พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าสินค้าและการคิดดอกเบี้ยเมื่อส่งมอบสินค้าเกินกำหนดและมีการทวงถามหนี้
โจทก์ได้ส่งเหล็กเส้นให้จำเลยตามจำนวนและคุณลักษณะตามสัญญาแล้ว จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระเงินให้โจทก์ตามสัญญา แต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์ได้ทวงถามจำเลยแล้ว ดังนี้ โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงินนับตั้งแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่จำเลยที่ 1 วางเงินต่อศาล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด: สิทธิคิดดอกเบี้ยถึงวันที่ทวงถามหนี้
ในระหว่างที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังดำเนินอยู่ต่อไปหลังจากที่ครบกำหนดอายุสัญญาแล้วนั้น ธนาคารโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามยอดเงินในบัญชีภายในกำหนด15 วัน นับแต่วันรับหนังสือ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามหรือไม่เมื่อวันใดจึงไม่อาจทราบวันผิดนัดแน่ชัดได้ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ครบกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ออกหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ จากนั้นคงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทวงถามหนี้โดยการส่งหนังสือทางไปรษณีย์มีผลเมื่อถึงมือผู้รับ
หนังสือทวงถามให้ชำระเงินกู้ส่งทางไปรษณีย์มีผู้เซ็นรับมีผลเป็นการทวงถามตั้งแต่เวลาที่ไปถึง คือเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์นำส่งถึงสถานที่อยู่ของผู้กู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกหนี้จากผู้ค้ำประกันหลังลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และประเด็นการทวงถามหนี้
ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้ไม่ขอพิสูจน์หนี้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้จากผู้ค้ำประกันซึ่งรับผิดร่วมกับลูกหนี้ได้
ศาลชั้นต้นสั่งว่า ข้อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ทวงถามก่อนฟ้องไม่เป็นประเด็น ให้งดสืบพยาน จำเลยโต้แย้งคำสั่งให้งดสืบพยานแต่ไม่โต้แย้ง คำสั่งที่ว่าไม่มีประเด็นเรื่องทวงถาม จำเลยอุทธรณ์เรื่องมีประเด็นว่า โจทก์ไม่ทวงถามไม่ได้
ศาลให้ผู้ค้ำประกันเสียค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ได้ มิใช่กรณีให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมที่ลูกหนี้ต้องเสียไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 684
ศาลชั้นต้นสั่งว่า ข้อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ทวงถามก่อนฟ้องไม่เป็นประเด็น ให้งดสืบพยาน จำเลยโต้แย้งคำสั่งให้งดสืบพยานแต่ไม่โต้แย้ง คำสั่งที่ว่าไม่มีประเด็นเรื่องทวงถาม จำเลยอุทธรณ์เรื่องมีประเด็นว่า โจทก์ไม่ทวงถามไม่ได้
ศาลให้ผู้ค้ำประกันเสียค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ได้ มิใช่กรณีให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมที่ลูกหนี้ต้องเสียไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 684
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงิน, สัญญาไม่สมบูรณ์, การฟ้องบังคับสิทธิหลังลูกหนี้เสียชีวิต, การทวงถามหนี้
โจทก์ฟ้องว่า จ. สามีจำเลยทั้งสองยืมเงินโจทก์ไป 2 ครั้งครั้งแรก 110,000 บาท ครั้งที่สอง 90,000 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจ. ทำหนังสือสัญญากู้ 2 ราย และรับเงินกู้ไป 200,000 บาทจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จ. ไม่ได้รับเงินกู้รายแรก แต่ไม่ได้อุทธรณ์ว่าจ. ไม่ได้ทำสัญญากู้รายแรก ดังนี้ ประเด็นว่า จ. ได้ทำสัญญากู้รายแรกหรือไม่ จึงยุติเพียงศาลชั้นต้นว่า จ.ได้ทำสัญญากู้รายแรกจริงจำเลยที่ 2 จึงฎีกาในปัญหาข้อนี้ไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็เป็นการที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวโดยชอบ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
จำเลยที่ 2 ให้การว่า จ. จะได้ยืมเงินจากโจทก์ หรือไม่จำเลยที่ 2 ไม่ทราบไม่รับรอง ลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ.จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้ สัญญากู้จึงไม่สมบูรณ์ ดังนี้ที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้นั้นเป็นการประกอบคำให้การที่ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ.คำให้การดังกล่าวจึงมีความหมายว่าเนื่องด้วยสัญญากู้ปลอมจ. จึงไม่ได้รับเงินที่ระบุไว้ในสัญญากู้ ดังนั้นเมื่อฟังว่า จ.ทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้จริง ไม่ใช่สัญญากู้ปลอมแล้ว ข้อต่อสู้ว่าจ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้เป็นอันตกไป ต้องฟังว่า จ.ได้รับเงินตามสัญญากู้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรค 3 บัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเสียภายในกำหนด 1 ปี ย่อมเป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องคดีให้ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ถึงแก่กรรมโดยเจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องทวงถามให้ชำระหนี้ก่อน ฉะนั้น แม้สัญญากู้ซึ่ง จ. กู้เงินโจทก์ไปจะมีข้อความว่าหากโจทก์ต้องการเงินคืนเมื่อใดจ. จะคืนให้ทันที แต่ต้องบอกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนก็ตามเมื่อ จ. ถึงแก่กรรม โจทก์ย่อมฟ้องคดีได้ทันทีโดยไม่จำต้องทวงถามก่อน
