คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทวงถาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อทวงถาม: สิทธิของผู้ทรงในการฟ้องเรียกเงิน
การที่โจทก์ซึ่ง เป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ ๑ ผู้ออกตั๋วและจำเลยที่ ๒ ผู้รับอาวัล ใช้เงินตาม ตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชดใช้เงินได้ เพราะตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๔๔ และมาตรา ๙๘๕ วรรคแรก ที่ผู้ทรงจะต้อง นำตั๋ว ยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน ๖ เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อทวงถาม: ไม่ต้องยื่นภายใน 6 เดือนตาม ป.พ.พ. มาตรา 944
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1ผู้ออกตั๋วและจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัล ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้วจำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชดใช้เงินได้ ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 944 ที่จะต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อทวงถาม: สิทธิการฟ้องของผู้ทรงเมื่อจำเลยไม่ชำระ
การที่โจทก์ซึ่ง เป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วและจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัล ใช้เงินตาม ตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชดใช้เงินได้ เพราะตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 944 และมาตรา 985 วรรคแรก ที่ผู้ทรงจะต้อง นำตั๋ว ยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6106/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหาย: การทวงถามในฐานะผู้รับผิดชอบตามตำแหน่งหน้าที่ ไม่ถือเป็นการรู้ตัวผู้กระทำละเมิด
การที่โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายโดยหนังสือดังกล่าวมีข้อความว่าทรัพย์สินที่หายไปอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยจึงแจ้งให้จำเลยในฐานะผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวชดใช้ทรัพย์สินแก่โจทก์ภายในกำหนด 3 วันนั้น ย่อมเป็นการทวงถามให้ชดใช้ค่าเสียหายในฐานะผู้รับผิดชอบตามตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น ไม่ใช่ในฐานะผู้ทำละเมิด อายุความจึงยังไม่เริ่มนับต่อเมื่อโจทก์ตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบ และโจทก์ทราบผลการสอบสวนจากคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2524ว่า ผู้ต้องรับผิดคือจำเลย โจทก์ฟ้องจำเลยในวันที่ 6 พฤษภาคม 2524ไม่เกิน 1 ปี นับจาก ทราบผลดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4241/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเช่าซื้อทวงถาม และความรับผิดของผู้ค้ำประกันเสมือนลูกหนี้ร่วม
ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระมิใช่ค่าเช่าซื้อ สิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงไม่ตก อยู่ ในบังคับอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(6) กรณีต้องบังคับตามอายุความทั่วไปซึ่งกำหนดไว้ 10 ปี เมื่อจำเลยผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตน เสมือนเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้เช่าซื้อ จำเลยก็มีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายและตามสัญญาเช่นเดียวกับผู้เช่าซื้อ รวมทั้งต้องส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อแก่โจทก์ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2080/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้และการคิดดอกเบี้ย เริ่มเมื่อทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ
โจทก์มีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยได้ตั้งแต่วันที่โจทก์ปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญา (6 ธันวาคม 2521) แต่หนี้ที่จะต้องชำระเงินคืนของจำเลยนั้นมิได้กำหนดไว้ตามวันแห่งปฏิทิน จึงจะถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันดังกล่าวมิได้กรณีจะถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยก็ต่อเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระและโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ เมื่อได้ความว่าโจทก์ทวงถามไปยังจำเลยเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2522 โดยให้จำเลยชำระภายใน 7 วัน จำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับจากวันที่ครบกำหนดในหนังสือทวงถาม คือ ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2522 จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์นับแต่วันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3328/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาชำระหนี้ในสัญญาเช่าซื้อ หากไม่ถือเป็นสาระสำคัญ ต้องบอกกล่าวทวงถามก่อนบอกเลิกสัญญา
แม้สัญญาเช่าซื้อจะกำหนดว่าจำเลยต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างเป็นรายเดือนภายในวันที่ 1 ของทุก ๆ เดือน แต่ตามที่ปฏิบัติจำเลยมิได้ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ในวันที่ 1 ของเดือนเป็นส่วนมาก เห็นได้ว่าโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น ในงวดต่อมาแม้จำเลยจะไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามวันที่กำหนดไว้ในสัญญาโจทก์ก็จะบอกเลิกสัญญาทันทีไม่ได้ ต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อที่ติดค้างอยู่ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387
จำเลยให้การว่าจำเลยชำระค่าเช่าซื้อทุกงวดให้โจทก์ตลอดมาโดยโจทก์ไม่เคยโต้แย้ง จำเลยไม่เคยผิดสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น การที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นข้อสำคัญ ก็เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยไม่เคยผิดสัญญาเช่าซื้อดังที่จำเลยให้การนั่นเอง จึงหาเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับชำระหนี้และการฟ้องบังคับสิทธิหลังลูกหนี้ถึงแก่กรรม โดยไม่ต้องทวงถามก่อน
