พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6387/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีทรัพย์สินทางปัญญา: การมีแสตมป์ยาสูบปลอมและสินค้ามีเครื่องหมายการค้าปลอม ศาลฎีกาแก้โทษและยกฟ้องบางส่วน
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 254,257 และ 263 แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มิได้มีคำวินิจฉัยในข้อนี้ รวมทั้งมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าวและโจทก์ก็มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ ประกอบกับโจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดเกี่ยวกับแสตมป์ยาสูบตามพระราชบัญญัติยาสูบฯ มาตรา 43 ประกอบมาตรา 53 ซึ่งเป็นบทกฎหมายเฉพาะมาด้วย และศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ลงโทษจำเลยตามกฎหมายดังกล่าวแล้วถือได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 254,257 และ 263 อันเป็นบททั่วไปตามคำขอท้ายคำฟ้องอีก
เครื่องหมายอย่างอื่นที่ใช้แทนแสตมป์ยาสูบตามคำฟ้องโจทก์ อันถือว่าเป็นแสตมป์ยาสูบตามบทนิยามในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติยาสูบฯ นั้นมีผู้อื่นทำปลอมขึ้นและได้ถูกนำมาใช้ปิดอยู่บนซองบรรจุยาสูบของกลางแต่ละซองแล้ว โดยจำเลยมียาสูบของกลางแต่ละซองดังกล่าวไว้เพื่อขาย ซึ่งในการขายยาสูบแต่ละซองนั้นแม้จะมีแสตมป์ยาสูบปลอมปิดอยู่บนซองบรรจุยาสูบด้วย ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะมีแสตมป์ยาสูบปลอมดวงนั้น ๆ ไว้เพื่อขายตามความหมายในมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติยาสูบฯ เพราะมาตราดังกล่าวมุ่งประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดที่มีแสตมป์ยาสูบปลอมไว้ในครอบครองเพื่อขายหรือเพื่อนำออกใช้เท่านั้น หาได้ประสงค์ที่จะลงโทษผู้ที่มียาสูบซึ่งมีผู้อื่นทำปลอมแสตมป์ยาสูบขึ้น แล้วนำมาปิดแสดงอยู่บนซองยาสูบดังกล่าวไม่ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ลงโทษจำเลยฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งแสตมป์ยาสูบปลอมเพื่อขายตามพระราชบัญญัติยาสูบฯ มาตรา 43 ประกอบมาตรา 53 มานั้นจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานนี้ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,195 วรรคสองและ 215
เครื่องหมายอย่างอื่นที่ใช้แทนแสตมป์ยาสูบตามคำฟ้องโจทก์ อันถือว่าเป็นแสตมป์ยาสูบตามบทนิยามในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติยาสูบฯ นั้นมีผู้อื่นทำปลอมขึ้นและได้ถูกนำมาใช้ปิดอยู่บนซองบรรจุยาสูบของกลางแต่ละซองแล้ว โดยจำเลยมียาสูบของกลางแต่ละซองดังกล่าวไว้เพื่อขาย ซึ่งในการขายยาสูบแต่ละซองนั้นแม้จะมีแสตมป์ยาสูบปลอมปิดอยู่บนซองบรรจุยาสูบด้วย ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะมีแสตมป์ยาสูบปลอมดวงนั้น ๆ ไว้เพื่อขายตามความหมายในมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติยาสูบฯ เพราะมาตราดังกล่าวมุ่งประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดที่มีแสตมป์ยาสูบปลอมไว้ในครอบครองเพื่อขายหรือเพื่อนำออกใช้เท่านั้น หาได้ประสงค์ที่จะลงโทษผู้ที่มียาสูบซึ่งมีผู้อื่นทำปลอมแสตมป์ยาสูบขึ้น แล้วนำมาปิดแสดงอยู่บนซองยาสูบดังกล่าวไม่ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ลงโทษจำเลยฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งแสตมป์ยาสูบปลอมเพื่อขายตามพระราชบัญญัติยาสูบฯ มาตรา 43 ประกอบมาตรา 53 มานั้นจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานนี้ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,195 วรรคสองและ 215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4672/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าที่จดทะเบียนแล้วในธุรกิจที่ใกล้เคียงกันเป็นการละเมิดสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาและก่อให้เกิดความเสียหาย
โจทก์ได้ใช้คำว่า "ORIENTAL" และ "โอเรียนเต็ล" เป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ และชื่อทางการค้าในกิจการโรงแรมของโจทก์จนมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปมานานแล้ว โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายบริการไว้ในจำพวกที่ 42 สำหรับการให้บริการธุรกิจโรงแรมและโมเต็ลโดยมิได้จดทะเบียนในจำพวกธุรกิจบ้านจัดสรรและอาคารชุดไว้ ต่อมาจำเลยได้ใช้คำว่า "ORIENTAL SUITE" และ "โอเรียนเต็ลสวีท" เป็นชื่อโครงการอาคารชุดของจำเลย ธุรกิจอาคารชุดของจำเลยจึงมิใช่จำพวกสินค้าหรือบริการที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าหรือบริการที่ไม่ได้จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 46 วรรคแรก อย่างไรก็ตาม โจทก์ได้ใช้คำว่า "ORIENTAL" เป็นชื่อทางการค้าและชื่อโรงแรมในการประกอบกิจการโรงแรมในระดับ 5 ดาว จนมีชื่อเสียงได้รับการยอมรับและไว้วางใจจากสาธารณชนทั่วไป โจทก์จึงเป็นเจ้าของและมีสิทธิในชื่อทางการค้า คำว่า "ORIENTAL" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 ซึ่งตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว โจทก์มีสิทธิฟ้องบุคคลอื่นที่นำชื่อทางการค้าของโจทก์ไปใช้โดยไม่สุจริตจนทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าเป็นกิจการเดียวกับโจทก์หรือเกี่ยวข้องกับโจทก์และทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของชื่อต้องเสื่อมเสียประโยชน์