จำเลยที่ 2 ให้การว่า จ. จะได้ยืมเงินจากโจทก์ หรือไม่จำเลยที่ 2 ไม่ทราบไม่รับรอง ลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ.จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้ สัญญากู้จึงไม่สมบูรณ์ ดังนี้ที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้นั้นเป็นการประกอบคำให้การที่ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ.คำให้การดังกล่าวจึงมีความหมายว่าเนื่องด้วยสัญญากู้ปลอมจ. จึงไม่ได้รับเงินที่ระบุไว้ในสัญญากู้ ดังนั้นเมื่อฟังว่า จ.ทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้จริง ไม่ใช่สัญญากู้ปลอมแล้ว ข้อต่อสู้ว่าจ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้เป็นอันตกไป ต้องฟังว่า จ.ได้รับเงินตามสัญญากู้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรค 3 บัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเสียภายในกำหนด 1 ปี ย่อมเป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องคดีให้ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ถึงแก่กรรมโดยเจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องทวงถามให้ชำระหนี้ก่อน ฉะนั้น แม้สัญญากู้ซึ่ง จ. กู้เงินโจทก์ไปจะมีข้อความว่าหากโจทก์ต้องการเงินคืนเมื่อใดจ. จะคืนให้ทันที แต่ต้องบอกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนก็ตามเมื่อ จ. ถึงแก่กรรม โจทก์ย่อมฟ้องคดีได้ทันทีโดยไม่จำต้องทวงถามก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายหลังการเพิกถอนการขายทอดตลาด และดอกเบี้ยนับแต่วันทวงถาม
โจทก์ผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดเป็นผู้จ่ายเงินค่าซื้อที่ดินอันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แก่ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 (5) และภาษีที่คำนวณหักไว้ให้นำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดิน เงินภาษีจำนวน 5,486,200 บาท ที่โจทก์ขอคืนในคดีนี้ เป็นเงินที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 52 วรรคสอง เมื่อต่อมาศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาด และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือลงวันที่ 9 ธันวาคม 2551 แจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร ให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์และให้คู่สัญญากลับสู่ฐานะเดิม อันมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด และไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การฟ้องขอคืนเงินภาษีจากจำเลยในคดีนี้จึงไม่ใช่การขอคืนเงินภาษีและภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษี หรือไม่มีหน้าที่ต้องเสียที่อยู่ภายใต้บังคับที่จะต้องยื่นคำร้องขอภายในสามปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ตรี วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิขอคืนเงินภาษี 5,486,200 บาท จากจำเลย
ก่อนที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนการขายทอดตลาด โจทก์มีหน้าที่นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามกฎหมาย และจำเลยรับเงินภาษีที่มีการนำส่งดังกล่าวโดยมีสิทธิตามกฎหมาย การที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเป็นเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังและมิใช่เหตุที่จะโทษจำเลยได้ จำเลยจึงยังไม่มีความรับผิดใด ๆ ที่จะต้องคืนเงินภาษีและดอกเบี้ยแก่โจทก์ แต่เมื่อต่อมามีการเพิกถอนการขายทอดตลาด และโจทก์ได้ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2552 ทวงถามให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว กรณีเป็นหนี้เงิน จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้และต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 29 มกราคม 2552 เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง และมาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ชำระเงิน
