พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2598/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาป่วย: ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้แม้ยังไม่ถึงขั้นไม่สามารถทำงานได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ12 มิได้มีบทบัญญัติว่า ลูกจ้างจะต้องมีอาการป่วยจนไม่สามารถทำงานได้จึงมีสิทธิลาป่วยได้ การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างป่วยจริงแล้วยื่นใบลาป่วย จึงมิใช่เป็นการลาป่วยเท็จ และเมื่อเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะลาได้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 12 จำเลยจึงจ่ายค่าจ้างในวันลาดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2598/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาป่วยของลูกจ้าง: แม้ไม่ถึงขั้นไม่สามารถทำงานได้ ก็มีสิทธิลาป่วยได้ตามกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 12 มิได้มีบทบัญญัติว่า ลูกจ้างจะต้องมีอาการป่วยจนไม่สามารถทำงานได้จึงมีสิทธิลาป่วยได้ การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างป่วยจริงแล้วยื่นใบลาป่วย จึงมิใช่เป็นการลาป่วยเท็จ และเมื่อเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะลาได้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 12จำเลยจึงจ่ายค่าจ้างในวันลาดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงานพิเศษนอกสถานที่ ลูกจ้างเสียชีวิตจากการพักผ่อนไม่เพียงพอระหว่างปฏิบัติงานตามคำสั่งนายจ้าง
ผู้ตายต้องเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสเพื่อคอยดูแลลูกค้าของนายจ้างตามคำสั่งของนายจ้างซึ่งผู้ตายต้องทำงานทั้งวันตลอดระยะเวลาการเดินทางเฉพาะอย่างยิ่งในวันเดินทางที่เครื่องบินออกเดินทางเวลา23นาฬิกาโดยก่อนหน้านั้นผู้ตายต้องช่วยดูแลลูกค้าของนายจ้างเกี่ยวกับหนังสือเดินทางบัตรโดยสารเครื่องบินและกระเป๋าเดินทางที่สนามบินซึ่งระยะเวลาดังกล่าวหากผู้ตายไม่ต้องเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสย่อมเป็นเวลานอกเวลาทำงานและเป็นเวลาพักผ่อนของผู้ตายผู้ตายมีสุขภาพสมบูรณ์ดีและไม่มีโรคประจำตัวการที่ผู้ตายเข้าห้องน้ำเมื่อเวลา6นาฬิกาของวันเดินทางถัดมาและเป็นลมหมดสติไปเนื่องมาจากสาเหตุที่ผู้ตายเหนื่อยจากการที่ต้องทำงานและพักผ่อนไม่เพียงพอทั้งเมื่อผู้ตายเป็นลมหมดสติไปในขณะที่เครื่องบินยังบินอยู่นั้นย่อมต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะส่งตัวผู้ตายไปถึงโรงพยาบาลและแพทย์ได้ตรวจรักษาซึ่งถ้าได้ส่งตัวผู้ตายให้แพทย์ตรวจรักษาในทันทีหรือระยะเวลาอันสั้นหลังจากผู้ตายเป็นลมผู้ตายก็ไม่น่าถึงแก่ความตายพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในคดีนี้เป็นกรณีพิเศษไม่ใช่การทำงานตามเวลาปกติของลูกจ้างเพราะเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุที่ผู้ตายต้องเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสตามคำสั่งของนายจ้างซึ่งถ้าผู้ตายทำงานตามปกติอยู่ในประเทศไทยเหตุการณ์ดังกล่าวคงไม่เกิดขึ้นเห็นได้โดยชัดเจนว่าผู้ตายถึงแก่ความตายอันมีสาเหตุเนื่องจากการทำงานตามคำสั่งของนายจ้างจึงเป็นการประสบอันตรายในความหมายของคำว่า"ประสบอันตราย"ตามมาตรา5แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ.2537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9785/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างทางทะเล: การพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสัญญาและการสูญหายระหว่างทำงาน
อ.ปฏิบัติงานเป็นไต๋เรือทำหน้าที่ควบคุมดูแลการจับปลาและอุปกรณ์ตลอดจนลูกเรือ โดยโจทก์เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายปลาที่หาได้เมื่อขายและหักค่าใช้จ่ายให้โจทก์แล้ว โจทก์จะได้65 เปอร์เซ็นต์ อ. และลูกเรือได้ 35 เปอร์เซ็นต์แสดงว่าอ. เพียงตกลงทำงานให้โจทก์เพื่อประโยชน์ในธุรกิจหาปลาเท่านั้น การกำหนดส่วนแบ่งจำนวนเงินเป็นเรื่องจูงใจให้ขยันทำงานถือว่าเป็นเงินที่แบ่งให้หรือจ่ายเพื่อเป็นค่าตอบแทนการทำงานมีลักษณะเป็นค่าจ้าง อ. จึงเป็นลูกจ้างของโจทก์ อ. ต้องออกไปปฏิบัติหน้าที่ในทะเลตลอดระยะเวลาที่อยู่ในทะเลจึงถือว่าเป็นระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะนำเรือกลับมาถึงฝั่ง เมื่อ อ. หายไปจากเรือที่ทำงานอยู่จึงถือได้ว่า อ. หายไปในระหว่างทำงาน เป็นการสูญหายตาม พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4919/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองแรงงาน: การประสบอันตรายจากการเดินทางไปทำงาน แม้ยังไม่ถึงที่หมาย ถือเป็นการทำงานแล้ว
