พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,546 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3333/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยปริยายเกิดจากการตกลงใช้ทางผ่านที่ดินของผู้อื่นเพื่อประโยชน์ในการสัญจรและขนส่งพืชผล
สาเหตุที่โจทก์ที่ 3 ชักชวนโจทก์อื่นกับชาวบ้านในหมู่ที่ 3 ทำทางพิพาทตั้งแต่แม่น้ำนครชัยศรีถึงทางสาธารณะสายวัดไร่ขิง - ทรงคนอง ก็เนื่องจากหมู่บ้านหมู่ที่ 3 ไม่มีทางรถยนต์เข้าออกสู่ทางสาธารณะ ทำให้โจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดและชาวบ้านมีความเดือดร้อนในการสัญจรไปมาติดต่อกับท้องถิ่นอื่นและขนส่งพืชผลทางเกษตรกรรมออกไปจำหน่ายในท้องตลาด จึงได้มีการเจรจากับจำเลยขอใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางผ่านออกสู่ทางสาธารณะสายวัดไร่ขิง - ทรงคนอง เมื่อจำเลยตกลงแล้ว จึงเป็นการให้สิทธิแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดเหนือที่ดินของจำเลยอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องยอมรับกรรมบางอย่าง เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ด ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ด ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการก่อตั้งภาระจำยอม แม้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เป็นเพียงทำให้การได้มาซึ่งภาระจำยอมนั้นไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง แต่ไม่ได้ทำให้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นโมฆะหรือเสียเปล่าแต่อย่างใด ยังคงใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่กรณี โจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดย่อมบังคับให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3038/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นสิทธิครอบครองที่ดินที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
โจทก์ฟ้องคดีโดยอาศัยประเด็นสำคัญเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์หรือจำเลยที่ 3 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยก็โดยอาศัยข้ออ้างที่ต้องวินิจฉัยในประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 3 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากันและเป็นเรื่องที่โจทก์ชอบจะยกขึ้นว่ากล่าวในคดีเดิมได้ เมื่อศาลในคดีเดิมได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าจำเลยที่ 3 คดีนี้เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจนำประเด็นเรื่องว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 3 ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากันมารื้อร้องฟ้องกันอีก แม้ว่าโจทก์จะได้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 พ่วงเข้ามาในคดีนี้อีกแต่ก็เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ถือได้ว่าเป็นคู่ความเดียวกัน ฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามเพราะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงในคดีครอบครองที่ดิน: การพิจารณาเรื่องทุนทรัพย์และอำนาจพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินออกเอกสารสิทธิสำหรับที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ครอบทับที่พิพาทที่โจทก์ครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้บังคับจำเลยทั้งสองส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่พิพาทเพื่อเพิกถอนหรือแก้ไขให้เป็นชื่อโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอบังคับให้สิทธิครอบครองในที่พิพาทกลับคืนมาเป็นของโจทก์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทมีราคาไม่เกิน 300,000 บาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงนครราชสีมาที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดนครราชสีมาชอบที่จะโอนคดีไปให้ศาลแขวงพิจารณาพิพากษาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีครอบครองที่ดินพิพาทที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครอง ขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมทั้งชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นผู้จับจองครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณะ ขอให้ยกฟ้อง เป็นคดีมีข้อพิพาทโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์ตีราคามาเป็นเงิน 50,000 บาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าแผงขายสินค้าที่จำเลยปลูกสร้างอยู่ในเขตที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าว อุทธรณ์โจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์และพิพากษาคดีมาจึงเป็นการไม่ชอบ ฎีกาโจทก์ที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2680/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินและการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีที่ดินถูกเวนคืนไม่ใช่การขายเพื่อหากำไร
