คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทำร้ายร่างกาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,834 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4140/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตายโดยบันดาลโทสะ: ศาลฎีกาแก้ไขโทษลดลงจากเจตนาฆ่าเป็นทำร้ายร่างกาย
จำเลยเป็นพี่ชายของผู้ตาย ถูกผู้ตายซึ่งมึนเมาสุรามาหาเรื่องและทำร้ายชกต่อยจำเลย แม้จำเลยหนีลงจากบ้านไปแล้ว ผู้ตายยังติดตามจำเลยลงไปอย่างกระชั้นชิดและทำร้ายจำเลยอีก เป็นเหตุให้จำเลยเกิดบันดาลโทสะจึงได้หยิบฉวยไม้ด้ามเสียมซึ่งวางอยู่ที่พื้นดิน บริเวณหน้าบ้านนางโปยใกล้ที่เกิดเหตุตีไปที่ผู้ตาย 2 ถึง 3 ครั้ง การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำอย่างกระทันหันฉุกละหุก โดยจำเลยไม่มีโอกาสเลือกอาวุธ ทั้งไม่ได้เลือกตีบริเวณส่วนใดของ ร่างกายผู้ตาย เป็นการตีโดยไม่อาจทราบว่าจะถูกอวัยวะส่วนใดของผู้ตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำร้ายผู้ตายจนถึงแก่ความตายโดยไม่มีเจตนาฆ่าและเป็นการกระทำโดยเหตุบันดาลโทสะเพราะถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงเหตุอันไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 288 เมื่อทางพิจารณารับฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดฐาน ทำร้ายร่างกายผู้ตายจนถึงแก่ความตายตามมาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 72 ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาบุกรุกกับเจตนาทำร้ายร่างกายเป็นคนละกรรม การกระทำจึงเป็นความผิดสองกระทง
จำเลยมิได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 ทันทีที่บุกรุกเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายที่ 1 แต่จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 หลังจากที่จำเลยถามหาผู้เสียหายที่ 1 แล้วผู้เสียหายที่ 2 ตอบว่าผู้เสียหายที่ 1 ไปธุระนอกบ้าน แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีเจตนาแต่แรกที่จะเข้าทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 เจตนาที่จะบุกรุกบ้านของผู้เสียหายที่ 1 กับเจตนาที่จะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 จึงแยกจากกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาบุกรุกกับเจตนาทำร้ายร่างกายเป็นคนละกรรม การกระทำจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
จำเลยมิได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 ทันทีที่บุกรุกเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายที่ 1 แต่จำเลยทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหายที่ 2 หลังจากที่จำเลยถามหาผู้เสียหายที่ 1 แล้วผู้เสียหายที่ 2 ตอบว่าผู้เสียหายที่ 1 ไปธุระนอกบ้าน แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีเจตนาแต่แรกที่จะเข้าทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 เจตนาที่จะบุกรุกบ้านของผู้เสียหายที่ 1 กับเจตนาที่จะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 จึงแยกจากกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนายิงเพื่อประทุษร้าย ไม่ถึงแก่ชีวิต ความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
เหตุที่จำเลยยิงผู้เสียหายเนื่องจากผู้เสียหายทวงถามเงินค่าน้ำมันจากจำเลย จำเลยโกรธแล้วขับรถจักรยานยนต์เสียงดังใส่หน้าผู้เสียหาย ต่อมาประมาณ 30 นาที จึงได้กลับมาพร้อมใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย กรณีไม่ใช่เกิดโทสะแล้วยิงผู้เสียหายทันที หากแต่เป็นกรณีเกิดโทสะและออกจากที่เกิดเหตุแล้วประมาณ 30 นาที ซึ่งมีเวลาที่จำเลยคิดไตร่ตรองแล้วจึงหวนกลับมาพร้อมนำอาวุธปืนซึ่งนับว่าเป็นอาวุธที่ร้ายแรงยิงผู้เสียหาย ถือว่าเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้เสียหายในระยะห่างประมาณ 20 เมตร กระสุนปืนถูกบริเวณคอด้านหน้าขวาและบริเวณชายโครงขวาด้านหน้า ทั้งสองแห่งมีบาดแผลขนาด 0.5 เซนติเมตร ไม่มีความลึก แพทย์ลงความเห็นว่ารักษาหายภายใน 7 วัน แสดงให้เห็นว่ากระสุนไม่มีความรุนแรงพอที่จะทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุอาวุธปืนซึ่งเป็นปัจจัยที่ใช้ในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 81 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยร่วมทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหายรับอันตรายสาหัส ศาลพิพากษาลงโทษเฉพาะผู้ลงมือโดยตรง