การที่จำเลยนำคำว่า "โอเรียนเต็ล" และ "ORIENTAL" ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าในกิจการโรงแรมของโจทก์มาใช้เป็นชื่อในโครงการอาคารชุดของจำเลยซึ่งเป็นกิจการที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกิจการโรงแรมของโจทก์เพราะเป็นการให้บริการในเรื่องห้องพักอาศัยเช่นเดียวกัน ประกอบกับโครงการอาคารชุดของจำเลยกับโรงแรมของโจทก์ต่างตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม้จะอยู่คนละฝั่งแต่ก็เยื้องกันไม่มากนับว่าอยู่ใกล้เคียงกัน ย่อมก่อให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดต่อสาธารณชนว่ากิจการของจำเลยเป็นกิจการของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องอยู่ด้วย การกระทำของจำเลยที่ใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ จึงเป็นการแอบอ้างเอาชื่อเสียงจากชื่อทางการค้าของโจทก์ไปหาประโยชน์โดยมิชอบ โดยไม่สุจริตและเป็นการละเมิดต่อโจทก์
การที่จำเลยนำคำว่า "โอเรียนเต็ล" และ "ORIENTAL" ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าในกิจการโรงแรมของโจทก์มาใช้เป็นชื่อในโครงการอาคารชุดของจำเลยซึ่งเป็นกิจการที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกิจการโรงแรมของโจทก์เพราะเป็นการให้บริการในเรื่องห้องพักอาศัยเช่นเดียวกัน ประกอบกับโครงการอาคารชุดของจำเลยกับโรงแรมของโจทก์ต่างตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม้จะอยู่คนละฝั่งแต่ก็เยื้องกันไม่มากนับว่าอยู่ใกล้เคียงกัน ย่อมก่อให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดต่อสาธารณชนว่ากิจการของจำเลยเป็นกิจการของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องอยู่ด้วย การกระทำของจำเลยที่ใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ จึงเป็นการแอบอ้างเอาชื่อเสียงจากชื่อทางการค้าของโจทก์ไปหาประโยชน์โดยมิชอบ โดยไม่สุจริตและเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3762/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักวันคุมขังก่อนศาลพิพากษาในคดีทรัพย์สินทางปัญญา แม้คำพิพากษาไม่ได้ระบุ
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ศาลซึ่งรายงานว่าไม่ต้องหักวันคุมขังให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วแจ้งให้ทนายจำเลยทราบโดยไม่ได้สั่งแก้ไขหมายจำคุกระหว่างอุทธรณ์ฎีกา เท่ากับให้ยกคำร้องของจำเลยที่ 2 โดยเห็นด้วยกับรายงานของเจ้าหน้าที่ศาล จำเลยที่ 2 จึงอุทธรณ์คำสั่งได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกคุมขังในคดีนี้ตามหมายขังระหว่างพิจารณาตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2544 โดยจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ถือได้ว่าตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2544 ถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาจำเลยที่ 2 ถูกคุมขังมาก่อนศาลพิพากษา เมื่อคำพิพากษาไม่ได้ระบุว่าไม่ให้หักวันคุมขังให้แก่จำเลยที่ 2 จึงต้องหักวันคุมขังดังกล่าวออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ คดีเลตเตอร์ออฟเครดิต-ทรัสต์รีซีท แม้คู่สัญญาทั้งสองอยู่ในไทย
กรณีที่ประธานศาลฎีกาจะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศหรือไม่ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 9 นั้น จักต้องเป็นกรณีที่มีข้อสงสัยยังไม่ได้ความชัดแจ้งว่า คดีนั้นเป็นคดีประเภทใดประเภทหนึ่ง ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 7 (1) ถึง (11) เมื่อคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมการซื้อขายระหว่างประเทศและทรัสต์รีซีทโดยแจ้งชัด จึงอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 7 (5), (6) ไม่มีปัญหาอันต้องเสนอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญา: คดีเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
ในการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มีจุดประสงค์เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับข้อพิพาททางทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว เที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพและเหมาะสมยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีอาญาและคดีแพ่งโดยทั่วไป ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯมาตรา 7(1) ถึง (11) ได้บัญญัติเป็นการเฉพาะเจาะจงว่ามีคดีประเภทใดบ้างที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ดังนั้น หากคำฟ้องและคำให้การเห็นได้ชัดว่าเป็นคดีประเภทที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7(1) ถึง (11) แล้ว ก็ต้องอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ส่วนกรณีตามมาตรา 9นั้น เป็นเรื่องที่มีปัญหาสงสัยไม่ชัดแจ้งว่าคดีนั้นเป็นคดีประเภทใดหรือสงสัยในเนื้อหาของข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การว่าจะเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ หรือไม่ จึงจะเสนอให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยเมื่อคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศและทรัสต์รีซีทโดยชัดแจ้ง ซึ่งเป็นคดีที่มีลักษณะตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 7(6) กรณีจึงไม่จำต้องเสนอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9524/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้อง, อัตราแลกเปลี่ยนเงิน, และขอบเขตคำพิพากษาในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศไม่อยู่ในบังคับให้ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
หนังสือมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศมีเจ้าพนักงานโนตารีปับลิกลงชื่อเป็นพยานและมีใบสำคัญของรัฐบาลต่างประเทศที่เกี่ยวข้องแสดงว่าบุคคลที่เป็นพยานนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำการได้ แม้จะไม่มีกงสุลไทยเป็นพยาน ก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม การมอบอำนาจนั้นย่อมชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับอำนาจศาลตามสัญญาฉบับพิพาทที่กำหนดให้คู่สัญญาดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลแห่งประเทศอังกฤษเพียงแห่งเดียว จะทำขึ้นก่อนที่จะมีการจัดตั้งและเปิดทำการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า- ระหว่างประเทศกลางก็ตาม แต่คดีนี้เกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคล จำเลยทั้งหมดต่างมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลในประเทศไทย คือ ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) เดิม(มาตรา 4(1) ที่แก้ไขใหม่) ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ใช้บังคับศาลทรัพย์สิน-ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งมีเขตศาลตลอดกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ตาม พ.ร.บ.มาตรา 5 และมาตรา 7(3) โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง หาจำต้องนำไปฟ้องยังศาลแห่งประเทศอังกฤษแต่เพียงแห่งเดียวไม่
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 68 วรรคสอง, 80 และ 94 ซึ่งบัญญัติให้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการหรือเครื่องหมายร่วมเฉพาะที่ได้จดทะเบียนแล้วต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนด้วย มีผลใช้บังคับในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ขณะทำสัญญาบทกฎหมายดังกล่าวยังไม่ใช้บังคับ และกฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับเครื่องหมายบริการขณะนั้นยังไม่มี เมื่อสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้ และบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ไม่มีผลใช้บังคับย้อนหลังไม่ทำให้สัญญาซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไปหรือตกเป็นโมฆะ
สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิระหว่างบริษัทผู้อนุญาตกับจำเลยที่ 1 ผู้รับอนุญาตมีข้อตกลงว่า "ให้ผู้อนุญาตโอนสิทธิและภาระผูกพันของตนได้อย่างอิสระ" และได้มีการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบโดยทางโทรสารและไปรษณีย์ลงทะเบียนแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าสภาพแห่งสิทธินั้นเองจะไม่เปิดช่องให้โอนกันได้ บริษัทผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิจึงโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้รับโอนได้โดยชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคแรก และเมื่อการโอนดังกล่าวมีการแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบแล้วตามมาตรา 306 วรรคแรก การโอนนั้นจึงใช้ยันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
