พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางเดินเมื่อที่ดินถูกแบ่งแยกและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350ที่บัญญัติว่า ถ้าที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตามมาตราก่อนได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันและไม่ต้องเสียค่าทดแทนนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 17462แบ่งแยกมาจากที่ดินของ บ. อีกทั้งที่ดินของโจทก์ดังกล่าวมีที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้แม้โจทก์จะสามารถเข้าออกผ่านที่ดินของ ช. ก็ดี แต่การเข้าออกผ่านที่ดินของ ช. ยังจะต้องเข้าออกผ่านที่ดินของ บ. ส่วนที่เป็นถนนอีกทอดหนึ่ง การผ่านที่ดินของช. เป็นเรื่องของความยินยอม หาใช่สิทธิตามกฎหมายไม่กรณีต้องถือว่าที่ดินของโจทก์ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เปิดช่องทางพิพาทเป็นทางเข้าออก ถึงแม้จะต้องรื้อรั้วเฉพาะส่วนที่ปิดช่องทางเข้าออกของโจทก์ออก แต่ก็เพื่อให้ที่ดินโจทก์เชื่อมต่อกับทางพิพาทซึ่งจำเลยเองก็ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกถนนสาธารณะอยู่แล้วน่าจะทำให้จำเลยเสียหายน้อยที่สุด ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้ตามกฎหมาย และไม่ถือว่าโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมทางเดินเกินขอบเขต เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิถมดินเพิ่ม โจทก์มีสิทธิกีดขวาง
การจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินของโจทก์ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นภาระจำยอมเรื่องทางเดินทั้งแปลง การวางท่อระบายน้ำ ระบบประปา ไฟฟ้าและระบบสาธารณูปโภคอื่น การที่จำเลยทั้งสี่จ้างรถบรรทุกดินเข้ามาถมที่ดินของจำเลยทั้งสี่ซึ่งมีจำนวนหลายไร่ ถือได้ว่าเป็นการใช้ทางภาระจำยอมเกินควรกว่าปกติ ย่อมทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะทำได้ การที่โจทก์นำหลักปักกีดขวางมิให้รถบรรทุกดินแล่นผ่านที่ภารยทรัพย์เข้าไปถมที่ดินของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นการละเมิดต่อจำเลยทั้งสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9308/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางน้ำสาธารณะ คลองเปรมประชากร และสิทธิเรียกร้องทางเดิน
คลองเปรมประชากรเป็นคลองประเภท 2 ตาม พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 มาตรา 5 ซึ่งประชาชนสามารถขับเรือหางยาวที่ไม่ใช่เรือโดยสารในคลองได้ และในปัจจุบันเรือหางยาวก็สามารถแล่นในคลองดังกล่าวได้ เพราะสภาพคลองมีน้ำเต็ม คลองเปรมประชากรจึงเป็นทางน้ำที่ราษฎรทั่วไปมีสิทธิใช้สัญจรไปมาได้ และเป็นทางสาธารณะตามความหมายแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1349, 1350 แม้ พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 มาตรา 15จะบัญญัติให้อธิบดีกรมชลประทานมีอำนาจ ปิด ขุดลอก ห้าม จำกัด หรือกำหนดเงื่อนไขในการนำเรือ แพ ผ่านทางน้ำชลประทานก็ตาม แต่อำนาจดังกล่าวก็เป็นการกำหนดไว้เพื่อให้อธิบดีกรมชลประทานจัดการดูแลรักษาทางน้ำชลประทานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและเพื่อประโยชน์ของการชลประทานเท่านั้น หาทำให้ทางน้ำที่ราษฎรใช้ในการคมนาคมกลายสภาพเป็นทางน้ำที่ไม่ใช่ทางสาธารณะไม่
เมื่อที่ดินของโจทก์มีทางออกไปสู่คลองเปรมประชากรซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะ
เมื่อที่ดินของโจทก์มีทางออกไปสู่คลองเปรมประชากรซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6847/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมในที่ดิน น.ส.3ก. และอายุความครอบครองทางเดิน แม้ไม่มีกรรมสิทธิ์ก็ตกเป็นภารจำยอมได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1387ไม่ได้แยกเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือที่ดินมีโฉนดให้มีผลแตกต่างกันหากแต่บัญญัติไว้ว่าอสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นดังนี้แม้ที่ดินของจำเลยจะเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์แต่ก็เป็นอสังหาริมทรัพย์จึงย่อมตกเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโจทก์ซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เหมือนกับที่ดินของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6630-6631/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะ: การอุทิศที่ดินให้เป็นทางเดินสาธารณะโดยปริยาย และขอบเขตการใช้สิทธิของเจ้าของที่ดิน
ได้มีการทำถนนซอยพิพาทมาแล้วถึงประมาณ30ถึง40ปีและอนุญาตให้ประชาชนใช้เดินเข้าออกมาโดยตลอดแม้เคยมีการห้ามมิให้ฮ. และบุตรของฮ. เดินเพราะบุตรของฮ. ทำเสียงดังและได้เคยห้ามบุคคลที่นำรถไถนาไปวิ่งในทางพิพาทดังกล่าวนั้นก็เป็นเรื่องที่ผู้นั้นทำเสียงดังก่อกวนความสงบสุขและเป็นเรื่องที่จะมาทำให้ถนนเสียหายเท่านั้นมิใช่เป็นเรื่องมีเจตนาที่จะหวงห้ามมิให้ประชาชนทั่วไปเดินในทางพิพาทและการที่เจ้าของที่ดินเดิมช่วยออกเงินกันเองและเรี่ยไรเงินกับผู้ใช้ถนนในซอยมาทำการซ่อมแซมทางพิพาทซื้อเสาไฟฟ้ามาปักก็เป็นเรื่องการปรับปรุงทางพิพาทให้ดีขึ้นและให้ทางพิพาทมีแสงสว่างสะดวกในการใช้ทางพิพาทในเวลากลางคืนมิใช่เป็นเรื่องที่แสดงถึงการสงวนสิทธิไว้ในฐานะเป็นถนนส่วนบุคคลแต่อย่างใดอีกทั้งขณะที่ส.เจ้าของที่ดินเดิมขายที่ดินให้สิบเอกบ.สามีของจำเลยที่1ในแผนที่ของหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก็ยังได้ระบุไว้ว่าถนนพิพาทเป็นถนนสาธารณประโยชน์อยู่แล้วและร้อยตรีช.ก็ได้ซื้อที่ดินจากส.ในวันเดือนปีเดียวกันกับสามีจำเลยที่1เช่นกันก็แสดงอยู่ว่าขณะที่ซื้อมีทางสาธารณะอยู่ก่อนแล้วดังนั้นแม้ร้อยตรีช.จะได้ทำป้ายแสดงว่าถนนดังกล่าวเป็นถนนส่วนบุคคลก็ตามก็ไม่ทำให้ทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวกลับไม่เป็นทางสาธารณะไปได้ถือได้ว่าจำเลยที่1กับพวกเจ้าของที่ดินเดิมยินยอมให้ที่ดินที่นำมาทำเป็นทางพิพาทเป็นทางเดินของบุคคลทั่วไปใช้เป็นทางสัญจรไปมาเป็นเวลาหลายสิบปีดังกล่าวข้างต้นย่อมถือได้ว่าจำเลยที่1กับพวกได้อุทิศที่ดินถนนซอยพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายแล้วทางพิพาทจึงเป็นทางสาธารณะ จำเลยปิดกั้นทางพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณะเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่อาจใช้รถบรรทุกดินผ่านทางพิพาทโจทก์ต้องเพิ่มค่าแรงให้แก่ผู้รับเหมานั้นโจทก์เรียกค่าเสียหายส่วนนี้ได้แต่ดอกเบี้ยจากค่าแรงที่โจทก์อ้างว่าต้องเสียให้แก่ธนาคารวันละ100บาทนั้นเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา222วรรคสองโจทก์จะต้องนำสืบให้เชื่อได้ว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้วว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหายดังกล่าวเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้ล่วงหน้ามาก่อนค่าเสียหายส่วนนี้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ คดีทั้งสองสำนวนนี้จำเลยที่1และโจทก์ที่2ต่างฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับการใช้ทางพิพาทเดียวกันซึ่งก่อนที่จะพิจารณากำหนดว่าฝ่ายใดจะต้องเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กันจำเป็นที่จะต้องพิจารณาในประเด็นอย่างเดียวกันทั้งสองสำนวนว่าทางพิพาทที่จำเลยที่1อ้างว่าเป็นของตนนั้นตกเป็นทางสาธารณะแล้วหรือไม่ก่อนมูลคดีนี้จึงเกี่ยวกับการชำระหนี้มาจากเหตุการวินิจฉัยในข้อเท็จจริงเดียวกันคดีจึงมีลักษณะเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้และถือว่าคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของศาลสองศาลขัดกันจึงต้องถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่าคือคำพิพากษาของศาลฎีกาในสำนวนแรกนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา146วรรคหนึ่งจึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามสำนวนหลังใหม่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะฉะนั้นในสำนวนหลังโจทก์ที่2จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อจำเลยที่1และไม่ต้องชำระค่าเสียหายแก่จำเลยที่1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมทางเดิน: การใช้ทางต่อเนื่องกว่า 10 ปี และสิทธิของผู้รับมรดก
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายประกอบเอกสารกับภาพถ่ายท้ายฟ้องอันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องไว้แล้วว่า เดิม พ.สามีจำเลยจัดสรรแบ่งขายที่ดินตามโฉนดเลขที่ 2800 ให้แก่คนทั่วไปโดยที่ดินส่วนหนึ่งคือที่ดินพิพาทหรือทางพิพาทตามโฉนดเลขที่10514 ได้เว้นไว้สำหรับทำทางเดินและทางรถกว้าง 2 วา ตามแผนที่โฉนดท้ายฟ้องหมายเลข 2 โจทก์ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะกว่า 10 ปี และบรรยายต่อไปว่าจำเลยได้ให้คนปักเสาขึงลวดหนามกั้นเขตที่ดินโจทก์ และปักเสา 3 ต้น ขวางถนนเข้าบ้านโจทก์ตามภาพถ่ายหมายเลข 4 และ 5 ตามลำดับ ทำให้โจทก์รับความเสียหายเสื่อมประโยชน์โดยไม่อาจทำประตูเข้าออกบ้านได้ ฟ้องของโจทก์บรรยายชัดเจนซึ่งสภาพแห่งข้อหาปิดกั้นทางภาระจำยอม คำขอบังคับให้จำเลยรื้อรั้วและเสาที่กั้นเขตที่ดิน กั้นทางเข้าออก ตลอดถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เดิม พ.ประสงค์ให้ทางพิพาทเป็นแนวถนนของที่ดินที่แบ่งจัดสรรทุกแปลงรวมทั้งที่ดินของโจทก์ด้วย เมื่อโจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยและใช้ทางพิพาทตลอดมากว่า 10 ปี โดยจำเลยไม่ได้แสดงการสงวนสิทธิในที่ดินพิพาทหรือทางพิพาทไว้โจทก์จึงได้ภาระจำยอมในทางพิพาทตลอดแนวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 จำเลยผู้รับมรดกทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์จึงจำต้องรับภาระจำยอมดังกล่าว ไม่มีสิทธิปิดกั้นรุกล้ำแนวทางพิพาทหรือประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตามมาตรา 1390
หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิได้อยู่แล้ว โจทก์จะขอรื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำขอส่วนนี้ของโจทก์จึงชอบแล้ว มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
เดิม พ.ประสงค์ให้ทางพิพาทเป็นแนวถนนของที่ดินที่แบ่งจัดสรรทุกแปลงรวมทั้งที่ดินของโจทก์ด้วย เมื่อโจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยและใช้ทางพิพาทตลอดมากว่า 10 ปี โดยจำเลยไม่ได้แสดงการสงวนสิทธิในที่ดินพิพาทหรือทางพิพาทไว้โจทก์จึงได้ภาระจำยอมในทางพิพาทตลอดแนวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 จำเลยผู้รับมรดกทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์จึงจำต้องรับภาระจำยอมดังกล่าว ไม่มีสิทธิปิดกั้นรุกล้ำแนวทางพิพาทหรือประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตามมาตรา 1390
หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิได้อยู่แล้ว โจทก์จะขอรื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำขอส่วนนี้ของโจทก์จึงชอบแล้ว มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7325/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการก่อสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน: ตึกแถวต้องมีทางเดินหลัง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522 ข้อ 75 มีความว่า อาคารที่ปลูกชิดเขตที่ดินต่างผู้ครอบครอง อนุญาตให้เฉพาะฝาหรือผนังทึบไม่มีประตูหน้าต่างและช่องระบายอากาศอยู่ชิดเขตได้พอดีแม้อาคารที่จำเลยครอบครองจะไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 75 ดังกล่าว แต่อาคารที่จำเลยครอบครองเป็นตึกแถวจึงอยู่ในบังคับของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 ซึ่งมีความว่า อาคารประเภทต่าง ๆจะต้องมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมไม่น้อยกว่าส่วนที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้...(4) ห้องแถว ตึกแถว...จะต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร อาคารที่จำเลยครอบครองจึงไม่อาจสร้างให้ด้านหลังชิดเขตที่ดินติดต่อได้ตามข้อบัญญัติกรุงเทพ-มหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอนสิทธิทางเดินและการละเมิดสิทธิในที่ดิน: ศาลฎีกาพิพากษาให้รื้อถอนสิ่งกีดขวางทางเดินที่รอนสิทธิของผู้อื่น
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและคำขอบังคับท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้พิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมโจทก์เพียงแต่ขอให้จำเลยทั้งสองถอนเสาไม้แก่นและต้นมะพร้าวที่จำเลยทั้งสองนำมาปลูกและปักเอาไว้ทั้งหมดออกไปให้พ้นจากช่องทางเข้าออกบ้านโจทก์และทำที่ดินตรงนั้นให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยคดีจึงไม่มีประเด็นว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางเดินผ่านที่ดินแปลงแยก: โจทก์มีสิทธิเฉพาะบนที่ดินที่แบ่งแยกเท่านั้น ไม่รวมที่ดินเดิมที่ไม่ถูกแบ่งแยก
เดิมที่ดินของโจทก์จำเลยที่1และที่3เป็นที่ดินแปลงเดียวกันที่ดินแปลงดังกล่าวมีทางออกไปสู่ทางสาธารณะต่อมาที่ดินแปลงดังกล่าวถูกแบ่งแยกจนเป็นเหตุให้ที่ดินแปลงที่ตกเป็นของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านไปออกทางสาธารณะได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่1และที่3เปิดทางเดินผ่านไปออกทางสาธารณะซึ่งจะต้องผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่งของจำเลยที่1ซึ่งไม่ได้แบ่งแยกจากที่ดินพิพาทกรณีไม่ต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่1และที่3ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7475/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางเดินต่อเนื่องเกิน 10 ปี ทำให้เกิดสิทธิแม้เจ้าของที่ดินเปลี่ยน
ป.พ.พ. มาตรา 1387 และ 1388 เพ่งเล็งถึงความสำคัญของที่ดินที่เป็นสามยทรัพย์และภารยทรัพย์ ไม่ใช่ตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของทรัพย์เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 24324 มาจาก ส. เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2520 จนถึงวันที่ ส.ขายที่พิพาทให้แก่จำเลยทั้งสามเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2529 เป็นระยะเวลาเพียง 8 ปีเศษ แต่หลังจากนั้นโจทก์ยังคงใช้ทางเดินในที่พิพาทติดต่อมาในช่วงที่จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอีก 2 ปีเศษ ถือได้ว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของจำเลยทั้งสามมีทางเดินเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแปลงของโจทก์มาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ย่อมเกิดภาระจำยอมโดยอายุความได้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401