พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4803/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมทางเข้าออก: เจ้าของที่ดินมีภาระผูกพันตามการวางผัง และจำกัดสิทธิในการใช้ประโยชน์
การที่โจทก์วางผังสร้างตึกแถวโดยให้ที่ดินพิพาทเป็นถนนเชื่อมต่อกับทางสาธารณะเป็นทางเข้าออกตึกแถวรายนี้ ย่อมเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้ถนนเป็นสาธารณูปโภคแก่ตึกแถว โจทก์จึงมีภาระผูกพันโดยถือว่าที่ดินพิพาทตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินและตึกแถวรายนี้แล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินและตึกแถวของจำเลย โจทก์ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์จะประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกหาได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390 และจำเลยในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์หรือในสามยทรัพย์ซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์เช่นเดียวกันตามมาตรา 1388 จำเลยไม่มีสิทธิต่อเติมกันสาดและวางแผงหนังสือรุกล้ำเข้าไปในที่ดิน เพราะเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ โจทก์ไม่อาจนำที่ดินพิพาทไปตั้งแผงลอยหรือนำออกให้เช่าได้อีก เพราะเป็นการกระทำอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4803/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมทางเข้าออก: เจ้าของที่ดินมีภาระผูกพันตามสัญญาและกฎหมาย แม้กรรมสิทธิ์ยังคงอยู่
แม้ขณะเมื่อซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวโจทก์ผู้ขายซึ่ง เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทบอกว่าจะให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะก็เป็นแต่เพียงคำมั่นว่าจะให้เท่านั้น กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้อุทิศโดยตรงหรือโดยปริยายให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะที่ดินพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่ปรากฏตามโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ แต่การที่โจทก์วางผังสร้างตึกแถวโดยให้ที่ดินพิพาทเป็นถนนเชื่อมต่อกับ ทางสาธารณะเป็นทางเข้าออกตึกแถวรายนี้ ย่อมเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้ถนนเป็นสาธารณูปโภคแก่ตึกแถว โจทก์จึงมีภาระผูกพันโดยถือว่าที่ดินพิพาทตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินและตึกแถวรายนี้แล้ว เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะมีผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวโดยไม่มีทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ ที่ดินพิพาทจึงเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินและตึกแถวของจำเลย ซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์จะประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกหาได้ไม่ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1390 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และจำเลยในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์หรือในสามยทรัพย์ซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์เช่นเดียวกันตามบทบัญญัติมาตรา 1388 การที่จำเลยต่อเติมกันสาดและวางแผนหนังสือรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทซึ่งตกเป็นภารจำยอมเฉพาะใช้เป็นทางเข้าออกเท่านั้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิกระทำได้ เพราะเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์อบที่ศาลจะให้จำเลยรื้อถอนกันสาดและขนย้ายแผงหนังสือออกไปจากที่ดินพิพาท แต่การที่จำเลยต่อเติมกันสาดและวางแผงหนังสือบริเวณหน้าตึกแถวของจำเลย ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายเพราะโจทก์คงมีแต่กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งตกเป็นทางภารจำยอม โจทก์จึงต้องรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน และต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ของจำเลยด้วย กล่าวคือโจทก์ไม่อาจนำที่ดินพิพาทซึ่งตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินและตึกแถวของจำเลยใช้เป็นทางเข้าออกไปตั้งแผงลอยหรือนำออกให้เช่าได้อีกเพราะเป็นการกระทำอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ดังนี้ โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็น & การรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางเข้าออกที่ดิน
ภริยาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินได้แบ่งขายที่ดินให้ผู้อื่นรวมทั้งโจทก์ โดยตกลงยินยอมให้ผู้ซื้อที่ดินใช้ถนนที่ยังเป็นที่ดินของผู้ขายและอยู่ติดที่ดินที่โจทก์ซื้อเพื่อเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้ การที่จำเลยก่อรั้วอิฐบล็อกและปักเสาคอนกรีตตามแนวรั้วอิฐบล็อกปิดขวางหน้าที่ดินที่โจทก์ซื้อตลอดแนว ทำให้โจทก์ได้รับความไม่สะดวกในการเข้าออกบ้านโจทก์ในที่ดินที่ซื้อสู่ที่ดินของภริยาจำเลยที่ยังคงอนุญาตให้โจทก์ใช้เพื่อออกสู่ถนนสาธารณะดังที่เคยได้รับ เป็นการทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร โจทก์จึงมีสิทธิปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือนร้อนนั้นให้สิ้นไปด้วยการฟ้องคดีให้จำเลยรื้อถอนไปได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1337 และแม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำดังกล่าวในที่ดินซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ ก็ไม่ใช่เป็นข้อสาระสำคัญ เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณารับฟังได้ด้วยข้อกฎหมายบทใด ศาลย่อมวินิจฉัยปรับบทบังคับไปตามกฎหมายนั้น ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ถนน-ทางเข้าออก-ละเมิด: เจ้าของรวมใช้สิทธิไม่เกินขอบเขต
บริษัท พ. ซึ่งโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาได้สร้างถนนพิพาทโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สร้างถนน ฉะนั้นจึงถือได้ว่าถนนพิพาทเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ที่จะไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่มีถนนพิพาทผ่านก็ย่อมมีสิทธิใช้ที่ดินเป็นทางเข้าออกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360
แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่ตั้งถนนพิพาทและมีสิทธิใช้ที่ดินและถนนพิพาทนั้นในฐานะเจ้าของรวมก็ตาม แต่การใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 จะต้องไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 421 และ 1360 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ใช้รถยนต์บรรทุกสิบล้อขนดินและวัสดุต่าง ๆ ในการทำโครงการจัดสรรที่ดินและบ้านทำให้ถนนพิพาทเสียหายจึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่ตั้งถนนพิพาทและมีสิทธิใช้ที่ดินและถนนพิพาทนั้นในฐานะเจ้าของรวมก็ตาม แต่การใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 จะต้องไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 421 และ 1360 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ใช้รถยนต์บรรทุกสิบล้อขนดินและวัสดุต่าง ๆ ในการทำโครงการจัดสรรที่ดินและบ้านทำให้ถนนพิพาทเสียหายจึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม ทางเข้าออกร่วมกัน การใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงการบ้านจัดสรร ไม่เป็นการละเมิด
โจทก์ทั้งสามและจำเลยที่1มีกรรมสิทธิ์รวมกันในที่ดิน2แปลงโดยมีเจตนาที่จะใช้ที่พิพาททั้ง 2 แปลงนี้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะร่วมกันเพราะต่างมีที่ดินอยู่ติดเข้าไปข้างในโดยจำเลยที่1มีที่ดินอีกแปลงหนึ่งใช้ทำบ้านจัดสรรอยู่ชิดไปด้านทิศตะวันออกการที่จำเลยที่ 1 ทำถนนคอนกรีตบนที่พิพาทเพื่อเข้าสู่ที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นไปตามเจตนาเดิมของคู่กรณีที่จะใช้เป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะร่วมกันนอกจากจะไม่เสียหายแล้วยังกลับจะมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นส่วนการปักเสาไฟฟ้าและวางท่อประปาก็ได้ทำชิดติดเขตที่ดินของจำเลยที่ 1 ด้านทิศตะวันออกไม่มีส่วนใดกีดขวางทางเข้าออกซึ่งโจทก์ที่ 1 รับว่าไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ตัวทรัพย์การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการใช้ทรัพย์สินในทางขัดต่อสิทธิของโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของรวมไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามการที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เข้าไปปักเสาไฟฟ้าและวางน้ำประปาตามคำขอของจำเลยที่ 1 ก็ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามเช่นกัน จำเลยที่ 6 ถึงที่ 20 ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินพร้อมบ้านจากโครงการของจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิใช้ถนนคอนกรีตออกสู่ทางสาธารณะได้โดยอาศัยข้อตกลงระหว่างโจทก์ทั้งสามและจำเลยที่ 1 ที่ว่าต่างยินยอมให้เจ้าของที่ดินทั้งสองฝ่ายที่อยู่สองข้างทางใช้ที่พิพาทออกสู่ทางสาธารณะได้โดยให้สัญญาดังกล่าวมีผลผูกพันผู้ที่ซื้อที่ดินต่อไปด้วยการกระทำของจำเลยที่ 6 ถึงที่ 20 จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7433/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายที่ดินเนื่องจากไม่สามารถโอนพร้อมทางเข้าออกได้ แม้จะมีการนัดหมายโอนภายหลังก็ถือเป็นการประวิง
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันเป็นหนังสือ แม้โจทก์ได้วางมัดจำด้วยก็ถือว่าการวางมัดจำเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้นหาใช่ทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำไม่ เมื่อตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทหรือทางเข้าออกแก่โจทก์ ณสำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบถึงข้อความเพิ่มเติมนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญา โดยอ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงโอนที่ดินกันภายใน 3 เดือน ซึ่งตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 แต่ผู้เขียนสัญญาลืมเขียนข้อความระบุวันนัดโอนนั้น เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) ดังนั้นแม้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยไม่ไปสำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา
ก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2534 เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและขอคำยืนยันจากจำเลยภายในวันที่ 29 มีนาคม 2534 ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีหนังสือชี้แจงให้โจทก์ทราบว่าสามารถโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ได้หรือไม่ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 โจทก์ขอให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19กันยายน 2534 เวลา 13.30 นาฬิกา จำเลยได้รับหนังสือของโจทก์แล้ว แม้ว่าหนังสือของโจทก์ครั้งที่สองแจ้งให้จำเลยโอนที่ดินในระยะกระชั้นชิด แต่หนังสือของโจทก์ครั้งแรกที่เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจนถึงวันที่โจทก์บอกกล่าวในครั้งที่สองเป็นเวลาห่างกันถึง 6 เดือน จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกจากที่ดินพิพาทเชื่อมถนนสาธารณะ ซึ่งได้ความว่าเจ้าของที่ดินได้ขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วเสร็จ และเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ใช้ทำเป็นทางเข้าออกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2534 การที่จำเลยกลับมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26กันยายน 2534 อ้างว่า จำเลยพร้อมที่จะโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ และให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่เหลือ ณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 11 ตุลาคม 2534เวลา 10 นาฬิกา นั้นปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินเสร็จและออกหนังสือ น.ส.3 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2534 ถ้าหากโจทก์ไปสำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 ตามที่จำเลยนัดหมาย โจทก์ก็ไม่สามารถรับโอนที่ดินตามสัญญาจากจำเลยได้ และการที่จำเลยไม่สามารถจัดซื้อที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกตามสัญญาได้ แต่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26กันยายน 2534 นัดโอนที่ดินกันจึงเป็นการประวิงการปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่ได้คำนึงว่าจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ตามสัญญาได้จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญาอยู่นั่นเอง ดังนั้นการที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เป็นการกำหนดระยะเวลาให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาพอสมควรแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้จึงถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่า จำเลยผิดสัญญาขอให้คืนเงินมัดจำ480,000 บาท และชำระเบี้ยปรับ 960,000 บาท ภายในกำหนด 7 วัน หากพ้นกำหนดจะดำเนินคดีต่อไป ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว จึงเป็นกรณีที่ถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387
ก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2534 เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและขอคำยืนยันจากจำเลยภายในวันที่ 29 มีนาคม 2534 ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีหนังสือชี้แจงให้โจทก์ทราบว่าสามารถโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ได้หรือไม่ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 โจทก์ขอให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19กันยายน 2534 เวลา 13.30 นาฬิกา จำเลยได้รับหนังสือของโจทก์แล้ว แม้ว่าหนังสือของโจทก์ครั้งที่สองแจ้งให้จำเลยโอนที่ดินในระยะกระชั้นชิด แต่หนังสือของโจทก์ครั้งแรกที่เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจนถึงวันที่โจทก์บอกกล่าวในครั้งที่สองเป็นเวลาห่างกันถึง 6 เดือน จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกจากที่ดินพิพาทเชื่อมถนนสาธารณะ ซึ่งได้ความว่าเจ้าของที่ดินได้ขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วเสร็จ และเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ใช้ทำเป็นทางเข้าออกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2534 การที่จำเลยกลับมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26กันยายน 2534 อ้างว่า จำเลยพร้อมที่จะโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ และให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่เหลือ ณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 11 ตุลาคม 2534เวลา 10 นาฬิกา นั้นปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินเสร็จและออกหนังสือ น.