พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีเบิกความเท็จของทหาร ไม่เกี่ยวพันกับคดีแพ่งเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นนายทหารเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งของศาลพลเรือน การที่โจทก์นำคำเบิกความของจำเลยทั้งสองมาฟ้องคดีนี้ หาใช่คดีนี้เกี่ยวพันกับคดีแพ่งดังกล่าวไม่แต่เป็นเพียงนำคำเบิกความดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงในคดีนี้เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการและจำเลยที่ 2 เป็นนายทหารประทวนประจำการ จำเลยทั้งสองจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารพ.ศ. 2498 มาตรา 16(1) และ (3) ตามลำดับ ทั้งเป็นคดีที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 14 คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงการตรวจเลือกทหาร: เจตนาพิเศษไม่จำเป็น, เหตุผลสมควรปรานีได้
มาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาเป็นบทบังคับให้ทหารกองเกินมาและให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการตามหมายเรียกของนายอำเภอจนเสร็จสิ้น กระบวนการในการตรวจเลือกนั้น กรณีจึงมีบทบัญญัติซึ่งเป็นข้อสันนิษฐาน ของกฎหมายให้ถือว่าผู้ที่มาแต่ไม่เข้ารับการตรวจเลือก อันรวมถึง การไม่เข้ารับการตรวจเลือกให้ครบตามกระบวนการในการตรวจเลือกเช่นไม่ยอมจับสลาก เป็นผู้หลีกเลี่ยงขัดขืนไม่มาให้คณะกรรมการตรวจเลือก ทำการตรวจเลือกด้วย ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้นั้นมีเจตนาหลีกเลี่ยงขัดขืน หรือมีเจตนาพิเศษเพื่อจะไม่ให้เข้ารับราชการทหารกองประจำการด้วยหรือไม่ ด้วยเหตุนี้จึงถือไม่ได้ว่าเจตนาพิเศษเพื่อจะไม่ให้เข้ารับราชการทหารเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 27 ประกอบกับมาตรา 45
แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขอให้รอการลงโทษด้วยเพราะคดีต้องห้ามฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ศาลฎีกาก็ยังคงมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษ จำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ ซึ่งเมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี ที่มีเหตุสมควรที่ทำให้จำเลยเข้าใจว่า จำเลยและบรรดา ผู้รับการตรวจเลือกอื่นที่ไม่ได้ให้เงินแก่คณะกรรมการตรวจเลือก จะไม่ได้รับความเป็นธรรมในการตรวจเลือก จำเลยกับผู้รับการตรวจเลือก ส่วนใหญ่จึงพร้อมใจไม่ยอมจับสลาก แต่ขอให้เลื่อนการจับสลาก ออกไปก่อนเพื่อให้มีการคัดเลือกผู้ที่จะต้องเข้าจับสลากเสียให้ถูกต้อง เป็นธรรมถือได้ว่ามีเหตุอันควรปรานีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 สมควรรอการลงโทษจำเลย
แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขอให้รอการลงโทษด้วยเพราะคดีต้องห้ามฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ศาลฎีกาก็ยังคงมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษ จำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ ซึ่งเมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี ที่มีเหตุสมควรที่ทำให้จำเลยเข้าใจว่า จำเลยและบรรดา ผู้รับการตรวจเลือกอื่นที่ไม่ได้ให้เงินแก่คณะกรรมการตรวจเลือก จะไม่ได้รับความเป็นธรรมในการตรวจเลือก จำเลยกับผู้รับการตรวจเลือก ส่วนใหญ่จึงพร้อมใจไม่ยอมจับสลาก แต่ขอให้เลื่อนการจับสลาก ออกไปก่อนเพื่อให้มีการคัดเลือกผู้ที่จะต้องเข้าจับสลากเสียให้ถูกต้อง เป็นธรรมถือได้ว่ามีเหตุอันควรปรานีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 สมควรรอการลงโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงการตรวจเลือกทหาร: เจตนาพิเศษไม่จำเป็น, เหตุผลสมควรปรานีได้
มาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497เป็นบทบังคับให้ทหารกองเกินมาและให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการตามหมายเรียกของนายอำเภอจนเสร็จสิ้น กระบวนการในการตรวจเลือกนั้น กรณีจึงมีบทบัญญัติซึ่งเป็นข้อสันนิษฐาน ของกฎหมายให้ถือว่าผู้ที่มาแต่ไม่เข้ารับการตรวจเลือก อันรวมถึง การไม่เข้ารับการตรวจเลือกให้ครบตามกระบวนการในการตรวจเลือก เช่นไม่ยอมจับสลาก เป็นผู้หลีกเลี่ยงขัดขืนไม่มาให้คณะกรรมการตรวจเลือก ทำการตรวจเลือกด้วย ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้นั้นมีเจตนาหลีกเลี่ยงขัดขืน หรือมีเจตนาพิเศษเพื่อจะไม่ให้เข้ารับราชการทหารกองประจำการด้วยหรือไม่ ด้วยเหตุนี้จึงถือไม่ได้ว่าเจตนาพิเศษเพื่อจะไม่ให้เข้ารับราชการทหารเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 27 ประกอบกับมาตรา 45
แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขอให้รอการลงโทษด้วยเพราะคดีต้องห้ามฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ศาลฎีกาก็ยังคงมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษ จำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ ซึ่งเมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี ที่มีเหตุสมควรที่ทำให้จำเลยเข้าใจว่า จำเลยและบรรดา ผู้รับการตรวจเลือกอื่นที่ไม่ได้ให้เงินแก่คณะกรรมการตรวจเลือก จะไม่ได้รับความเป็นธรรมในการตรวจเลือก จำเลยกับผู้รับการตรวจเลือก ส่วนใหญ่จึงพร้อมใจไม่ยอมจับสลาก แต่ขอให้เลื่อนการจับสลาก ออกไปก่อนเพื่อให้มีการคัดเลือกผู้ที่จะต้องเข้าจับสลากเสียให้ถูกต้อง เป็นธรรมถือได้ว่ามีเหตุอันควรปรานีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 สมควรรอการลงโทษจำเลย
แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขอให้รอการลงโทษด้วยเพราะคดีต้องห้ามฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ศาลฎีกาก็ยังคงมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษ จำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ ซึ่งเมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี ที่มีเหตุสมควรที่ทำให้จำเลยเข้าใจว่า จำเลยและบรรดา ผู้รับการตรวจเลือกอื่นที่ไม่ได้ให้เงินแก่คณะกรรมการตรวจเลือก จะไม่ได้รับความเป็นธรรมในการตรวจเลือก จำเลยกับผู้รับการตรวจเลือก ส่วนใหญ่จึงพร้อมใจไม่ยอมจับสลาก แต่ขอให้เลื่อนการจับสลาก ออกไปก่อนเพื่อให้มีการคัดเลือกผู้ที่จะต้องเข้าจับสลากเสียให้ถูกต้อง เป็นธรรมถือได้ว่ามีเหตุอันควรปรานีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 สมควรรอการลงโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: การพิจารณาคดีอาญาที่จำเลยเป็นทหาร แม้ฟ้องต่อศาลพลเรือน
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 15 วรรคสอง หมายความว่าขณะที่ศาลพลเรือนสั่งรับประทับฟ้องของโจทก์ ความยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่ ต่อมาเมื่อศาลพลเรือนได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้วความจึงปรากฏในภายหลังว่าจำเลยเป็นทหารประจำการ ดังนี้ ศาลพลเรือนย่อมดำเนินการพิจารณาต่อไปได้เท่านั้น หาได้หมายความว่าคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร หากยื่นฟ้องต่อศาลพลเรือนแล้วศาลพลเรือนจะรับไว้พิจารณาพิพากษาหรือไม่ก็ได้
การที่โจทก์นำคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารมายื่นฟ้องยังศาลพลเรือนศาลพลเรือนไม่จำต้องสั่งไม่รับขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง (อาจสั่งหลังจากไต่สวนมูลฟ้องแล้วก็ได้)
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 เป็นความผิดในทางอาญาอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยเป็นทหารประจำการจึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
การที่โจทก์นำคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารมายื่นฟ้องยังศาลพลเรือนศาลพลเรือนไม่จำต้องสั่งไม่รับขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง (อาจสั่งหลังจากไต่สวนมูลฟ้องแล้วก็ได้)
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 เป็นความผิดในทางอาญาอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยเป็นทหารประจำการจึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3768/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างทหาร: แม้เป็นข้าราชการ แต่หากรับค่าจ้างจากหน่วยงานอื่น ก็ถือเป็นลูกจ้างได้
แม้โจทก์จะเป็นข้าราชการทหาร ได้รับเงินเดือนจากทางราชการ แต่เมื่อโจทก์ทำงานให้กับองค์การเชื้อเพลิงและได้รับเงินเดือนจากองค์การเชื้อเพลิงด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่องค์การเชื้อเพลิงเพื่อรับค่าจ้าง โจทก์จึงเป็นลูกจ้างขององค์การเชื้อเพลิง ตามความหมายแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16เมษายน 2515 ข้อ 2
การกล่าวหาว่านายจ้างเอาความเท็จมาฟ้องลูกจ้างทำให้ลูกจ้างเสียหายนั้นแม้จะเป็นการกล่าวหาว่าปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ก็มิใช่เป็นคดีอันเกิดจากมูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 8(5) และไม่ใช่เรื่องอื่นๆ ตามที่บัญญัติไว้ในข้ออื่นๆ แห่งมาตราเดียวกัน
การกล่าวหาว่านายจ้างเอาความเท็จมาฟ้องลูกจ้างทำให้ลูกจ้างเสียหายนั้นแม้จะเป็นการกล่าวหาว่าปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ก็มิใช่เป็นคดีอันเกิดจากมูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 8(5) และไม่ใช่เรื่องอื่นๆ ตามที่บัญญัติไว้ในข้ออื่นๆ แห่งมาตราเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีทหารกับพลเรือนทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณา
ทหารกับพลเรือนใช้อาวุธปืนและมีดเข้าทำร้ายกัน กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯ มาตรา 14(1) คดีดังกล่าวอยู่ในอำนาจศาลพลเรือนที่จะพิจารณาพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีรับของโจรที่มีจำเลยเป็นทหารและพลเรือน ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณา แม้ภายหลังพบว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
จำเลยซึ่งเป็นทหารกับพวกอีกหลายคนที่แต่งกายพลเรือนและยังจับตัวไม่ได้ ร่วมกันกระทำผิดฐานรับของโจร คดีย่อมอยู่ในอำนาจศาลพลเรือนที่จะพิจารณาพิพากษา เพราะไม่ปรากฏชัดว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหาร และในกรณีเช่นนี้ หากจะปรากฏตามทางพิจารณาภายหลังว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็ตาม ศาลพลเรือนก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้
(อ้างฎีกาที่ 463/2504 และที่ 979/2504)
(อ้างฎีกาที่ 463/2504 และที่ 979/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีอาญาที่จำเลยเป็นทหารร่วมกับพลเรือน ศาลพลเรือนยังมีอำนาจพิจารณาได้
จำเลยซึ่งเป็นทหารกับพวกอีกหลายคนที่แต่งกายพลเรือนและยังจับตัวไม่ได้ร่วมกันกระทำผิดฐานรับของโจร คดีย่อมอยู่ในอำนาจศาลพลเรือนที่จะพิจารณาพิพากษา เพราะไม่ปรากฏชัดว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหาร และในกรณีเช่นนี้ หากจะปรากฏตามทางพิจารณาภายหลังว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารก็ตามศาลพลเรือนก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้
(อ้างฎีกาที่ 463/2504 และที่ 979/2504)
(อ้างฎีกาที่ 463/2504 และที่ 979/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีที่ทหารกับพลเรือนกระทำผิดด้วยกัน แม้มิได้ร่วมกระทำความผิดโดยตรง
ความผิดเป็นคดีที่ตกอยู่ในกรณีใดกรณีหนึ่งใน 4 ประการดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 ต้องถือว่าเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร อันมีผลตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน
คำว่า "ด้วยกัน" ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 15 (1) ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ทหารกับพลเรือนได้ร่วมกระทำความผิดตามมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเสมอไป
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทหารประจำการ โดยบรรยายคำฟ้องว่า จำเลยกับนายเดช (พลเรือน) ซึ่งยังหลบหนีอยู่ ต่างขับรถคนละคันด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเฉี่ยวชนกัน เป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ เป็นเรื่องที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน เป็นคดีที่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 14 (1) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีต่อศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลพลเรือนประทับรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2513)
คำว่า "ด้วยกัน" ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 15 (1) ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ทหารกับพลเรือนได้ร่วมกระทำความผิดตามมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเสมอไป
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทหารประจำการ โดยบรรยายคำฟ้องว่า จำเลยกับนายเดช (พลเรือน) ซึ่งยังหลบหนีอยู่ ต่างขับรถคนละคันด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเฉี่ยวชนกัน เป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ เป็นเรื่องที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน เป็นคดีที่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 14 (1) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีต่อศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลพลเรือนประทับรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีทหารกับพลเรือนประมาทชนกัน
ความผิดเป็นคดีที่ตกอยู่ในกรณีใดกรณีหนึ่งใน 4 ประการดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498ต้องถือว่าเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร อันมีผลตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน
คำว่า 'ด้วยกัน' ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 14(1) ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ทหารกับพลเรือนได้ร่วมกระทำความผิดตามมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเสมอไป
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทหารประจำการ โดยบรรยายคำฟ้องว่า จำเลยกับนายเดช (พลเรือน) ซึ่งยังหลบหนีอยู่ ต่างขับรถคนละคันด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเฉี่ยวชนกัน เป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ เป็นเรื่องที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน เป็นคดีที่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 14(1) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีต่อศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลพลเรือนประทับรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2513)
คำว่า 'ด้วยกัน' ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 14(1) ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ทหารกับพลเรือนได้ร่วมกระทำความผิดตามมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเสมอไป
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทหารประจำการ โดยบรรยายคำฟ้องว่า จำเลยกับนายเดช (พลเรือน) ซึ่งยังหลบหนีอยู่ ต่างขับรถคนละคันด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเฉี่ยวชนกัน เป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ เป็นเรื่องที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน เป็นคดีที่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 14(1) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีต่อศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลพลเรือนประทับรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2513)