โจทก์ฟ้องว่า จ. สามีจำเลยทั้งสองยืมเงินโจทก์ไป 2 ครั้ง ครั้งแรก 110,000 บาท ครั้งที่สอง 90,000 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จ. ทำหนังสือสัญญากู้ 2 ราย และรับเงินกู้ไป 200,000 บาทจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จ. ไม่ได้รับเงินกู้รายแรก แต่ไม่ได้อุทธรณ์ว่าจ. ไม่ได้ทำสัญญากู้รายแรก ดังนี้ ประเด็นว่า จ. ได้ทำสัญญากู้รายแรกหรือไม่ จึงยุติเพียงศาลชั้นต้นว่า จ.ได้ทำสัญญากู้รายแรกจริงจำเลยที่ 2 จึงฎีกาในปัญหาข้อนี้ไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็เป็นการที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวโดยชอบ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
จำเลยที่ 2 ให้การว่า จ. จะได้ยืมเงินจากโจทก์ หรือไม่ จำเลยที่ 2 ไม่ทราบไม่รับรอง ลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ. จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้ สัญญากู้จึงไม่สมบูรณ์ ดังนี้ ที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้นั้นเป็นการประกอบคำให้การที่ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ.คำให้การดังกล่าวจึงมีความหมายว่าเนื่องด้วยสัญญากู้ปลอมจ. จึงไม่ได้รับเงินที่ระบุไว้ในสัญญากู้ ดังนั้นเมื่อฟังว่า จ.ทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้จริง ไม่ใช่สัญญากู้ปลอมแล้ว ข้อต่อสู้ว่า จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้เป็นอันตกไปต้องฟังว่า จ.ได้รับเงินตามสัญญากู้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสามบัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเสียภายในกำหนด 1 ปี ย่อมเป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องคดีให้ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ถึงแก่กรรมโดยเจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องทวงถามให้ชำระหนี้ก่อน ฉะนั้น แม้สัญญากู้ซึ่ง จ. กู้เงินโจทก์ไปจะมีข้อความว่าหากโจทก์ต้องการเงินคืนเมื่อใดจ. จะคืนให้ทันที แต่ต้องบอกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนก็ตามเมื่อ จ. ถึงแก่กรรม โจทก์ย่อมฟ้องคดีได้ทันทีโดยไม่จำต้องทวงถามก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกัน - สิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ก่อน - อายุความ - ทรัพย์ประกัน - การทวงถาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688 ที่ให้สิทธิผู้ค้ำประกันขอให้เจ้าหนี้เรียกร้องเอาชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อนได้นั้น มิได้หมายความว่าถ้าเจ้าหนี้ไม่เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนแล้วจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด เพราะเจ้าหนี้มีสิทธิจะเรียกร้องหรือฟ้องผู้ค้ำประกันฝ่ายเดียวให้รับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยผู้ค้ำประกันจะได้ขอให้โจทก์เรียกร้องเอาชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อนแล้ว โจทก์ไม่ฟ้องเรียกร้องเอาจากลูกหนี้ปล่อยเวลาให้ล่วงมาถึง 6 ปีจึงฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลย จะถือว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับเอาจากจำเลยไม่ได้
ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันขอให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้เอาจากลูกหนี้ก่อนนั้นผู้ค้ำประกันต้องพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้มีทางชำระหนี้ได้ และการที่จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นจะไม่เป็นการยาก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 689 เมื่อจำเลยไม่นำสืบพิสูจน์ จำเลยก็ไม่อาจอ้างประโยชน์ตามมาตรา 689 นี้ได้
ทรัพย์ที่เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันจะต้องเป็นทรัพย์ของลูกหนี้เมื่อไม่ใช่ทรัพย์ของลูกหนี้ จำเลยผู้ค้ำประกันจึงไม่มีสิทธิตามมาตรา 690ที่จะยกขึ้นใช้ยันโจทก์
สัญญาประกันค่าเสียหาย มีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9904/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินเริ่มนับจากวันทวงถาม ไม่ใช่วันออกตั๋ว
เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินระบุว่าให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม เช่นนี้ วันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวคือ วันที่ทวงถามให้ใช้เงิน ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 913 (3) หาใช่วันออกตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ เพราะวันดังกล่าวเป็นเพียงวันที่อาจใช้สิทธิทวงถามได้เท่านั้น เมื่อยังไม่ใช้สิทธิทวงถามก็ยังไม่ถึงวันกำหนดใช้เงิน อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ เพราะอายุความเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ซึ่งก็คือวันถึงกำหนดใช้เงิน
หนังสือทวงถามกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยที่ 1 รับหนังสือทวงถามวันที่ 20 มกราคม 2547 ครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ภายในวันดังกล่าวย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วสัญญาใช้เงินได้นับแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 เป็นต้นไป อายุความเริ่มนับตั้งแต่วันที่ดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่ 23 ธันวาคม 2547 อันเป็นวันฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน และยังไม่พ้นกำหนด 3 ปี ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และมาตรา 1001 ตามลำดับ ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
of 3