พบผลลัพธ์ทั้งหมด 307 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5103/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอทางจำเป็น แม้เป็นพื้นที่จัดสรรและมีข้อจำกัดตามประกาศ คปต. ก็ตาม
การขอผ่านทางที่ดินซึ่งล้อมอยู่ออกสู่ทางสาธารณะนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้มุ่งพิจารณาถึงสภาพของที่ดินนั้นจะต้องถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะเป็นสำคัญ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจึงมีสิทธิจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ออกไปสู่ทางสาธารณะได้ โดยมิได้กำหนดเงื่อนไขว่าผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมจะต้องได้ที่ดินมาโดยสุจริต แม้จะฟังได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาโดยรู้อยู่แล้วว่ามีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ออกสู่ทางสาธารณะหมดไป
กฎหมายมิได้บัญญัติว่าเจ้าของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจะต้องขอผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ซึ่งอยู่ใกล้ทางสาธารณะมากที่สุดเท่านั้น เพียงแต่การที่จะผ่านที่ดินที่ล้อมนั้น ที่และวิธีทำทางผ่านต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านกับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป็นจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ ที่ดินของจำเลยมีเนื้อที่เพียง 5 ตารางวา มีรูปลักษณะเป็นสามเหลี่ยมชายธงซึ่งใช้ประโยชน์เพียงเป็นทางเข้าหมู่บ้าน และเชื่อมกับที่ดินอีก 2 แปลงของจำเลยที่มีสภาพเป็นถนนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงไม่จำต้องทำทางผ่านให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินจำเลย และจำเลยก็มิได้รับความเสียหายในการที่โจทก์จะใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเพราะมีสภาพเป็นทางอยู่แล้ว ที่ดินของจำเลยที่โจทก์ขอผ่านเป็นทางจำเป็นจึงเป็นทางที่สะดวกที่สุดและก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด ต่างกับอีกด้านหนึ่งที่ดินที่ล้อมไม่มีสภาพเป็นทาง มีหญ้าและต้นไม้ปกคลุมกับต้องผ่านที่ดินอีกหลายแปลง ทั้งจะต้องปรับปรุงเพื่อให้มีสภาพเป็นทางอีกด้วย
แม้ทางจำเป็นจะเป็นถนนซึ่งเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นและตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรซึ่งกฎหมายห้ามผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมกับบุคคลใดก่อให้เกิดภาระแก่ที่ดินนั้นก็ตาม แต่เมื่อถนนดังกล่าวตกอยู่ภายใต้สิทธิเรียกร้องที่โจทก์จะขอเปิดทางจำเป็นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมาย มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมแต่อย่างใด จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
กฎหมายมิได้บัญญัติว่าเจ้าของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจะต้องขอผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ซึ่งอยู่ใกล้ทางสาธารณะมากที่สุดเท่านั้น เพียงแต่การที่จะผ่านที่ดินที่ล้อมนั้น ที่และวิธีทำทางผ่านต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านกับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป็นจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ ที่ดินของจำเลยมีเนื้อที่เพียง 5 ตารางวา มีรูปลักษณะเป็นสามเหลี่ยมชายธงซึ่งใช้ประโยชน์เพียงเป็นทางเข้าหมู่บ้าน และเชื่อมกับที่ดินอีก 2 แปลงของจำเลยที่มีสภาพเป็นถนนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงไม่จำต้องทำทางผ่านให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินจำเลย และจำเลยก็มิได้รับความเสียหายในการที่โจทก์จะใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเพราะมีสภาพเป็นทางอยู่แล้ว ที่ดินของจำเลยที่โจทก์ขอผ่านเป็นทางจำเป็นจึงเป็นทางที่สะดวกที่สุดและก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด ต่างกับอีกด้านหนึ่งที่ดินที่ล้อมไม่มีสภาพเป็นทาง มีหญ้าและต้นไม้ปกคลุมกับต้องผ่านที่ดินอีกหลายแปลง ทั้งจะต้องปรับปรุงเพื่อให้มีสภาพเป็นทางอีกด้วย
แม้ทางจำเป็นจะเป็นถนนซึ่งเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นและตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรซึ่งกฎหมายห้ามผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมกับบุคคลใดก่อให้เกิดภาระแก่ที่ดินนั้นก็ตาม แต่เมื่อถนนดังกล่าวตกอยู่ภายใต้สิทธิเรียกร้องที่โจทก์จะขอเปิดทางจำเป็นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมาย มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมแต่อย่างใด จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5103/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอทางจำเป็นแม้ผู้ซื้อที่ดินทราบว่าที่ดินถูกล้อม และผลกระทบต่อสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรร
การขอทางผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง มุ่งพิจารณาถึงสภาพของที่ดินนั้นจะต้องถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะเป็นสำคัญ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจึงมีสิทธิจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ออกไปสู่ทางสาธารณะได้ โดยมิได้กำหนดเงื่อนไขว่าผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมจะต้องได้ที่ดินมาโดยสุจริต กล่าวคือ ต้องไม่รู้ว่าที่ดินที่ตนได้มาถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะมาก่อน หากรู้มาก่อนถือว่าไม่สุจริตไม่มีสิทธิผ่านที่ดินแปลงที่ล้อมออกสู่ทางสาธารณะได้แต่อย่างใด ดังนั้นแม้โจทก์จะซื้อที่ดินมาโดยรู้อยู่แล้วว่ามีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ออกสู่ทางสาธารณะหมดไป เพราะสิทธิของโจทก์ดังกล่าวเป็นสิทธิที่กฎหมายบัญญัติให้ไว้ ซึ่งหากจำเลยได้รับความเสียหายจากการเปิดทางจำเป็นดังกล่าว จำเลยก็มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเป็นค่าเสียหายได้ ตามมาตรา 1349 วรรคสี่
มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติว่าเจ้าของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจะต้องขอผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ ซึ่งอยู่ใกล้ทางสาธารณะมากที่สุดเท่านั้น เจ้าของที่ดินซึ่งถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจะขอผ่านที่ดินที่ล้อมแปลงใดก็ได้ เพียงแต่การที่จะผ่านที่ดินที่ล้อมนั้นต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็น กับต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ตามมาตรา 1349 วรรคสาม เมื่อปรากฏว่าที่ดินของจำเลยที่ล้อมที่ดินของโจทก์อยู่มีสภาพเป็นทางซึ่งใช้ออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว จึงเป็นทางจำเป็นที่สะดวกที่สุดและก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด
แม้ทางจำเลยที่โจทก์ขอผ่านจะเป็นถนนซึ่งเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรได้จัดให้มีขึ้น และตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร แม้มีกฎหมายซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นบัญญัติห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแล้วทำนิติกรรมกับบุคคลใดอันก่อให้เกิดภาระแก่ที่ดินนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามนัยแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 18, 30 วรรคแรก และ 32 ก็ตาม แต่เมื่อถนนดังกล่าวตกอยู่ภายใต้สิทธิเรียกร้องที่โจทก์จะขอเปิดทางจำเป็นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมาย มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมอันก่อให้เกิดภาระแก่ที่ดินที่ตกเป็นสาธารณูปโภค จึงหาขัดต่อประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 18 ไม่
มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติว่าเจ้าของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจะต้องขอผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ ซึ่งอยู่ใกล้ทางสาธารณะมากที่สุดเท่านั้น เจ้าของที่ดินซึ่งถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจะขอผ่านที่ดินที่ล้อมแปลงใดก็ได้ เพียงแต่การที่จะผ่านที่ดินที่ล้อมนั้นต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็น กับต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ตามมาตรา 1349 วรรคสาม เมื่อปรากฏว่าที่ดินของจำเลยที่ล้อมที่ดินของโจทก์อยู่มีสภาพเป็นทางซึ่งใช้ออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว จึงเป็นทางจำเป็นที่สะดวกที่สุดและก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด
แม้ทางจำเลยที่โจทก์ขอผ่านจะเป็นถนนซึ่งเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรได้จัดให้มีขึ้น และตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร แม้มีกฎหมายซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นบัญญัติห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแล้วทำนิติกรรมกับบุคคลใดอันก่อให้เกิดภาระแก่ที่ดินนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามนัยแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 18, 30 วรรคแรก และ 32 ก็ตาม แต่เมื่อถนนดังกล่าวตกอยู่ภายใต้สิทธิเรียกร้องที่โจทก์จะขอเปิดทางจำเป็นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมาย มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมอันก่อให้เกิดภาระแก่ที่ดินที่ตกเป็นสาธารณูปโภค จึงหาขัดต่อประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 18 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7087/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: การพิสูจน์ทางออกอื่นเพื่อใช้สิทธิทางผ่าน แม้มีทางออก แต่ต้องเป็นทางที่ใช้ได้โดยชอบ
