พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4935/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: โจทก์มีทางออกอื่น การพิพากษาเกินฟ้องเป็นเหตุให้คำพิพากษาไม่ชอบ
โจทก์ทั้งสองเป็นสามีภริยากัน จำเลยโอนขายส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 5519 ให้โจทก์ทั้งสองที่ดินที่จำเลยขายให้โจทก์ทั้งสองอยู่ด้านในที่ดินของป. มารดาโจทก์ที่ 1 โดย ป. ยอมให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านออกสู่ทางสาธารณะได้ที่ดินของโจทก์ทั้งสองจึงมีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ ทางพิพาท ที่อยู่ในที่ดินของจำเลยจึงมิใช่ทางจำเป็นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็น ตามฟ้องได้ โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยเปิดทางพิพาทโดยอ้างว่าเป็นทางจำเป็น ซึ่งโจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350ประเด็นข้อพิพาทคงมีเพียงว่า ทางพิพาทเป็น ทางจำเป็นตามบทกฎหมายดังกล่าวหรือไม่เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสองมีทางเดินอื่น เข้าออกสู่ทางสาธารณะได้แล้ว ทางพิพาทจึงไม่ใช่ ทางจำเป็น ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง แม้จำเลยยินยอม ให้โจทก์ทั้งสองหรือบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทเข้าออก สู่ทางสาธารณะได้ก็ตาม เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ข้ออ้างที่โจทก์ทั้งสองอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพื่อขอให้บังคับจำเลยเปิดทางพิพาท ดังนี้ การที่ ศาลชั้นต้นหยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย และพิพากษาคดีจึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริง นอกฟ้องนอกประเด็น และเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แม้จำเลยมิได้ฎีกาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบ มาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8394/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการใช้ทางออกของที่ดิน: ที่ดินไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ จำเลยต้องรับผิด
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยต้องผ่านที่ดินของจำเลยตามฟ้องหรือไม่ คู่ความท้ากันว่าหากทำแผนที่พิพาทได้ข้อเท็จจริงว่าที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะจำเลยยอมแพ้ แต่ถ้าปรากฏว่าที่ดินโจทก์สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ยอมแพ้คำท้าที่ว่าไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ย่อมหมายความตามที่วิญญูชนทั่วไปเข้าใจกล่าวคือ ย่อมหมายความรวมทั้งไม่มีทางออกและมีทางออกแต่ไม่สามารถใช้ทางออกนั้นได้ เมื่อศาลชั้นต้นไปเผชิญสืบที่พิพาทปรากฏว่า ที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศใต้อยู่ติดกับทางส่วนบุคคลซึ่งเจ้าของทางไม่อนุญาตให้โจทก์ผ่านทางดังกล่าว ส่วนที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศเหนือติดกับที่ดินของจำเลย และทิศเหนือติดกับที่ดินของจำเลยเป็นทางสาธารณะประโยชน์ ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของที่ดินโจทก์ติดกับที่ดินของบุคคลอื่น จากสภาพดังกล่าวถือได้ว่า ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ จำเลยจึงต้องแพ้คดีตามคำท้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8394/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำท้าทางกฎหมาย: 'ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ' ครอบคลุมทั้งไม่มีทางออกและใช้ทางออกไม่ได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยต้องผ่านที่ดินของจำเลยตามฟ้อง หรือไม่ คู่ความท้ากันว่าหากทำแผนที่พิพาทได้ข้อเท็จจริง ว่าที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะจำเลยยอมแพ้ แต่ถ้าปรากฏว่าที่ดินโจทก์สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ ยอมแพ้คำท้าที่ว่าไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ย่อมหมายความตาม ที่วิญญูชนทั่วไปเข้าใจกล่าวคือ ย่อมหมายความรวมทั้งไม่มี ทางออกและมีทางออกแต่ไม่สามารถใช้ทางออกนั้นได้ เมื่อศาลชั้นต้นไปเผชิญสืบที่พิพาทปรากฏว่า ที่ดินของโจทก์ ทางด้านทิศใต้อยู่ติดกับทางส่วนบุคคลซึ่งเจ้าของทางไม่อนุญาต ให้โจทก์ทางดังกล่าว ส่วนที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศเหนือ ติดกับที่ดินของจำเลย และทิศเหนือติดกับที่ดินของจำเลย เป็นทางสาธารณะประโยชน์ ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ของที่ดินติดกับที่ดินของบุคคลอื่น จากสภาพดังกล่าวถือได้ว่า ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ จำเลยจึงต้อง แพ้คดีตามคำท้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: การแบ่งแยกที่ดินเพื่อให้มีทางออกสู่ทางสาธารณะ และการกำหนดความกว้างของทางที่เหมาะสม
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าเดิมที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงตามสำเนาโฉนดที่ดินเลขที่7836และ7838เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข1เป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินโฉนดเลขที่1694ของจำเลยซึ่งจำเลยได้แบ่งแยกขายให้ผู้อื่นแล้วโอนต่อมาจนถึงโจทก์จำเลยได้ตกลงกับผู้ซื้อให้มีถนนยาวตลอดแนวที่ดินของจำเลยกว้างประมาณ3เมตรเพื่อออกสู่ทางสาธารณะปรากฏตามแผนที่ทางพิพาทเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข4ทางดังกล่าวเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขอให้บังคับจำเลยให้จดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดเลขที่1694ทางด้านทิศใต้ซึ่งติดกับที่ดินของโจทก์มีความกว้าง3เมตรยาวตลอดแนวที่ดินให้เป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่7836และ7838ดังนี้เมื่อพิจารณาคำฟ้องของโจทก์คำขอท้ายฟ้องภาพถ่ายโฉนดที่ดินเลขที่7836และ7838ของโจทก์เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข1แผนที่ทางพิพาทเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข4และภาพถ่ายโฉนดที่ดินเลขที่1694ของจำเลยเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข2ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องแล้วปรากฏว่าเมื่อแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่1694ของจำเลยแล้วมีจำนวนทั้งหมด17แปลงและที่ดินโฉนดเลขที่7836และ7838ของโจทก์2แปลงถูกที่ดินแปลงอื่นที่แบ่งแยกดังกล่าวอีก15แปลงล้อมอยู่ทุกด้านคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่กล่าวอ้างว่าที่ดินของจำเลยที่แบ่งแยกเป็นเหตุให้ที่ดิน2แปลงซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะแล้วโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน2แปลงดังกล่าวย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปิดทางจำเป็นบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่าที่ดินโฉนดเลขที่1694ของจำเลยกว้าง3เมตรยาวตลอดแนวที่ดินเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่7836และ7838ของโจทก์หรือไม่ ที่ดินของโจทก์เดิมเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินของจำเลยต่อมาเมื่อจำเลยแบ่งแยกขายที่ดิน2แปลงของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะดังนั้นการที่จำเลยแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่1694ออกเป็นที่ดินแปลงย่อยรวมทั้งที่ดินของโจทก์เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินอันเป็นทางจำเป็นบนที่ดินโฉนดเลขที่1694ของจำเลยซึ่งอยู่ติดทางสาธารณะเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350บัญญัติให้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นโดยผลของกฎหมายโจทก์มีสิทธิแต่เพียงให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้เท่านั้นโดยจำเลยไม่จำต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินติดทางสาธารณประโยชน์แล้วบุกรุกเอง ไม่สามารถเรียกร้องทางจำเป็นได้