ผู้ตายออกเดินทางจากบ้านพักเพื่อไปเก็บเงินจากลูกค้าตามคำสั่งของนายจ้างและประสบอุบัติเหตุขณะเดินทางแสดงว่าผู้ตายเริ่มลงมือทำงานแล้วแต่ยังไม่ถึงที่หมายถือว่าผู้ตายได้ประสบอันตรายโดยถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างแล้วไม่จำต้องปฏิบัติหน้าที่ถึงขนาดที่ผู้ตายต้องเดินทางไปถึงที่หมายและเริ่มลงมือเก็บเงินจากลูกค้าจริงๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4919/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงาน: เริ่มทำงานแล้ว แม้ยังไม่ถึงที่หมาย ก็ถือว่าประสบอันตรายได้
ลูกจ้างออกเดินทางจากบ้านพักของลูกจ้างเพื่อไปเก็บเงินจากลูกค้าตามคำสั่งของนายจ้างและประสบอุบัติเหตุขณะเดินทางแสดงอยู่ในตัวว่าลักษณะการทำงานของลูกจ้างในวันเกิดเหตุลูกจ้างไม่ต้องเข้าไปยังที่ทำงานของลูกจ้างและกระทำกิจอื่นแต่ลูกจ้างออกจากบ้านพักตรงไปบ้านลูกค้าเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายย่อมชี้ให้เห็นว่าลูกจ้างได้เริ่มลงมือทำงานแล้วแต่ยังไม่ถึงที่หมายกรณีไม่จำต้องปฏิบัติหน้าที่ถึงขนาดที่ลูกจ้างจะต้องเดินทางไปถึงที่หมายและเริ่มลงมือเก็บเงินจากลูกค้าจริงๆถือว่าลูกจ้างได้ประสบอันตรายโดยถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างแล้วภริยาของลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214-2218/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เวลาพักระหว่างทำงาน: การยินยอมให้ลูกจ้างกลับบ้านก่อนเวลาเลิกงานถือเป็นเวลาพักได้
ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับลูกจ้างตามเอกสารหมายล.1ตกลงให้เลิกงานเวลา17.50นาฬิกาฉะนั้นเวลา17.30-17.50นาฬิกาจึงเป็นเวลาทำงานอยู่จำเลยให้ลูกจ้างไม่ต้องมาทำงานในเวลาดังกล่าวและยินยอมให้กลับบ้านไปก่อนตั้งแต่เวลา17.30นาฬิกาถือได้ว่าช่วงเวลา17.30-17.50นาฬิกาจำนวน20นาทีเป็นเวลาที่จำเลยจัดให้พักแล้วเมื่อรวมกับเวลาพักตั้งแต่เวลา12.00-12.40นาฬิกาอีก40นาทีเป็นหนึ่งชั่วโมงจึงชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2และข้อ6ซึ่งกำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักในระหว่างการทำงานไม่น้อยกว่าวันละ1ชั่วโมงแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5121/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนกรณีเสียชีวิตจากการทำงาน: ความเครียดจากการทำงานหนักเป็นเหตุให้หัวใจขาดเลือด
ผู้ตายถึงแก่ความตายในขณะทำงาน การที่ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้นเป็นผลเนื่องจากสภาพของการที่ผู้ตายต้องตรากตรำทำงานหนักมากตลอดทั้งสัปดาห์และทำงานล่วงเวลาอีกด้วย เป็นสาเหตุแห่งความเครียดทำให้หัวใจขาดเลือดและทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายถือได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โจทก์ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีสิทธิได้รับค่าทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 1 เมษายน 2515ข้อ 54(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตจากอาการหัวใจล้มเหลว ศาลฎีกาตัดสินว่าการทำงานปกติและเพิ่มขึ้นไม่มีผลโดยตรงต่อการเสียชีวิต
อ.ทำงานเกี่ยวกับด้านบัญชี แม้ภายหลังนายจ้างจะมอบหมายงานให้ทำมากขึ้นโดยทำงานเฝ้าเหมือง ดูแลคนงาน เบิกจ่ายเงิน ดูแลพัสดุ ติดต่อกับหน่วยงานอื่น และคุมแร่ไปขาย ที่จังหวัดภูเก็ตด้วย งานที่ อ. ทำก็มิใช่งานที่ต้องใช้กำลังมากไม่อาจทำให้เกิดโรคหรือการเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายได้ และอ.มิได้ทำงานตรากตรำวันเกิดเหตุอ. ไปทำงานตอนเช้าตามปกติ ตอนสายได้กลับมาบ้านและให้โจทก์ ซึ่งเป็นภริยาพาไปส่งโรงพยาบาลเนื่องจากปวดศีรษะแต่ อ. เป็นลมล้มฟุบลงที่โต๊ะอาหาร และถึงแก่ความตายเพราะหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน การตายของ อ. ยังถือไม่ได้ว่าถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการป่วยเจ็บเนื่องจากการทำงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงานในขบวนรถไฟ: การคุ้มครองแรงงาน
ผู้ตายมีหน้าที่ทำความสะอาดพื้นรถ ห้องน้ำและห้องส้วมในขบวนรถไฟ โดยผู้ตายจะต้องเดิน ทางไปกับขบวนรถไฟด้วย การที่ให้ผู้ตายพักผ่อนหลังจากทำงานตั้งแต่เวลา 23 นาฬิกา จนถึงเวลา 4.30 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้นก็เพื่อให้ผู้ตายได้มีเวลาพักผ่อนหลับนอนแล้วจะได้เริ่มปฏิบัติงานต่อจนถึงเวลาที่รถไฟถึงสถานีปลายทาง ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ตายที่จะต้องอยู่พักผ่อนในขบวนรถไฟนั้นเพื่อเริ่มปฏิบัติงานต่อไป ดังนั้น การที่ผู้ตายปิดประตูรถแล้วพลัดตกจากขบวนรถไฟจนถึงแก่ความตายในช่วงเวลาที่ผู้ตายพักผ่อนหลังจากที่ได้ ทำงานมาแล้ว จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2