โจทก์กับจำเลยท้ากันให้ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบที่พิพาท หากศาลเห็นว่าโจทก์มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะทางอื่นนอกจากทางพิพาทแล้ว โจทก์ยอมแพ้คดี หากไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะทางอื่น จำเลยยอมแพ้คดี ข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีทางสามทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่ทั้งสามทางจะต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่น ซึ่งไม่ปรากฏว่าเจ้าของที่ดินทั้งสามรายนี้ได้ยกที่ดินเป็นทางดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะหรือเป็นทางภาระจำยอม โจทก์ย่อมไม่อาจใช้ทางทั้งสามได้โดยชอบเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้ ซึ่งมีผลเท่ากับไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าถือไม่ได้ว่าทางออกดังกล่าวเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะตามที่ท้ากันและพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีตามคำท้านั้น ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่คู่ความท้ากัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7087/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: ศาลพิพากษาตามคำท้าสืบเผชิญ หากไม่มีทางออกอื่นจริง แม้ทางอื่นเดินได้ยาก
โจทก์ทั้งสี่กับจำเลยทั้งสองตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบที่พิพาท หากศาลเห็นว่าโจทก์ทั้งสี่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะทางอื่นนอกจากทางพิพาทแล้ว โจทก์ทั้งสี่ยอมแพ้คดีหากไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะทางอื่นจำเลยทั้งสองยอมแพ้คดีข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลชั้นต้นในการเดินเผชิญสืบตามที่คู่ความนำชี้ว่านอกจากที่พิพาทที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าเป็นทางแล้ว จำเลยทั้งสองนำชี้มีทางออกสู่ทางสาธารณะอีกสามเส้นทาง ซึ่งแต่ละเส้นทางเป็นทางเดินในสวนมีความกว้างขนาดคนเดินได้ ไม่ใช่ทางเข้าออกของรถยนต์ และต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่น ซึ่งเจ้าของที่ดินไม่ได้ยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณะหรือเป็นทางภารจำยอม โจทก์ที่ 1 ย่อมไม่อาจใช้ทางได้โดยชอบเพื่อออกสู่ทางสาธารณะ ซึ่งมีผลเท่ากับไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าถือไม่ได้ว่าทางดังกล่าวเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะตามที่ท้ากัน และพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแพ้คดีตามคำท้านั้น ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่คู่ความท้ากัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อรั้วลวดหนามและสิ่งกีดขวางออกจากทางพิพาท ถ้าจำเลยทั้งสองไม่รื้อให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รื้อถอนเองโดยจำเลยทั้งสองร่วมกันเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน ดังนั้น หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์ที่ 1 มีสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไปโดยยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ ได้อยู่แล้ว โจทก์ที่ 1 จะขอรื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อรั้วลวดหนามและสิ่งกีดขวางออกจากทางพิพาท ถ้าจำเลยทั้งสองไม่รื้อให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รื้อถอนเองโดยจำเลยทั้งสองร่วมกันเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน ดังนั้น หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์ที่ 1 มีสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไปโดยยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ ได้อยู่แล้ว โจทก์ที่ 1 จะขอรื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7024/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุ้มครองชั่วคราวทางภารจำยอม/จำเป็น: ศาลพิจารณาจากมูลเหตุฟ้องและเหตุผลความจำเป็นก่อนพิพากษา
ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องมีมูลและมีเหตุผลเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้ชั่วคราวก่อนพิพากษา เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2), 255 แล้วมีคำสั่งห้ามจำเลยปิดกั้น ทำลาย หรือห้ามมิให้โจทก์ใช้ทางพิพาทและให้ทำทางพิพาทให้มีสภาพเดิมกว้างยาวตามคำขอท้ายฟ้อง เมื่อจำเลยจะอุทธรณ์ขอให้กลับคำสั่งดังกล่าวจะต้องโต้เถียงว่าวิธีการที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ตามมาตรา 254 (2) นั้น ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวมาใช้ หรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นที่ศาลจะมีคำสั่งต่อไปตามมาตรา 261 วรรคสาม ส่วนปัญหาว่าทางพิพาทกว้างยาวเพียงใดในชั้นพิจารณา ไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องชี้ขาดในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7024/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวทางภารจำยอม/จำเป็น: ศาลมีอำนาจสั่งคุ้มครองหากมีมูลและเหตุเพียงพอ แม้ยังต้องพิสูจน์ในชั้นพิจารณา
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้พิพากษาว่า ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางภารจำยอมหรือทางจำเป็น ขอให้ห้ามจำเลยปิดกั้นหรือทำลายทางพิพาทเพื่อให้โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยขอให้มีคำสั่งห้ามจำเลยปิดกั้นและทำลายทางพิพาทและให้โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นการชั่วคราวก่อนพิพากษา อันเป็นส่วนหนึ่งเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้อง จึงเป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลยจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2)เมื่อศาลชั้นต้นพอใจว่า คำฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้แล้ว จำเลยจะอุทธรณ์ขอให้ยกคำร้องของโจทก์ จำเลยจะต้องโต้เถียงว่า วิธีการที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้นั้น ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวมาใช้หรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นที่ศาลจะมีคำสั่งต่อไปตามมาตรา 261 วรรคสาม การที่จำเลยอุทธรณ์ยกเหตุโต้เถียงเพียงว่า ทางพิพาทไม่เคยมีมาก่อน หรือทางพิพาทกว้างประมาณ 3 วา และยาวประมาณ 15 วา นั้น เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปในชั้นพิจารณา ไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องชี้ขาดในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6460/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยต่อฟ้องแย้ง, การรับสิทธิทางภารจำยอมจากการซื้อขาย, และประเด็นทางจำเป็นที่ไม่ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอเรียกค่าชดเชยจากโจทก์ทั้งห้าในอัตราปีละ 20,000บาท และขอเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่ถูกฟ้องเป็นเงิน 30,000 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การ ส่วนฟ้องแย้งเรื่องค่าเสียหายไม่รับ ค่าขึ้นศาลให้คำนวณจากค่าชดเชย20,000 บาท กับค่าขึ้นศาลอนาคต คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลยทั้งสอง พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับค่าชดเชยเท่านั้น แต่จำเลยทั้งสองมิได้นำส่งหมายนัดและสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งให้แก่ฝ่ายโจทก์กระทั่งเวลาล่วงเลยไปจนศาลชั้นต้นพิพากษา จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่โจทก์ทั้งห้าและไม่แจ้งให้ศาลทราบสาเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้นภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้องแย้งอันเป็นการทิ้งฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(1)
ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ที่ว่า โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินมาจากบุคคลอื่นย่อมได้รับสิทธิที่เจ้าของเดิมมีอยู่แล้วในการใช้ทางพิพาทนั้น โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทเองจนได้ภารจำยอม หาได้บรรยายว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทต่อจากเจ้าของที่ดินเดิมที่ขายให้โจทก์ที่ 1 ไม่ ฎีกาของโจทก์ที่ 1 จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้องเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ชนะคดีโดยวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม หากโจทก์ที่ 1 ยังติดใจในประเด็นเรื่องทางจำเป็นอยู่ แม้โจทก์ที่ 1 จะไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ แต่ก็ต้องยกขึ้นเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เมื่อโจทก์ที่ 1 