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งทางด้านทิศตะวันออกติดต่อกับที่ดินของจำเลยทั้งสองที่มีทางพิพาทผ่าน เมื่อปรากฏว่าที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศใต้แต่เดิมติดกับทางสาธารณประโยชน์ซึ่งประชาชนทั่วไปได้ใช้ผ่านเข้าออกอยู่แล้ว และต่อมาโจทก์ซื้อที่ดินอีก 2 แปลง คือเลขที่ 807 และ 808 ที่ดินของโจทก์ทั้งสามจึงติดกับทางสาธารณประโยชน์ การที่ต่อมาโจทก์ได้ปักรั้วเข้าไปในทางสาธารณประโยชน์ทางด้านทิศใต้ของที่ดินจนติดที่ดินของจำเลยที่ 2 ทำให้ทางสาธารณประโยชน์ไม่สามารถใช้เดินได้ โจทก์จึงเข้าออกทางสาธารณประโยชน์นั้นไม่ได้อีก ดังนี้ กรณีจะถือว่าที่ดินของโจทก์อยู่ในที่ล้อมของที่ดินแปลงอื่น และโจทก์จะมาร้องขอให้ศาลบังคับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินให้เปิดทางพิพาททางจำเป็นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: แม้ไม่ติดทางสาธารณะโดยตรง แต่ที่ดินที่สามารถใช้เป็นทางออกได้ ถือเป็นทางจำเป็นได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ที่ระบุให้ที่ดินแปลงใดที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้นั้น มิได้มีบทบัญญัติว่าทางจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับทางสาธารณะโดยตรงความมุ่งหมายที่สำคัญคือให้ที่ดินถูกล้อมอยู่นั้นมีทางออกถึงทางสาธารณะได้เท่านั้น ได้ความว่าหากโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลย โจทก์สามารถไปตามทางจนในที่สุดถึงทางสาธารณะได้ เช่นนี้ที่ดินของจำเลยย่อมเป็นทางจำเป็นแม้จะฟังว่าเมื่อผ่านที่ดินของจำเลยแล้วจะต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นอีก แต่บุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงอื่นก็มิได้ร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อโต้แย้งสิทธิของโจทก์คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าเจ้าของที่ดินแปลงอื่นยินยอมให้โจทก์ผ่านหรือไม่ เมื่อที่ดินของโจทก์กับที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินแปลงเดียวกัน และที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินในที่ดินที่แบ่งแยกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350
ที่ดินของจำเลยเป็นถนนซอยเชื่อมกับถนนสายอื่นในหมู่บ้าน รถยนต์สามารถแล่นเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ขอผ่านเป็นทางจำเป็นซึ่งเป็นทางที่ใกล้ทางสาธารณะที่สุดและเกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด เพราะที่ดินของจำเลยมีสภาพเป็นถนนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยภายในหมู่บ้านผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว ส่วนความจำเป็นของโจทก์ผู้มีสิทธิจะผ่านนั้น แม้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องทางจำเป็น ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ มิได้จำกัดให้ใช้เฉพาะทางเดินด้วยเท้าแต่อย่างเดียว ทั้งตามสภาพความจำเป็นของคนที่อยู่อาศัยในหมู่บ้าน ย่อมต้องมีรถยนต์เป็นยานพาหนะ ฉะนั้นที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยรื้อรั้วในที่ดินของจำเลย เพื่อเปิดเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์กว้างแปลงละ 3.5 เมตร จึงเหมาะสมแล้ว
ที่ดินของจำเลยเป็นถนนซอยเชื่อมกับถนนสายอื่นในหมู่บ้าน รถยนต์สามารถแล่นเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ขอผ่านเป็นทางจำเป็นซึ่งเป็นทางที่ใกล้ทางสาธารณะที่สุดและเกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด เพราะที่ดินของจำเลยมีสภาพเป็นถนนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยภายในหมู่บ้านผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว ส่วนความจำเป็นของโจทก์ผู้มีสิทธิจะผ่านนั้น แม้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องทางจำเป็น ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ มิได้จำกัดให้ใช้เฉพาะทางเดินด้วยเท้าแต่อย่างเดียว