ส.3 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2534 ถ้าหากโจทก์ไปสำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 ตามที่จำเลยนัดหมาย โจทก์ก็ไม่สามารถรับโอนที่ดินตามสัญญาจากจำเลยได้ และการที่จำเลยไม่สามารถจัดซื้อที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกตามสัญญาได้ แต่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26กันยายน 2534 นัดโอนที่ดินกันจึงเป็นการประวิงการปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่ได้คำนึงว่าจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ตามสัญญาได้จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญาอยู่นั่นเอง ดังนั้นการที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เป็นการกำหนดระยะเวลาให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาพอสมควรแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้จึงถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่า จำเลยผิดสัญญาขอให้คืนเงินมัดจำ480,000 บาท และชำระเบี้ยปรับ 960,000 บาท ภายในกำหนด 7 วัน หากพ้นกำหนดจะดำเนินคดีต่อไป ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว จึงเป็นกรณีที่ถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7433/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน-ทางเข้าออก จำเลยไม่สามารถจัดหาได้ โจทก์บอกเลิกสัญญาได้
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันเป็นหนังสือแม้โจทก์ได้วางมัดจำด้วยก็ถือว่าการวางมัดจำเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้นหาใช่ทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำไม่เมื่อตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทหรือทางเข้าออกแก่โจทก์ ณ สำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2534 ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบถึงข้อความเพิ่มเติมนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญา โดยอ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงโอนที่ดินกันภายใน 3 เดือน ซึ่งตรงกับวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2534 แต่ผู้เขียนสัญญาลืมเขียนข้อความระบุวันนัดโอนนั้น เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ดังนั้นแม้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยไม่ไปสำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา ก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2534 เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและ ขอคำยืนยันจากจำเลยภายในวันที่ 29 มีนาคม 2534 ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีหนังสือชี้แจงให้โจทก์ทราบว่าสามารถโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ได้หรือไม่ ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 โจทก์ขอให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เวลา 13.30 นาฬิกา จำเลยได้รับหนังสือ ของโจทก์แล้ว แม้ว่าหนังสือของโจทก์ครั้งที่สองแจ้งให้จำเลย โอนที่ดินในระยะกระชั้นชิด แต่หนังสือของโจทก์ครั้งแรก ที่เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจนถึงวันที่โจทก์บอกกล่าวในครั้งที่สองเป็นเวลาห่างกันถึง 6 เดือน จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกจากที่ดินพิพาทเชื่อมถนนสาธารณะ ซึ่งได้ความว่าเจ้าของที่ดินได้ขอรับวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วเสร็จ และเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ใช้ทำเป็นทางเข้าออกเมื่อวันที่15 ตุลาคม 2534 การที่จำเลยกลับมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26 กันยายน 2534 อ้างว่า จำเลยพร้อมที่จะโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ และให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่เหลือณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 เวลา 10 นาฬิกานั้นปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินเสร็จและออกหนังสือ น.ส.3 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2534ถ้าหากโจทก์ไปสำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 ตามที่จำเลยนัดหมาย โจทก์ก็ไม่สามารถ รับโอนที่ดินตามสัญญาจากจำเลยได้ และการที่จำเลยไม่สามารถจัดซื้อที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกตามสัญญาได้ แต่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26 กันยายน 2534 นัดโอนที่ดินกันจึงเป็นการประวิงการปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่ได้คำนึงว่าจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ตามสัญญาได้ จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญาอยู่นั่นเองดังนั้นการที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เป็นการกำหนดระยะเวลาให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาพอสมควรแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้จึงถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญาขอให้คืนเงินมัดจำ 480,000 บาท และชำระเบี้ยปรับ 960,000 บาท ภายในกำหนด 7 วัน หากพ้นกำหนดจะดำเนินคดีต่อไป ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วจึงเป็นกรณีที่ถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางเข้าออกต่อเนื่องเกิน 10 ปี ทำให้ได้สิทธิภาระจำยอม แม้ฟ้องเดิมวินิจฉัยกรรมสิทธิ์
คดีเดิมที่จำเลยฟ้องโจทก์กับพวก อ้างว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครอง จำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดแนวเขต โจทก์คัดค้านว่าเป็นของโจทก์ ประเด็นมีว่า ผู้ใดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนคดีนี้มีประเด็นว่า ทางพิพาทในที่ดินดังกล่าวของจำเลยเป็นภาระจำยอมของโจทก์ตามกฎหมายหรือไม่ เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยเป็นทางเข้าออกโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาให้ได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินติดต่อกันมาเกิน 10 ปี ย่อมได้ภาระจำยอมโดยอายุความ
แม้ฟ้องโจทก์จะกล่าวถึงเนื้อที่ทางพิพาท 1 งาน 25 ตารางวาแต่แผนที่ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินทำส่งศาลได้แสดงบริเวณที่โจทก์นำรังวัดขอเปิดทางภาระจำยอมเนื้อที่ประมาณ 1 งาน 25 ตารางวา และบริเวณเขตโฉนดที่ดินจำเลยนำรังวัดเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ 1 งาน 33 ตารางวา ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าทางพิพาทกว้าง 2 วา ยาวถึงทางสาธารณะ จึงเป็นที่เดียวกัน ย่อมไม่เกินคำขอ
โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยเป็นทางเข้าออกโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาให้ได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินติดต่อกันมาเกิน 10 ปี ย่อมได้ภาระจำยอมโดยอายุความ
แม้ฟ้องโจทก์จะกล่าวถึงเนื้อที่ทางพิพาท 1 งาน 25 ตารางวาแต่แผนที่ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินทำส่งศาลได้แสดงบริเวณที่โจทก์นำรังวัดขอเปิดทางภาระจำยอมเนื้อที่ประมาณ 1 งาน 25 ตารางวา และบริเวณเขตโฉนดที่ดินจำเลยนำรังวัดเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ 1 งาน 33 ตารางวา ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าทางพิพาทกว้าง 2 วา ยาวถึงทางสาธารณะ จึงเป็นที่เดียวกัน ย่อมไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิธีคุ้มครองชั่วคราว การละเมิด และการรื้อถอนทางกีดขวางทางเข้าออก
วิธีการชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) โจทก์จะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า คำฟ้องที่โจทก์ยื่นและในโอกาสที่ยื่นคำขอนั้นมีเหตุสมควรและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตวรรคหนึ่ง (1) (2) และโจทก์ยังต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า จำเลยทั้งสี่ตั้งใจจะกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิด การผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้องตามมาตรา 255 ้รรคสาม (ก) อีกด้วย แม้ตามคำฟ้องที่โจทก์ยื่นและในโอกาสที่ยื่นคำขอนั้นข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันก่อสร้างทางเดินเท้าปิดทางเข้าออกสู่ถนนหลวงจนแล้วเสร็จไปก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาละเมิดอ้างว่า จำเลยก่อสร้างทางเดินเท้าปิดกั้นทางเข้าออกโรงสีข้าวของโจทก์สู่ถนนหลวงซึ่งเป็นทางเข้าออกมีอยู่ทางเดียว ทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถใช้ทางเข้าออกได้ตามปกติขอให้รื้อถอน ดังนี้ ตราบใดที่ทางเดินเท้านั้นยังคงมีอยู่ ก็ถือได้ว่ายังมีการกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดตามที่ถูกฟ้องร้องนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีทางเข้าออกโรงสีอยู่ทางเดียว การก่อสร้างทางเดินเท้าตามฟ้องย่อมทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ทางเข้าออกโรงสีของโจทก์ได้ตามปกติ ส่วนปัญหาว่าที่ดินของโจทก์จะต้องด้วยข้อกำหนดเงื่อนไขให้เปิดทางได้หรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปในชั้นพิจารณากรณีมีเหตุสมควรและเหตุผลเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวตามที่โจทก์ขอมาใช้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5588/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดกั้นทางเข้าออกที่ดินของผู้อื่น แม้จะอยู่ในที่ดินของตนเอง ถือเป็นการรบกวนการครอบครองและมีโทษทางอาญา
แม้ถนนที่เป็นทางเข้าออกของที่ดินของโจทก์จะอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ตาม จำเลยทั้งสองก็ไม่มีอำนาจโดยพลการที่จะนำไม้และสังกะสีไปตอกปิดกั้นประตูทางเข้าออกที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์เข้าออกที่ดินของโจทก์ไม่ได้ เป็นการล่วงล้ำเข้าไปในอำนาจการครอบครองของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการเข้าไปกระทำการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุขจำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานบุกรุก