คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทิ้งฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 301 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกา
จำเลยยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาและให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาแก่ทุกฝ่ายภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน แม้จำเลยจะไม่ได้ลงชื่อรับทราบคำสั่ง แต่เมื่อแบบพิมพ์ท้ายฎีกามีข้อความว่า "ข้าพเจ้าได้ยื่นสำเนาฎีกาโดยข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันมาด้วย 2 ฉบับ และรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" และศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่จำเลยยื่นฎีกานั้นเอง จึงต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้ว เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์ การลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดมีผลผูกพัน
อุทธรณ์ของผู้ร้องในหน้าแรกมีตัวหนังสือที่มีตรายางประทับข้อความว่าผู้ร้องจะมารับทราบคำสั่งศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันยื่นและทุก ๆ 7 วันนั้น เป็นขั้นตอนการปฏิบัติของศาลในการกำหนดวิธีการรับทราบคำสั่งของศาลมีผลเป็นคำสั่งของศาล หาใช่เป็นเพียงแบบฟอร์มและวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ศาลไม่ ศาลชั้นต้นกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 7 วัน โดยมีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2545 หลังจากที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ 7 วันก็ตาม แต่การที่ทนาย ผู้ร้องลงลายมือชื่อรับทราบข้อความที่ประทับตรายางต้องถือว่าผู้ร้องยอมผูกพันตามข้อความที่ประทับตรายางนั้น ถ้าไม่มาก็ให้ถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้นแม้ผู้ร้องจะไม่มาฟังคำสั่งก็ถือว่าคำสั่งศาลชั้นต้นได้ส่งให้จำเลยโดยชอบและผู้ร้องทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2545 เมื่อปรากฏตามรายงานเจ้าหน้าที่ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2545 ว่าผู้ร้องมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ผู้คัดค้าน จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบ มาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยมาเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ครบถ้วน ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ครั้งแรก จำเลยมาศาลและแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยยังไม่ทราบจำนวนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ต้องชำระเพิ่มเติมและจำเลยยังไม่มีเงินพอที่จะชำระ ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไปก่อนตามคำขอของจำเลย ครั้นถึงวันนัดจำเลยมาศาลและแถลงว่ายังไม่ได้ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่ต้องชำระเพิ่มเติมเนื่องจากไม่มีเงิน ขอให้ศาลพิจารณาสั่งตามรูปคดีต่อไป ศาลชั้นต้นจึงงดการอ่านคำพิพากษาและส่งสำนวนคืนศาลอุทธรณ์ภาค 7 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ดังนี้ คำแถลงของจำเลยทั้งสองครั้ง เป็นการยอมรับโดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยทราบว่าจะต้องชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มเติมจากที่ได้ชำระไปบางส่วนแล้ว เมื่อจำเลยไม่ชำระตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในระยะเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ถือว่าเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398-1399/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความบกพร่องเจ้าพนักงานศาล-ทิ้งฟ้องอุทธรณ์: ศาลฎีกายกคำพิพากษาอุทธรณ์ ให้ดำเนินคดีต่อ
คดีทั้งสองสำนวนพิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้ชำระค่าขึ้นศาลจำนวน 57,420 บาท แล้ว ดังนี้ โดยปกติวิสัยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ก็ชอบที่จะต้องวางค่าธรรมเนียมการส่งสำเนาอุทธรณ์ซึ่งเป็นเงินเพียง 240 บาท ตามคำสั่งศาลชั้นต้น ส่วนรายงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเสนอต่อศาลว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลนั้น เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ล่าช้าถึง 6 เดือน ทั้งๆ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 วางค่าธรรมเนียมดังกล่าวภายใน 7 วัน ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 6 ตุลาคม 2542 ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ทราบเหตุดังกล่าวตามรายงานเจ้าหน้าที่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ก็ได้ยื่นคำแถลงยืนยันว่าได้วางค่าธรรมเนียมการส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งศาลแล้ว อีกทั้งได้ดำเนินการขอตรวจสมุดรับเงินค่าธรรมเนียมการส่งหมายในช่วงระหว่างวันที่ 29 กันยายน 2542 จนถึงสิ้นปีแต่เจ้าพนักงานศาลผู้รับผิดชอบแจ้งว่าสมุดดังกล่าวสูญหาย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงแสดงเจตนาพร้อมจะวางค่าธรรมเนียมการส่งสำเนาอุทธรณ์อีกครั้งหนึ่ง น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เอาใจใส่คดี และเมื่อพิจารณาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานศาลแล้วตามระเบียบราชการจะต้องจะต้องเก็บรักษาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและต้องใช้เป็นหลักฐานในทางราชการ เว้นแต่จะถึงกำหนดเวลาต้องทำลายตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการปรากฏว่านอกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จะได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานศาลผู้รับผิดชอบว่าสมุดคุมการส่งหมายในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2542 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2542 สูญหายแล้ว และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2544 หลังจากได้อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้คู่ความทราบแล้วให้เจ้าพนักงานศาลที่เกี่ยวข้องดำเนินการค้นหาสมุดบัญชีเวรรับเงินนำหมายในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เจ้าพนักงานศาลผู้รับผิดชอบก็ยังคงรายงานต่อศาลเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2544 ว่าสมุดเล่มนั้นสูญหายไปจึงชี้ให้เห็นความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานศาล รายงานเจ้าหน้าที่มีพิรุธไม่น่าเชื่อถือ พฤติการณ์แห่งคดีประกอบข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้จงใจละทิ้งไม่วางเงินค่าธรรมเนียมการส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งศาลไม่เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2627/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายข้ามเขตและการแจ้งผลการส่งให้จำเลยเพื่อดำเนินคดีต่อไป ศาลฎีกาตัดสินว่าการไม่แจ้งผลการส่งหมายทำให้จำเลยไม่ทราบ และไม่ถือว่าทิ้งฟ้อง
ศาลจังหวัดสมุทรปราการสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย โดยให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์ภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดให้จำเลยเป็นผู้ส่งสำเนาอุทธรณ์ ปรากฏว่าโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลจังหวัดสมุทรปราการจึงมีหนังสือแจ้งให้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้สั่งเจ้าหน้าที่ดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์ ต่อมาศาลแพ่งกรุงเทพใต้แจ้งผลการส่งหมายมาที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการว่าส่งให้ไม่ได้ ศาลจังหวัดสมุทรปราการสั่งว่ารอจำเลยแถลง ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยมิได้เป็นผู้นำส่งแต่เป็นการส่งหมายข้ามเขตที่ศาลเป็นผู้ส่งเอง เมื่อศาลจังหวัดสมุทรปราการมิได้แจ้งผลการส่งหมายให้จำเลยทราบจำเลยย่อมไม่มีทางทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าว การที่จำเลยมิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการต่อไป จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) อันจะถือเป็นการทิ้งฟ้องแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4762/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีฎีกาและการแจ้งคำสั่ง การเพิกเฉยถือเป็นการทิ้งฟ้อง
จำเลยยื่นฎีกาพร้อมกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของจำเลยและมีคำสั่งว่า หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้นำค่าธรรมเนียมมาชำระภายใน 15 วัน นับแต่วันมีคำสั่งมิฉะนั้นถือว่าจำเลยไม่ติดใจฎีกา เมื่อทราบคำสั่งแล้ว จำเลยยื่นคำแถลงขอวางค่าธรรมเนียมต่อศาลศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกา หมายนัดให้โจทก์แก้ฎีกาและคัดค้านคำสั่งขอทุเลาการบังคับภายใน 15 วัน ให้จำเลยจัดการนำส่งภายใน 7 วัน ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิด กรณีดังกล่าวแม้ในคำแถลงที่จำเลยขอวางเงินค่าธรรมเนียมต่อศาลจะมีหมายเหตุว่า จำเลยรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับฎีกาของจำเลยในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่นคำแถลง จะถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลที่ให้จำเลยจัดการนำส่งสำเนาฎีกาหมายนัดให้โจทก์แก้ฎีกาและคัดค้านคำร้องขอทุเลาการบังคับแล้วมิได้ เมื่อจำเลยไม่ได้ดำเนินการตามคำสั่งศาล จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนด อันเป็นการทิ้งฟ้องฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องและการถอนฟ้อง: ศาลต้องพิจารณาเป็นรายกรณี และต้องให้จำเลยทราบก่อนอนุญาตถอนฟ้อง
เมื่อศาลกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ดำเนินคดีในเรื่องใดแล้ว โจทก์เพิกเฉย มิได้หมายความว่า จะเป็นกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) เสมอไป เช่น โจทก์ไม่มาศาลในวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานไม่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง และศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายในเรื่องดังกล่าวบัญญัติไว้ต่อไป
การยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเป็นสิทธิของโจทก์เพียงแต่ถ้าจำเลยยื่นคำให้การแล้ว ห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ตามมาตรา 175 วรรคสอง (1) ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องให้จำเลยที่ 1 ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เสียได้ ส่วนคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นต้องสั่งอนุญาตเพราะเป็นคนละส่วนกับจำเลยที่ 1 ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมดและสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เพราะเหตุทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องและการทิ้งฟ้อง: ศาลต้องพิจารณาเป็นรายกรณี และให้โอกาสจำเลยคัดค้านก่อน