ทั้งตามสภาพความจำเป็นของคนที่อยู่อาศัยในหมู่บ้าน ย่อมต้องมีรถยนต์เป็นยานพาหนะ ฉะนั้นที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยรื้อรั้วในที่ดินของจำเลย เพื่อเปิดเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์กว้างแปลงละ 3.5 เมตร จึงเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการผ่านที่ดินแปลงอื่น (ทางจำเป็น) แม้ไม่ติดทางสาธารณะโดยตรง หากสามารถออกสู่ทางสาธารณะได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ที่ระบุให้ที่ดินแปลงใดที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้นั้น มิได้มีบทบัญญัติว่าทางจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับทางสาธารณะโดยตรงความมุ่งหมายที่สำคัญคือให้ที่ดินถูกล้อมอยู่นั้นมีทางออกถึงทางสาธารณะได้เท่านั้น ได้ความว่าหากโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลย โจทก์สามารถไปตามทางจนในที่สุดถึงทางสาธารณะได้ เช่นนี้ที่ดินของจำเลยย่อมเป็นทางจำเป็นแม้จะฟังว่าเมื่อผ่านที่ดินของจำเลยแล้วจะต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นอีก แต่บุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงอื่นก็มิได้ร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อโต้แย้งสิทธิของโจทก์คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าเจ้าของที่ดินแปลงอื่นยินยอมให้โจทก์ผ่านหรือไม่ เมื่อที่ดินของโจทก์กับที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินแปลงเดียวกัน และที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินในที่ดินที่แบ่งแยกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350
ที่ดินของจำเลยเป็นถนนซอยเชื่อมกับถนนสายอื่นในหมู่บ้าน รถยนต์สามารถแล่นเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ขอผ่านเป็นทางจำเป็นซึ่งเป็นทางที่ใกล้ทางสาธารณะที่สุดและเกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด เพราะที่ดินของจำเลยมีสภาพเป็นถนนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยภายในหมู่บ้านผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว ส่วนความจำเป็นของโจทก์ผู้มีสิทธิจะผ่านนั้น แม้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องทางจำเป็น ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ มิได้จำกัดให้ใช้เฉพาะทางเดินด้วยเท้าแต่อย่างเดียว ทั้งตามสภาพความจำเป็นของคนที่อยู่อาศัยในหมู่บ้าน ย่อมต้องมีรถยนต์เป็นยานพาหนะ ฉะนั้นที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยรื้อรั้วในที่ดินของจำเลย เพื่อเปิดเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์กว้างแปลงละ 3.5 เมตร จึงเหมาะสมแล้ว
ที่ดินของจำเลยเป็นถนนซอยเชื่อมกับถนนสายอื่นในหมู่บ้าน รถยนต์สามารถแล่นเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ขอผ่านเป็นทางจำเป็นซึ่งเป็นทางที่ใกล้ทางสาธารณะที่สุดและเกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด เพราะที่ดินของจำเลยมีสภาพเป็นถนนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยภายในหมู่บ้านผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว ส่วนความจำเป็นของโจทก์ผู้มีสิทธิจะผ่านนั้น แม้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องทางจำเป็น ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ มิได้จำกัดให้ใช้เฉพาะทางเดินด้วยเท้าแต่อย่างเดียว ทั้งตามสภาพความจำเป็นของคนที่อยู่อาศัยในหมู่บ้าน ย่อมต้องมีรถยนต์เป็นยานพาหนะ ฉะนั้นที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยรื้อรั้วในที่ดินของจำเลย เพื่อเปิดเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์กว้างแปลงละ 3.5 เมตร จึงเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6376/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทางจำเป็นเมื่อแบ่งแยกที่ดินทำให้ที่ดินแปลงหนึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ไม่ต้องเสียค่าทดแทน
