขัดข้อง ทนายโจทก์สามารถจอดรถไว้ข้างทางแล้วรีบโทรศัพท์แจ้งศาลทราบทันที หรือมิฉะนั้นก็รีบเดินทางมาศาลด้วยรถยนต์รับจ้างได้ แต่ทนายโจทก์มิได้ดำเนินการดังกล่าวแต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่าทนายโจทก์ไม่เอาใจใส่หรือเล็งเห็นถึงความสำคัญในเวลานัดของศาล กรณีไม่มีเหตุสมควรให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6569/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายทราบวันนัดแล้วไม่แจ้งจำเลย ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยต้องรับผิดตามคำพิพากษา
ทนายจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล ต้องถือว่าจำเลยทราบคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ถึงแม้ว่าจำเลยซึ่งเป็นตัวความจะไม่ทราบวันนัดก็ตาม เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 บัญญัติว่า ทนายความซึ่งคู่ความได้แต่งตั้งนั้นมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร
ตามใบแต่งทนายความของจำเลย ระบุว่าให้ทนายจำเลยมีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาได้ด้วย การที่ทนายจำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่แจ้งวันนัดให้จำเลยทราบ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างต่อศาลหาได้ไม่ เพราะจำเลยมีทนายความกระทำการแทนตนอยู่แล้วการที่ทนายจำเลยไม่ดูแลและเอาใจใส่คดีของจำเลยเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับทนายจำเลย จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่ศาลจะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5372/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ผูกพันโจทก์ หากทำโดยทนายโดยโจทก์ไม่ยินยอม
เมื่อประเด็นแห่งคดีคงมีเฉพาะเกี่ยวกับหนี้จำนวนที่โจทก์ฟ้องมิได้รวมถึงหนี้รายอื่นที่จำเลยให้การถึง การที่ทนายโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยในหนี้รายอื่น โดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย จึงเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในหนี้ที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ไม่มีผลผูกพันโจทก์ และศาลไม่อาจมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นให้ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 138 โจทก์ย่อมอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนเสียได้
โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3250/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุผลความล่าช้าในการยื่นอุทธรณ์: ความบกพร่องของทนาย ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์พร้อมอุทธรณ์ โดยขอให้ศาลไต่สวนและสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว เหตุที่จำเลยยกขึ้นอ้างว่าเพราะเสมียนทนายจำเลยแจ้งต่อทนายจำเลยว่าศาลอนุญาตในการขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สาม ทำให้ทนายจำเลยเข้าใจว่าศาลอนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ตามขอ เป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง กรณีไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ที่จะขยายเวลาให้จำเลยยื่นอุทธรณ์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ไต่สวน แต่สั่งยกคำร้องของจำเลย และสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยมานั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดี – ดุลพินิจศาล – เจตนาประวิงคดี – การตรวจอาการป่วยของทนาย
คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ ต้องเป็นกรณีที่มี เหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่งและการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลแม้ตามคำร้องทนายจำเลยอ้างว่าปวดศีรษะแต่ไม่มี ใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าเป็นความเจ็บป่วยจนถึงกับไม่สามารถ มาศาลได้ นอกจากนี้ ทนายจำเลยก็ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจ ของศาลชั้นต้นว่าถ้าศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรม ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลย มีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีล่าช้าปราศจากเหตุอันสมควร จึงเป็นการประวิงคดี ศาลชั้นต้นจะตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการ เจ็บป่วยของทนายจำเลยว่าทนายจำเลยป่วยจริงหรือไม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลชั้นต้นจึงจะมีคำสั่งได้ แต่กรณีไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอ การที่ศาลชั้นต้น พิจารณาถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ และเห็นว่าทนายจำเลยยังสามารถ ว่าความได้ ไม่เชื่อว่าทนายจำเลยป่วยจริงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าไม่สมควรมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของทนายจำเลย ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะ ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการสอบถามจำเลย: ทนายก่อนหรือคำให้การก่อน
วิธีการตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 20 เป็นการดำเนินการในชั้นสอบสวนและการพิจารณาคดีในชั้นศาล การที่ศาลถามผู้ต้องหาหรือจำเลยว่าจะให้การประการใดตามความในมาตรา 20 ดังกล่าว ถือเป็นการพิจารณา และตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173วรรคสอง บัญญัติว่า ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่..." ดังนั้นก่อนเริ่มพิจารณาหรือก่อนเริ่มการพิจารณาสอบถามผู้ต้องหาหรือจำเลยว่าจะให้การประการใด ศาลจะต้องสอบถามเรื่องทนายความจำเลยเสียก่อนเท่านั้น ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 หากศาลมิได้สอบถามเรื่องทนายจำเลย แต่ก้าวล่วงไปถึงการพิจารณาสอบถามคำให้การของจำเลยเลยจึงเป็นการมิชอบ
of 22