ที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่จะเวนคืน การที่โจทก์โอนที่ดินให้แก่กรมทางหลวงเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ถือได้ว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/1 (4)
โจทก์จำเป็นต้องมีที่ดินไว้ใช้ในการประกอบกิจการ เพราะต้องใช้เป็นสำนักงานและโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์จำหน่าย ไม่ใช่มีไว้เพื่อขาย ประกอบกับโจทก์ต้องโอนทรัพย์เนื่องจากการถูกเวนคืนไม่ใช่การโอนโดยเจตนาหรือเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ จึงไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์จำเป็นต้องมีที่ดินไว้ใช้ในการประกอบกิจการ เพราะต้องใช้เป็นสำนักงานและโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์จำหน่าย ไม่ใช่มีไว้เพื่อขาย ประกอบกับโจทก์ต้องโอนทรัพย์เนื่องจากการถูกเวนคืนไม่ใช่การโอนโดยเจตนาหรือเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ จึงไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2680/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินและการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีที่ดินใช้ในกิจการ ไม่ใช่เพื่อขาย
มาตรา 91/1 (4) แห่ง ป.รัษฎากร ให้คำนิยามคำว่า ขาย ว่า หมายความรวมถึงสัญญาจะขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ ให้เช่าซื้อ หรือจำหน่าย จ่าย โอน ไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ ตามบทนิยามดังกล่าวเห็นได้ว่า แม้โจทก์จะโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่กรมทางหลวงซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ก็ถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4)
ส่วนการขายอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น แม้ ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับมาตรา 91/4 การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักรให้อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามบทบัญญัติในหมวดนี้... (6) การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป. รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 ออกโดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าวและใช้บังคับขณะนั้น มาตรา 3 บัญญัติว่า ให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป. รัษฎากร มีดังต่อไปนี้... (5) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในเกษตรกรรม แต่อสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์โอนไปดังกล่าว โจทก์จำเป็นต้องมีไว้ในการประกอบกิจการเพราะใช้ทำสำนักงานและโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์จำหน่าย ไม่ใช่มีไว้เพื่อขาย ประกอบกับการที่โจทก์ถูกเวนคืนไม่ใช่การโอนโดยเจตนาหรือเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ ย่อมไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป. รัษฎากร
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2549)
ส่วนการขายอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น แม้ ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับมาตรา 91/4 การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักรให้อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามบทบัญญัติในหมวดนี้... (6) การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป. รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 ออกโดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าวและใช้บังคับขณะนั้น มาตรา 3 บัญญัติว่า ให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป. รัษฎากร มีดังต่อไปนี้... (5) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในเกษตรกรรม แต่อสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์โอนไปดังกล่าว โจทก์จำเป็นต้องมีไว้ในการประกอบกิจการเพราะใช้ทำสำนักงานและโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์จำหน่าย ไม่ใช่มีไว้เพื่อขาย ประกอบกับการที่โจทก์ถูกเวนคืนไม่ใช่การโอนโดยเจตนาหรือเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ ย่อมไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป. รัษฎากร