เดิมที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 6045 และที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 6046 ของจำเลยทั้งสองเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินโฉนดเลขที่ 4094 ซึ่ง ส.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ต่อมา ส.แบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 4094 ออกเป็นแปลงย่อยอีก5 โฉนด และเป็นโฉนดเดิม 1 โฉนดในคราวเดียวกันเป็นแปลงย่อย โฉนดเลขที่ 6044,6045(ของโจทก์),6046 (ที่ดินพิพาท),6047 และ 6048 และในการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวเป็นเหตุ ให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 6045 ของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ จึงได้เกิดทางจำเป็นในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 6046ของจำเลยทั้งสองเพื่อให้ที่ดินของโจทก์มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ ดังนี้จึงเป็นกรณีที่ดินโฉนดเลขที่ 4094 แบ่งแยกกันเป็นเหตุให้ ที่ดินแปลงหนึ่งคือที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 โจทก์ย่อม ได้สิทธิทางจำเป็นที่จะสัญจรในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 6046ซึ่งเป็นแปลงที่ได้แบ่งแยกกัน การที่ ส.เจ้าของที่ดินเดิมแบ่งแยกที่ดินพิพาทมาเพื่อให้เป็นทางสัญจรแก่ที่ดินโจทก์ซึ่งเป็นที่ดินแปลงในได้ออกสู่ทางสาธารณะและมีความกว้าง 3 เมตร เพื่อให้ที่ดินพิพาททั้งแปลงเป็นทางเข้าออกสำหรับรถยนต์ มิฉะนั้นจะยากแก่การจำหน่ายที่ดินแปลงในและจะทำให้ที่ดินแปลงในมีราคาต่ำ ดังนั้นทางพิพาทซึ่งมีความกว้าง 3 เมตร ย่อมพอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงใน และถือได้ว่าทางพิพาทที่มีความกว้าง 3 เมตร ทำให้ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 6046 ของจำเลยทั้งสองเสียหายน้อยที่สุดตรงตามเจตนารมณ์ของเจ้าของที่ดิน เดิมที่แบ่งแยกทางพิพาทออกมาเป็นแปลงย่อย ดังที่บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสามประกอบมาตรา 1350 แล้ว กรณีแบ่งแยกที่ดินกันเป็นเหตุให้ที่ดินแปลงหนึ่งคือที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ และโจทก์ได้สิทธิทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยโจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าทดแทนแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6185/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อที่ดิน - ทางออก - การไม่จัดการให้สิทธิทางผ่าน - การชำระค่าเช่าซื้อ
ที่ดินที่โจทก์เช่าซื้อจากจำเลยเป็นที่ดินที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะเมื่อตามสัญญาเช่าซื้อจำเลยจะทำถนนให้โจทก์ไว้เป็นทางเข้าออกไปสู่ทางสาธารณะแล้วต่อมาจำเลยโอนถนนดังกล่าวให้แก่ ค. โจทก์จึงอาจได้รับความเดือดร้อนและเสียหายได้ และหากต่อมา ค.ไม่ยินยอมให้โจทก์ใช้ถนนที่กล่าวนี้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินที่เช่าซื้อ โจทก์ย่อมไม่มีทางเข้าไปยังที่ดินที่เช่าซื้อหรือออกจากที่ดินที่เช่าซื้อไปสู่ทางสาธารณะ ดังนั้น ก่อนที่จำเลยโอนขายที่ดินให้แก่ ค.จำเลยสามารถจะแบ่งแยกที่ดินส่วนที่ทำเป็นถนนออกก่อน หรือหากจำเป็นต้องโอนที่ดินส่วนนี้ให้ติดไปกับที่ดินที่จำเลยโอนขายให้แก่ ค. ก็ควรทำด้วยประการใด ๆ เพื่อให้ ค.นายคมเดชมีความผูกพันตามกฎหมายที่ต้องยอมรับสิทธิของโจทก์ที่จะเข้าออกจากที่ดินที่เช่าซื้อไปสู่ทางสาธารณะได้ต่อไปไว้ด้วยแต่จำเลยหาได้ทำเช่นนั้นไม่ เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยจัดการเรื่องถนนให้เรียบร้อยจำเลยก็หาจัดการไม่ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อ หากโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลยจนเสร็จสิ้นก็ไม่แน่ว่าจำเลยจะจัดการกับปัญหาที่จำเลยก่อขึ้นให้เรียบร้อยให้แก่โจทก์ได้ การที่โจทก์หน่วงเหนี่ยวยังไม่ชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยจึงนับว่ามีเหตุอันควร ถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อโจทก์พร้อมที่จะรับโอนที่ดินที่เช่าซื้อและชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย จำเลยก็ต้องโอนให้โจทก์และรับชำระราคาส่วนที่เหลือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4937/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นเมื่อที่ดินแบ่งแยก - การพิสูจน์ทางออกเดิม และการกำหนดความกว้างของทาง