มิได้ตั้งประเด็นในเรื่องทางจำเป็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ย่อมไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ชั้นอุทธรณ์ และเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ที่ว่า โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินมาจากบุคคลอื่นย่อมได้รับสิทธิที่เจ้าของเดิมมีอยู่แล้วในการใช้ทางพิพาทนั้น โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทเองจนได้ภารจำยอม หาได้บรรยายว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทต่อจากเจ้าของที่ดินเดิมที่ขายให้โจทก์ที่ 1 ไม่ ฎีกาของโจทก์ที่ 1 จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้องเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ชนะคดีโดยวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม หากโจทก์ที่ 1 ยังติดใจในประเด็นเรื่องทางจำเป็นอยู่ แม้โจทก์ที่ 1 จะไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ แต่ก็ต้องยกขึ้นเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เมื่อโจทก์ที่ 1 มิได้ตั้งประเด็นในเรื่องทางจำเป็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ย่อมไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ชั้นอุทธรณ์ และเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5672/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็นมิได้ติดตามที่ดินที่โอน สิทธิทางผ่านไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้รับโอนหากมีทางออกอื่น
แม้เดิมผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงที่โจทก์รับโอนมาจะมีสิทธิใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยในฐานะทางจำเป็นก็ไม่ได้หมายความว่าโจทก์ผู้รับโอนที่ดินจะได้สิทธิในทางพิพาทนั้นด้วยอย่างภาระจำยอม เพราะทางจำเป็นมิใช่สิทธิที่ติดกับที่ดินที่จะโอนไปพร้อมกับที่ดินด้วย ทั้งเป็นการจำกัดและริดรอนอำนาจกรรมสิทธิ์ในที่ดินของบุคคลอื่น จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด
เมื่อที่ดินซึ่งโจทก์รับโอนมามีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่งของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกัน แม้ส่วนที่ดินที่ติดกันกว้างเพียง 1.16 เมตร และทางเดินออกสู่ทางสาธารณะกว้างเพียง 1.35 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์เท่านั้น หาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็น
หมายเหตุ : วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2546
เมื่อที่ดินซึ่งโจทก์รับโอนมามีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่งของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกัน แม้ส่วนที่ดินที่ติดกันกว้างเพียง 1.16 เมตร และทางเดินออกสู่ทางสาธารณะกว้างเพียง 1.35 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์เท่านั้น หาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็น
หมายเหตุ : วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2546
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5672/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นมิได้โอนไปพร้อมที่ดิน หากมีทางออกอื่น แม้ไม่สะดวก ก็ไม่ถือเป็นทางจำเป็น
การที่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่โจทก์รับโอนมามีสิทธิใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยในฐานะทางจำเป็นมาก่อน ก็ไม่ได้หมายความว่า โจทก์จะได้สิทธิในทางพิพาทนั้นด้วยอย่างภารจำยอม เพราะทางจำเป็นมิใช่สิทธิที่ติดกับที่ดินที่จะโอนไปพร้อมกับที่ดินด้วยทั้งเป็นการจำกัดและริดรอนอำนาจกรรมสิทธิ์ที่ดินของบุคคลอื่น จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด เมื่อที่ดินซึ่งโจทก์รับโอนมามีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่งของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกัน แม้ส่วนที่ดินที่ติดกันกว้างเพียง 1.16 เมตร และทางเดินออกสู่ทางสาธารณะกว้างเพียง 1.35 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์ เท่านั้น หาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทางจำเป็น: เจ้าของรวมคนหนึ่งต่อสู้แทนเจ้าของรวมอื่นได้ แม้ไม่ได้ฟ้องร่วมกัน
จำเลยเป็นเจ้าของรวมในที่ดินมีโฉนดร่วมกับ จ. การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยกับ จ. ไม่เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ด เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และถือเป็นการยกข้อต่อสู้แทน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 แม้โจทก์ทั้งเจ็ดมิได้ฟ้อง จ. ด้วย ผลแห่งคดีย่อมต้องผูกพันถึง จ. โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยแต่ผู้เดียวได้