พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งครอบครองที่ดิน: การปลูกพืชในที่ดินของผู้อื่นไม่เป็นความผิดอาญาหากมีการปักหลักเขตชัดเจน
โจทก์เอาข้าวเข้าไปหว่านในที่ของจำเลย โดยกำนันได้มาปักหลักเขตแล้ว แม้จำเลยจะเอาต้นกล้วยไปปลูกทับ ก็หาเป็นผิดทางอาญาแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8305/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต และผลกระทบต่อสิทธิในที่ดิน
การพิจารณาว่าบุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของบุคคลอื่นโดยสุจริตหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาในขณะที่ปลูกโรงเรือน หากขณะปลูกสร้างโรงเรือนไม่ทราบว่าที่ดินเป็นของบุคคลอื่นก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยสุจริต แม้ภายหลังจึงทราบว่าเป็นที่ดินของบุคคลอื่นก็หาทำให้การกระทำที่สุจริตแต่แรกกลับกลายเป็นไม่สุจริตไปแต่อย่างใด เมื่อกรณีเข้าเงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 1310 แล้ว จะต้องพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยทำให้ที่ดินของโจทก์มีค่าเพิ่มขึ้นเพียงใด โจทก์ประมาทเลินเล่อ หรือไม่ ซึ่งมิได้มีประเด็นในคดีนี้คู่ความจึงมิได้สืบพยานไว้จึงไม่สามารถวินิจฉัยได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกฟ้องโดยให้โจทก์กับจำเลยไปว่ากล่าวกันใหม่จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4776/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่น & ค่าใช้ที่ดิน: คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ, การครอบครองปรปักษ์ไม่สำเร็จ
โจทก์และจำเลยเป็นคู่ความในคดีแพ่งของศาลจังหวัดนครราชสีมาซึ่งตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวได้วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยจำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินพิพาทได้ไม่ต้องรื้อถอนบ้านที่ปลูกรุกล้ำที่ดินพิพาท คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะได้กล้าวอ้างเป็นประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท แต่เมื่อศาลจังหวัดนครราชสีมามิได้ยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยมิได้อุทธรณ์ ประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์จึงยุติถึงที่สุดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ เพียงแต่จำเลยคงมีสิทธิใช้ได้ต่อไปโดยไม่ต้องรื้อถอนบ้านออกไปเท่านั้น การที่จำเลยครอบครองบ้านดังกล่าวย่อมเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ แม้จะครอบครองมาเกิน 10 ปีแล้ว ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อบ้านของจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้ค่าใช้ที่ดินจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 วรรคหนึ่ง