พบผลลัพธ์ทั้งหมด 429 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและครอบครองยาเสพติด: พยานหลักฐานเพียงพอรับฟังได้ แม้ไม่มีทนายความในชั้นจับกุมและผู้ต้องหารายอื่น
ป.วิ.อ. มาตรา 134 ทวิ ซึ่งเป็นบทบัญญัติขณะเกิดเหตุ บัญญัติให้ต้องมีทนายความเฉพาะกรณีสอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี เท่านั้น มิได้บัญญัติรวมถึงชั้นจับกุมด้วย การที่จำเลยอ้างว่าบันทึกการจับกุมไม่ชอบเพราะจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุมต่อหน้าทนายความนั้นฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9001/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาที่มีโทษประหารชีวิต จำเป็นต้องตั้งทนายความให้จำเลย แม้จำเลยจะไม่ต้องการ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคสาม อันเป็นคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ดังนั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่มีทนายความ ศาลต้องตั้งทนายความให้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องการทนายความหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตในการต่อสู้คดีไว้อย่างเต็มที่ แต่คดีนี้ปรากฏว่าศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้วแต่จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่สอบถามจำเลยเรื่องทนายความโดยไม่ตั้งทนายความให้จำเลย แล้วดำเนินการสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยไปจนเสร็จ แม้ในวันที่ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาคดี จำเลยจะได้แต่งทนายความเข้ามา แต่ก็เป็นเวลาภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาคดีสืบพยานโจทก์เสร็จไปแล้ว โดยไม่ปรากฏว่าทนายความของจำเลยเข้าร่วมในกระบวนพิจารณาในครั้งนั้นแต่อย่างไร ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์ในคดีนี้ จำเลยจึงยังไม่มีทนายความคอยช่วยเหลือในการดำเนนคดี อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7701/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในคดีโทษประหาร: ศาลต้องตั้งทนายให้ แม้จำเลยไม่ร้องขอ
คดีนี้เป็นคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายความให้เป็นคนละกรณีกับวรรคสองของบทมาตราดังกล่าว ที่ศาลต้องสอบถามด้วยว่าจำเลยต้องการทนายความหรือไม่ ดังนั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่มีทนายความ ศาลก็ต้องตั้งทนายความให้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยต้องการทนายความหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นเพียงแต่สอบถามจำเลยเรื่องทนายความโดยไม่ตั้งทนายความให้จำเลย การพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4944/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นฎีกาต้องมีเหตุพิเศษ มิใช่ความบกพร่องของทนายความ
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลมีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยซึ่งศาลจะขยายระยะเวลาให้ตามคำร้องหรือไม่เป็นดุลพินิจที่จะพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2545 ต่อมาจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาติดต่อกันรวม 3 ครั้ง โดยทุกครั้งจะอ้างเหตุผลทำนองเดียวกันว่า ทนายความจำเลยที่ 1 จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดของคำพยานและเอกสารในสำนวน รวมทั้งต้องทำคำฟ้องอุทธรณ์และฎีกาในคดีอื่นอีกหลายสำนวน จึงไม่อาจจัดทำคำฟ้องฎีกาได้ทัน ทั้ง ๆ ที่คดีมีข้อเท็จจริงไม่สลับซับซ้อน กรณีนับได้ว่าเป็นความผิดพลาดบกพร่องของทนายความจำเลยที่ 1 เอง หาใช่พฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้แก่จำเลยที่ 1 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3397/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้เรียงฟ้องมิได้เป็นทนายความ และการไม่อาจฎีกาลดโทษ
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมีจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ และมี ธ. ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงและเขียน โดย ธ. มิได้เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความและไม่ปรากฏว่าเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ทนายความฯ การที่ ธ. เรียงหรือแต่งฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลย จึงเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 158 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความล่าช้าในการขอสำเนาคำพิพากษาเป็นเหตุให้ไม่ขยายเวลาอุทธรณ์ได้ หากเกิดจากความประมาทเลินเล่อของทนายความ
คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2544 แม้ทนายจำเลยจะได้ยื่นคำแถลงขอถ่ายสำเนาคำพิพากษาไว้ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2545 และยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษา แต่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2545 เจ้าหน้าที่ศาลได้บันทึกไว้ในคำแถลงของจำเลยดังกล่าวว่าได้ดำเนินการถ่ายเอกสารให้แก่จำเลยเสร็จแล้วและยังปรากฏจากรายงานเจ้าหน้าที่ฉบับลงวันที่ 31 มกราคม 2545 อีกว่า โจทก์ได้มาติดต่อขอรับสำเนาคำพิพากษาจากศาลไปแล้ว ดังนี้ทนายจำเลยย่อมสามารถมาติดต่อขอรับสำเนาคำพิพากษาได้ตั้งแต่วันดังกล่าวเช่นกัน แต่จำเลยกลับปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยมาติดต่ออีกครั้งในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2545 แสดงให้เห็นว่าทนายจำเลยไม่เอาใจใส่ที่จะมาติดต่อขอรับสำเนาคำพิพากษาอย่างจริงจัง ที่ทนายจำเลยอ้างว่า เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษา จึงยื่นอุทธรณ์ไม่ทันเพราะมีกำหนดระยะเวลาตามที่ศาลอนุญาตขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไว้แล้วเหลือเพียง 7 วันนั้น จึงเป็นเพราะความบกพร่องของทนายจำเลยเอง ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขความบกพร่องในการแต่งตั้งทนายความหลังศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลฎีกาอนุญาตได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา?" นั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปที่ใช้ได้ในทุกชั้นศาลมิได้หมายความถึงก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา แต่อย่างใด
เมื่อความสามารถในการฟ้องของโจทก์ในการแต่งตั้งทนายความบกพร่องและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่เข้ามาพร้อมกับคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งรับขึ้นมาแล้วเช่นนี้ ศาลฎีกา จึงเห็นสมควรอนุญาต อำนาจฟ้องจึงสมบูรณ์มาแต่แรก
เมื่อความสามารถในการฟ้องของโจทก์ในการแต่งตั้งทนายความบกพร่องและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่เข้ามาพร้อมกับคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งรับขึ้นมาแล้วเช่นนี้ ศาลฎีกา จึงเห็นสมควรอนุญาต อำนาจฟ้องจึงสมบูรณ์มาแต่แรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2338/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่แก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถทนายความ ทำให้ศาลไม่รับอุทธรณ์ และคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่แต่งตั้ง ก. เป็นทนายความเข้ามาภายในกำหนด เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถตามคำสั่งศาล การที่ ก. ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 3 และที่ 4 และศาลมีคำสั่งอนุญาตจึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงจึงมีคำสั่งใหม่เพิกถอนคำสั่งเดิม และมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอขยายระยะเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 3 และที่ 4 ยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนด ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ชอบแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงไม่อาจอนุญาตให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถได้อีก ให้ยกคำร้อง ดังนี้ เท่ากับว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้น คำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองโดยทนายความ แม้ไม่มีหนังสือมอบอำนาจ แต่ตัวการให้สัตยาบันแล้ว ถือว่าชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาว่าโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้จะมิใช่ประเด็นข้อพิพาทเนื่องจากจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่ก็เป็นประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องของโจทก์ ซึ่งโจทก์นำพยานหลักฐานเข้าสืบและจำเลยถามค้านพยานโจทก์ในปัญหาดังกล่าวไว้แล้ว ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 มิได้บัญญัติว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือ กรณีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับมาตรา 798 วรรคหนึ่งที่กำหนดให้การตั้งตัวแทนเพื่อกิจกรรมนั้นต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด และแม้การมอบอำนาจจะมิได้ทำเป็นหนังสือแต่ทนายโจทก์ก็ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์ และเมื่อจำเลยได้รับหนังสือแล้วไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงมอบอำนาจให้ ธ. ดำเนินคดีนี้แก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของทนายโจทก์เป็นการบอกกล่าวในนามของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของทนายโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนที่บอกกล่าวบังคับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 วรรคหนึ่ง ย่อมถือได้ว่าโจทก์ผู้รับจำนองมีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยผู้จำนองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 728 โดยชอบแล้ว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 มิได้บัญญัติว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือ กรณีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับมาตรา 798 วรรคหนึ่งที่กำหนดให้การตั้งตัวแทนเพื่อกิจกรรมนั้นต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด และแม้การมอบอำนาจจะมิได้ทำเป็นหนังสือแต่ทนายโจทก์ก็ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์ และเมื่อจำเลยได้รับหนังสือแล้วไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงมอบอำนาจให้ ธ. ดำเนินคดีนี้แก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของทนายโจทก์เป็นการบอกกล่าวในนามของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของทนายโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนที่บอกกล่าวบังคับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 วรรคหนึ่ง ย่อมถือได้ว่าโจทก์ผู้รับจำนองมีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยผู้จำนองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 728 โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1714/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดผ่านทนายความ แม้ทนายขอถอนตัวแต่ศาลยังไม่อนุญาต ถือว่าชอบแล้ว
การที่ ส. ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายความนั้น ศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งอนุญาต ทนายจำเลยจึงยังมีฐานะเป็นคู่ความอยู่ แม้หลังจากนั้น ส. ไม่ได้ติดต่อกับจำเลยอีก ก็ไม่ทำให้ ส. พ้นจากการเป็นทนายความของจำเลย เมื่อเจ้าพนักงานศาลนำหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปส่งให้ ส. โดยวิธีปิดหมาย จึงเป็นการส่งหมายนัดโดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ถือว่า ส. ทนายจำเลยทราบกำหนดนัดแล้ว แม้จะมีการส่งหมายนัดไปให้จำเลยจะมิชอบ ก็ไม่เป็นผลให้การส่งหมายนัดให้ทนายจำเลยไม่ชอบไปด้วย