ก่อนที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนการขายทอดตลาด โจทก์มีหน้าที่นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามกฎหมาย และจำเลยรับเงินภาษีที่มีการนำส่งดังกล่าวโดยมีสิทธิตามกฎหมาย การที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเป็นเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังและมิใช่เหตุที่จะโทษจำเลยได้ จำเลยจึงยังไม่มีความรับผิดใด ๆ ที่จะต้องคืนเงินภาษีและดอกเบี้ยแก่โจทก์ แต่เมื่อต่อมามีการเพิกถอนการขายทอดตลาด และโจทก์ได้ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2552 ทวงถามให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว กรณีเป็นหนี้เงิน จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้และต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 29 มกราคม 2552 เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง และมาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ชำระเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7994/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้สินล้นพ้นตัว: การทวงถามหนี้โดยชอบ และข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรอันเป็นการส่งอย่างเป็นทางการแล้ว แต่เหตุที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไม่สามารถส่งหนังสือทวงถามให้แก่จำเลยได้ในครั้งแรกเกิดจากการที่จำเลยหลีกเลี่ยงไม่ไปรับหนังสือดังกล่าวภายในกำหนด จึงถือว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ครั้งแรกด้วยแล้ว เมื่อในการส่งหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ครั้งที่ 2 มีผู้รับไว้แทน จำเลยจึงได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (9) ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างทำของเริ่มต้นเมื่อส่งมอบงานเสร็จสิ้น ไม่ต้องรอทวงถามหนี้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามในคดีนี้มิได้มีกฎหมายใดๆ บัญญัติไว้ให้เจ้าหนี้ต้องทวงถามลูกหนี้เพื่อให้ชำระหนี้เสียก่อนแต่ประการใด จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์อันจะเป็นสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ยังไม่อาจบังคับได้จนกว่าจะได้ทวงถามให้ลูกหนี้ชำระเสียก่อน และเมื่อระยะเวลาที่ได้ทวงถามนั้นได้สิ้นสุดลงแล้วจึงได้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ระยะเวลาที่ได้สิ้นสุดไปแล้วนั้นเป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/13 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาสินจ้างจากจำเลยทั้งสามได้ตั้งแต่เมื่อจำเลยทั้งสามรับมอบการงานที่โจทก์ทำเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วเป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการตกลงว่าจ้างกันด้วยวิธีการใดก็ตาม เพราะอายุความต้องเริ่มนับตั้งแต่ขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 มิใช่ให้เริ่มนับตั้งแต่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ให้เวลาจำเลยทั้งสามชำระหนี้หลังจากที่จำเลยทั้งสามรับทราบการกำหนดราคาหรือประเมินค่าจ้างจากโจทก์ เพราะหากกรณีเป็นดังที่โจทก์ต่อสู้แล้วก็เท่ากับโจทก์สามารถกำหนดวันเริ่มต้นที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปหรืออีกนัยหนึ่งคืออายุความแห่งสิทธิเรียกร้องได้ด้วยตนเองตามอำเภอใจนั่นเอง และตราบใดที่โจทก์ยังไม่ประสงค์ที่จะบังคับตามสิทธิเรียกร้องไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม โจทก์ก็ยังไม่ต้องส่งหนังสือทวงถามหรือไม่ต้องส่งหนังสือแจ้งการกำหนดราคาค่าจ้างไปให้ฝ่ายผู้ว่าจ้างทราบ การกระทำเช่นนี้ย่อมขัดต่อเจตนารมณ์และหลักการของกฎหมาย อีกทั้งมติคณะรัฐมนตรีตามที่โจทก์อ้างก็เป็นระเบียบวิธีปฏิบัติที่ทางราชการอนุโลมหรือผ่อนผันให้ใช้กับงานจ้างของหน่วยงานราชการ ไม่มีผลไปยกเว้นหรือยกเลิกหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ต้องใช้บังคับแก่บุคคลทุกคนโดยเสมอภาคแต่ประการใด ข้อโต้แย้งของโจทก์นี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เอกสารการส่งมอบและรับสินค้า ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสามตกลงหรือขอให้โจทก์หักหนี้ค่าจ้างที่จำเลยทั้งสามค้างชำระกับหนี้สินค้าที่โจทก์สั่งซื้อจากจำเลยทั้งสาม กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามทำหนังสือรับสภาพหนี้หรือกระทำการใดๆ อันปราศจากสงสัยแสดงให้เป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ ส่วนใบเซ็นรับเอกสารการประมาณการค่าใช้จ่ายที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับเอกสารไว้นั้น ก็ไม่มีข้อความใดที่ระบุหรือแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามที่โจทก์อ้าง การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อรับเอกสารดังกล่าวไว้ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำอันปราศจากสงสัยที่แสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์แต่อย่างใด กรณีตามที่โจทก์อ้างจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 ที่จะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง และการรับสภาพหนี้จะต้องเป็นการกระทำก่อนที่หนี้จะขาดอายุความ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 ปี ตั้งแต่จำเลยทั้งสามรับมอบงานที่โจทก์ทำเสร็จสิ้นแล้ว สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้จ้างทำของทั้ง 3 รายการของโจทก์จึงขาดอายุความ
เอกสารการส่งมอบและรับสินค้า ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสามตกลงหรือขอให้โจทก์หักหนี้ค่าจ้างที่จำเลยทั้งสามค้างชำระกับหนี้สินค้าที่โจทก์สั่งซื้อจากจำเลยทั้งสาม กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามทำหนังสือรับสภาพหนี้หรือกระทำการใดๆ อันปราศจากสงสัยแสดงให้เป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ ส่วนใบเซ็นรับเอกสารการประมาณการค่าใช้จ่ายที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับเอกสารไว้นั้น ก็ไม่มีข้อความใดที่ระบุหรือแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามที่โจทก์อ้าง การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อรับเอกสารดังกล่าวไว้ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำอันปราศจากสงสัยที่แสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์แต่อย่างใด กรณีตามที่โจทก์อ้างจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 ที่จะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง และการรับสภาพหนี้จะต้องเป็นการกระทำก่อนที่หนี้จะขาดอายุความ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 ปี ตั้งแต่จำเลยทั้งสามรับมอบงานที่โจทก์ทำเสร็จสิ้นแล้ว สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้จ้างทำของทั้ง 3 รายการของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8795/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีตั๋วสัญญาใช้เงิน เริ่มนับแต่วันทวงถามหนี้ ศาลฎีกายกฟ้องเมื่อพ้นกำหนด
คำให้การของจำเลยทั้งห้านอกจากจะให้การปฏิเสธว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยทั้งห้ายังได้อธิบายถึงเหตุที่ฟ้องโจทก์ขาดอายุความไว้ด้วยว่า ตามภาระหนี้ต้นเงินโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้าเกินกว่า 3 ปี และในส่วนดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยทั้งห้าก็เกินกว่า 5 ปี นับแต่วันครบกำหนดตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยทั้งห้าได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งแล้ว เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้ารับผิดตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินเพียงอย่างเดียว จำเลยทั้งห้าก็ไม่จำเป็นต้องระบุไว้ในคำให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเรื่องอะไร
ตั๋วสัญญาใช้เงินกำหนดวันชำระต้นเงินเมื่อทวงถามตาม ป.พ.พ. มาตรา 913 (3) ประกอบกับมาตรา 985 อายุความจึงเริ่มนับเมื่อเจ้าหนี้เดิม หรือโจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ใช้สิทธิทวงถามจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วให้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงจากหนังสือฉบับลงวันที่ 19 เมษายน 2539 ว่าเจ้าหนี้เดิมส่งหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่ได้มีการทวงถามให้ชำระหนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 29 มีนาคม 2544 ซึ่งพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1001 และแม้คดีนี้จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
ตั๋วสัญญาใช้เงินกำหนดวันชำระต้นเงินเมื่อทวงถามตาม ป.พ.พ. มาตรา 913 (3) ประกอบกับมาตรา 985 อายุความจึงเริ่มนับเมื่อเจ้าหนี้เดิม หรือโจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ใช้สิทธิทวงถามจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วให้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงจากหนังสือฉบับลงวันที่ 19 เมษายน 2539 ว่าเจ้าหนี้เดิมส่งหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่ได้มีการทวงถามให้ชำระหนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 29 มีนาคม 2544 ซึ่งพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1001 และแม้คดีนี้จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3791/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระ: ดอกเบี้ยคิดจากวันที่ผิดนัดหลังทวงถามแล้ว
คำขอกู้เงินบำรุงอ้อยระบุว่า ขอกู้เงินเพื่อซื้อพันธุ์อ้อยและบำรุงไร่อ้อย เมื่ออ้อยโตขึ้นผู้กู้ตกลงตัดขายแก่ผู้ให้กู้เพื่อนำเงินค่าอ้อยชำระหนี้ที่ได้กู้เงินมา มิได้ระบุว่าผู้กู้จะต้องปลูกอ้อยเพื่อตัดขายให้แก่ผู้ให้กู้เมื่อใด จึงเป็นหนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้กันไว้ ส่วนวันถึงกำหนดชำระเงินตามเช็คที่โจทก์ออกให้แก่จำเลยในการกู้เงินก็มิใช่กำหนดเวลาชำระหนี้เงินกู้ โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ จำเลยไม่ชำระหนี้ภายในกำหนด จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่พ้นกำหนดดังกล่าว