การโอนสิทธิและอนุญาตให้ใช้สิทธิในชื่อทางการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายการค้า และสิทธิในระบบปฏิบัติการที่มีอยู่แล้วก่อนนำมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายบริการในประเทศไทยมิใช่การโอนสิทธิในเครื่องหมายบริการที่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่ต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตามแบบแห่งนิติกรรมดังที่กำหนดไว้มาตรา 51 วรรคสอง และ 68 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า-ระหว่างประเทศวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐตามคำขอบังคับของโจทก์ท้ายคำฟ้องเท่านั้น
แม้ลูกหนี้มีสิทธิชำระหนี้เงินดอลลาร์สหรัฐตามคำพิพากษาเป็นเงินบาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคแรก แต่การเปลี่ยนเงินก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 196 วรรคสอง ที่ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันอันเนื่องมาจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน การชำระหนี้ด้วยเงินไทยและการเปลี่ยนเงินเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี จึงไม่ต้องกำหนดไว้ในคำพิพากษา แต่การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาเกี่ยวกับการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทโดยให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษาซึ่งอาจมีอัตราแลกเปลี่ยนแตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินในเวลาที่มีการใช้เงิน หากลูกหนี้ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันอ่านคำพิพากษาซึ่งถ้าเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ แลกเป็นเงินบาทได้มากกว่าในวันชำระเงินจริง ก็จะทำให้ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ด้วยเงินบาทเป็นจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินบาทที่คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ใช้เงินและมีผลทำให้จำนวนเงินที่ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทนั้นคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐสูงกว่าจำนวนเงินตามคำขอบังคับท้ายคำฟ้องของโจทก์อันถือเป็นการพิพากษาเกินไปหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและ วิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอุทธรณ์ขึ้นมาศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเฉพาะกรณีที่จะมีผลให้เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศมีเจ้าพนักงานโนตารีปับลิกลงชื่อเป็นพยานและมีใบสำคัญของรัฐบาลต่างประเทศที่เกี่ยวข้องแสดงว่าบุคคลที่เป็นพยานนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำการได้ แม้จะไม่มีกงสุลไทยเป็นพยาน ก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม การมอบอำนาจนั้นย่อมชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับอำนาจศาลตามสัญญาฉบับพิพาทที่กำหนดให้คู่สัญญาดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลแห่งประเทศอังกฤษเพียงแห่งเดียว จะทำขึ้นก่อนที่จะมีการจัดตั้งและเปิดทำการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า- ระหว่างประเทศกลางก็ตาม แต่คดีนี้เกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคล จำเลยทั้งหมดต่างมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลในประเทศไทย คือ ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) เดิม(มาตรา 4(1) ที่แก้ไขใหม่) ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ใช้บังคับศาลทรัพย์สิน-ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งมีเขตศาลตลอดกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ตาม พ.ร.บ.มาตรา 5 และมาตรา 7(3) โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง หาจำต้องนำไปฟ้องยังศาลแห่งประเทศอังกฤษแต่เพียงแห่งเดียวไม่
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 68 วรรคสอง, 80 และ 94 ซึ่งบัญญัติให้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการหรือเครื่องหมายร่วมเฉพาะที่ได้จดทะเบียนแล้วต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนด้วย มีผลใช้บังคับในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ขณะทำสัญญาบทกฎหมายดังกล่าวยังไม่ใช้บังคับ และกฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับเครื่องหมายบริการขณะนั้นยังไม่มี เมื่อสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้ และบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ไม่มีผลใช้บังคับย้อนหลังไม่ทำให้สัญญาซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไปหรือตกเป็นโมฆะ
สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิระหว่างบริษัทผู้อนุญาตกับจำเลยที่ 1 ผู้รับอนุญาตมีข้อตกลงว่า "ให้ผู้อนุญาตโอนสิทธิและภาระผูกพันของตนได้อย่างอิสระ" และได้มีการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบโดยทางโทรสารและไปรษณีย์ลงทะเบียนแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าสภาพแห่งสิทธินั้นเองจะไม่เปิดช่องให้โอนกันได้ บริษัทผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิจึงโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้รับโอนได้โดยชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคแรก และเมื่อการโอนดังกล่าวมีการแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบแล้วตามมาตรา 306 วรรคแรก การโอนนั้นจึงใช้ยันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
การโอนสิทธิและอนุญาตให้ใช้สิทธิในชื่อทางการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายการค้า และสิทธิในระบบปฏิบัติการที่มีอยู่แล้วก่อนนำมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายบริการในประเทศไทยมิใช่การโอนสิทธิในเครื่องหมายบริการที่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่ต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตามแบบแห่งนิติกรรมดังที่กำหนดไว้มาตรา 51 วรรคสอง และ 68 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า-ระหว่างประเทศวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐตามคำขอบังคับของโจทก์ท้ายคำฟ้องเท่านั้น
แม้ลูกหนี้มีสิทธิชำระหนี้เงินดอลลาร์สหรัฐตามคำพิพากษาเป็นเงินบาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคแรก แต่การเปลี่ยนเงินก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 196 วรรคสอง ที่ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันอันเนื่องมาจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน การชำระหนี้ด้วยเงินไทยและการเปลี่ยนเงินเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี จึงไม่ต้องกำหนดไว้ในคำพิพากษา แต่การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาเกี่ยวกับการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทโดยให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษาซึ่งอาจมีอัตราแลกเปลี่ยนแตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินในเวลาที่มีการใช้เงิน หากลูกหนี้ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันอ่านคำพิพากษาซึ่งถ้าเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ แลกเป็นเงินบาทได้มากกว่าในวันชำระเงินจริง ก็จะทำให้ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ด้วยเงินบาทเป็นจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินบาทที่คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ใช้เงินและมีผลทำให้จำนวนเงินที่ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทนั้นคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐสูงกว่าจำนวนเงินตามคำขอบังคับท้ายคำฟ้องของโจทก์อันถือเป็นการพิพากษาเกินไปหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและ วิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอุทธรณ์ขึ้นมาศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเฉพาะกรณีที่จะมีผลให้เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชั่วคราวในคดีทรัพย์สินทางปัญญา: การห้ามตรวจค้นยึด และการวางประกันเพื่อชดใช้ความเสียหาย
เมื่อโจทก์กับจำเลยยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มที่เจ้าพนักงานออกให้แก่จำเลยเป็นสิทธิบัตรที่สมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ หรือไม่ และการกระทำของโจทก์ เป็นการละเมิดสิทธิของจำเลยผู้ทรงสิทธิบัตรหรือไม่ การที่จำเลยนำ เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปยึดวัสดุรับแรงกระแทกที่โจทก์นำมาใช้งาน ตลอดมา ทั้ง ๆ ที่เจ้าพนักงานตำรวจ ก็ได้ยึดวัสดุรองรับแรงกระแทก ไปเป็นพยานหลักฐานบ้างแล้ว ถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยจะกระทำซ้ำ หรือกระทำต่อไปอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ ถ้าหากข้อเท็จจริง ได้ความเป็นที่ยุติว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยเป็นสิทธิบัตรที่ ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายหรือโจทก์มิได้ละเมิดสิทธิของจำเลยดังกล่าว โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายดังที่โจทก์บรรยายมาในคำขอคุ้มครองชั่วคราว ระหว่างพิจารณา โจทก์จึงชอบที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการนำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปตรวจค้น และยึดวัสดุรองรับแรงกระแทกของโจทก์ในสถานที่ก่อสร้างได้ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางฯ มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 255(2)