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2549)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดินตามสัญญาซื้อขาย และการฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ โดยสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อ 2 ระบุว่า "ผู้ซื้อสัญญาว่า ถ้าเลิกกิจการเลื่อยไม้ หรือโอนกิจการให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือผู้ซื้อไม่ทำประโยชน์กับที่ดินผืนนี้แล้ว ผู้ซื้อยินยอมขายคืนให้แก่ผู้ขายในราคาตามข้อ 1 นอกจากผู้ขายตกลงไม่ซื้อเป็นลายลักษณ์อักษร" จึงเป็นคำมั่นของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกกิจการโรงเลื่อยหรือโอนกิจการให้แก่ผู้อื่น หรือไม่ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท คำมั่นดังกล่าวเป็นคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินซึ่งกฎหมายบังคับว่า ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วน จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง กฎหมายหาได้บังคับว่าคำมั่นเช่นว่านี้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แต่อย่างใดไม่ เมื่อคำมั่นดังกล่าวทำเป็นหนังสือและจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับประทับตราจำเลยที่ 1 โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองขายที่ดินพิพาทคืนและรับชำระราคาจากโจทก์โดยอ้างสิทธิตามคำมั่นในสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นการฟ้องปฏิบัติตามสัญญา จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งอ้างว่าจำเลยทั้งสองเสียค่าใช้จ่ายทำถนนในที่ดินพิพาทและโจทก์ปิดกั้นที่ดินพิพาททำให้จำเลยทั้งสองเสียหาย ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายเป็นการฟ้องในมูลละเมิด ข้ออ้างและคำขอบังคับตามฟ้องแย้งจึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่รับฟ้องแย้ง แม้ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองไว้ ก็เป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้กล่าวกันมาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองขายที่ดินพิพาทคืนและรับชำระราคาจากโจทก์โดยอ้างสิทธิตามคำมั่นในสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นการฟ้องปฏิบัติตามสัญญา จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งอ้างว่าจำเลยทั้งสองเสียค่าใช้จ่ายทำถนนในที่ดินพิพาทและโจทก์ปิดกั้นที่ดินพิพาททำให้จำเลยทั้งสองเสียหาย ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายเป็นการฟ้องในมูลละเมิด ข้ออ้างและคำขอบังคับตามฟ้องแย้งจึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่รับฟ้องแย้ง แม้ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองไว้ ก็เป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้กล่าวกันมาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน – สัญญาเช่า – การครอบครองปรปักษ์ – เอกสารปลอม – การละเมิด
แม้จำเลยที่ 1 จะออกจากบ้านตามภูมิลำเนาไปโดยไม่มีผู้ใดทราบข่าวคราวแต่ขณะที่เจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โดยการปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องนั้น ศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไม่อยู่และตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ หรือมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนสาบสูญแต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 1 ได้อาศัยอยู่กับจำเลยที่ 2 และยังมีชื่อปรากฏอยู่ในทะเบียนบ้านตามที่อยู่ในคำฟ้อง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไม่มีที่อยู่ปกติเป็นหลักแหล่ง ที่อยู่ตามคำฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 37 การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
ธ. เพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ผู้ไม่อยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 48 วรรคสอง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2548 ดังนั้น ขณะที่ ธ. ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การแทนจำเลยที่ 1 ในวันที่ 4 สิงหาคม 2543 ธ. ยังไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 การยื่นคำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 โดยเห็นควรเพิกถอนคำสั่งรับคำร้องตลอดจนกระบวนพิจารณาและคำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การแทนจำเลยที่ 1 ของ ธ. และมีคำสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าว
โจทก์มีสำเนาหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินที่มีชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มานำสืบประกอบ โจทก์จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 จำเลยทั้งสองมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ตลอดมา แม้จะครอบครองนานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนด โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองออกไปจากที่ดินพิพาท แต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมออก จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ธ. เพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ผู้ไม่อยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 48 วรรคสอง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2548 ดังนั้น ขณะที่ ธ. ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การแทนจำเลยที่ 1 ในวันที่ 4 สิงหาคม 2543 ธ. ยังไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 การยื่นคำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 โดยเห็นควรเพิกถอนคำสั่งรับคำร้องตลอดจนกระบวนพิจารณาและคำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การแทนจำเลยที่ 1 ของ ธ. และมีคำสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าว
