คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์สินพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินพิพาทระหว่างผู้ครอบครองกับผู้มีสิทธิตามกฎหมาย การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ
คดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000 บาท ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมากนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของคู่ความมาลอยๆ โดยมิได้อ้างเหตุก็ตาม คู่ความก็ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินพิพาทและการฟ้องขับไล่: จำเลยมีสิทธิอ้างความเป็นเจ้าของทรัพย์เพื่อต่อสู้คดีได้
(1) เมื่อปรากฎว่าจำเลยเดิมให้การว่าเรือนพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของจำเลยร่วมและจำเลยร่วมก็อ้างว่าเป็นของตน การสร้างก็ดี การให้จำเลยอาศัยก็ดี โจทก์ทำแทนจำเลยร่วมทั้งสิ้น ดังนี้ ย่อมไม่ขัดกับข้อต่อสู้ของจำเลยเดิม อนึ่งเมื่อจำเลยเดิมให้การว่า ที่ดินที่ปลูกเรือนนั้นจำเลยร่วมเช่าจากวัดป่าประดู่ และจำเลยร่วมก็อ้างอย่างเดียวกัน เช่นนี้ ย่อมไม่ถือว่าจำเลยร่วมใช้สิทธิขัดกับสิทธิของจำเลยเดิม
(2) ในฟ้องแย้งจำเลยอ้างว่าโรงเรือนรายพิพาทปลูกก่อนจำเลยเช่าที่ดินจากเจ้าของที่ดิน ดังนี้โจทก์จำเลยย่อมไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน และการที่โจทก์อยู่ในที่ดิน หากจะเป็นละเมิด ก็ละเมิดต่อเจ้าของที่ดิน ไม่ใช่ต่อจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่โจทก์ จึงไม่มีเหตุจะต้องพิจารณาฟ้องแย้งของจำเลย
(3) ในกรณีที่จำเลยต่อสู้ว่าโรงเรือนพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของจำเลยร่วม และจำเลยร่วมได้ขอต่อสู้คดีกับโจทก์ดังกล่าวในข้อ (1) (2) ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ดังฝ่ายจำเลยต่อสู้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย เพราะอำนาจเหล่านี้เป็นของเจ้าของทรัพย์ ฉะนั้น การที่ศาลล่างให้จำเลยแพ้คดีโดยอ้างว่าจำเลยอาศัยโจทก์โดยไม่วินิจฉัยว่าโรงเรือนเป็นของโจทก์หรือของจำเลยร่วมจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินพิพาท: ศาลต้องวินิจฉัยกรรมสิทธิ์ก่อนตัดสินคดีขับไล่ หากกรรมสิทธิ์ไม่ชัดเจน โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้อง
(1) เมื่อปรากฏว่าจำเลยเดิมให้การว่า เรือนพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของจำเลยร่วม และจำเลยร่วมก็อ้างว่าเป็นของตน การสร้างก็ดี การให้จำเลยอาศัยก็ดี โจทก์ทำแทนจำเลยร่วมทั้งสิ้น ดังนี้ ย่อมไม่ขัดกับข้อต่อสู้ของจำเลยเดิม อนึ่งเมื่อจำเลยเดิมให้การว่า ที่ดินที่ปลูกเรือนนั้นจำเลยร่วมเช่าจากวัดป่าประดู่ และจำเลยร่วมก็อ้างอย่างเดียวกัน เช่นนี้ ย่อมไม่ถือว่าจำเลยร่วมใช้สิทธิขัดกับสิทธิของจำเลยเดิม (2) ในฟ้องแย้งจำเลยอ้างว่าโรงเรือนรายพิพาทปลูกก่อนจำเลยเช่าที่ดินจากเจ้าของที่ดิน ดังนี้ โจทก์จำเลยย่อมไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน และการที่โจทก์อยู่ในที่ดิน หากจะเป็นการละเมิดก็ละเมิดต่อเจ้าของที่ดิน ไม่ใช่ต่อจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่โจทก์ จึงไม่มีเหตุจะต้องพิจารณาฟ้องแย้งของจำเลย (3) ในกรณีที่จำเลยต่อสู้ว่า โรงเรือนพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของจำเลยร่วมและจำเลยร่วมได้ขอต่อสู้คดีกับโจทก์ดังกล่าวในข้อ (1)(2) ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ดังฝ่ายจำเลยต่อสู้โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย เพราะอำนาจเหล่านี้เป็นของเจ้าของทรัพย์ ฉะนั้น การที่ศาลล่างให้จำเลยแพ้คดีโดยอ้างว่าจำเลยอาศัยโจทก์โดยไม่วินิจฉัยว่าโรงเรือนเป็นของโจทก์หรือของจำเลยร่วมจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินพิพาท: บุคคลภายนอกมีสิทธิพิสูจน์กรรมสิทธิ์ที่แท้จริง แม้มีคำพิพากษาแล้ว
แม้จะเคยมีคำพิพากษารับรองกรรมสิทธิ์ว่าทรัพย์พิพาทเป็นของผู้ร้องขัดทรัพย์มาแล้วก็ตาม โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีนั้นย่อมนำพิสูจน์ว่าทรัพย์รายพิพาทนั้นเป็นของจำเลยอันจะต้องรับผิดต่อการบังคับคดีของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 (2) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายทอดตลาดโดยไม่สุจริต แม้จดทะเบียนแล้วก็ไม่เกิดกรรมสิทธิ์ ผู้ซื้อรู้ว่าทรัพย์สินมีข้อพิพาท
การขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ขายฝากนำยึดทรัพย์ที่ขายฝากแต่หลุดเป็นสิทธิของผู้ซื้อฝากแล้วนั้นหากก่อนการขายทอดตลาด ผู้ซื้อฝากมาคัดค้านว่าทรัพย์ที่ขายทอดตลาดเป็นของตน ผู้ซื้อรู้แล้วยังขืนซื้อไป ถือว่าผู้ซื้อ ซื้อการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริตและแม้จะจดทะเบียนโดยชอบแล้วก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินพิพาท: ศาลไม่บังคับต้องแบ่งเสมอไป หากคู่ความไม่ตกลง สามารถขายทอดตลาดได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ไม่ใช่บทบังคับว่าศาลจำต้องสั่งให้มีการแบ่งตัวทรัพย์ที่พิพาทกันเสมอไป
ศาลได้พิพากษาให้แบ่งที่พิพาทระหว่างโจทก์จำเลยตามส่วนถ้าไม่สามารถแบ่งได้ ให้ประมูลราคาระหว่างโจทก์จำเลยแล้วแบ่งเงินกัน หากยังไม่ตกลงกันได้อีก ก็ให้ขายทอดตลาดแบ่งเงิน ดังนี้ เมื่อโจทก์จำเลยไม่สามารถตกลงกันได้ทั้งในเรื่องแบ่งที่ดินและประมูลราคากัน ศาลก็ต้องสั่งให้ขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและการฟ้องคดีภาษี: ทรัพย์สินที่พิพาทคือภาระหนี้สินจากการประเมินภาษี ไม่ใช่เงินภาษีที่ชำระแล้ว
ฟ้องว่า เจ้าพนักงานประเมินสรรพากร ประเมินภาษีเงินได้และเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์เกินไปกว่าที่โจทก์จะต้องเสีย 1 ล้านบาทเศษ โจทก์อุทธรณ์ อะิบดีกรมสรรพากร มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์โจทก์ โจทก์จึงมาฟ้องศาลตามประมวลรัษฎากรกรมมาตรา30(2) ขอให้ศาลพิพากษายกหรือกลับแก้การประเมินและคำสั่งชี้ขาดของอธิบดีกรมสรรพากรที่ให้โจทก์ชำระเงินค่าภาษีเพิ่มเติม อันไม่ถูกต้องนั้นเสีย ดังนี้ เป็นการฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ การที่จะไม่ต้องเสียเงินจำนวนนั้น อันเป็นทรัพย์ที่พิพาท แม้คำของท้ายฟ้องโจทก์จะเบี่ยงบ่ายไปประการใด ก็หาทำให้ผลแห่งคำการปลดเปลื้องทุกข์เปลี่ยนแปลงไปได้ไม่ ศาลแขวงจึงไม่มีอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีนี้
ได้
ระยะเวลาตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) ที่ให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของอธิบดี หรือข้าหลวงประจำจังหวัดต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน ฯลฯ นั้น เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง ฉะนั้นเมื่อมีเหตุอันสมควร ศาลสั่งให้ขยายระยะเวลานั้นได้ตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 23.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1433/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้อุทธรณ์น้อยและการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์แก้เฉพาะบางส่วนของทรัพย์สินพิพาท
โจทก์ฟ้องตั้งทุนทรัพย์ที่เรียกร้องมา 1,199 บาทเศษ ทรัพย์ตามบัญชีท้ายฟ้องทั้งหมดมี 10 รายการ เฉพาะที่นามีราคารายการละ 100 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ศาลชั้นต้นเฉพาะที่นา 1 แปลงเท่านั้น จึงถือว่าเป็นการแก้น้อยฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความมีผลยุติกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินพิพาท แม้ไม่มีข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์โดยชัดแจ้ง
โจทก์เป็นบิดาจำเลย และจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์พิพาทอยู่ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเรียกทรัพย์สินพิพาทนี้คืนครั้งหนึ่งแล้วและต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอถอนคดีโดยแถลงว่า โจทก์ไม่ติดใจเอาความกับจำเลยต่อไป โดยได้ทำสัญญาตกลงระงับข้อพิพาทกับจำเลยฉบับหนึ่งมีข้อความกล่าวอ้างถึงคดีที่ฟ้องนั้น และมีข้อความกล่าวถึงหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องปฏิบัติต่อโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าทรัพย์สินที่พิพาท โจทก์จำเลยได้ตกลงให้กรรมสิทธิ์อยู่แก่ใคร เช่นนี้เมื่อทรัพย์พิพาทอยู่ในความปกครองของจำเลย และโจทก์ตกลงทำประนีประนอมกับจำเลยดังกล่าวก็ต้องตีความว่าโจทก์ได้ตกลงไม่โต้แย้งกรรมสิทธิ์ของจำเลยต่อไปแล้ว เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินและข้อสัญญาต่างๆ ที่จำเลยให้ไว้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธินำคดีนี้มาฟ้องเรียกทรัพย์พิพาทจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในดอกผลจากทรัพย์สินพิพาท: ค่าเช่าเรือระหว่างการบังคับคดี
ค่าเช่าเรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเก็บรักษาไว้ในระหว่างที่ศาลยังไม่ชี้ขาดว่าเรือเป็นของฝ่ายใดนั้น เมื่อศาลยังไม่ได้ชี้ขาดว่าเรือเป็นของฝ่ายใดนั้น เมื่อค่าเช่าเรือนั้นก็ย่อมได้แก่โจทก์ เพราะเป็นดอกผลโดยนิตินัย
of 3