คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัสต์รีซีท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4610/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีท
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยค้ำประกันบริษัท ส. ต่อโจทก์ มีข้อความในข้อ 1 ว่า "...ตามที่บริษัท ส. ได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและขอทำทรัสต์รีซีท (สัญญารับมอบสินค้าเชื่อ) เพื่อขอรับเอกสารและ นำสินค้าออกขายก่อน แล้วจึงนำเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในทรัสต์รีซีท มาชำระแก่ธนาคาร ก. ภายในกำหนดเวลา 90 วัน... ถ้าหากบริษัท ส. ไม่ชำระเงินให้ธนาคาร ก. ตามทรัสต์รีซีท ตามที่กล่าวในข้อ 2 ข้าพเจ้าทั้งสามผู้ค้ำประกันยินยอมรับผิด..." และข้อความตามข้อ 2 มีว่า "สัญญาค้ำประกันนี้ให้มีผลใช้บังคับได้ตลอดไป นับแต่วันที่ ที่ลงในสัญญาฉบับนี้ จนกว่า จะ ได้มีการชำระหนี้กันเสร็จสิ้น และเลิก สัญญาค้ำประกันการชำระหนี้รายนี้ต่อกันแล้ว เพื่อเป็นการค้ำประกัน บริษัท ส. ที่ได้ทำและจะทำทรัสต์รีซีท เป็นคราว ๆ ไป โดยจะเป็นทรัสต์รีซีท ฉบับเดียวหรือหลายฉบับก็ตาม ตามที่กล่าวในข้อ 1..." ดังนี้ เป็นการยินยอมค้ำประกันหนี้ ของของจำเลยที่ 1 ตามสัญญารับมอบ สินค้าเชื่อตามเลตเตอร์ออฟเครดิตที่จำเลยที่ 1 ได้เปิดไว้ก่อนหรือ ในวันที่ที่ทำสัญญาค้ำประกัน และหนี้ ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตที่จำเลยที่ 1 ได้ เปิด ไว้หลังวันทำ สัญญาค้ำประกันด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทรัสต์รีซีทไม่ใช่ทรัสต์ตามกฎหมาย และอายุความดอกเบี้ย
สัญญาทรัสต์รีซีทหาใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686 ไม่จึงไม่ตกเป็นโมฆะ ฎีกาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การก็ตาม แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้
จำเลยที่ 1 ให้การว่าโจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า 5 ปีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 และศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นไว้แล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัย จึงไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1รับผิดในดอกเบี้ยที่ค้างเพียง 5 ปี และเมื่อหนี้ของจำเลยทั้งสองเป็นหนี้ร่วมกัน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา จำเลยที่ 2 ก็ได้รับประโยชน์จากข้อฎีกาของจำเลยที่ 1 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัสต์รีซีทไม่ใช่ทรัสต์ตามกฎหมาย และอายุความดอกเบี้ย
สัญญาทรัสต์รีซีทหาใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686 ไม่จึงไม่ตกเป็นโมฆะ ฎีกาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การก็ตาม แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้
จำเลยที่ 1 ให้การว่าโจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า 5 ปีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 และศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นไว้แล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยจึงไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1รับผิดในดอกเบี้ยที่ค้างเพียง 5 ปีและเมื่อหนี้ของจำเลยทั้งสองเป็นหนี้ร่วมกัน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา จำเลยที่2ก็ได้รับประโยชน์จากข้อฎีกาของจำเลยที่ 1 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัสต์รีซีทกับการโอนกรรมสิทธิ์สินค้าเพื่อชำระหนี้: การหักหนี้ที่ถูกต้องตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาทรัสต์รีซีท (ใบรับสินค้าเชื่อ) ให้ไว้กับโจทก์เพื่อรับเอกสารการส่งสินค้าไปออกสินค้าจากท่าเรือเพื่อนำไปจำหน่ายแก่ผู้ซื้อ ดังนี้ การทำสัญญาทรัสต์รีซีทนั้น เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือเงินค่าขายสินค้าไปเป็นของโจทก์ เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าตามตั๋วแลกเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท แม้จำเลยจะเป็นผู้ครอบครองสินค้าหรือเงินค่าขายสินค้าไว้ ก็เป็นการครอบครองหรือยึดไว้แทนโจทก์เพื่อชำระหนี้ดังกล่าวเท่านั้นเงินที่ขายได้ต้องหักชำระหนี้ค่าสินค้าและอุปกรณ์แก่โจทก์ เงินเหลือคืนให้จำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิเอาเงินที่ขายสินค้าได้ไปหักกับหนี้รายอื่นที่ไม่เกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรตามสัญญาทรัสต์รีซีท แม้ยังมิได้จดทะเบียนจำนอง ย่อมเป็นของผู้ร้อง