แต่ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง มีคำสั่งห้ามจำเลยดำเนินคดีอาญาข้อหาละเมิดสิทธิบัตรเพื่อนำชี้ให้ เจ้าพนักงานตำรวจเข้าทำการตรวจค้นและยึดวัสดุรองรับแรงกระแทก ของโจทก์นั้น อาจทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนไปได้ว่าศาลมีคำสั่งห้าม จำเลยไม่ให้ดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ ซึ่งสิทธิในการดำเนินคดีข้อหา ดังกล่าวยังคงเป็นสิทธิของจำเลยตราบเท่าที่สิทธิบัตรของจำเลย ยังไม่ถูกเพิกถอน จึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่าไม่ห้ามจำเลย ดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในข้อหาดังกล่าว แต่ห้ามชั่วคราวมิให้จำเลย นำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปทำการตรวจค้นและยึดวัสดุรองรับแรงกระแทก ของโจทก์ในสถานที่ก่อสร้างก่อนพิพากษาคดีนี้
แต่ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง มีคำสั่งห้ามจำเลยดำเนินคดีอาญาข้อหาละเมิดสิทธิบัตรเพื่อนำชี้ให้ เจ้าพนักงานตำรวจเข้าทำการตรวจค้นและยึดวัสดุรองรับแรงกระแทก ของโจทก์นั้น อาจทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนไปได้ว่าศาลมีคำสั่งห้าม จำเลยไม่ให้ดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ ซึ่งสิทธิในการดำเนินคดีข้อหา ดังกล่าวยังคงเป็นสิทธิของจำเลยตราบเท่าที่สิทธิบัตรของจำเลย ยังไม่ถูกเพิกถอน จึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่าไม่ห้ามจำเลย ดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในข้อหาดังกล่าว แต่ห้ามชั่วคราวมิให้จำเลย นำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปทำการตรวจค้นและยึดวัสดุรองรับแรงกระแทก ของโจทก์ในสถานที่ก่อสร้างก่อนพิพากษาคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7411/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ: การยอมรับอำนาจศาลโดยปริยายและการล่วงเลยเวลาโต้แย้ง
ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า คดีอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่จะพิจารณาพิพากษาหรือไม่ จำเลยให้การว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ แต่ในชั้นชี้สองสถานศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องนี้ไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้ง เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จำเลยก็มิได้ยกเรื่องนี้ขึ้นโต้แย้งอีก แสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจศาลและไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาล จึงถือว่าล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหาตามอุทธรณ์ดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่อาจส่งให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7411/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ และการยอมรับอำนาจศาลโดยปริยาย การคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
จำเลยทั้งสามให้การว่า สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นการกู้ยืมเงินภายในประเทศ คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ แต่ในชั้นชี้สองสถานศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องนี้ไว้ และจำเลยทั้งสามมิได้โต้แย้งทั้งเมื่อศาลดังกล่าวดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จำเลยทั้งสามก็มิได้ยกเรื่องนี้ขึ้นโต้แย้ง แสดงว่ายอมรับอำนาจศาล และไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาล เมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขึ้นมา จึงถือว่าล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่ส่งให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9020/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ วินิจฉัยผิดพลาด นำบทบัญญัติมาตรา 1115 มาใช้ ทั้งที่คดีเน้นเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้ ขอจดทะเบียนหรือเกี่ยวข้องกับชื่อทางการค้า SONY ของโจทก์ คดีย่อมมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าการจดทะเบียนใช้ชื่อบริษัทของจำเลยเป็นการล่วงละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18, 421 และเป็นการล่วงละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้ากับเครื่องหมายบริการตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 44, 47 หรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการจดทะเบียนชื่อบริษัทพ้องกับชื่อบริษัทโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนอันจะมีผลที่จะบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1115 เพราะโจทก์มิได้อ้างว่าโจทก์จดทะเบียนชื่อนิติบุคคลของโจทก์ดังกล่าวไว้ก่อน การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและบังคับตามนัยบทบัญญัติมาตรา 1115 จึงเป็นการพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีนอกเหนือจากคำฟ้องโจทก์ จึงเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาใหม่