พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนอง: คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์, ดอกเบี้ยทบต้น, และผลของการไม่คัดค้าน
ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้าน แม้จะกล่าวถึงมูลหนี้ว่า ลูกหนี้ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องในวงเงิน 300,000 บาทโดยยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันในวงเงินดังกล่าว หลังจากนั้นมีการเดินสะพัดทางบัญชีและต่อมาผู้ร้องได้บอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้ซึ่ง ณ วันที่14 มกราคม 2534 ลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ร้องจำนวน 546,895.54 บาท ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองหลักประกันตามสัญญาจำนองพร้อมดอกเบี้ยก่อนเจ้าหนี้อื่น และวินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราต่าง ๆนับตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2531 เป็นต้นไปก็ตาม แต่เมื่อที่สุดผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองภายในต้นเงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยนับแต่วันที่ 2 กันยายน 2531 จนถึงวันขายทอดตลาดทรัพย์จำนองซึ่งไม่ได้ระบุให้ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น ก็จะแปลว่าคำสั่งของผู้คัดค้านมีความหมายให้ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นมาได้ไม่ หากคำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างใด ชอบที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิคัดค้านตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 146 เมื่อผู้ร้องไม่ได้ใช้สิทธิคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าว คำสั่งของผู้คัดค้านย่อมถึงที่สุด ผู้ร้องจะคัดค้านอีกหาได้ไม่และเมื่อตามบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงิน ผู้คัดค้านได้คำนวณให้ผู้ร้องมีสิทธิไดรับชำระหนี้จากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์ตามคำสั่งของผู้คัดค้าน บัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินของผู้คัดค้านจึงถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลถึงที่สุดเกี่ยวกับสิทธิรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนอง และการคำนวณดอกเบี้ยที่ไม่ทบต้น ผู้ร้องมิอาจคัดค้านได้
จ.พ.ท.มีคำสั่งให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้300,000บาทจากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองพร้อมดอกเบี้ยอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยนับแต่วันที่2กันยายน2531จนถึงวันขายทอดตลาดทรัพย์จะแปลความว่าคำสั่งของจ.พ.ท.มีความหมายให้ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นหาได้ไม่หากผู้ร้องไม่คัดค้านคำสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา146คำสั่งของจ.พ.ท.ย่อมถึงที่สุดเมื่อบัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินของจ.พ.ท.คิดถูกต้องตามคำสั่งนั้นผู้ร้องจะยื่นคัดค้านบัญชีดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งผู้คัดค้านเกี่ยวกับการรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองถึงที่สุด ผู้ร้องมิอาจโต้แย้งได้อีก
ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแม้จะกล่าวถึงมูลหนี้ว่าลูกหนี้ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องในวงเงิน300,000บาทโดยยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันในวงเงินดังกล่าวหลังจากนั้นมีการเดินสะพัดทางบัญชีและต่อมาผู้ร้องได้บอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้ซึ่งณวันที่14มกราคม2534ลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ร้องจำนวน546,895.54บาทผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองหลักประกันตามสัญญาจำนองพร้อมดอกเบี้ยก่อนเจ้าหนี้อื่นและวินิจฉัยว่าผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราต่างๆนับตั้งแต่วันที่2กันยายน2531เป็นต้นไปก็ตามแต่เมื่อที่สุดผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองภายในต้นเงิน300,000บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยนับแต่วันที่2กันยายน2531จนถึงวันขายทอดตลาดทรัพย์จำนองซึ่งไม่ได้ระบุให้ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นก็จะแปลว่าคำสั่งของผู้คัดค้านมีความหมายให้ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นหาได้ไม่หากคำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างใดชอบที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิคัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา146เมื่อผู้ร้องไม่ได้ใช้สิทธิคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าวคำสั่งของผู้คัดค้านย่อมถึงที่สุดผู้ร้องจะคัดค้านอีกหาได้ไม่และเมื่อตามบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินผู้คัดค้านได้คำนวณให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์ตามคำสั่งของผู้คัดค้านบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินของผู้คัดค้านจึงถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7809/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้จากทรัพย์จำนองในคดีล้มละลายของผู้ค้ำประกันสิทธิในการได้รับชำระหนี้บางส่วน
ระหว่างพิจารณาคดีนี้จำเลยที่ 1 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองคดีนี้เฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1 จำนวน2,528,918.34 บาท กรณีย่อมต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 27, 95 และ 96 โจทก์ซึ่งอ้างว่าได้ฟ้องจำเลยทั้งสามร่วมกับบริษัทจึงย่อมปฏิบัติการขอรับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีดังกล่าวได้ดุจกันโจทก์ไม่มีอำนาจนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในส่วนของจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไปชำระหนี้ในคดีที่โจทก์ประสงค์โดยไม่ได้ปฏิบัติการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อโจทก์คดีนี้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้ในส่วนของจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 2,528,918.34 บาทแล้วก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ในคดีนี้แล้วบางส่วนจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในส่วนของจำเลยที่ 1 จากการที่จำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ฉะนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้จำเลยที่ 1 จึงย่อมได้รับประโยชน์ในผลของการชำระหนี้นั้นด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 698
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7809/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีล้มละลาย ผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
ระหว่างพิจารณาคดีนี้จำเลยที่ 1 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองคดีนี้เฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1 จำนวน 2,528,918.34 บาทกรณีย่อมต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 27,95 และ 96 โจทก์ซึ่งอ้างว่าได้ฟ้องจำเลยทั้งสามร่วมกับบริษัทจึงย่อมปฏิบัติการขอรับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีดังกล่าวได้ดุลกันโจทก์ไม่มีอำนาจนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในส่วนของจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไปชำระหนี้ในคดีที่โจทก์ประสงค์โดยไม่ได้ปฏิบัติการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อโจทก์คดีนี้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้ในส่วนของจำเลยที่ 1เป็นเงิน 2,528,918.34 บาท แล้วก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ในคดีนี้แล้วบางส่วนจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในส่วนของจำเลยที่ 1 จากการที่จำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์ฉะนั้น จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้จำเลยที่ 1จึงย่อมได้รับประโยชน์ในผลของการชำระหนี้นั้นด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองในการรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองที่ถูกยึดในคดีล้มละลาย จำกัดเฉพาะจำนวนเงินจำนองและดอกเบี้ย
ผู้ร้องรับจำนองที่ดิน 2 แปลง โฉนดเลขที่ 47398 และ 26695 จากจ. เพื่อประกันหนี้เงินกู้ของ จ. เพียงรายเดียวโดยระบุจำนวนเงินจำนองสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 47398 เป็นเงิน 600,000 บาท และโฉนดเลขที่ 26695 เป็นเงิน 1,900,000 บาท เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 26695 เพียงแปลงเดียวเพื่อบังคับชำระหนี้ ผู้ร้องก็ชอบที่จะขอรับชำระหนี้จำนองจากที่ดินโฉนดเลขที่ 26695 เพียงเท่าจำนวนเงินจำนองของที่ดินดังกล่าวพร้อมทั้งดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองตามส่วนเฉลี่ยของจำนวนเงินจำนองของที่ดินแปลงดังกล่าว แม้ผู้ร้องจะฟ้องบังคับจำนองที่ดินทั้งสองแปลงแล้วและอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถบังคับชำระหนี้จากที่ดินทั้งสองแปลงที่รับจำนองไว้ก็ตาม แต่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ก็มิได้ให้สิทธิแก่ผู้ร้องที่จะขอใช้สิทธิจำนองบังคับเอาจากทรัพย์จำนองเกินกว่าจำนวนเงินจำนองอันเป็นการกระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้อื่นที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองส่วนที่อยู่นอกเหนือจากความรับผิดตามสัญญาจำนองนั้น ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ได้ฟ้องบังคับจำนองจนเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว และยื่นคำร้องคดีนี้ขอรับชำระหนี้จำนองจากทรัพย์จำนองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ผู้ร้องจึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม การยื่นคำร้องตามจำนวนทุนทรัพย์แต่เสียเพียงค่าคำร้อง 20 บาท แม้ผู้ร้องมิได้ฎีกา ก็สมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองหลังการประนอมหนี้และการล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองเพื่อเป็นการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ ซึ่งศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบแล้วได้ แม้ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายและให้จำเลยมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังต้องมีอำนาจหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อตกลงในการประนอมหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองหลังศาลเห็นชอบการประนอมหนี้