สัญญาทรัสต์รีซีทที่จำเลยที่ 1 ผู้สั่งซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศทำไว้กับธนาคารผู้ร้อง โดยระบุว่า จำเลยที่ 1 ยอมยกกรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรให้ผู้ร้องเพื่อตอบแทนที่ผู้ร้องมอบเอกสารขนส่งสินค้าให้จำเลยที่ 1เพื่อจำเลยที่ 1 จะได้นำเครื่องจักรออกจำหน่ายนำเงินมาชำระหนี้ตามตั๋วแลกเงินแก่ผู้ร้อง เครื่องจักรเป็นสังหาริมทรัพย์และอยู่ในความครอบครองของผู้ร้องแล้ว จึงโอนกรรมสิทธิ์ได้ด้วยการแสดงเจตนา กรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรย่อมเป็นของผู้ร้องโดยสมบูรณ์ แม้จะมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะต้องจดทะเบียนจำนองเครื่องจักรไว้กับผู้ร้องก่อน จึงจะ นำไปจำหน่ายจ่ายโอนได้ เมื่อยังไม่มีการ จดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ.2514 กรรมสิทธิ์ ในเครื่องจักรก็ยังคงเป็นของผู้ร้อง โจทก์ไม่มีสิทธินำ เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเครื่องจักรพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลตเตอร์ออฟเครดิต & ทรัสต์รีซีท: การค้ำประกัน & การคิดดอกเบี้ยต่อเนื่องจากสัญญาเดิม
จำเลยขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตต่อธนาคารโจทก์เพื่อส่งสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศ โจทก์เปิดให้ตามคำขอ ผู้ขายส่งสินค้ามาให้ โจทก์ชำระราคาสินค้าให้แก่ผู้ขายไปแล้ว เมื่อสินค้ามาถึงโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบเพื่อให้นำเงินมาชำระหนี้ จำเลยไม่มีเงินพอ และตามข้อตกลงในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตสินค้าตกอยู่ในความยึดถือของโจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ จำเลยจึงทำสัญญาทรัสต์รีซีทไว้แก่โจทก์เพื่อขอรับเอาเอกสารการส่งสินค้าไปเอาสินค้าออกจากท่าเรือแล้วนำสินค้าไปจำหน่ายและนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ ดังนี้การทำสัญญาทรัสต์รีซีทเป็นเพียงวิธีการผ่อนปรนของเจ้าหนี้ให้ลูกหนี้มีโอกาสนำสินค้าที่สั่งซื้อมาด้วยการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตออกจากท่าเรือไปขายเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตเท่านั้น สัญญาทรัสต์รีซีทเป็นสัญญาซึ่งต่อเนื่องกับสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต มิได้ทำให้หนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตระงับสิ้นไปได้ในตัว
จำเลยได้รับสำเนาสัญญาทรัสต์รีซีทท้ายฟ้องพร้อมคำแปลถ้าเห็นว่าโจทก์แปลคำว่า "การันตี" ว่า "ค้ำประกัน" ไม่ถูกต้อง จำเลยจะต้องปฏิเสธความถูกต้องแห่งคำแปลนี้น เมื่อตามคำให้การของจำเลยมิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์แปลผิด ก็ไม่น่าเชื่อว่าคำแปลที่ถูกต้องจะไม่ใช่ "ค้ำประกัน"
เมื่อจำเลยแสดงเจตนาไว้ในสัญญาว่า "ค้ำประกัน" ผู้ค้ำประกันจะมีหน้าที่อย่างใดต่อเจ้าหนี้ย่อมทราบได้จากบทนิยามของคำว่า "ค้ำประกัน" ในมาตรา 680 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นอยู่แล้ว แม้จะไม่ได้กล่าวไว้ให้ชัดลงไปว่ายอมผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ก็ไม่เป็นเหตุให้การค้ำประกันนั้นไร้ผล
ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายให้จำเลยใช้แทนโจทก์เพียง 8,000 บาท ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายให้จำเลยใช้แทนโจทก์ถึง 20,000 บาท ดังนี้ เมื่อได้พิจารณาถึงจำนวนทุนทรัพย์ ความยากง่ายแห่งการดำเนินคดีตลอดถึงงานที่ทนายโจทก์กระทำไปแล้ว ศาลฎีกาลดค่าทนายโจทก์ในชั้นอุทธรณ์ซึ่งจำเลยจะต้องใช้แทนลงบ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลตเตอร์ออฟเครดิต & ทรัสต์รีซีท: หนี้ยังไม่ระงับ, การค้ำประกันมีผลผูกพัน, คิดดอกเบี้ยได้
จำเลยขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตต่อธนาคารโจทก์เพื่อส่งสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศ โจทก์เปิดให้ตามคำขอผู้ขายส่งสินค้ามาให้โจทก์ชำระราคาสินค้าให้แก่ผู้ขายไปแล้ว เมื่อสินค้ามาถึงโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบเพื่อให้นำเงินมาชำระหนี้ จำเลยไม่มีเงินพอ และตามข้อตกลงในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต สินค้าตกอยู่ในความยึดถือของโจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ จำเลยจึงทำสัญญาทรัสต์รีซีทไว้แก่โจทก์เพื่อขอรับเอาเอกสารการส่งสินค้าไปเอาสินค้าออกจากท่าเรือแล้วนำสินค้าไปจำหน่ายและนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ ดังนี้การทำสัญญาทรัสต์รีซีทเป็นเพียงวิธีการผ่อนปรนของเจ้าหนี้ให้ลูกหนี้มีโอกาสนำสินค้าที่สั่งซื้อมาด้วยการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตออกจากท่าเรือไปขายเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตเท่านั้น สัญญาทรัสต์รีซีทเป็นสัญญาซื้อต่อเนื่องกับสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตมิได้ทำให้หนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตระงับสิ้นไปได้ในตัว
จำเลยได้รับสำเนาสัญญาทรัสต์รีซีทท้ายฟ้องพร้อมด้วยคำแปลถ้าเห็นว่าโจทก์แปลคำว่า "การันตี" ว่า "ค้ำประกัน" ไม่ถูกต้อง จำเลย จะต้องปฏิเสธความถูกต้องแห่งคำแปลนั้น เมื่อตามคำให้การของจำเลย มิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์แปลผิด ก็ไม่น่าเชื่อว่าคำแปลที่ถูกต้องจะไม่ใช่"ค้ำประกัน"
เมื่อจำเลยแสดงเจตนาไว้ในสัญญาว่า "ค้ำประกัน" ผู้ค้ำประกันจะมีหน้าที่อย่างใดต่อเจ้าหนี้ย่อมทราบได้จากบทนิยามของคำว่า"ค้ำประกัน" ในมาตรา 680 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นอยู่แล้วแม้จะไม่ได้กล่าวไว้ให้ชัดลงไปว่ายอมผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ก็ไม่เป็นเหตุให้การค้ำประกันนั้นไร้ผล
ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายให้จำเลยใช้แทนโจทก์เพียง 8,000 บาท ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายให้จำเลยใช้แทนโจทก์ถึง 20,000 บาท ดังนี้เมื่อได้พิจารณาถึงจำนวนทุนทรัพย์ ความยากง่ายแห่งการดำเนินคดีตลอดถึงงานที่ทนายโจทก์กระทำไปแล้ว ศาลฎีกาลดค่าทนายโจทก์ในชั้นอุทธรณ์ซึ่งจำเลยจะต้องใช้แทนลงบ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัสต์รีซีท: การโอนกรรมสิทธิ์สินค้าเพื่อชำระหนี้ต่างตอบแทน
เอกสารทรัสต์รีซีทที่ผู้สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศทำให้ไว้แก่ธนาคารโดยยอมให้ธนาคารยึดถือเอกสารดังกล่าวเป็นประกันเพื่อการชำระเงินตามตั๋วเงินและถือกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่สั่งซื้อเป็นของธนาคารโดยผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องเอาสินค้านั้นไปจำหน่ายแล้วนำเงินที่ได้จากการขายมาชำระให้ธนาคารผู้ร้อง อันเป็นผลจากการที่ผู้สั่งซื้อสินค้าเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับธนาคารในการสั่งซื้อสินค้านั้นเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดหนึ่ง ซึ่งมีผลผูกพันคู่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 วัตถุประสงค์แห่งสัญญาเช่นนี้นอกจากจะก่อให้เกิดสิทธิแก่ธนาคารในฐานะเจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องเอาชดใช้ราคาสินค้าแล้วยังเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เฉพาะสิ่งให้เจ้าหนี้ไปจนกว่าจะมีการชำระราคาแล้วเสร็จตราบใดที่ผู้สั่งสินค้ายังไม่ชำระราคาสินค้าให้แก่ธนาคารก็จะเรียกร้องเอากรรมสิทธิ์ในสินค้าคืนจากธนาคารไม่ได้ กรณีเช่นนี้ธนาคารจึงเป็นทั้งเจ้าหนี้และเจ้าของสินค้าไปพร้อม ๆ กัน
เอกสารทรัสต์รีซีทที่จำเลยทำให้ไว้แก่ธนาคาร ย่อมเป็นการก่อตั้งทรัพยสิทธิ ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1298 กรรมสิทธิ์ในสินค้าที่สั่งซื้อมาจึงตกเป็นของธนาคารไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ธนาคารมีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะขอให้ปล่อยทรัพย์ที่เจ้าหนี้ของจำเลยยึดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัสต์รีซีทกับการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า: สิทธิของธนาคารผู้ให้กู้
เอกสารทรัสต์รีซีทที่ผู้สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศทำให้ไว้แก่ธนาคารโดยยอมให้ธนาคารยึดถือเอกสารดังกล่าวเป็นประกันเพื่อการชำระเงินตามตั๋วเงินและถือกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่สั่งซื้อเป็นของธนาคารโดยผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องเอาสินค้านั้นไปจำหน่ายแล้วนำเงินที่ได้จากการขายมาชำระให้ธนาคารผู้ร้อง อันเป็นผลจากการที่ผู้สั่งซื้อสินค้าเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับธนาคารในการสั่งซื้อสินค้านั้นเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดหนึ่ง ซึ่งมีผลผูกพันคู่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369. วัตถุประสงค์แห่งสัญญาเช่นนี้นอกจากจะก่อให้เกิดสิทธิแก่ธนาคารในฐานะเจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องเอาชดใช้ราคาสินค้าแล้วยังเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เฉพาะสิ่งให้เจ้าหนี้ไปจนกว่าจะมีการชำระราคาแล้วเสร็จตราบใดที่ผู้สั่งสินค้ายังไม่ชำระราคาสินค้าให้แก่ธนาคารก็จะเรียกร้องเอากรรมสิทธิ์ในสินค้าคืนจากธนาคารไม่ได้ กรณีเช่นนี้ธนาคารจึงเป็นทั้งเจ้าหนี้และเจ้าของสินค้าไปพร้อม ๆ กัน
เอกสารทรัสต์รีซีทที่จำเลยทำให้ไว้แก่ธนาคาร ย่อมเป็นการก่อตั้งทรัพย์สิทธิ ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1298 กรรมสิทธิ์ในสินค้าที่สั่งซื้อมาจึงตกเป็นของธนาคารไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ธนาคารมีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะขอให้ปล่อยทรัพย์ที่เจ้าหนี้ของจำเลยยึดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4579/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต/ทรัสต์รีซีท: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย, การแปลงสกุลเงิน, และอัตราดอกเบี้ย
การที่จำเลยที่ 1 ขอสินเชื่อเลตเตอร์ออฟเครดิตจากโจทก์ เมื่อโจทก์ชำระค่าสินค้าแก่ผู้ขายในต่างประเทศแทนจำเลยที่ 1 ไปเรียบร้อยแล้ว จำเลยที่ 1 จะต้องนำสินค้าออกไปพร้อมกับชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินชำระจึงทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์พร้อมกับออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ด้วย จึงเห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 กับพวกรับผิดโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทเป็นหลัก จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์จึงเป็นการประกันเพื่อการชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทเท่านั้น หาใช่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 กับพวกรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียวไม่
แม้หนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทตลอดจนตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามฟ้องจะแสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยที่ 1 จึงยังเป็นหนี้ต่อโจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทอยู่ ดังนั้นข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทว่า จำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ดุลพินิจเปลี่ยนหนี้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาทได้นับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นฝ่ายผิดนัดจึงมีผลใช้บังคับ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยดังกล่าวชำระหนี้เป็นสกุลเงินบาทได้
โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินประกาศของธนาคารโจทก์ที่ประกาศกำหนดเอง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยรับผิดในดอกเบี้ยหลังวันฟ้อง โดยไม่ได้กำหนดให้ไม่เกินอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์นั้น จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้ที่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
เนื่องจากหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้เป็นการชำระหนี้ไม่อาจแบ่งแยกได้ และเป็นกรณีที่ต้องพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในส่วนดอกเบี้ยดังได้กล่าวแล้วข้างต้น จึงสมควรให้คำพิพากษานี้มีผลไปถึงจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)
of 2