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 ที่บัญญัติว่า ถ้าที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตามมาตราก่อนได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันและไม่ต้องเสียค่าทดแทนนั้น มีความหมายว่าที่ดินเดิมก่อนมีการแบ่งแยกมีทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว แต่เพราะเหตุมีการแบ่งแยกเป็นหลายแปลงทำให้ที่ดินบางแปลงไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้เลยหากที่ดินที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันนั้น แม้ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะเดิมก่อนมีการแบ่งแยก แต่ก็ยังมีทางออกสู่ทางสาธารณะในทางอื่นด้วยแล้วเช่นนี้ ก็ถือไม่ได้ว่าที่ดินแปลงที่แบ่งแยกนั้นไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะอันจะนำบทบัญญัติในมาตรา1350 ดังกล่าวมาใช้บังคับได้
คดีนี้แม้จำเลยจะให้การรับว่าที่ดินโจทก์หลังจากแบ่งแยกแล้วทำให้ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ไว้โดยชัดแจ้งด้วยว่าโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะทางด้านทิศใต้ โดยผ่านที่ดินของ ท.และเป็นทางที่ ม.เจ้าของที่ดินเดิมตลอดจนบิดามารดาโจทก์ใช้เป็นเส้นทางเข้าออกมาโดยตลอดทั้งเป็นทางที่สะดวกและเหมาะสมกว่าทางอื่น ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่จำเลยให้การแล้ว ย่อมแสดงว่าที่ดินโจทก์หลังการแบ่งแยกแล้ว หาได้ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะดังที่โจทก์ฟ้องไม่
ศาลชั้นต้นงดสืบพยานและพิพากษาให้จำเลยเปิดทางจำเป็นโดยกำหนดความกว้างให้ 3.25 เมตร โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเหตุใดศาลชั้นต้นจึงกำหนดเช่นนั้น และ ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม บังคับไว้ว่า ทางจำเป็นต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิผ่านกับให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ซึ่งล้วนแล้วแต่จะต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมาวินิจฉัยชี้ขาดคดี กรณีจึงต้องให้คู่ความนำพยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานและพิพากษาคดีดังกล่าวมา จึงเป็นการไม่ชอบ
คดีนี้แม้จำเลยจะให้การรับว่าที่ดินโจทก์หลังจากแบ่งแยกแล้วทำให้ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ไว้โดยชัดแจ้งด้วยว่าโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะทางด้านทิศใต้ โดยผ่านที่ดินของ ท.และเป็นทางที่ ม.เจ้าของที่ดินเดิมตลอดจนบิดามารดาโจทก์ใช้เป็นเส้นทางเข้าออกมาโดยตลอดทั้งเป็นทางที่สะดวกและเหมาะสมกว่าทางอื่น ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่จำเลยให้การแล้ว ย่อมแสดงว่าที่ดินโจทก์หลังการแบ่งแยกแล้ว หาได้ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะดังที่โจทก์ฟ้องไม่
ศาลชั้นต้นงดสืบพยานและพิพากษาให้จำเลยเปิดทางจำเป็นโดยกำหนดความกว้างให้ 3.25 เมตร โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเหตุใดศาลชั้นต้นจึงกำหนดเช่นนั้น และ ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม บังคับไว้ว่า ทางจำเป็นต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิผ่านกับให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ซึ่งล้วนแล้วแต่จะต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมาวินิจฉัยชี้ขาดคดี กรณีจึงต้องให้คู่ความนำพยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานและพิพากษาคดีดังกล่าวมา จึงเป็นการไม่ชอบ