ในการขอประนอมหนี้ครั้งแรกซึ่งถูกศาลสั่งยกเลิกและพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย จำเลยขอชำระหนี้เป็นจำนวนร้อยละ 15 ของยอดหนี้ที่ไม่มีประกัน รวมทั้งหนี้มีประกันของผู้ร้องส่วนที่ยังขาดอยู่หลังจากบังคับจำนองทรัพย์อันเป็นหลักประกันแล้วด้วย ในการขอประนอมหนี้ครั้งหลังจำเลยยื่นคำขอประนอมหนี้โดยระบุว่าจำเลยจะยอมชำระหนี้ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้วเป็นจำนวนร้อยละ 15 แม้ว่าในคำขอประนอมหนี้ครั้งหลังจำเลยจะมิได้ระบุ รายละเอียดเหมือนการประนอมหนี้ครั้งแรก แต่การประนอมหนี้ทั้งสองครั้งได้กระทำในคดีล้มละลายเรื่องเดียวกัน เมื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ทั้งสองครั้งประกอบกันแล้ว เห็นได้ว่าจำเลยมีความประสงค์จะขอประนอมหนี้เฉพาะหนี้ที่ไม่มีประกันเป็นจำนวนร้อยละ 15 ของหนี้ทั้งหมดส่วนที่เป็นหนี้มีประกันจำเลยยินยอมให้เจ้าหนี้บังคับเอาแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกันก่อน หากยังขาดอยู่ จำเลยจึงขอชำระหนี้จำนวนร้อยละ 15 ของหนี้ส่วนที่ขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นประกันตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้วได้ การที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายเนื่องจากจำเลยขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายสำเร็จ และศาลสั่งให้จำเลยมีอำนาจเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของตนนั้น อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายยังมิได้สิ้นสุดลงโดยสิ้นเชิงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมีหน้าที่ในการที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อตกลงในการประนอมหนี้อยู่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6326/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองร่วม: การเฉลี่ยหนี้จากทรัพย์จำนองเมื่อมีเจ้าหนี้หลายราย
ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในหนี้จำนอง มีสิทธิร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 และร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในฐานะเจ้าหนี้สามัญตามมาตรา 290 ได้ด้วย การที่ผู้ร้องและโจทก์ในคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกัน และเป็นผู้รับจำนองทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ในสัญญาจำนองฉบับเดียวกันบุริมสิทธิของผู้ร้องและโจทก์เป็นบุริมสิทธิที่จะบังคับและได้รับชำระหนี้ร่วมกันจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ได้เพียงไม่เกินวงเงินจำนอง จะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิเต็มตามจำนวนหนี้หาได้ไม่ ส่วนหนี้ที่เหลือผู้ร้องคงยื่นคำร้องขอเฉลี่ยได้อย่างเจ้าหนี้สามัญ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีจำนอง: บังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น หากสัญญามิได้ระบุขยายไปยังทรัพย์สินอื่น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำที่ดินมีโฉนดมาจำนองไว้กับโจทก์จำเลยรับเงินไปครบถ้วนในวันทำสัญญาจำนอง ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยกู้เงินอีกต่อไป โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง และคำขอบังคับท้ายฟ้อง โจทก์ขอว่า หากจำเลยไม่ชำระเงินให้ยึดที่ดินที่จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์แสดงว่าโจทก์ฟ้องบังคับจำนองประสงค์จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น
โจทก์นำสืบพยานหลักฐานว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยถือหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมด้วย เมื่อสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อความว่าหากโจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ ก็ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นได้ด้วย ดังนี้ เมื่อโจทก์บังคับคดีเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก.
โจทก์นำสืบพยานหลักฐานว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยถือหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมด้วย เมื่อสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อความว่าหากโจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ ก็ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นได้ด้วย ดังนี้ เมื่อโจทก์บังคับคดีเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก.