พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2362/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทราบคำสั่งศาล: ผลของการไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามกำหนด และการทิ้งฎีกา
ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาของผู้ร้องในวันที่ผู้ร้องยื่นฎีกานั้นเอง ให้ผู้ร้องนำเงินค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์มาชำระให้ครบถ้วนภายใน 7 วัน นับแต่วันที่สั่งนั้นและในท้ายฎีกามีข้อความว่า ผู้ร้องรอฟังคำสั่งศาลอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วดังนี้ ต้องถือว่าผู้ร้องได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาของผู้ร้องเมื่อผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลมาชำระภายใน 7 วันตามคำสั่ง ต้องถือว่าผู้ร้องทิ้งฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) ประกอบกับมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลานำค่าขึ้นศาลมาชำระเมื่อสิ้นระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้แล้ว และไม่ใช่กรณีมีเหตุสุดวิสัยนั้น ไม่มีเหตุที่ศาลจะอนุญาต.
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลานำค่าขึ้นศาลมาชำระเมื่อสิ้นระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้แล้ว และไม่ใช่กรณีมีเหตุสุดวิสัยนั้น ไม่มีเหตุที่ศาลจะอนุญาต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2362/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทราบคำสั่งชำระค่าขึ้นศาล และผลของการทิ้งฎีกาจากเหตุไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาของผู้ร้องในวันที่ผู้ร้องยื่นฎีกานั้นเอง ให้ผู้ร้องนำเงินค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์มาชำระให้ครบถ้วนภายใน 7 วัน นับแต่วันที่สั่งนั้นและในท้ายฎีกามีข้อความว่า ผู้ร้องรอฟังคำสั่งศาลอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วดังนี้ ต้องถือว่าผู้ร้องได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาของผู้ร้องเมื่อผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลมาชำระภายใน 7 วันตามคำสั่ง ต้องถือว่าผู้ร้องทิ้งฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ประกอบกับมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลานำค่าขึ้นศาลมาชำระเมื่อสิ้นระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้แล้ว และไม่ใช่กรณีมีเหตุสุดวิสัยนั้น ไม่มีเหตุที่ศาลจะอนุญาต.
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลานำค่าขึ้นศาลมาชำระเมื่อสิ้นระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้แล้ว และไม่ใช่กรณีมีเหตุสุดวิสัยนั้น ไม่มีเหตุที่ศาลจะอนุญาต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3704/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานขัดคำสั่งนายจ้าง กรณีสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและลูกจ้างทราบคำสั่ง
จำเลยประกอบกิจการสถานบริการบังกะโลมีคำสั่งมิให้พนักงานหยุดงานในวันที่ 5,6,7 เมษายนเพราะจำเลยมีความประสงค์จัดการแสดงอาหารและบริการของจำเลย เพื่อเรียกร้องความสนใจแก่ผู้ใช้บริการหรือลูกค้า จึงสั่งให้พนักงานจัดแสดงอาหารตกแต่งสถานที่และประดับไฟ ให้สวยงามกว่าปกติ การแสดงดังกล่าวย่อมมีความสำคัญ ต่อกิจการของจำเลย การที่โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องไฟฟ้า อันเกี่ยวข้องกับการแสดงโดยตรง หยุดงานหรือไม่มาทำงาน ในวันที่ 6,7 โดยไม่แจ้งให้จำเลยทราบย่อมมีผลกระทบกระเทือน ต่อกิจการของจำเลยโดยตรง ถือว่าโจทก์ขัดคำสั่งของจำเลย เป็นความผิดกรณีที่ร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดย ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการรับผิดตามเช็ค: การที่จำเลยให้คำรับรองรอฟังคำสั่งถือว่าทราบคำสั่งศาล แม้ไม่มีลายมือชื่อในบัญชีนัด
หลังจากจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีแล้ว จำเลยไม่ได้อยู่รอฟังคำสั่งแต่ได้ให้คำรับรองไว้ว่า ตนรอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอก็ให้ถือว่าทราบแล้วศาลชั้นต้นได้เกษียนสั่งในคำให้การของจำเลยในวันเดียวกันนั้นเองให้รับคำให้การจำเลยสำเนาให้โจทก์นัดพร้อมตัวความและสืบพยานโจทก์ฯลฯแม้เจ้าหน้าที่ศาลได้กำหนดวันสืบพยานโจทก์โดยไม่มีลายมือชื่อฝ่ายจำเลยทราบวันสืบพยานโจทก์ในบัญชีนัดพิจารณาคดีของศาลก็ตามแต่การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ศาลที่กำหนดวันสืบพยานโจทก์นั้นถือว่าได้กระทำหรือปฏิบัติภายใต้การกำกับดูแลหรือตามคำสั่งศาลคดีจึงถือว่าจำเลยทราบคำสั่งศาลในวันที่จำเลยยื่นคำให้การที่จำเลยอ้างว่าป่วยไม่ได้มาศาลก่อนที่จำเลยทราบก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่จำเลยทราบคำสั่งแล้ว และถือว่าจำเลยไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์เป็นการจงใจขาดนัดพิจารณา
ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 จะต้องกล่าวในคำขอให้พิจารณาใหม่โดยชัดแจ้งให้เห็นว่าตนอาจชนะคดีได้อย่างไรคำขอให้พิจารณาใหม่ตลอดจนคำให้การของจำเลยไม่ได้กล่าวว่าโจทก์ได้รู้ความจริงว่า เช็คตามฟ้องไม่มีมูลหนี้ตามเช็คหรือโจทก์รับโอนเช็คด้วยการคบคิดกับผู้ที่รับเช็คไว้จากจำเลยเพื่อฉ้อฉลจำเลยไม่ได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งว่าขณะที่โจทก์รับมอบเช็คนั้นไว้ โจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยได้แจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจและมีคำสั่งห้ามธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้นคดีจึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบหรือรับเช็คนั้นไว้โดยสุจริตจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นแม้จะพิจารณาใหม่ จำเลยก็ไม่อาจชนะคดีได้
ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 จะต้องกล่าวในคำขอให้พิจารณาใหม่โดยชัดแจ้งให้เห็นว่าตนอาจชนะคดีได้อย่างไรคำขอให้พิจารณาใหม่ตลอดจนคำให้การของจำเลยไม่ได้กล่าวว่าโจทก์ได้รู้ความจริงว่า เช็คตามฟ้องไม่มีมูลหนี้ตามเช็คหรือโจทก์รับโอนเช็คด้วยการคบคิดกับผู้ที่รับเช็คไว้จากจำเลยเพื่อฉ้อฉลจำเลยไม่ได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งว่าขณะที่โจทก์รับมอบเช็คนั้นไว้ โจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยได้แจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจและมีคำสั่งห้ามธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้นคดีจึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบหรือรับเช็คนั้นไว้โดยสุจริตจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นแม้จะพิจารณาใหม่ จำเลยก็ไม่อาจชนะคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาคำร้องยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ - นับจากวันศาลยกฟ้อง ไม่ใช่วันที่ทราบคำสั่ง
คำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 นั้นโจทก์จะต้องร้องขอภายใน 15 วัน นับแต่วันศาลยกฟ้องมิใช่วันที่โจทก์ทราบคำสั่ง ศาลยกฟ้องเมื่อวันที่29 มีนาคม 2527 โจทก์มายื่นคำร้องขอเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2527 จึงเป็นการเกินกำหนดเวลา โจทก์ฎีกาว่าการส่งหมายนัดไม่ชอบแต่มิได้อ้างเหตุมาให้เห็นเป็นการชัดเจนว่าไม่ชอบอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225 ประกอบด้วย มาตรา 195 ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งเงินทดแทน การรับเอกสารโดยลูกจ้างถือเป็นการทราบของนายจ้าง หากอุทธรณ์เกิน 30 วัน ถือชอบแล้ว
การแจ้งคำสั่งเงินทดแทนตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าจะต้องปฏิบัติประการใด ดังนั้น การที่พนักงานเงินทดแทนส่งคำสั่งเงินทดแทนโดยทางไปรษณีย์ตอบรับไปให้โจทก์ทราบ ณ สำนักทำการงานของโจทก์ และลูกจ้างของโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในใบตอบรับคำสั่งนั้นแทนโจทก์ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ทราบข้อความในเอกสารนั้นแล้วเพราะถ้าต้องรอให้โจทก์ลงชื่อรับ เอกสารที่ส่งทางไปรษณีย์ด้วยตนเองแล้ว หากโจทก์ไม่อยู่หรือมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่รับเอกสาร ก็จะไม่มีทางส่งเอกสารนั้นให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาวางเงินตามคำสั่งศาล: ผลของการไม่รอฟังคำสั่งและการป่วยหลังทราบคำสั่ง
โจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 7 มีนาคม 2518 ขอให้เพิกถอนคำสั่งอุทธรณ์ของอธิบดีและคำสั่งพนักงานเงินทดแทน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันนั้นว่า โจทก์ไม่ได้วางเงินตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 60 ให้โจทก์วางเงินภายใน 3 วัน แล้วจะสั่งต่อไป ดังนี้เมื่อตามคำขอท้ายฟ้องระบุว่าโจทก์รอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว ก็ต้องถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งของศาลในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องนั่นเอง ซึ่งย่อมมีผลตั้งต้นคำนวณเป็นหนึ่งในวันรุ่งขึ้น และสิ้นสุดที่จะต้องวางเงินตามคำสั่งภายในวันที่ 10 มีนาคม 2518 เมื่อโจทก์ไม่วางเงินภายในเวลาดังกล่าวและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องไปแล้ว โจทก์จะขอวางเงินโดยอ้างว่าเพิ่งทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2518 หาได้ไม่ แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ป่วยก่อนที่จะทราบคำสั่งให้วางเงิน ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจกท์ทราบคำสั่งศาลแล้วเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นเรื่องการทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และการชำระหนี้โดยสุจริต
ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1) บัญญัติว่า คำสั่งเรื่องล้มละลายอาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้นั้น ต้องพิจารณาประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติให้มีการประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ในมาตรานี้มิได้บัญญัติไว้ด้วยว่า เมื่อได้มีการประกาศโฆษณาดังกล่าวแล้วให้ถือว่าบุคคลภายนอกทุกคนต้องทราบ จึงจะถือว่าบุคคลภายนอกที่ไม่ทราบ ได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว ย่อมไม่เป็นธรรม แต่ตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรานี้อนุมานได้ว่าประสงค์จะให้การประกาศโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า บุคคลภายนอกทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่ได้ประกาศโฆษณานั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อผู้ใดอ้างว่าตนไม่ทราบก็ย่อมนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่าจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่าจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน: จำเลยต้องทราบคำสั่งก่อนจึงจะมีความผิด
ประกาศของคณะกรมการจังหวัดที่ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคฯ นั้นเป็นแต่คำสั่งของเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ใช่เป็นกฎหมาย จำเลยจะมีผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวก็ต่อเมื่อได้ความว่าได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และการถือว่าทราบคำสั่งเมื่อจดไว้ในคำคู่ความ
กรณีที่ผู้ยื่นคำคู่ความจดไว้ในคำคู่ความว่าจะรอฟังคำสั่งไม่รอฟัง ให้ถือว่าได้ทราบคำสั่งนั้น แม้ผู้ยื่นคำร้องมิได้ฟังคำสั่งก็ถือว่าได้ทราบคำสั่งแล้ว
เรื่องการทิ้งฟ้องตาม ม.174 ย่อมนำมาใช้บังคับแก่การทิ้งฟ้องอุทธรณ์ได้ โดยอนุโลมผู้อุทธรณ์ไม่มานำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่าย 1 ภายในกำหนด ที่ศาลสั่งย่อมเป็นการทิ้งฟ้องศาลอุทธรณ์ย่อมสั่งจำหน่ายคดี
เรื่องการทิ้งฟ้องตาม ม.174 ย่อมนำมาใช้บังคับแก่การทิ้งฟ้องอุทธรณ์ได้ โดยอนุโลมผู้อุทธรณ์ไม่มานำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่าย 1 ภายในกำหนด ที่ศาลสั่งย่อมเป็นการทิ้งฟ้องศาลอุทธรณ์ย่อมสั่งจำหน่ายคดี