เมื่อศาลกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ดำเนินคดีในเรื่องใดแล้ว โจทก์เพิกเฉย มิได้หมายความว่า จะเป็นกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) เสมอไป เช่น โจทก์ไม่มาศาลในวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานไม่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง และศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายในเรื่องดังกล่าวบัญญัติไว้ต่อไป
การยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเป็นสิทธิของโจทก์เพียงแต่ถ้าจำเลยยื่นคำให้การแล้วห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ตามมาตรา 175 วรรคสอง (1) ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องให้จำเลยที่ 1 ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เสียได้ ส่วนคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นต้องสั่งอนุญาตเพราะเป็นคนละส่วนกับจำเลยที่ 1 ดังนั้นศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมดและสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เพราะเหตุทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125-2128/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเกี่ยวกับการวางค่าขึ้นศาล และอายุความคดีละเมิด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่ยื่นคำร้องสอดว่า คดีของผู้ร้องสอดเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ให้ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลให้ถูกต้องภายในนัดหน้าครั้นถึงวันนัดผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาลและขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดทุนทรัพย์ด้วย ศาลชั้นต้นสอบทนายผู้ร้องสอดเกี่ยวกับราคาทรัพย์พิพาทแล้วมีคำสั่งให้ผู้ร้องสอดแถลงจำนวนทุนทรัพย์และเสียค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนในนัดต่อไป มิฉะนั้นจะสั่งว่าผู้ร้องสอดทิ้งคำร้องสอด เมื่อถึงวันนัดผู้ร้องสอดได้ยื่นต่อศาลแต่เพียงหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินพิพาทว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้กำหนดราคาประเมินไว้ตารางวาละ 1,500 บาท และขอถือเป็นทุนทรัพย์ โดยผู้ร้องสอดไม่ได้เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง คำร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ถือเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1(3) จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา 174(2)
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาท โดย อ. เจ้าของเดิมนำไปขายฝากไว้แก่โจทก์แล้วไม่ได้ไถ่คืนภายในเวลาที่กำหนด โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าตึกแถวดังกล่าวจาก อ. มาแต่เดิมอยู่ในตึกแถวนั้นต่อไป ซึ่งได้บอกกล่าวให้จำเลยรับทราบแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยจึงเป็นการอยู่ในตึกแถวของโจทก์โดยละเมิดเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่และการทำละเมิดของจำเลยชัดเจนแล้ว ไม่เคลือบคลุม
จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเพิกเฉยไม่ยอมออกไปจากตึกแถวและที่ดินพิพาทภายในกำหนดเวลาที่โจทก์บอกกล่าว และยังคงอยู่ในตึกแถวและที่ดินพิพาทนั้นตลอดมาจนกระทั่งโจทก์ฟ้องอันเป็นการละเมิดที่ต่อเนื่องคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การมอบอำนาจ, การบอกกล่าวบังคับจำนอง, พยานเอกสาร, การทิ้งฟ้อง: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
บทบัญญัติมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่ได้บังคับว่าในการมอบอำนาจแก่กันนั้น วันที่ลงในหนังสือมอบอำนาจจะต้องเป็นวันที่เดียวกันกับวันที่มีการมอบอำนาจกันจริง ทั้งผู้มอบอำนาจผู้รับมอบอำนาจ และพยานผู้รู้เห็นการมอบอำนาจก็ย่อมจะลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจในภายหลังที่มีการมอบอำนาจกันแล้วได้ ไม่ถือเป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ช. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยก่อนที่จะได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ แต่โจทก์ได้ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ ช. ได้กระทำไปในนามของโจทก์โดยได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 วรรคหนึ่ง ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์พ.ศ. 2496 ได้รับยกเว้นไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ในเอกสารต่าง ๆ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 เป็นสิ่งที่ศาลรู้เอง โจทก์ไม่ต้องนำสืบศาลก็รับฟังพยานเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2541 ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องหมายเรียกส่งสำเนาให้จำเลยโดยให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วันหากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 10 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ หากไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2541 ต่อศาลชั้นต้นขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยและได้ยื่นคำแถลงลงวันที่ 5พฤศจิกายน 2541 เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกดังกล่าวแก่จำเลยซึ่งเป็นเวลาเกิน 10 วัน นับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายรายงานให้ศาลชั้นต้นทราบว่าส่งหมายดังกล่าวให้จำเลยไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดี ซึ่งอาจเป็นเพราะศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีมีเหตุขัดข้องไม่สามารถส่งหมายเรียกให้จำเลยตามภูมิลำเนาที่ระบุไว้ในคำฟ้องแต่แรกได้ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว
of 31