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ชกต่อยกับโจทก์ร่วม ส่วนจำเลยที่ 2 ใช้ไม้ตีโจทก์ร่วมโดยไม่มีหลักฐานใดที่บ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีส่วนร่วมรู้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีและพกอาวุธปืนมาด้วย หรือได้มีการคบคิดกันมาก่อนว่าจะใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วม แม้จำเลยทั้งสามจะเกิดความไม่พอใจโจทก์ร่วมจากสาเหตุอย่างเดียวกันและนั่งรถมาด้วยกันก่อนเกิดเหตุ ทั้งยังขึ้นรถยนต์หลบหนีไปด้วยกันหลังเกิดเหตุ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้พูดจาหรือกระทำการใดๆ อันอาจถือได้ว่าเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการพยายามฆ่าโจทก์ร่วม และการที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ตามลำพัง อันเป็นการตัดสินใจของจำเลยที่ 1 โดยฉับพลันในขณะนั้นเอง ดังนั้น เมื่อโจทก์ร่วมรับอันตรายสาหัสจากการถูกจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิง มิใช่ผลโดยตรงอันเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายเท่านั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 คงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 83 เพราะความผิดฐานพยายามฆ่ารวมการกระทำดังกล่าวซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
จำเลยที่ 3 ไม่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาในความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ ซึ่งมีผลเท่ากับจำเลยที่ 3 มิได้ฎีกาในความผิดฐานนี้ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาตให้ฎีกาในฐานความผิดฐานนี้แล้ว จึงเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ศาลชั้นต้นมิได้อนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมในความผิดต่อ พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ เพราะโจทก์ร่วมมิใช่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานดังกล่าว
ความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 12 ปี และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 9 ปี ย่อมห้ามมิให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ฎีกาของโจทก์ร่วมเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8854/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงานนอกเวลางานและนอกสถานที่ทำงาน ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบวินัยร้ายแรง
ระเบียบข้อบังคับในการทำงานของนายจ้างที่กำหนดให้การประพฤติตัวเป็นอันธพาลและกระทำผิดทางอาญาต่อเพื่อนร่วมงานเป็นระเบียบวินัยที่ลูกจ้างฝ่าฝืนไม่ได้ ซึ่งนายจ้างอาจลงโทษได้ถึงเลิกจ้างนั้น ต้องอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4)
น. และ ป. ลูกจ้างโจทก์ทำร้ายร่างกาย พ. ลูกจ้างโจทก์ด้วยกันเพียงคนเดียว สาเหตุเกิดจากการทะเลาะวิวาทกันด้วยเรื่องส่วนตัว มิใช่ น. และ ป. เกะกระระรานหาเรื่อง พ. แต่ฝ่ายเดียวการกระทำของบุคคลทั้งสองยังไม่ถึงขนาดประพฤติตนเป็นพาลเกเรแกล้งทำให้ พ. เดือดร้อนโดยไม่มีสาเหตุ อันเป็นการประพฤติตนเป็นคนเกะกะระรานตามความหมายของคำว่าอันธพาล ทั้งเป็นเรื่องลูกจ้างทำร้ายกันเองนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลางานไม่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์โดยตรง จึงไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อชื่อเสียงของโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ถือไม่ได้ว่าบุคคลทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานของโจทก์กรณีร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) โจทก์เลิกจ้างบุคคลทั้งสองจึงต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8854/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงานนอกเวลางานและสถานที่ทำงาน ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบวินัยร้ายแรง
ระเบียบข้อบังคับในการทำงานของนายจ้างที่กำหนดให้การประพฤติตัวเป็นอันธพาลและกระทำผิดทางอาญาต่อเพื่อนร่วมงานเป็นระเบียบวินัยที่ลูกจ้างฝ่าฝืนไม่ได้ ซึ่งนายจ้างอาจลงโทษได้ถึงเลิกจ้างนั้น ต้องอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4)
น. และ ป. ลูกจ้างโจทก์ทำร้ายร่างกาย พ. ลูกจ้างโจทก์ด้วยกันเพียงคนเดียว สาเหตุเกิดจากการทะเลาะวิวาทกันด้วยเรื่องส่วนตัว มิใช่ น. และ ป. เกะกะระรานหาเรื่อง พ. แต่ฝ่ายเดียว การกระทำของบุคคลทั้งสองยังไม่ถึงขนาดประพฤติตนเป็นพาลเกเรแกล้งทำให้ พ. เดือดร้อนโดยไม่มีสาเหตุ อันเป็นการประพฤติตนเป็นคนเกะกะระรานตามความหมายของคำว่าอันธพาล ทั้งเป็นเรื่องลูกจ้างทำร้ายกันเองนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลางาน ไม่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์โดยตรง จึงไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อชื่อเสียงของโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ถือไม่ได้ว่าบุคคลทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานของโจทก์กรณีร้ายแรงตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4) โจทก์เลิกจ้างบุคคลทั้งสองจึงต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8701/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์-ทำร้ายร่างกาย: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา เน้นเจตนาต่อเนื่อง และความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยทั้งสองวางแผนลวงโจทก์ร่วมไปในที่เกิดเหตุ แล้วจำเลยที่ 1 กระชากคอเสื้อโจทก์ร่วมลงมาจากรถและร้องบอกจำเลยที่ 2 ว่ามาแล้ว จำเลยที่ 2 จึงเดินออกมาจากข้างทาง เมื่อโจทก์ร่วมปฏิเสธไม่ยอมถอดเสื้อผ้าตามคำสั่ง จึงถูกจำเลยที่ 1 ต่อยท้องและใบหน้าหลายครั้งจนล้มคว่ำ จำเลยที่ 2 ร้องบอกว่า "เอามันให้สลบก่อน" จากนั้นจำเลยทั้งสองจึงรุมเตะทำร้ายโจทก์ร่วมจนกระทั่งสิ้นสติไป จำเลยทั้งสองเพียงแต่ใช้หมัดและเท้าทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วม ไม่ปรากฏว่ามีการใช้อาวุธหรือเลือกทำร้ายโจทก์ร่วมตรงบริเวณที่เป็นอวัยวะสำคัญอันอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ ทั้งที่มีกำลังคนและแรงกายภาพเหนือกว่าอยู่ในทำเลปลอดคน กับมีเวลาและโอกาสที่จะเลือกกระทำแก่โจทก์ร่วมได้ตามอำเภอใจ บาดแผลที่โจทก์ร่วมถูกทำร้ายไม่ร้ายแรงจนทำให้ถึงแก่ความตายได้ แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมเท่านั้น จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจนได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 298
หลังจากจำเลยทั้งสองรุมทำร้ายจนโจทก์ร่วมสลบแล้ว จำเลยที่ 2 จึงกระชากสร้อยคอของโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าเมื่อแรกวางแผนลวงโจทก์ร่วมมายังที่เกิดเหตุจนกระทั่งรุมทำร้ายโจทก์ร่วมสลบนั้น จำเลยทั้งสองยังไม่มีเจตนาจะเอาทรัยพ์ของโจทก์ร่วม แต่หลังจากหยุดทำร้ายโจทก์ร่วมแล้ว จำเลยที่ 2 จึงเกิดเจตนาโลภปลดทรัพย์ของโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยที่ 1 แล้วพากันหลบหนี เจตนาต่อทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นคนละตอนคนละเจตนากับการลวงโจทก์ร่วมมาทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส บาดแผลของโจทก์ร่วมจึงมิได้เกิดจากการมีเจตนาต่อทรัพย์ของโจทก์ร่วม แม้ภายหลังจำเลยที่ 2 จะใช้แรงกายภาพกระชากสร้อยไปจากคอโจทก์ร่วม แต่สร้อยคอและสร้อยข้อมือของโจทก์ร่วมเป็นสร้อยเส้นเล็กจึงค่อนข้างขาดง่าย สภาพบาดแผลที่คอโจทก์ร่วมไม่มีร่องรอยบาดแผลจากการถูกสร้อยบาดตามแรงกระชากที่จำเลยที่ 2 กระทำต่อทรัพย์ปรากฏให้เห็น แสดงว่าแรงกายภาพที่จำเลยที่ 2 กระทำนั้นไม่ถึงกับอันตรายแก่กายของโจทก์ร่วม สภาพเช่นนี้ไม่พอให้ถือว่าเป็นการประทุษร้ายแก่กายของโจทก์ร่วมตาม ป.อ. มาตรา 1 (6) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นเพียงความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
จำเลยที่ 1 ใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะไปลวงโจทก์ร่วมมาทำร้ายในที่เกิดเหตุ แม้โจทก์ร่วมจะหลงกลจนถูกทำร้ายและลักทรัพย์ โดยจำเลยทั้งสองพาทรัพย์ขึ้นรถจักรยานยนต์หลบหนีไป รถจักรยานยนต์ก็เป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยทั้งสองตั้งใจใช้เพื่อการลวงทำร้ายโจทก์ร่วมโดยเฉพาะเท่านั้น มิใช่เพื่อการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ที่เกิดในภายหลังด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการร่วมกันชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดอันเป็นเหตุฉกรรจ์ตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมรับอันตรายสาหัสกับความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนดังกล่าวล้วนแต่เป็นการกระทำที่เกิดต่อเนื่อง และต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำหลายอย่างซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องโดยแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในการกระทำตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยื่นฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไว้ด้วย แต่ปัญหาทุกข้อดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดีตาม ป.อ. มาตรา 89 ซึ่งกำหนดให้ใช้แก่ผู้กระทำความผิดในการกระทำความผิดนั้นด้วยกันทุกคน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8523/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชิงทรัพย์โดยใช้กำลังทำร้ายร่างกายจนผู้เสียหายหมดสติ ไม่เข้าข่ายความผิดตาม ม.340 ตรี
การที่จำเลยกับพวกนำรถจักรยานยนต์มาที่บริษัทผู้เสียหายในครั้งแรกนั้นก็เพื่อให้ผู้เสียหายจัดไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์ให้ จึงมิใช่เป็นการใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำความผิด ต่อมาหลังจากจำเลยกับพวกทำร้ายร่างกายผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายแล้วล้วงเอาเงินในกระเป๋าเสื้อของผู้เสียหายไป จากนั้นจำเลยใช้มีดแทงหลังกับจับศีรษะผู้เสียหายกระแทกกับโถส้วมหลายครั้งจนผู้เสียหายหมดสติไป การกระทำของจำเลยกับพวกเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสาม เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7135/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนเป็นอันตรายสาหัส การทะเลาะวิวาท และการใช้ดุลพินิจในการลงโทษ
เหตุคดีนี้เกิดเพราะจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นก่อน และเป็นการสมัครใจทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน มิใช่เป็นภยันอันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย จำเลยจะอ้างว่าการกระทำเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ได้
การที่ผู้เสียหายถูกจำเลยรัดคอด้วยมือซ้าย ผู้เสียหายจึงดิ้นต่อสู้กอดปล้ำกับจำเลย จำเลยจึงไม่มีโอกาสเลือกแทง แต่แทงไปตามโอกาสที่จะอำนวยและไม่ได้ใช้กำลังแทงรุนแรงนัก ทั้งเมื่อจะแทงอีก ผู้เสียหายปัดมือ จำเลยจึงเปลี่ยนเป็นใช้ด้ามมีดกระแทกศีรษะผู้เสียหายแทน แสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการแทงซ้ำ บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับมีบาดแผลบวมช้ำฉีกขาดกลางศีรษะและบาดแผลฉีกขาดหลังมือซ้ายตัดเอ็นนิ้วนางและนิ้วก้อยขาด ส่วนบาดแผลที่บริเวณหน้าอกด้านขวาระดับซี่โครงที่ 6 ไม่ปรากฏขนาดของบาดแผล ไม่ทะลุเข้าไปในช่องอก แสดงว่าจำเลยไม่ได้แทงอย่างแรง กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย คงมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น
แม้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่า โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา จนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันก็ตาม แต่ตามคำฟ้องก็กล่าวว่าผู้เสียหายมีบาดแผลตามสำเนารายงานการชันสูตรบาดแผลท้ายฟ้อง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องได้ระบุความเห็นว่ารักษาประมาณ 45 วันหาย และทางพิจารณาข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบได้ความว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสม ทั้งการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น รวมการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 297 ด้วย และเป็นความผิดได้ในตัวเอง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
of 184