โจทก์มีสำเนาหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินที่มีชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มานำสืบประกอบ โจทก์จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 จำเลยทั้งสองมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ตลอดมา แม้จะครอบครองนานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนด โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองออกไปจากที่ดินพิพาท แต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมออก จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน - การฟ้องขับไล่ - ไม่ต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง - พยานหลักฐาน
การที่โจทก์ฟ้องว่าโจทก์อนุญาตให้จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์เพราะจำเลยเป็นบุตรเขยของโจทก์ ต่อมาจำเลยหย่าขาดกับบุตรีของโจทก์ โจทก์จึงไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไป เป็นการฟ้องเพื่อใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีบทกฎหมายใดบังคับให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องบอกกล่าวผู้ไม่มีสิทธิดังกล่าวก่อนฟ้องคดีแต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2513/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยผลของกฎหมายจากโครงการจัดสรรที่ดิน แม้ซื้อโดยสุจริตก็ไม่อำนวยความคุ้มครอง
ถนนที่ ส. ผู้จัดสรรได้จัดให้เป็นทางเข้าออกตามโครงการสู่ทางสาธารณะได้นั้นไม่สามารถใช้ได้เนื่องจากมีสภาพเป็นหนองน้ำ ส. จึงจัดให้ใช้ที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะถนนดาวดึงส์ติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว จนเทศบาลนครสวรรค์ได้เข้ามาปรับปรุงเกลี่ยดินในที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง เป็นถนนและเคยนำยางแอสฟัลต์มาราดถึง 2 ครั้ง โดย ส. มิได้ โต้แย้งหรือคัดค้าน ถือได้ว่า ส. จัดให้ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 10218 ของจำเลยที่ 2 เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะถนนดาวดึงส์อันเป็นสาธารณูปโภคเพื่อการจัดสรรที่ดินตามโครงการที่ดินดังกล่าวย่อมตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรโดยผลแห่งกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286ฯ ข้อ 32 ประกอบข้อ 30 แม้จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 10218 มาจาก ส. โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ก็ไม่ทำให้ทางภาระจำยอมนั้นระงับสิ้นไป จำเลยที่ 2 จึงต้องรับภาระตามกฎหมายดังกล่าวด้วยโดยไม่คำนึงว่าโจทก์ทั้งห้าได้ทางภาระจำยอมโดยอายุความหรือไม่
โจทก์ทั้งห้าบรรยายฟ้องว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งห้าอยู่ในโครงการจัดสรรที่ดินเพื่อขายของ ส. ซึ่งจัดแบ่งที่ดินเป็นแปลงๆ พร้อมทางเข้าออกของที่ดินตามโครงการจัดสรร แต่เนื่องจากสภาพที่ดินตามที่ ส. ได้จัดแบ่งให้เป็นทางเข้าออกตามโครงการจัดสรรไม่สามารถใช้เป็นทางเข้าออกได้ เนื่องจากที่ดินส่วนอื่นๆ เป็นหนองน้ำเกือบหมดทั้งโครงการ ส. จึงได้ยกที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง ให้เป็นทางเข้าออกผ่านออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์ทั้งห้าใช้ทางดังกล่าวออกสู่ทางสาธารณะโดยสงบและเปิดเผยติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี จนได้เป็นทางภาระจำยอมตามกฎหมายเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ทั้งห้าที่จะใช้ทางพิพาทได้โดยไม่ให้จำเลยทั้งสองปิดกั้น เมื่อศาลเห็นว่า ที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรโดยผลแห่งกฎหมาย ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์ทั้งห้าบรรยายฟ้องว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งห้าอยู่ในโครงการจัดสรรที่ดินเพื่อขายของ ส. ซึ่งจัดแบ่งที่ดินเป็นแปลงๆ พร้อมทางเข้าออกของที่ดินตามโครงการจัดสรร แต่เนื่องจากสภาพที่ดินตามที่ ส. ได้จัดแบ่งให้เป็นทางเข้าออกตามโครงการจัดสรรไม่สามารถใช้เป็นทางเข้าออกได้ เนื่องจากที่ดินส่วนอื่นๆ เป็นหนองน้ำเกือบหมดทั้งโครงการ ส. จึงได้ยกที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง ให้เป็นทางเข้าออกผ่านออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์ทั้งห้าใช้ทางดังกล่าวออกสู่ทางสาธารณะโดยสงบและเปิดเผยติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี จนได้เป็นทางภาระจำยอมตามกฎหมายเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ทั้งห้าที่จะใช้ทางพิพาทได้โดยไม่ให้จำเลยทั้งสองปิดกั้น เมื่อศาลเห็นว่า ที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรโดยผลแห่งกฎหมาย ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น